Mozilla ประกาศสร้างระบบแนะนำเว็บไซต์ชื่อ Context Graph เพื่อยกระดับประสบการณ์การท่องเว็บไปอีกขั้น
Mozilla บอกว่าการท่องเว็บในปัจจุบันมักตั้งต้นจาก search เพื่อค้นหาเว็บที่ต้องการ จากนั้นกดปุ่ม Back เพื่อกลับไปยังหน้าเดิม สิ่งที่เราแทบไม่ได้ใช้เลยคือปุ่ม Forward ดังนั้นถ้า Mozilla สามารถแนะนำได้ว่าเราควรไปยังหน้าไหนต่อ (โดยอิงจากข้อมูลของคนที่เคย search แบบเดียวกันมาก่อนเรา และลองผิดลองถูกมาก่อนเรา) ย่อมจะส่งผลให้การท่องเว็บเปลี่ยนโฉมไปมาก (และไม่ต้องพึ่งพา Google/Facebook มากเกินไป)
รายได้หลักของ Mozilla มาจากการทำสัญญากับ search engine เพื่อใช้เป็นค่าดีฟอลต์ของ Firefox ซึ่งในอดีต Mozilla ทำสัญญากับกูเกิลมาโดยตลอด แต่ในปี 2014 ก็เปลี่ยนมาเป็นยาฮูแทน โดยมีอายุสัญญา 5 ปี จบปี 2019 แต่ไม่เปิดเผยมูลค่าว่ายาฮูจ่ายให้ Mozilla เท่าไร
ล่าสุดเว็บไซต์ Recode อ้างว่าได้เห็นสัญญาดังกล่าว เนื้อหาในสัญญาคือยาฮูจ่ายเงิน 375 ล้านดอลลาร์ต่อปีให้ Mozilla (ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท) จุดที่น่าสนใจคือในสัญญามีเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์กับ Mozilla ด้วยว่าถ้าหากยาฮูถูกซื้อกิจการ (ซึ่งตอนนี้กำลังจะโดน) Mozilla เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาได้ถ้าไม่ชอบเจ้าของรายใหม่ของยาฮู แต่ยาฮูภายใต้เจ้าของใหม่ยังต้องจ่ายเงินต่อเนื่องจนครบสัญญาอยู่ดี
Recode มองว่าเงื่อนไขนี้เกิดจากตอนนั้น ซีอีโอ Marissa Mayer พยายามอย่างมากในการดันธุรกิจ search ของยาอูให้มาแข่งกับกูเกิลให้ได้ เธอเลยพยายามทำทุกทาง จนกลายเป็นเซ็นสัญญาที่เอื้อประโยชน์กับ Mozilla ไปอย่างมากแทน
ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กรตอบคำถามทางอีเมลถึงแผนพัฒนา Firefox บน Windows 10 Mobile แล้ว ณ เวลานี้บริษัทไม่มีแผนพัฒนาเบราว์เซอร์บนแพลตฟอร์มดังกล่าว และสามารถอ้างอิงข้อมูลนี้ว่ามาจากโฆษกของบริษัทได้
ปัจจุบันนี้ เบราว์เซอร์จากนักพัฒนาภายนอกบน Windows 10 Mobile มีแค่ UC Browser และ Opera Mini ครับ
ที่มา: Nokiapoweruser
มาตามสัญญา Mozilla เปิดให้ดาวน์โหลด Servo เอนจินตัวใหม่ที่จะมาแทน Gecko แล้ว ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด Servo รุ่น nightly ได้แล้ว เบื้องต้นมีเฉพาะเวอร์ชันบนแมคและลินุกซ์ ส่วนเวอร์ชันวินโดวส์และแอนดรอยด์จะตามมาในอนาคต
ตอนนี้ Servo ยังเป็นหน้าต่างเบราว์เซอร์เปล่าๆ ที่ไม่มีฟีเจอร์อื่นใดแบบที่ Firefox มี และออกแบบมาเพื่อใช้ทดสอบการเรนเดอร์เว็บเพจเท่านั้น (Mozilla เตือนว่าอย่าเพิ่งเอาไปใช้ล็อกอินบัญชีธนาคารออนไลน์ด้วย)
Servo ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี 2013 โดยใช้ภาษา Rust และแนวคิดใหม่ๆ เช่น การประมวลผลแบบขนาน เพื่อให้การเรนเดอร์เว็บเพจมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Mozilla ได้ร่วมกับ TODO เอเจนซี่ด้านความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นพันธมิตรของ Mozilla เปิดตัว Codemoji เพื่อเป็นการสอนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปให้รู้จักการเข้ารหัสขั้นพื้นฐาน
วิธีใช้ Codemoji คือฝั่งผู้ส่งให้พิมพ์ข้อความอะไรก็ได้ที่ต้องการส่งให้ใครสักคน จากนั้นเลือก emoji สักตัวที่ต้องการใช้ในการเข้ารหัสข้อความ แล้ว Codemoji จะเข้ารหัสข้อความออกมาเป็น emoji จากนั้นผู้ส่งก็จะต้องคัดลอกลิงก์และส่งให้ผู้รับ
ฝั่งผู้รับเมื่อได้ลิงก์มาก็จะเห็นข้อความที่ถูกเข้ารหัสเป็น emoji และถ้าต้องการอ่านข้อความต้องต้องถอดรหัสออกมาโดยเลือก emoji ให้ตรงกับที่ฝั่งผู้ส่งเลือกใช้ในการเข้ารหัสจึงจะเห็นข้อความเดียวกับที่ผู้ใช้ส่งมา แต่ถ้าเลือกผิดตัวก็จะถอดรหัสออกมาเป็นตัวอักษรมั่ว ๆ
กองทุน Secure Open Source (SOS) ของ Mozilla ที่เพิ่งประกาศเปิดตัว มีผลงานแรกๆ สู่สาธารณะคือการตรวจโค้ดของโครงการ phpMyAdmin ตอนนี้ก็ถึงเวลาเปิดเผยรายงานจากกองทุนนี้
ผู้รับผิดชอบตรวจสอบโค้ด phpMyAdmin คือ NCC Group ตรวจสอบพบช่องโหว่ทั้งหมด 8 ช่อง เป็นช่องโหว่ระดับปานปลาง 3 จุด และช่องโหว่ระดับต่ำ 5 จุด มีช่องโหว่ด้านข้อมูลอีก 1 จุด เกือบทั้งหมดแก้ไขแล้วมีรุ่น 4.6.2
นอกจากช่องโหว่ที่พบแล้ว NCC Group ยังแนะนำเพิ่มเติม ว่า phpMyAdmin ควรรองรับ CSP header, ปรับการทำงานทั้งหมดที่กระทบต่อข้อมูลให้เป็น HTTP POST, แนะนำผู้ใช้ถึงการติดตั้งที่ปลอดภัย, แนะนำให้ผู้ใช้เปิด HTTPS เสมอ, และเพิ่มระบบเตือนเมื่อซอฟต์แวร์ตกรุ่น
Mozilla ได้ตั้งกองทุน Secure Open Source (SOS) ซึ่งเป็นกองทุนที่จะช่วยให้โค้ดของโครงการโอเพนซอร์สมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น มีเงินสนับสนุนแรกเริ่มจาก Mozilla Open Source Support จำนวน 5 แสนดอลลาร์
จุดประสงค์ของกองทุน SOS คือป้องกันปัญหาด้านความปลอดภัยที่จะเกิดขึ้นจากโครงการโอเพนซอร์สต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Heartbleed หรือ Shellshock โดยนำเงินเหล่านี้ไปจ้างบริษัทความปลอดภัยเพื่อตรวจสอบโค้ดของโครงการโอเพนซอร์ส และทำงานร่วมกับผู้พัฒนาโครงการเหล่านี้เพื่อแก้ปัญหา
Firefox 47 ออกแล้วทั้งบนพีซีและบน Android ความเปลี่ยนแปลงสำคัญของเวอร์ชันพีซีมี 2 อย่าง
ส่วน Firefox บน Android จะเลิกแสดง favicon ของเว็บไซต์ในช่อง URL bar เพื่อป้องกันปัญหาเว็บไซต์ประสงค์ร้าย สร้าง favicon เป็นรูปกุญแจ HTTPS หลอกผู้ใช้ว่าเว็บไซต์นี้ปลอดภัย
ในอดีต Mozilla เคยมีโครงการ Test Pilot เก็บสถิติการใช้งานเพื่อปรับปรุงโปรแกรม ล่าสุดโครงการ Test Pilot กลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง ในฐานะโครงการทดลองฟีเจอร์ใหม่ๆ ก่อนนำมาใส่ใน Firefox เวอร์ชันปกติ
เบื้องต้น Test Pilot จะทดสอบ 3 ฟีเจอร์ใหม่ของ Firefox ดังนี้
Mozilla ประกาศข้อตกลงกับ Canonical ว่า Firefox จะยังเป็นเบราว์เซอร์หลักของ Ubuntu ต่อไป (ไม่เปิดเผยระยะเวลาและรายละเอียดว่ามีเรื่องเงินด้วยหรือไม่)
นอกจากนี้ Mozilla ยังประกาศสนับสนุน snap ระบบแพ็กเกจแบบใหม่ของ Ubuntu ว่า Firefox จะออกแพ็กเกจแบบ snap ให้ภายในปีนี้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการอัพเดต Firefox ของระบบปฏิบัติการ Ubuntu เวอร์ชันเก่าๆ ได้ง่ายขึ้น
Mozilla มีโครงการพัฒนาเอนจินตัวใหม่ชื่อ Servo ใช้แทน Gecko โครงการนี้เริ่มต้นในปี 2013 โดยจับมือกับซัมซุง และใช้เวลาพัฒนาอยู่นานพอสมควร ช่วงปลายปี 2014 ทีมพัฒนาออกมาโชว์ประสิทธิภาพของ Servo จากนั้นก็เงียบหายไป
ล่าสุด Mozilla ประกาศว่าจะเปิดให้ดาวน์โหลดเดโมของ Servo เป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายนนี้ ตอนนี้ Servo ยังมีบั๊กด้านการเรนเดอร์เว็บเพจอยู่พอสมควร โดยทีมพัฒนาตั้งเป้าให้เรนเดอร์เว็บดัง 4 เว็บคือ Github, DuckDuckGo, Hackernews, Reddit ให้สมบูรณ์ก่อน
Servo เป็นการออกแบบเว็บเบราว์เซอร์ด้วยเทคโนโลยียุคปัจจุบัน เน้นการใช้ประสิทธิภาพของซีพียูมัลติคอร์ ใช้จีพียูช่วยประมวลผล และใช้ภาษาสมัยใหม่อย่าง Rust ที่พัฒนาโดย Mozilla เอง
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา Firefox ออกเวอร์ชัน 45 ทั้งบนเดสก์ท็อปและบน Android
ของใหม่ของ Firefox เวอร์ชันเดสก์ท็อปได้แก่
ส่วน Firefox for Android จัดหน้าจอ Settings ใหม่ และเพิ่มตัวเลือกโหลดไฟล์ภาพบนเว็บเพจกรณีต่อเน็ต Wi-Fi เท่านั้น สำหรับคนที่ต้องการประหยัดเน็ตผ่านมือถือ
Firefox ประกาศถอดฟีเจอร์ Tab Groups หรือการจัดกลุ่มแท็บเพื่อความเป็นระเบียบ (เดิมทีเรียกว่า Panorama) ด้วยเหตุผลว่าเป็นฟีเจอร์ที่มีคนใช้น้อย และลดภาระการดูแลของทีมงานลง ทาง Mozilla แนะนำให้ใช้วิธีบันทึกแท็บลงบุคมาร์ค (Bookmark All Tabs) เพื่อจัดการแท็บแทน
สำหรับคนที่ยังชอบฟีเจอร์นี้ สามารถติดตั้งส่วนเสริม Tab Groups ทดแทนได้ ตัวโค้ดเป็นชุดเดียวกัน แต่นำมาพัฒนาต่อโดยนักพัฒนาคนอื่นที่ไม่ใช่ทีมงาน Mozilla
ในโอกาสเดียวกัน Firefox for Android จะหยุดซัพพอร์ต Android 2.3-2.3.7 (Gingerbread) แล้ว เนื่องจากมีฐานผู้ใช้ลดลงมาก
เทร็นด์เทคโนโลยีที่มาแรงที่สุดในปี 2016 หนีไม่พ้น VR ที่แพร่ระบาดไปทุกวงการ ฝั่งของวงการเว็บเอง ค่าย Mozilla ก็เสนอสเปก WebVR 1.0 API ออกมาแล้ว
เป้าหมายของ WebVR คือการแสดงผลเนื้อหาประเภท VR บนเว็บเบราว์เซอร์ โดยออกสเปกกลางเพื่อให้เบราว์เซอร์ทุกตัวใช้งานร่วมกันได้ (ฝั่งของคนทำแว่น VR ก็เขียนให้รองรับสเปก WebVR API อันเดียวพอ) ตัวเอกสารนี้พัฒนาโดยทีมของ Firefox และ Chrome ก็น่าจะการันตีส่วนแบ่งตลาดได้เยอะระดับหนึ่ง
สเปก WebVR 1.0 API ยังมีสถานะเป็น "ฉบับร่าง" และต้องรอฝั่งเบราว์เซอร์นำไปใช้งานด้วย ฝั่งของ Firefox ระบุว่าจะเริ่มพัฒนาฟีเจอร์ให้รองรับ WebVR เต็มรูปแบบในช่วงครึ่งแรกของปีนี้
Firefox เป็นเบราว์เซอร์ตัวเดียวที่ยังแยกโพรเซสตามแท็บไม่ได้เหมือนเบราว์เซอร์สมัยใหม่อื่นๆ ก่อนหน้านี้ Mozilla มีแผนเปิดใช้ใน Firefox 43 แต่สุดท้ายก็เลื่อนเป็น Firefox 46 ที่จะออกช่วงเดือนเมษายนนี้
ผลการทดสอบของ Mozilla เองพบว่า Firefox ที่เปิดใช้ฟีเจอร์แยกโพรเซสตามแท็บ (โค้ดเนมภายในคือ Electrolysis หรือ e10s) จะกินแรมเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10-20% จาก Firefox รุ่นปกติ
ทีมงาน Mozilla ระบุว่าต้องหาสมดุลระหว่างความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น (จากการแยกโพรเซส) และการบริโภคทรัพยากรที่เพิ่มมากขึ้น
ที่มา - ghacks
ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา Firefox เปลี่ยนมาใช้ระบบออกรุ่นใหม่ทุก 6 สัปดาห์ แต่ล่าสุด Mozilla ขอปรับระบบการออกรุ่นไปอีกเล็กน้อย โดยไม่ยึดตามระยะเวลา 6 สัปดาห์ตายตัวเหมือนเดิม เปลี่ยนให้ยืดหยุ่นมากขึ้นเป็น 6-8 สัปดาห์แทน เพื่อตอบโจทย์ของนักพัฒนาที่อาจต้องมีวันหยุดเทศกาลบ้าง
จำนวน Firefox ที่ออกใหม่ต่อปีจะยังคงเท่าเดิม แต่บางรุ่นอาจใช้เวลา 7 หรือ 8 สัปดาห์แทนที่เป็น 6 สัปดาห์ และรุ่นสุดท้ายในช่วงปลายปีเดือนธันวาคม เราจะเห็น Firefox 50.0.1 ที่ใช้ระยะเวลาพัฒนาสั้นหน่อย 5 สัปดาห์ และจะมีเฉพาะอัพเดตความปลอดภัยสำคัญเท่านั้น ก่อนข้ามไปออก Firefox 51 อีกครั้งช่วงปลายเดือนมกราคม 2017 เลย
Mozilla เคยออกมาเกริ่นไว้ตั้งแต่ปลายปีก่อนว่าจะเลิกพัฒนา Firefox OS ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาที่ใช้งานเว็บแอพฯ เป็นหลัก โดยเบื้องต้นเลิกขายมือถือไปก่อน ล่าสุดมีรายละเอียดเพิ่มเติมประกาศออกมาเพิ่มเติมแล้ว
ในประกาศล่าสุดในบล็อกนักพัฒนาของ Firefox OS มีรายละเอียดเพิ่มเติมสำคัญๆ ออกมาดังนี้
Firefox 44 ออกแล้ว ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญคือรองรับ push notification จากเว็บไซต์ โดยไม่จำเป็นต้องเปิดแท็บของเว็บนั้นเลย (ผู้ใช้ต้องให้สิทธิเว็บไซต์แต่ละแห่งส่งข้อความด้วย) ฟีเจอร์นี้จึงเหมาะกับบริการออนไลน์อย่างอีเมล โซเชียล สภาพอากาศ ช่วยให้ผู้ใช้งานไม่ต้องเปิดแท็บทิ้งไว้ให้เปลืองหน่วยความจำ
ฝั่งนักพัฒนาเว็บจำเป็นต้องเขียนโค้ดรองรับฟีเจอร์นี้ด้วย โดย Mozilla เลือกมาตรฐาน Web Push ของ W3C รายละเอียดดูได้จาก Mozilla Hacks
Brendan Eich ผู้คิดค้นภาษา JavaScript และอดีตซีอีโอของ Mozilla เปิดบริษัทใหม่ Brave Software ทำในสิ่งที่เขาคุ้นเคยคือ "เว็บเบราว์เซอร์"
เว็บเบราว์เซอร์ตัวนี้มีชื่อว่า Brave จุดเด่นของมันคือบล็อคโฆษณาและสคริปต์สำหรับตามรอย (tracking code/pixel/cookie) เป็นค่าดีฟอลต์ ช่วยให้เว็บเพจโหลดเร็วขึ้นมาก อีกทั้งปลอดภัยจากโฆษณาฝังมัลแวร์ที่เพิ่มปริมาณเยอะขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังเปิดให้ผู้ใช้เลือกได้ว่าจะ "สนับสนุน" เจ้าของเว็บโดยเปิดโฆษณาบางตัว (ที่ดีและมีคุณภาพ)
มอซิลล่าเผยว่าจะปิดตัว Mozilla Persona โครงการสร้างปุ่มล็อกอินเข้าเว็บไว้ที่ตัวเบราว์เซอร์ และให้เบราว์เซอร์คอยจัดการเรื่องการล็อกอินเข้าเว็บให้เราแทน ในวันที่ 30 พ.ย. นี้
มอซิลล่ายืนยันว่าจะซัพพอร์ตบริการ รวมถึงด้านความปลอดภัยจนถึงวันดังกล่าว แต่จะไม่เพิ่มฟีเจอร์ใหม่แล้ว เว็บไซต์ใดที่ใช้ Mozilla Persona ควรเริ่มหันไปใช้บริการล็อกอินอื่นแทนได้แล้ว
หน่วยงานออกใบรับรองแห่งรัฐบาลคาซัคสถาน (Root Certification Authority of the Republic of Kazakhstan - root.gov.kz) ยื่นความจำนงขอให้มอซิลล่ารวมเอา root CA ของรัฐบาลเข้าไว้ในฐานข้อมูลเพื่อให้ใบรับรองที่ออกโดยรัฐบาลได้รับความเชื่อถือ
Firefox 43 เปิดให้ดาวน์โหลดอย่างเป็นทางการ ของใหม่ที่สำคัญคือรุ่น 64 บิตบนวินโดวส์ แต่ก็ยังมีฟีเจอร์ใหม่อย่างอื่นดังนี้
หลังจากค้างอยู่ใน 32 บิตมานาน มอซิลล่าก็ปล่อยไฟร์ฟอกซ์รุ่น 64 บิตสำหรับวินโดวส์แล้วในวันนี้ รองรับ Windows 7 เป็นต้นไป
ตัวไฟร์ฟอกซ์ 64 บิตจะจำกัดการรองรับปลั๊กอิน ทำให้ปลั๊กจำนวนหนึ่งไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป แต่ข้อดีคือประสิทธิภาพในบางเว็บและเกมน่าจะดีขึ้น
Mozilla เปิดตัว Focus by Firefox ตัวช่วยบล็อคโฆษณาบน iOS 9
เป้าหมายของ Focus คือช่วยรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ นอกจากการบล็อคโฆษณาแล้วยังบล็อคการตามรอย (tracking) ผู้ใช้จากคุกกี้ของเครือข่ายสังคมและซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูล (analytics) ด้วย ตัวป้องกันการตามรอยใช้เทคโนโลยีเดียวกับ Private Browsing แบบใหม่ ของ Firefox บนพีซี
Focus ยังสามารถบล็อคการแสดงผล Web Fonts ที่ฝังมากับเว็บเพจเพื่อลดปริมาณข้อมูลที่ต้องโหลดหน้าเว็บได้ด้วย