นักวิจัยจากศูนย์ไมโครซอฟท์รีเสิร์ชที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และสถาบันเทคโนโลยีสวิส ซูริคได้ร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบปฏิบัติการใหม่เพื่อตอบสนองการประมวลผลโปรแกรมรวดเร็วขึ้นบนคอมพิวเตอร์ที่มีมัลติคอร์ซีพียู ในชื่อโครงการ Barrelfish
โดยทีมพัฒนา Barrelfish มีแนวคิดในการวางโครงสร้างระบบปฏิบัติการสำหรับมัลติคอร์ซีพียูในอนาคต บนแนวทางพัฒนาด้านฮาร์ดแวร์ 2 แนวทาง คือ
อีกไม่นาน CPU ที่มีเพียง core เดียวก็จะหยุดวางจำหน่าย -- Multi-core CPU กำลังจะยึดครองโลก! -- เหตุผลแค่นี้ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้โปรแกรมเมอร์ต้องหันมาเขียนโปรแกรมเชิงขนานกันอย่างจริงจัง
เมื่อวันพฤหัส-ศุกร์ที่ผ่านมา (19-20 มีนาคม) มีโอกาสได้เข้าร่วม โครงการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีมัลติคอร์ (Intel Multi-core Programming Workshop) จัดโดย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอินเทล เนื้อหาอบรมเน้นสอนการเขียนโปรแกรมเชิงขนานเบื้องต้น หลักการเปลี่ยนโปรแกรมเก่าให้ทำงานแบบเชิงขนาน ไปจนถึงการวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของโปรแกรม
เมื่อหลายปีก่อนนั้น คอมพิวเตอร์มีความเร็วเริ่มที่ 1 เมกะเฮิร์ต (เครื่อง Apple II+) ต่อมาไอบีเอ็มสร้าง PC XT เริ่มที่ 4.77 เมกะเฮิร์ต ในยุคถัดมา PC AT ก็เร็วขึ้นอีกเป็น 6 เมกะเฮิร์ต ขณะนี้ เราใช้เครื่องที่ซีพียูเร็วราว 2-3 กิกะเฮิร์ตกันอยู่ ทุกครั้งที่คอมพิวเตอร์เร็วขึ้นผู้ใช้ก็จะได้ใช้ซอฟต์แวร์ที่รวดเร็วอยู่พักหนึ่งก่อนที่บริษัทจะออกโปรแกรมใหม่ๆ ที่เพิ่มความสามารถ แต่กินแรงเครื่องจนช้าเท่าเดิม อย่างไรก็ตามไม่มีใครห่วงมากนักเพราะสักพัก ซีพียูใหม่ๆก็เพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาอีก ทำให้เครื่องเร็วขึ้นเอง ผู้ใช้แค่เก็บเงินไว้เปลี่ยนเครื่องใหม่ๆเป็นระยะก็พอ ในหลายปีที่ผ่านมา วิธีการเพิ่มสัญญาณนาฬิกาแบบเดิมเริ่มไม่ได้ผล ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ความร้อนที่เพิ่มขึ้น ได้กลายเป็นขีดจำกัดที่ยังไม่สามารถ