Neil Young นักดนตรี และนักแต่งเพลงชาวแคนาดาผู้มีชื่อเสียงด้านเพลงร็อคเปิดตัวบริการเพลงเต็มรูปแบบซึ่งประกอบด้วยร้านขายเพลงออนไลน์ (PonoMusic.com) และเครื่องเล่นเพลง (PonoPlayer)
Young บอกว่าแพลตฟอร์มเล่นเพลงนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อให้คุณภาพเสียงในระดับสูงราวกับฟังจากสตูดิโอ แบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรก PonoMusic ร้านขายเพลงออนไลน์ที่เพียบพร้อมด้วยเพลงคุณภาพสูงจากทั้งค่ายใหญ่ และค่ายอิสระ โดยไม่มี DRM มาเกี่ยวข้อง ส่วนตัวเครื่องเล่น PonoPlayer นั้นใช้ชิป ESS ES9018 ที่ว่ากันว่าเป็น DAC คุณภาพสูงสุดในโลก มีพื้นที่ความจุในตัวสูงถึง 128GB ใส่หน่วยความจำเพิ่มได้ และยังมีหน้าจอสัมผัสให้อีกด้วย
ในยุคนี้การโฆษณานอกจากจะทำให้น่าสนใจแล้ว ยังจะต้องแสดงความพิเศษของสินค้าให้ชัดด้วย และโฆษณาชุดล่าสุดของเครื่องเล่น mp3 ในทรงหูฟังของ Sony ก็ทำมาตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ค่อนข้างดี ที่เล่นกับความสามารถกันน้ำด้วยการนำไปใส่ในกระบอกน้ำเสียเลย
โฆษณาชิ้นดังกล่าวเป็นผลงานของเอเยนซี DraftFCB ที่ทำแคมเปญให้กับ Sony สาขานิวซีแลนด์ด้วยการหยิบเอาเครื่องเล่น mp3 อย่าง NWZ-W270 ที่เป็นทรงหูฟัง และสามารถกันน้ำได้ มาเปลี่ยนแพคเก็จใหม่ โดยจับไปใส่ในกระบอกน้ำ และนำไปรวมไว้ในตู้ขายอัตโนมัติที่วางไว้ตามยิมให้กดซื้อกันได้
แกะออกมาแล้วน่าจะยังใช้ฟังเพลงได้ แต่น้ำที่แช่ไว้คงไม่น่ากินเท่าไหร่ครับ
1 ในฟีเจอร์ที่ Google ถูกเรียกร้องให้ช่วยเพิ่มแก่ YouTube อันดับต้นๆ คือการเล่นเพลงในขณะที่เปิดใช้งานแอพอื่น หรือแม้แต่ปิดหน้าจอ ซึ่งเร็วๆ นี้ YouTube สำหรับ Android ก็จะมีฟีเจอร์อย่างที่ว่านี้แล้ว
สำหรับใครบางคน YouTube คือแหล่งรวมเพลงในฝันที่หา music video เพลงดังของศิลปินทั้งไทยและเทศได้ไม่ยาก ไหนจะดูฟรีฟังฟรีอีก (ไม่นับค่าบริการอินเทอร์เน็ต) แต่ YouTube ก็ยังไม่ใช่แอพที่จะใช้งานเป็นเครื่องเล่นเพลงได้สะดวกนัก เพราะเมื่อไหร่ที่เปิดแอพอื่นขึ้นมาหรือหน้าจอดับไป YouTube ก็จะหยุดเล่นไฟล์วิดีโอ ซ้ำเมื่อเปิดกลับมาดูใหม่ ก็ต้องเริ่มเล่นเพลงใหม่ตั้งแต่ต้นอีก ทว่าอีกไม่นาน YouTube สำหรับ Android จะได้รับการแก้ไขเรื่องนี้
หลังจากเว็บไซต์ Evleaks ที่นำเสนอข่าวหลุดและภาพหลุดผลิตภัณฑ์ใหม่ได้แม่นยำอยู่บ่อยครั้ง ได้กล่าวถึงเครื่องเล่นเพลงดิจิทัลของ Nokia ที่ชื่อว่า Guru ล่าสุดก็ได้ทวีตข้อความเรื่องนี้อีกครั้งพร้อมแนบภาพที่เชื่อว่าจะเป็น Guru ตัวที่ว่ามาให้ชมด้วย
Samsung ได้รับสิทธิบัตรเครื่องเล่นเพลงดิจิทัล ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนเครื่องดนตรีอีกหนึ่งชิ้นที่ผู้ใช้งานสามารถสั่งการและร่วมบรรเลงเพลงที่เล่นอยู่ในขณะนั้นได้
ลองจินตนาการว่าในขณะที่กำลังฟังเพลงจากเครื่องเล่นเพลงดิจิทัลชนิดพิเศษนี้ ผู้ใช้งานถือมันด้วยมือซ้าย จากนั้นเลื่อนมือซ้ายเข้า-ออก พร้อมทั้งใช้นิ้วกดปุ่มต่างๆ ที่อยู่บนเครื่องเล่น ซึ่งเปรียบเสมือนการจับคอร์ดกีตาร์ ในขณะเดียวกันก็ใช้มือขวาสะบัดขึ้นลงตามจังหวะที่ต้องการ แทนการตีคอร์ดหรือดีดสายกีตาร์นั่นเอง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือเพลงที่ฟังอยู่ในขณะนั้นจะมีเสียงกีตาร์ที่ผู้ใช้ร่วมบรรเลงแทรกอยู่ด้วย
ใครหลายคนคงมีความหลังกับเครื่องเล่นเพลงจากตลับเทปคาสเซตชื่อดังอย่าง Walkman ซึ่งล่าสุด Sony ได้ประกาศว่าจะหยุดการผลิตสินค้าในปีหน้าแล้ว
เครื่องเล่นเพลง Walkman ที่หลายคนอาจเรียกติดปากว่า Soundabout ซึ่งเป็นชื่อสำหรับการโฆษณาในสหรัฐอเมริกา เริ่มผลิตครั้งแรกในญี่ปุ่นตั้งแต่ 33 ปีก่อน และกลายเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมทั่วโลก ก่อนที่จะมีเทคโนโลยีใหม่ถูกพัฒนาขึ้นมาทดแทนจนเทปคาสเซตโดนกลืนหายไปตามกาลเวลา
ข่าวเก่าหน่อยนะครับ เมื่อวันที่ 24 ส.ค. บริษัท SanDisk ได้ประกาศเปิดตัว Sansa Clip Zip ซึ่งเป็นเครื่องเล่น MP3 ตระกูล Sansa Clip รุ่นที่ 3 (รุ่นก่อนหน้าคือ Sansa Clip และ Sansa Clip+ ที่ได้รางวัล CNet Editor's Choice August 2009)
จุดเด่นของเครื่องเล่น MP3 ตระกูล Sansa Clip นอกจากคุณภาพเสียงที่เป็นที่ยอมรับในหมู่ชาว audiophile ใน head-fi.org และ anythingbutipod.com ก็คือราคาที่ย่อมเยา และน้ำหนักที่เบามาก เหมาะสำหรับใช้ตอนเดินทาง หรือตอนออกกำลังกาย
คุณสมบัติหลักๆ ของ Sansa Clip Zip มีดังนี้:
อดีตอันรุ่งโรจน์ของโซนี่กำลังกลายเป็นประวัติศาสตร์ไปอีกหนึ่งหน้าเมื่อทางโซนี่ประกาศจะหยุดสายการผลิตเครื่องเล่น MD Walkman ภายในเดือนกันยายนนี้หลังจากเลิกผลิตเครื่องเล่นเทป Walkman ไปเมื่อปีที่แล้ว
เครื่องเล่น MD (MiniDisk) นับว่าเป็นความผิดพลาดที่น่าเจ็บปวดของโซนี่ จากความมั่นใจใน "อารยธรรม" ของตัวเองที่กำลังขึ้นถึงขีดสุด โซนี่ปฎิเสธที่จะผลิตเครื่องเล่น MP3 ที่กำลังได้รับความนิยมในช่วงแรกแต่ดึงดันที่จะใช้แผ่น MD และรองรับไฟล์ ATRAC3 ของตัวเองเท่านั้นเป็นเวลานาน จนกระทั่งผู้ผลิตรายอื่นๆ กินส่วนแบ่งเครื่องเล่นเพลงพกพาอย่างหนัก และเป็นช่องทางให้แอปเปิลผงาดขึ้นมาในตลาดนี้ได้
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยชื่อว่าไมโครซอฟท์กำลังเลิกพัฒนา Zune อย่างเป็นทางการ และเตรียมแนวทางให้นักพัฒนาย้ายแอพพลิเคชั่นไปรันบนโทรศัพท์หรือพีซีแทน
Zune พยายามเจาะตลาดเครื่องเล่นเพลงพกพามาตั้งแต่ปี 2006 แต่ห้าปีผ่านไปแอปเปิลยังคงครองส่วนแบ่งตลาด 77% ขณะที่ Zune นั้นไม่ติดห้าอันดับแรก (ซึ่งตามหลังแอปเปิลอยู่ห่างไกล) ด้วยซ้ำ แม้ไมโครซอฟท์จะขึ้นชื่อเรื่องการทำสงครามยืดเยื้อ เช่น XBox ที่ต่อสู้กับโซนี่มานานจนกระทั่งสามารถทำกำไรได้ แต่กรณีเช่น Zune นี้ที่ไม่ได้ทั้งกำไรและส่วนแบ่งตลาดก็อาจจะทำให้ไมโครซอฟท์ต้องถอนตัวออกไป
ที่มา - Bloomberg
สหภาพยุโรป (EU) โดยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) กำลังมีแผนที่จะกำหนดมาตรฐานความดังของเสียงในเครื่องเล่นเพลงแบบพกพาไม่ให้เกินระดับที่ปลอดภัยต่อการได้ยิน
ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เครื่องเล่นเพลงมักจะมีคุณสมบัติในการปรับค่าสูงสุดไม่ให้เกินจำนวนหนึ่ง แต่ทางสหภาพฯ เห็นว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญ หรือไม่ทราบถึงอันตรายของเสียงที่ดังเกินความเหมาะสม ไปจนถึงไม่ทราบว่ามีคุณสมบัติเหล่านี้ในเครื่องเล่นของตน ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 5 - 10 เปอร์เซนต์ หรือกว่า 10 ล้านคนในยุโรปกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงจากการสูญเสียการได้ยิน