นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ออกมาให้สัมภาษณ์ว่ารัฐเตรียมเอาผิดการส่งต่อข้อความประเภทหมิ่นประมาท และหมิ่นสถาบันฯ บนแอพพลิเคชัน LINE โดยรัฐสามารถ "สอดส่อง" การสนทนาทุกข้อความทั้งเกือบ 40 ล้านข้อความต่อวันได้
ที่ผ่านมา LINE เคยมีประเด็นความเสี่ยงในการถูกดักฟัง และการให้ข้อมูลแก่รัฐซึ่งก่อให้เกิดข้อถกเถียง โดยภายหลัง LINE ได้แก้ช่องโหว่ และออกมาแถลงปฏิเสธการติดต่อกับตำรวจไทย (ข่าวเก่า 1,2,3,4)
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ออกมาให้สัมภาษณ์เรื่องสติ๊กเกอร์ LINE "ค่านิยม 12 ประการ" ว่า "คุ้มค่ากับงบประมาณที่ใช้ไป และจะทำให้ประชาชนเกิดค่านิยมรักความเป็นไทยมากขึ้น"
ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย 7 ล้านบาท นายพรชัยบอกว่าเป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว เพราะการใช้ LINE สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างกว้างขวาง โดยตั้งเป้าจะมียอดดาวน์โหลด 3.5 ล้านบัญชีจากผู้ใช้ LINE ในไทยทั้งหมด 33 ล้านบัญชี
ที่มา - ไทยรัฐ
หลังจากประกาศแผนทำสติ๊กเกอร์ LINE ในชุด ค่านิยม 12 ประการไปแล้ว วันนี้ในงานแถลงข่าวที่ทำเนียบรัฐบาลได้เผยตัวสติ๊กเกอร์อย่างเป็นทางการของสติ๊กเกอร์ชุดนี้ออกมาแล้ว โดยจะเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2557 - 28 มกราคม 2558
ใครที่อยากทราบที่มาที่ไปของสติ๊กเกอร์ชุดนี้ และภาพตัวอย่าง สามารถดูได้จากที่มาครับ
ที่มา - สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ
นางทรงพร โกมลสุรเดช โฆษกกระทรวงไอซีทีแถลงว่าขณะนี้ทางกระทรวงกำลังจัดทำสติ๊กเกอร์ไลน์ "ค่านิยม 12 ประการ" ตามนโยบายของ คสช. และเตรียมปล่อยให้โหลดฟรี เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนในวันที่ 30 ธันวาคมนี้
การจัดทำสติ๊กเกอร์ครั้งนี้ กระทรวงไอซีทีได้ประสานกับสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมข้อมูล รวมไปถึงว่าจ้างบริษัทเอกชน เพื่อออกแบบและจัดทำสติ๊กเกอร์ให้ออกมาถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ทีสุด
ต่อจากข่าว รัฐบาลเตรียมเสนอกฎหมาย "กระทรวงดิจิทัล" วันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับ "กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" แล้ว
จากนโยบายเปลี่ยนชื่อกระทรวงไอซีทีเป็น "กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" ความคืบหน้าล่าสุดคือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และผู้ผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ระบุว่าจะลัดคิวเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับนโยบายนี้ 2 ฉบับให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาในสัปดาห์หน้า ร่างกฎหมายที่ว่าได้แก่
ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อเปลี่ยนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้เป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
จากนั้นอีก 3 สัปดาห์ จะเสนอกฎหมายอีก 6 ฉบับ คือ
เช้าวันนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไปกล่าวเปิดงานสัมมนาโพสต์ทูเดย์ฟอรั่ม และกล่าวปาฐกถา "เศรษฐกิจดิจิตอล พลิกโฉมประเทศไทย" มีประเด็นน่าสนใจดังนี้
รัฐมนตรีกระทรวงไอซีที นายพรชัย รุจิประภา เผยแผนต่อไปของการผลักดันเทคโนโลยีในประเทศด้วยการตั้งแบรนด์แท็บเล็ตใหม่ในชื่อ "คืนความสุข" ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ในเบื้องต้นทางกระทรวงได้ติดต่อไปยังบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของสหรัฐฯ ทั้งกูเกิล ไมโครซอฟท์ และซีเกทเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการนี้ โดยมีรายละเอียดเพียงว่าไมโครซอฟท์จะเข้ามาช่วยในส่วนของซอฟต์แวร์เท่านั้น
นายพรชัยระบุว่าโครงการแท็บเล็ตคืนความสุขนี้เป็นส่วนเสริมของการร่าง พ.ร.บ. ดิจิทัล อีโคโนมี ที่จัดทำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจในยุคดิจิทัลมากขึ้น โดยตอนนี้ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้พิจารณาไปแล้วทั้งสิ้น 2-3 ฉบับครับ
ส่วนแท็บเล็ตคืนความสุขจะออกมาในรูปแบบไหน คงต้องจับตากันต่อไปครับ :)
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีเสนอแนวคิดว่าจะสร้างดาวเทียมใช้เอง โดยมีเหตุผลด้านความมั่นคง จากทุกวันนี้ที่หลายกระทรวงเช่าดาวเทียมเอกชนใช้งานประมาณปีละ 7,000 ล้านบาท และงบประมาณสร้างดาวเทียมก็ใช้เงิน 7,000-8,000 ล้านบาท แต่ไม่รวมค่าดำเนินการ
ตอนนี้ยังการสร้างดาวเทียมเองคงเป็นแค่แนวคิด เพราะในความเป็นจริงงบประมาณที่แต่ละกระทรวงใช้ก็ใช้งานต่างกันไป ทั้งดาวเทียมสื่อสารและดาวเทียมสำรวจทรัพยากรแบบต่างๆ
ตอนนี้เรื่องจะส่งไปยังคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติให้ศึกษารายละเอียดต่อไป
ที่มา - Thai Post
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ (14 ต.ค.) และฝากประเด็นให้กระทรวงไอซีที "ดูแลเรื่องสื่อโซเชียลมีเดีย" เพราะถ้าไม่มีการดูแลให้ดีจะกระทบกับความมั่นคง จึงขอให้ไอซีทีหารือกับกระทรวงอื่นๆ ว่าจะดูแลผู้ที่ใช้สื่อโซเชียลอย่างไร
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข้อมูลในเรื่องนี้ว่านายกรัฐมนตรีเน้นว่าให้ "ดูแล" ไม่ใช่ "ควบคุม" โดยเน้นการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่ละเมิดกัน นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังสนใจเรื่องการอ้างแหล่งข่าวของสื่อโซเชียลมีเดียที่ตรวจสอบที่มาไม่ได้ และอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงเช่นกัน
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที เปิดเผยว่าตามที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ได้กำหนดนโยบายให้วางรากฐานเศรษฐกิจของประเทศสู่ ดิจิตอล อีโคโนมี (Digital Economy) เพื่อรองรับการขยายตัวของประเทศในทุกด้านทั้ง เกษตร การเงิน การค้าและบริการ ซึ่งเป็นแนวทางเหมือนกับในเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ฉะนั้นภารกิจของกระทรวงก็จะมีเพิ่มมากขึ้น และต้องมีการปรับโครงสร้างของกระทรวง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้นำรายชื่อคณะรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ ไปเมื่อวันก่อน ซึ่งล่าสุดได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่แล้ววันนี้ สำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที ซึ่งคนแถวนี้คงอยากรู้กัน ก็คือคุณพรชัย รุจิประภา ครับ
ประวัติของคุณพรชัย รุจิประภา จบการศึกษาปริญญาตรี คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ปริญญาโทและปริญญาเอกสาขา Regional Economics จาก University of Pennsylvania สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังจบปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หรือ วปอ. รุ่นที่ 41
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ บก.ปอท. โพสชี้แจงเกี่ยวกับปุ่ม "Close" เมื่อวานนี้ที่ใช้ล็อกอิน โดยระบุว่าจะใช้ล็อกอินโดยสามารถกดยกเลิก หรือกดไม่ส่งข้อมูลได้ หากกดตกลงก็จะเข้าหน้า "จ่านกฮูก"
นอกจากเรื่องของการล็อกอินแล้วยังระบุว่าการแจ้งเบาะแสช่วยให้ทาง บก. ปอท. สามารถดำเนินการกับผู้ทำความผิดได้จำนวนมาก เป็นการช่วยให้สังคมออนไลน์ใสสะอาดขึ้น
ไม่มีความชัดเจนว่าหากสามารถแจ้งเบาะแสได้ทางหน้า Facebook Page อยู่แล้ว ทำไมหน้าบล็อคเว็บจึงต้องขออีเมลอีก และการล็อกอินหน้าเว็บ tcsd.info จะมีประโยชน์อะไรต่อผู้ใช้
วันนี้มีรายงานว่าหน้าเว็บ tcsd.info ที่ตอนนี้ใช้แสดงผลว่าหน้าเว็บถูกบล็อค มีปุ่ม "Close" เพิ่มขึ้นมา แต่ปรากฎว่าแทนที่จะปิดเว็บลงไป ปุ่มนี้กลับเป็นปุ่มล็อกอินผ่านเฟซบุ๊กโดยขออีเมลที่เราใช้สมัครเฟซบุ๊กไปพร้อมกัน
ไม่มีความแน่ชัดว่ากระทรวงไอซีทีจะต้องการอีเมลและเฟซบุ๊กของเราไปทำไม และทำไมจึงต้องนำปุ่มล็อกอินไปวางในปุ่ม "Close" เช่นนี้ อย่างไรก็ดีผมเตือนให้ทุกท่าน อย่ากดล็อกอินเด็ดขาด หากขึ้นหน้าล็อกอินให้ปิดแท็บทิ้งไปเสีย สำหรับผู้ที่มีความรู้เพียงพอ ผมแนะนำให้บล็อคเว็บ tcsd.info จากเบราว์เซอร์ของท่านในทุกทางที่เป็นไปได้
ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งที่ 62/2557 เรื่องการแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ หนึ่งในผู้ที่ถูกระบุชื่อในคำสั่งนี้คือ ดร.สุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยดร.สุรชัยถูกย้ายไปปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ คสช. ได้แต่งตั้งให้นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เมื่อสักครู่นี้ ผู้เขียนข่าวพบว่า เมื่อผู้ใช้พยายามเข้าเว็บไซต์ Facebook โดยไม่ผ่าน HTTPS จะถูก redirect หน้าไปที่หน้าเพจ ซึ่งมีโลโก้กระทรวง ICT และข้อความว่า "เว็ปไซต์นี้มีเนื้อหาและข้อมูลที่ไม่เหมาะสม ถูกระงับโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร"
ผู้เขียนแนะนำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เตรียมช่องทางการสื่อสารสำรองอื่นๆ นอกจากบริการหลัก เช่น Facebook/Twitter/LINE และควรใช้บริการเว็บใดๆ โดยผ่าน HTTPS เป็นสำคัญ
ขณะที่เขียนข่าวและทดสอบเข้า Facebook ผู้เขียนใช้บริการอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (UNINET) อยู่ หากผู้อ่านพบการบล็อก Facebook ผ่าน ISP อื่น สามารถแจ้งเข้ามาได้ครับ
พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงไอซีทีระบุว่าทางกระทรวงได้ยกเลิกแผนที่จะเข้าพบผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์และแอพพลิเคชั่นแชตรายใหญ่ ได้แก่ เฟซบุ๊ก, กูเกิล, และไลน์ แล้วหลังจากแผนการเข้าพบผู้ให้บริการเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้เลือกที่จะส่งข้อความด้วยช่องทางอื่นๆ แทน
อย่างไรก็ดี พล.ต.ต.พิสิษฐ์ ยังขอให้ผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เหล่านี้หลีกเลี่ยงการส่งต่อเนื้อหาปลุกระดม พร้อมกับย้ำกว่ากระทรวงไอซีทีไม่มีนโยบายบล็อคอินเทอร์เน็ตหรือห้ามใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เหล่านี้แต่อย่างใด
ผมติดต่อทาง LINE Customer Support ทาง LINE ระบุว่าจนตอนนี้ยังไม่มีการขอร้องให้เปิดเผยข้อมูลจากหน่วยงานใดๆ และบันทึกข้อมูลการแชตนั้นไม่สามารถเข้าถึงได้จากภายนอก
ความเคลื่อนไหวของกระทรวงไอซีทีมีมากขึ้นนับตั้งแต่ช่วงรัฐประหารเมื่อเดือนที่แล้ว ปลัดกระทรวงไอซีทีให้ข่าวกับประชาชาติธุรกิจอีกครั้ง ระบุมาตรการหลายเรื่อง ประเด็นใหม่เพิ่งมีขึ้นมาคือการสร้าง "ไทยแลนด์โซเชียลเน็ตเวิร์ก" ให้คนไทยใช้งาน
ปลัดกระทรวงไอซีทียังระบุว่าการขอความร่วมมือกับเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์ในต่างประเทศนั้นมีข้อจำกัดเพราะเว็บเหล่านี้มักจะให้ความร่วมมือในกรณี เช่น การค้ายาเสพติด, ค้าประเวณี, สินค้าผิดกฎหมาย, หรือการปลุกระดมให้มีการฆ่าเท่านั้น
นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อ้างรายงานจาก World Economic Forum ว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในไทยกำลังจะแตะระดับ 35 ล้านคนในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากในปีที่แล้วที่มีผู้ใช้งาน 26.5 ล้านคนหรือ 37.9 เปอร์เซนต์
นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ ให้เหตุผลถึงการเพิ่มขึ้นจากความพร้อมในการให้บริการ 3G ในเชิงพาณิชย์ ราคามือถือสมาร์ทโฟนที่ถูกลง ความหลากหลายที่เพิ่มขึ้นของแอปพลิเคชันบนมือถือและ Wi-Fi ฟรีสาธารณะ
เมื่อวานนี้ (29 ส.ค.) น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีไอซีที ในฐานะเจ้ากระทรวงกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ TOT และ CAT เข้าหารือกับ กสทช. โดยเสนอให้แก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการโทรคมนาคม 3 ฉบับ
เหตุผลของรัฐมนตรีคือกฎหมายเหล่านี้มีความขัดแย้งกันเอง ทำให้การออกประกาศของ กสทช. มีปัญหาตามไปด้วย โดยเบื้องต้นทางกระทรวงไอซีทีกับ กสทช. จะตั้งคณะกรรมการร่วมกันพิจารณา ก่อนจะส่งให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป
หลังมีข่าวการขอความร่วมมือจาก LINE วันนี้ ปอท. ก็ออกมาแถลงข่าวแสดงความชัดเจนอีกรอบ ว่ากำลังขอข้อมูลใดบ้างจากทาง LINE ข้อมูลเหล่านั้นได้แก่
ที่น่าสนใจ คือ ปอท. ระบุว่าจะขอข้อมูลการพูดคุย (น่าจะหมายถึง chatlog) จะดำเนินการต่อเมือพบมีการกระทำความผิดแล้วเท่านั้น
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ผ่านการแก้ไขมาหลายรอบ (นับตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว) ตอนนี้ร่างล่าสุดที่ สพธอ. เสนอเข้ามาและรับฟังความเห็นไปแล้วกำลังเตรียมเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเข้ากระบวนการรัฐสภาต่อไป
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญของร่างล่าสุด คือ การให้อำนาจผู้ให้บริการสามารถระงับให้บริการได้โดยพิจารณาจาก "พฤติกรรมไม่เหมาะสม" โดยไม่ต้องรอกระบวนการทางกฎหมายอีกต่อไป และผู้ใช้บริการที่ถูกระงับบริการจะไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
คาดว่าร่างนี้จะเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในอีกสองเดือนข้างหน้า
ที่มา - เดลินิวส์
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ประกาศความร่วมมือกับองค์กรเอกชนอีก 7 แห่ง ตั้งกลุ่มพันธมิตร Making Online Better (MOB) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ Thai Online Self-regulation Community (TOSC) ขึ้นมาแก้ปัญหาเรื่องเนื้อหาออนไลน์ (online content)
กลุ่ม MOB จะทำหน้าที่เป็น "กลุ่มอุตสาหกรรม" (interest group) โดยมีจุดประสงค์ใหญ่ๆ 2 ประการคือ
ช่วงนี้กำลังมีกระบวนการปรับปรุงแก้ไข "พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550" หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า พ.ร.บ.คอมฯ โดยกระทรวงไอซีทีมอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) เป็นผู้รับผิดชอบ
กระทรวงไอซีทีร่วมมือกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ., สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ทำระบบ Government Software as a Service (G-SaaS) บริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐ เป็นซอฟต์แวร์พื้นฐานจำนวน 11 โปรแกรมให้หน่วยงานภาครัฐใช้งาน
ซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐที่ให้บริการบริการจะมี 11 กลุ่ม โดย 3 กลุ่มแรกสามารถให้บริการได้ทันทีคือ