กสทช.
กสทช. ส่งหนังสือแจ้งโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ทั้ง 5 รายแล้วว่า การกำหนดอายุของเงินที่เติมผ่านระบบพรีเพด ถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม 2549 ที่ กสทช. ประกาศมานานแล้วและยังฝ่าฝืนกันอยู่
ดังนั้น กสทช. จะเริ่มใช้มาตรการทางปกครองคือปรับวันละ 100,000 บาท โดยเริ่มจากวันที่ 1 มิถุนายน 2555 เป็นต้นไป
ด้าน น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ให้สัมภาษณ์ว่ายินดีที่ กสทช. เริ่มดำเนินการจริงจัง แต่ก็ควรจะทำมานานแล้ว และตัวเลขวันละ 100,000 บาทยังดูน้อยเกินไป
สำหรับผู้ที่ยังพบปัญหาลักษณะนี้อยู่ แจ้งไปทาง กสทช. ได้ที่สายด่วน 1200 (รายละเอียด)
เมื่อบ่ายวันนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ซึ่งเป็นคณะกรรมการฝั่งที่ดูแลกิจการด้านวิทยุ-ทีวีของ กสทช. แถลงข่าวเรื่องมาตรฐานการแพร่ภาพของทีวีแบบดิจิทัลในไทยแล้ว
มาตรฐานที่ กสท. เลือกคือ DVB-T2 ซึ่งเป็นมาตรฐานของฝั่งยุโรป (DVB-T) รุ่นที่สองที่พัฒนาขึ้นจากรุ่นแรกในแง่เทคนิคการส่งสัญญาณ
เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ อ้างแหล่งข่าวภายในบอร์ดด้านโทรคมนาคมของ กสทช. (ชื่อเต็มคือ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค.) ต่อสัญญาธุรกิจระหว่าง CAT Telecom และ TrueMove H
กระบวนการสอบสวนของ กทค. ใช้วิธีตั้งอนุกรรมการ 2 ชุดใน 2 ประเด็น คือ ชุดแรกตรวจสอบว่าสัญญาขัดกับ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 46 ที่ห้ามโอนใบอนุญาตให้บุคคลอื่นประกอบกิจการแทน และชุดที่สองตรวจสอบเงื่อนไขการเซ็นสัญญาระหว่างสองบริษัท
จากการที่อนุกรรมการ 3Gฯ (กทค.) ที่กำลังจะประกาศวิธีการประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz สำหรับให้บริการ 3G โดยยกเลิกวิธีการเก่าที่ใช้ N-1 ไปแล้ว ทางกสทช. จึงได้จัดเวิร์คช็อปให้กับสื่อมวลชน โดยเชิญคุณพัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ ผู้เคยทำงานอยู่ที่ Cramton Associates LLC และมีประสบการณ์ทางด้านการประมูลคลื่นความถี่ในหลายประเทศมาเป็นวิทยากร
ก่อนจะเข้าเรื่องวิธีการประมูลคลื่นความถี่ จะเริ่มพูดถึงจุดประสงค์หลักของการออกแบบการประมูลคลื่นความถี่เสียก่อน สำหรับประเทศไทยจะเน้นไปที่ 4 ข้อหลักดังนี้
วันนี้ (4 พ.ค. 55) กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. จัดงานแถลงข่าว “เตือนภัยคนไทยใช้มือถือในต่างแดน (International Roaming)” ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยเปิดตัวคู่มือการใช้บริการโรมมิ่ง “มือถือไปเมืองนอก” เพื่อให้ผู้ใช้มือถือชาวไทยรู้ทันเงื่อนไขของบริการโรมมิ่งระหว่างประเทศ ไม่ให้โดนคิดเงินแพงเกินควร (ปัญหา bill shock)
ผมเชื่อว่าผู้อ่าน Blognone คงรู้เรื่องโรมมิ่งระหว่างประเทศกันดีอยู่แล้ว แต่ก็คงต้องตอบคำถามเรื่องนี้บ่อยๆ จากคนใกล้ตัว ดังนั้นจึงนำไฟล์ PDF ของหนังสือ "มือถือไปเมืองนอก" ที่ กสทช. เปิดให้ดาวน์โหลดอยู่แล้วมาเผยแพร่ต่อ เผื่อจะมีประโยชน์กับใครอีกหลายคนครับ
ที่มา - กสทช.
อนุกรรมการประมูล 3G (ที่ mk ไปร่วมอยู่ด้วย) เริ่มมีข้อสรุปบางส่วนออกมาเป็นข่าวกันแล้ว โดยประเด็นแรกที่ออกมาคือการประมูลที่มีกฏ N-1 หรือกฏที่บังคับว่าต้องมีผู้ร่วมประมูลรายหนึ่งแพ้ประมูลเสมอนั้นจะถูกตัดออกไป
รูปแบบการประมูลที่เปลี่ยนไป การแข่งขันจะเปลี่ยนไปคือจะแบ่งเป็นช่วงๆ ประมูลทีละ 5MHz หากต้องการคลื่นมาก (เพื่อเตรียมรองรับผู้ใช้บริการเยอะๆ) ก็ต้องประมูลไปหลายช่วง รูปแบบนี้ทำให้น่าจะเกิดผู้ให้บริการรายเล็กที่ประมูลคลื่นไปได้เพียง 5MHz ขึ้นมา
เมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมาคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ซึ่งเป็นบอร์ดเล็กฝั่งโทรคมนาคมของกสทช. ได้มีมติไม่อนุมัติให้บริษัท อินโฟเน็ท (ประเทศไทย) จำกัด เพิ่มอุปกรณ์ Media Gateway เนื่องจากเป็นการเพิ่มความสามารถในการส่งข้อมูลเสียงทำให้สามารถให้บริการเสียงระหว่างประเทศได้ และจะกระทบต่อผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
บริษัท อินโฟเน็ท (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ถือใบอนุญาตประเภทที่สอง คือ ใบอนุญาตให้บริการโทรคมเฉพาะกลุ่ม แม้จะติดตั้ง Media Gateway แต่ก็น่าจะเป็นบริการที่ใช้ในวงจำกัด อาจจะอยู่ในหน่วยงานเท่านั้น แต่กทค. ก็ยืนยันว่าการการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ จะต้องให้ขอใบอนุญาตประเภทที่สาม คือ กลายเป็นผู้ให้บริการสำหรับคนจำนวนมาก
เมื่อวานนี้นอกจากแผนแม่บททั้งสามแผน ประกาศอีกตัวหนึ่งที่เข้าประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมๆ กัน คือ ประกาศเรื่องอัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ. 2555 ที่มีใจความสำคัญให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องลดค่าโทรลงเหลือต่ำกว่า 99 สตางค์ต่อนาทีภายในวันที่ 31 ธันวาคมที่จะถึงนี้ โดยประกาศนี้เป็นประกาศที่ได้รับการเสนอจากกทค. มาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
ด่านแรกของการกำกับดูแลคลื่นความถี่อย่างเต็มรูปแบบของกสทช. คือต้องประกาศแผนแม่บทลงสู่ราชกิจจานุเบกษาก่อนจึงสามารถใช้อำนาจกำกับดูแลได้ และวันนี้แผนแม่บททั้งสามฉบับ คือ แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. ๒๕๕๕), แผนแมบทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙), และะแผนแมบทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) ก็ลงราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้วทำให้มีผลบังคับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
หลังจากแผนแม่บททั้งสามแผนมีผลแล้วกสทช. จะเริ่มมีอำนาจในการออกใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่และกิจการต่างๆ ตามมาตรา 48, 49, และ 50 ของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
แผนแม่บทหลักของกสทช. คือ แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ เป็นแผนแม่บทแรกที่ต้องประกาศบังคับใช้ก่อนที่กสทช. จะเริ่มมีอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่อื่นๆ (รวมถึงการประมูล 3G) และวันนี้ในที่ประชุมกสทช. ก็โหวตร่างนี้และผ่านร่างออกรอการประกาศเข้าสู่ราชกิจจานุเบกษาต่อไป
สัญญา Truemove H ที่ทางกลุ่มทรูทำกับ CAT นั้นถูกหลายฝ่ายท้วงติงว่ามีปัญหาหลายประการมาโดยตลอด ล่าสุดก็มาจากฝ่ายวุฒิสภาที่ชี้ว่าสัญญานั้นผิดใน 3 ประเด็นคือ การโอนสิทธิ์ในการครอบครองคลื่นความถี่, การหลีกเลี่ยงพรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544, และการหลีกเลี่ยงพรบ.ร่วมทุน
อย่างไรก็ดีคณะกรรมาธิการของวุฒิสภานั้นไม่ได้มีหน้าที่บังคับใช้กฏหมายโดยตรง จึงทำได้เพียงแต่ส่งเรื่องไปยังป.ป.ช. ที่กำลังสอบสวนอยู่เหมือนกัน นอกจากนี้ทางฝั่งกสทช. เองก็เพิ่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมาสอบสวนประเด็นนี้ โดยมีกรอบเวลาสอบสวน 60 วัน
Disclaimer หรือการประกาศตัวเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นมารยาทที่ควรทำเพื่อแสดงความโปร่งใสในการทำงาน ดังนั้นผมขอใช้พื้นที่ตรงนี้แจ้งข้อมูลสักหน่อยนะครับ
ข่าวนี้ช้าไปนิดนึงนะครับ เพราะ กสทช. จะจัดงานรับฟังความคิดเห็นสาธารณะวันพรุ่งนี้ (27 ม.ค.) แล้ว แต่ก็ยังสามารถส่งความเห็นเข้าไปทางช่องทางอื่นๆ เช่น อีเมล ไปรษณีย์ หรือแฟ็กซ์ได้เช่นกัน
สรุปเนื้อหาแบบสั้นๆ คือ กสทช. กำลังจะประกาศ "มาตรฐาน" ของการให้บริการข้อมูลบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือเรียกง่ายๆ ว่าข้อกำหนดเรื่อง mobile data ว่าผู้ให้บริการต้องมีมาตรฐานอย่างไรบ้าง เช่น ระยะเวลาการส่ง SMS จากต้นทางถึงปลายทาง, อัตราการโหลดแพ็คเก็ต HTTP ให้สำเร็จบนเครือข่าย 3G ควรจะเป็นเท่าไร ฯลฯ ซึ่งจะกระทบต่อชีวิตการใช้เน็ตบนมือถือของพวกเราแน่นอน
แถวนี้มีวิศวกรเครือข่ายอยู่เยอะแน่นอน ดังนั้นโปรดสละเวลากันคนละเล็กน้อย อ่านร่างประกาศนี้ว่าอะไรดีไม่ดี แล้วส่งความเห็นกลับไปที่ กสทช. ด้วยนะครับ
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา หนึ่งในคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. ซึ่งเป็นกสทช. ในส่วนของโทรคมนาคม (ข่าวเก่า: แผนการทำงานปี 2555 ของกทค.) เปิดเผยว่าคณะกรรมการกทค. ได้หารือถึงร่างประกาศกสทช.
เหตุการณ์ต่อเนื่องจากเหตุเครือข่ายล่มครั้งที่สองของดีแทคครับ
คุณประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ได้เผยต่อไทยรัฐไว้ว่า ในวันพรุ่งนี้ กสทช. บางท่าน จะเดินทางไปยังสำนักงานใหญ่ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่อาคารจัตุรัสจามจุรี ถนนพระรามที่ 4 เพื่อพบผู้บริหารหลักของดีแทค (ซึ่งก็คือคุณจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์) และพูดคุยถึงสาเหตุการเกิดสัญญาณเครือข่ายล่ม พร้อมกันนั้นยังได้ส่งเจ้าหน้าที่ กสทช. ไปตรวจสอบตารางบันทึกข้อมูลชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ Mobile Switching Center เพื่อตรวจสอบว่าตรงตามที่ทางดีแทคแจ้งเข้ามาหรือไม่ และจะทำการส่งรายงานกลับมายัง กสทช. ในช่วงเช้า ก่อนที่จะไปพบผู้บริหารของดีแทคในช่วงเวลาบ่ายสองโมงครับ
เมื่อวานนี้ผู้ใช้ดีแทคบางคนต้องเจอกับปัญหา "ล่มปากอ่าว" อีกครั้ง โดยครั้งนี้เป็นการล่มครั้งที่สองในรอบไม่ถึงเดือน ไม่รู้ว่าปัญหามาจากการเปลี่ยนระบบ Home Location Register หรือ HLR จากเดิมของ โนเกีย-ซีเมนส์ เป็น อิริคสัน เพื่อยกระดับจาก EDGE เป็น EDGE+ หรือเปล่า แต่เบื้องต้นดีแทคได้สันนิษฐานไว้ว่า เป็นปัญหาธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบนตามได้ประกาศแจ้งไว้บนเว็บไซต์เมื่อวาน - ไทยรัฐ
The Nation รายงานว่า TOT กำลังต้องการหาคู่ค้าทั้งโอเปอเรเตอร์และผู้ขายอุปกรณ์เครือข่าย LTE มาทดสอบการให้บริการ LTE กับ TOT โดยก่อนหน้านี้ TOT กับ AIS ได้ประกาศร่วมมือกันทดสอบการให้บริการ LTE แล้วบนย่านคลื่นความถี่ 2300 MHz ของ TOT เอง โดย TOT จะใช้คลื่น 20 MHz จากทั้งหมด 64 MHz ในการทดสอบ โดยนายอานนท์ ทับเที่ยง ประธานฯ TOT กล่าวว่าการทดสอบจะเริ่มขึ้นเดือนหน้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ก่อน หลังจากนั้นจะเริ่มขยายการทดสอบไปจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป
เช่นกัน บริษัทลูกของ AIS ชื่อ Digital Phone Co ก็ได้ร่วมมือกับ CAT Telecom ในการทดสอบบริการ 4G บนย่านคลื่นความถี่ 1800 MHz โดยการทดลองจะเริ่มในจังหวัดมหาสารคามกลางเดือนหน้า
ตามกฎหมายแล้ว กสทช. จะต้องออกแผนแม่บทที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของตัวเองจำนวน 4 ฉบับเสียก่อน จึงจะเริ่มต้นทำงานในส่วนอื่นๆ ได้ ซึ่งเมื่อวานนี้ (27 ธ.ค.) กสทช.
ภารกิจแรกหลังมีกสทช. คือการประกาศแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ เพราะกฏหมายกำหนดให้ประกาศทั้งสองอย่างเสียก่อน กสทช. จึงมีอำนาจในการจัดสรรคลื่นความถี่ให้เป็นไปตามแผนที่ประกาศไว้นี้ ร่างของแผนแม่บทนั้นได้รับการรับรองจากบอร์ดกสทช. แล้วและเปิดให้คนทั่วไปเข้าถึงได้
โดยทั่วไปร่างนี้ในฝั่งของโทรคมนาคมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากแผนการทำงานเดิมของกทช. ที่ต้องการเปิดคลื่นความถี่ 2100 MHz มาทำโทรศัพท์ 3G และเปิดคลืน 2300 MHz และ 2600 MHz มาทำบรอดแบนด์ไร้สาย พร้อมกับยืนยันคลื่นที่อนุญาตให้ใช้งานได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเช่น คลื่น 2.4 GHz และ 5 GHz อย่างไรก็ดีการที่มีแผนแม่บทและได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้นจะเป็นการยืนยันอำนาจของกสทช. ในการจัดสรรคลื่นเหล่านี้ได้ จากปัญหาเมื่อครั้งที่มีความพยายามจัดสรรคลืนความถี่เหล่านี้และถูกฟ้องถึงอำนาจของกทช. ในปีที่แล้ว
note: วันนี้ผมมาร่วมงาน NBTC Public Forum ที่รับฟังความคาดหวังของภาคประชาสังคมต่อกสทช. ผมและ mk จึงร่างจดหมายเพื่อแสดงความคาดหวังของเราในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อแสดงต่อกสทช. ในงานนี้ครับ
ถึง กสทช. ทุกท่าน
ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา บริการโทรคมนาคมมีความสำคัญต่อชีวิตประชาชนขึ้นอย่างมาก คนจำนวนมากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการเข้ามาของเทคโนโลยีโทรคมนาคม คนจำนวนมากมีชีวิตโดยต้องพึ่งพิงโทรคมนาคมเพื่อการดำรงค์ชีวิต ทั้งการอาชีพและการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคมตามอัตภาพ
ผู้อ่าน Blognone คงรู้จัก กสทช. กันดีอยู่แล้ว แต่ชื่อที่อาจยังไม่ค่อยคุ้นหูกันสักเท่าไรคือ กทค. และ กสท. (ที่ไม่ใช่ CAT) ซึ่งเป็นคณะกรรมการย่อยของ กสทช.
กสทช. เป็นองค์คณะกรรมการทั้งหมด 11 คน ตามกฎหมายให้แบ่งการทำงานออกเป็นประธาน กสทช. 1 คน, คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) 5 คน และ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) อีก 5 คน เพื่อแบ่งงานกันทำ (ส่วนกรรมการคนไหนอยู่ชุดในไหน ดูในเว็บของ กสทช.)
ข่าวนี้เป็นข่าวของ กทค. ฝั่งโทรคมนาคม ที่ออกมาแถลงแผนการทำงานปี 2555 ต่อสื่อมวลชน โดยมีเรื่องสำคัญอย่างการประมูลความถี่ IMT ย่าน 2.1GHz และการเตรียมรับมือเรื่องสัมปทานมือถือ 2G ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในเร็ววัน
กสทช. อนุมัติคำร้องขอร่วมจาก TOT และ AIS เพื่อทดลองเทคโนโลยีเครือข่าย LTE บนความถี่ 1800 MHz และ 2300 MHz รวมทั้งสิ้น 20 ช่องสัญญาณ โดยการทดสอบจะติดตั้งตัวส่งสัญญาณ 84 จุดในกรุงเทพฯ และบางหัวเมืองใหญ่ ใช้เวลาทดสอบทั้งสิ้น 90 วัน และสามารถขยายเพิ่มได้อีก 90 วัน (เป็น 180 วัน) ทั้งนี้ในเนื้อหาข่าวยังไม่ได้ระบุพื้นที่ และช่วงเวลาในการทดสอบ
นอกจากนี้ กสทช. ยังคงเปิดรับคำร้องจากทั้งทาง CAT Dtac และ True ด้วยเช่นกัน จากคำบอกเล่าของคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ทาง True เป็นอีกค่ายที่ได้ยื่นคำร้องไปแล้ว
ปล. ไม่แน่ใจควรจะดีใจไหม?
ที่มา - The Nation
เช้าวันนี้ทางสำนักสื่อสารสาธารณะและบริการประชาชน สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ได้ส่งจดหมายข่าวเตือนผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ต่อคดี "อากง เอสเอ็มเอส" ว่าสะท้อนว่าเจ้าของเครื่องจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำผ่านเครื่องนั้นๆ แม้จะไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้ลงมือจริงก็ตาม
ผลจากคดีนี้ กสทช.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ออกคำเตือนผ่านสบท. ดังนี้
ตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 นั้นกำหนดให้การใช้งานเพื่อการค้านั้นต้องได้รับใบอนุญาตผ่านการประมูลเท่านั้น ปัญหาคือกสทช. จะเริ่มจัดสรรคลื่นความถี่ได้ก็หลังจากออกตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติได้เสียก่อน ระหว่างนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่สัญญาการใช้ความถี่ต่างๆ ที่หมดลงจะต้องหยุดดำเนินกิจการจนกว่าเราจะเข้าสู่ระบบการประมูล ผลคือกิจการที่สัญญาจะหมดลงในช่วงนี้ก็จะถูกยึดความถี่คืนทั้งหมด
ย้อนกลับไปข่าวเก่าเมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากที่วุฒิสภาได้คัดเลือก กสทช. ทั้ง 11 คนแล้วนั้น เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้นำรายชื่อของผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ชุดแรก ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ขึ้นทูลเกล้าฯ ไปแล้วนั้น ในวันเดียวกันก็มีสำเนาประกาศจากสำนักนายกรัฐมนตรีส่งมายังรัฐสภาโดยมีใจความว่า