กสทช.
กสท. มีมติเห็นชอบร่างประกาศหลักเกณฑ์ของกิจการโทรทัศน์ซึ่งผ่านการทำประชาพิจารณ์แล้ว จำนวน 3 ฉบับ เตรียมนำเข้าที่ประชุมใหญ่ของ กสทช. ในวันที่ 14 พ.ย. ซึ่งหากได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่อีกครั้ง ก็จะนำออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยร่างประกาศดังกล่าว ได้แก่
กสทช. เริ่มให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม เข้ายื่นคำขอรับใบอนุญาตการประกอบกิจการ โดยแจ้งกำหนดให้ทุกรายยื่นขอรับใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 15 ธ.ค. 2555 มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นกิจการผิดกฎหมาย
ใบอนุญาตดังกล่าวนี้ ครอบคลุมกลุ่มผู้ให้บริการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมทุกราย กล่าวคือการให้บริการทีวีแบบไม่ใช้คลื่นความถี่ โดยเริ่มเปิดรับคำขอใบอนุญาตตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา และจะเปิดรับถึง 15 ธ.ค. นี้ โดยผู้ประกอบการทุกรายทั้งที่ให้บริการอยู่แต่เดิม และผู้ประกอบรายใหม่ ต้องเข้ายื่นคำขอทั้งหมดและดำเนินกิจการภายใต้ระเบียบของใบอนุญาต ซึ่งจะมีอายุ 15 ปี โดยผู้ประกอบการต้องเสียค่าธรรมเนียมการพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตด้วย
ข่าวนี้เกี่ยวข้องกับข่าว [สหรัฐฯ ประกาศคว่ำข้อตกลงการสื่อสารระหว่างประเทศฉบับใหม่](http://www.blognone.com/node/37402) นะครับ ใครยังไม่ได้อ่านควรย้อนไปอ่านข่าวเก่าเสียก่อน
วันนี้ (25 ตุลาคม 2555) กสทช. ได้จัดงานเสวนาในประเด็นข้างต้น (แต่ครอบคลุมหัวข้อกว้างกว่า) ในชื่องานว่า "NBTC Public Forum 9: ITU จะกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต ไทยควรมีท่าทีอย่างไร"
ผมได้ไปร่วมงานนี้มาด้วย เลยสรุปประเด็นที่น่าสนใจของวิทยากรบางท่านมาลง Blognone ครับ
### สรุปประเด็นแบบสั้นๆ
ในระหว่างการประชุมสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในช่วงหารือวันนี้ (22 ต.ค.) ก็ได้มี คุณไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว. สรรหาได้หารือกับสมาชิกว่า ตนในฐานะประธานอนุกรรมาธิการ (กมธ.) เกี่ยวกับกฎหมายป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม และคณะ กมธ. เพื่อเรียกร้องการประชุมหารือ คณะกรรมการ กสทช. เกี่ยวกับการพิจารณารับรองผลการประมูล 3G ว่าจะพิจารณารับรองการผลการประมูล 3G หรือไม่
นี่เป็นเอกสารฉบับที่สามที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ กสทช. เผยแพร่ต่อสื่อมวลชนในวันนี้ ([ฉบับที่หนึ่ง แถลงการณ์เรื่องการกำกับดูแลค่าบริการ](https://www.blognone.com/node/37331), [ฉบับที่สอง ชี้แจงและขอให้วิพากษ์การประมูลอย่างสร้างสรรค์](https://www.blognone.com/node/37332))
เอกสารฉบับที่สามเป็นบทวิเคราะห์ที่เขียนโดย Dominic Arena กรรมการบริหารของบริษัทที่ปรึกษา Value Partners Management Consulting โดยเขาเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทโทรคมนาคม และหน่วยงานกำกับดูแลหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย
หมายเหตุ: ในต้นฉบับไม่ได้ระบุชัดเจน แต่ผมเข้าใจว่า กสทช. จ้างบริษัท Value Partners เป็นที่ปรึกษาอยู่แล้ว (ซึ่งเป็นเรื่องปกติ) นะครับ
วันนี้นอกจาก กสทช. แถลงข่าวเรื่องการกำกับดูแลค่าบริการ 3G ลง 15-20% จากราคาปัจจุบัน ทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ กสทช. ยังเผยแพร่บทความของ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ หนึ่งในกรรมการ กทค. ชื่อว่า ถึงเวลาวิพากษ์ การประมูล 3 จี อย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของประชาชน ต่อสาธารณชนอีกด้วย
บทความนี้อธิบายประเด็นที่ กสทช. ถูกโจมตีทั้งหมด 7 ประเด็น เช่น ระบบสัมปทาน รายได้ของรัฐบาล ราคาตั้งต้นของการประมูล กระบวนการโจมตี กสทช. และ กทค. เป็นต้น
ผมนำเวอร์ชันเต็มๆ มาลงเผยแพร่บน Blognone เพื่อให้ทุกท่านได้อ่านและตัดสินกันเองครับ
ฉบับ Scribd
หลังจาก กสทช. ถูกวิจารณ์อย่างหนักเรื่องผลการประมูล 3G วันนี้ทางบอร์ด กทค. ได้แถลงการณ์ "ประกาศเจตนารมรณ์ต่อสาธารณชนในการคุ้มครองผู้ใช้บริการ" ดังนี้ (ตัวเน้นโดย Blognone)
จากข่าวที่ว่า กระทรวงการคลังส่งหนังสือด่วนที่สุดถึง กสทช. ชี้ประมูล 3G "ฮั้วประมูลชัดเจน" และในวันนี้ (19ต.ค.) ก็ตามมาด้วยกลุ่มกรีนหรือกลุ่มการเมืองสีเขียว (Green politics) ที่จัดตั้งโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่มี คุณสุริยะใส กตะศิลา เป็นผู้ประสานงาน ได้ตั้งข้อสังเกตถึง กสทช. โดยเฉพาะในส่วนของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ว่ามีพฤติกรรมที่น่าสงสัย
เมื่อเวลา 15.30 น. ของวันนี้ (19 ต.ค.) คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้ทำหนังสือ "ด่วนที่สุด" ที่ สทช. 5011/18583 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2555 และแนบสำเนาหนังสือด่วนที่สุด ที่ส่งมาเมื่อคืน ส่งถึงปลัดกระทรวงการคลัง โดยมีเนื้อความที่ขอให้พิจารณาการกระทำของคุณสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลังใหม่ครับ
ช่วงนี้ข่าว 3G มากันแบบรายวันเลยครับ
หลังจากที่ กทค. ได้รับรองผลการประมูลไปเมื่อวานนี้ด้วยคะแนนเสียง 4 ต่อ 1 และได้ติดต่อให้ AIS, DTAC และ True เข้ามารับทราบนั้น เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ ทั้ง 3 ค่ายได้เข้ามารับเอกสารยืนยันผลการประมูล และพร้อมจ่ายเงินค่าใบอนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ
บอร์ด กทค. เพิ่งจะลงความเห็นรับรองการประมูล 3G ไปได้ยังไม่ทันข้ามวัน กระทรวงการคลัง โดยคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมบัญชีกลาง หรือ กวพ.อ ได้ทำหนังสือ "ด่วนที่สุด" ที่ กค (กพวอ) 0421.3/42301 ลงวันที่ 18 ต.ค. 2555 ส่งตรงถึงประธาน กสทช. (พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี) โดยชี้ว่าการประมูลคลื่นความถี่ 3G เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา มีการฮั้วประมูลกันอย่างชัดเจน
ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ลงมติเห็นชอบผลการประมูลคลื่น 2.1GHz ด้วยคะแนนเสียง 4-1 โดยผู้ที่ไม่เห็นชอบคือ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กทค. ที่เป็นเสียงข้างน้อยมาโดยตลอด (รายละเอียดการประชุมอ่านได้จากลิงก์ของไทยรัฐ)
ลำดับต่อไปทางสำนักงาน กสทช. จะแจ้งผลไปยังผู้เข้าร่วมประมูลภายใน 7 วัน จากนั้นผู้ชนะการประมูลจะยื่นเอกสารที่จำเป็น และจ่ายเงินค่าคลื่นงวดแรก 50% ของราคาสูงสุดของการประมูล (ทุกรายจ่ายงวดแรกเท่ากัน คือ 50% ของ AIS) เมื่อยื่นเอกสารและจ่ายเงินเรียบร้อย ผู้เสนอราคาในการประมูลแต่ละรายน่าจะได้รับใบอนุญาตภายใน 7 วัน
ให้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมว่างวดที่ 2 อีก 25% จะจ่ายหลังวันรับใบอนุญาต 2 ปี และงวดสุดท้ายอีก 25% จะจ่ายหลังจากวันรับใบอนุญาต 3 ปีครับ
เมื่อช่วงบ่ายของวันนี้ มีรายงานว่า น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ที่รับผิดชอบเรื่องการออกเงื่อนไขการประมูล เตรียมยื่นคำร้องต่อ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม โดยขอให้ทบทวนการประมูล 3G ที่เพิ่งจบไปหมาดๆ ครับ
วันนี้การจัดสรรคลื่นย่าน 2100MHz ด้วยวิธีการประมูลก็จบลงไปแล้วตามคาด ด้วยการแบ่งคลื่นรายละ 15MHz จากการเข้าประมูลของผู้ให้บริการสามราย และเพดานคลื่นที่ไม่สามารถประมูลได้เกินหนึ่งในสาม ทำให้ไม่มีเหตุผลที่เอกชนจะต้องเข้าต่อสู้ราคาประมูล
และในที่สุดการประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ก็ได้เกิดขึ้นเป็นที่เรียบร้อย หลังการประมูลสิ้นสุดลงราว 16:00 ผลปรากฏว่ามูลค่าเงินประมูลรวม 41,625 ล้านบาท โดยเอไอเอสให้ราคาสูงสุด คือ 14,625 ล้านบาท จึงได้เลือกชุดคลื่นความถี่เป็นลำดับแรก และเอไอเอสได้เลือกชุดความถี่ย่านที่ 7, 8, 9 (ช่วงคลื่นความถี่ติดกับทีโอที)
สำหรับดีแทคและทรู ประมูลราคาได้ที่ 13,500 ล้านบาท เนื่องจากทั้งสองบริษัทเสนอเงินมาเท่ากัน ทาง กสทช. จึงทำการจับฉลาก และทรูได้สิทธิเลือกก่อน โดยเลือกชุดย่านความถี่ 4, 5, 6 ส่วนดีแทคเลือกย่านความถี่ชุดที่ 1, 2, 3
หลังจากนี้ กทค. จะทำการรับรองการประมูล เพื่อออกใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ให้กับผู้ที่ชนะการประมูลทั้ง 3 รายต่อไป
จากข่าวที่บอกว่า ศาลปกครองจะไต่สวนนักวิชาการในวันที่ 11 ต.ค.
จากมติ กสท. เรื่องการกำหนดช่องของทีวีดิจิทัล ซึ่งนำเข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการของ กสทช. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ที่ผ่านมา ล่าสุด กสทช. มีมติเห็นชอบตามข้อกำหนดของ กสท. เตรียมนำสู่กระบวนการรับฟังความเห็นจากประชาชนต่อไป
พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. ที่เกี่ยวข้องกับทีวีดิจิทัลอีก 4 ฉบับ เตรียมนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ซึ่งประกอบไปด้วย
อัพเดต ประกาศฉบับนี้ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 5 ต.ค. 2555 ครับ ดังนั้นเป็นฉบับจริงแล้ว ไม่ใช่แค่ร่าง ขอบคุณคุณ @kaninnit ที่แจ้งข่าวมาด้วยครับ
จากข่าวคราวก่อน นักวิชาการอิสระเตรียมฟ้องศาลปกครองระงับการประมูล 3G มีประเด็นเรื่อง "คุณภาพของสัญญาณในการให้บริการ" ด้วย ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในประกาศอีกฉบับหนึ่งของ กสทช. ที่เรียกกันเป็นภาษาพูดว่า "ประกาศ QoS Data" และสถานะยังเป็นแค่ฉบับร่าง
วันนี้ผมค้นเอกสารบนเว็บของ กสทช. และเจอ "ร่าง" ประกาศฉบับนี้ (ชื่อเต็มๆ คือ มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่) เข้าพอดี เลยนำมาเผยแพร่สักหน่อย เผื่อว่าคนแถวนี้จะสนใจครับ--
จากข่าวเก่าที่มีการเตรียมการฟ้องศาลเพื่อให้ระงับการประมูลคลื่นความถี่ 3G 2100MHz ในที่สุดวันนี้ (10) นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระ ก็ได้ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองเพื่อให้ระงับการประมูลครั้งนี้
โดยคำฟ้องระบุให้ กสทช. แก้ไขหลักเกณฑ์การประมูลให้ชัดเจนใน 3 ประเด็นคือ
อีกทั้งยังขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับการประมูลจนกว่า กสทช. จะทำประกาศหรือหลักเกณฑ์ต่างที่เกี่ยวข้องกับประเด็นข้างต้นให้ชัดเจน
กสทช. ประกาศผลการพิจารณาคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูลคลื่น 2.1GHz เรียบร้อย ผ่านหมดทั้ง 3 รายตามความคาดหมาย
ขั้นตอนต่อไปคือ 11 ต.ค. นำสื่อมวลชมเยี่ยมสถานที่ประมูล, จัดการประมูลรอบสาธิต (mock auction) วันที่ 12-13 ต.ค. และประมูลจริง 16 ต.ค.
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
จากข่าว นักวิชาการอิสระเตรียมฟ้องศาลปกครองระงับการประมูล 3G วันนี้ช่วงบ่าย นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ออกมาแถลงข่าวดังนี้ครับ (คัดมาทั้งหมด โดยแก้ไขข้อความเล็กน้อยจากต้นฉบับ)
เป็นเรื่องกันอีกครั้ง เมื่อคุณอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม เปิดเผยว่าตนเตรียมยื่นฟ้องระงับการประมูล 3G ที่จะเกิดขึ้นในอีก 9 วันนับจากนี้ ต่อศาลปกครอง โดยขอให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองการประมูล 3G ไว้ก่อนที่ กสทช. จะทำการออกเงื่อนไขการประมูลใหม่ โดยมีเนื้อความที่ให้ประชาชนนั้นได้รับผลประโยชน์สูงสุด
โดยประเด็นที่คุณอนุภาพตั้งข้อสังเกตขึ้นมา ว่าประชาชนจะได้ผลประโยชน์แน่หรือเปล่านั้น มีทั้งหมด 4 ประเด็นดังนี้ครับ
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกสท. กำลังล่ารายชื่อเพื่อแก้พ.ร.บ.กสทช. ฉบับปัจจุบันใน 4 มาตราคือ 45, 46, 82, และ 84 จากเหตุผลว่ามาตราเหล่านี้จะทำให้รัฐวิสาหกิจ (หมายถึงกสท. เอง) อ่อนแอและไม่สามารถแข่งขันได้ และบางมาตราขัดต่อรัฐธรรมนูญ
สี่มาตราที่เสนอให้แก้มีดังนี้
สำนักงาน กสทช. เปิดเผยว่าหลังได้รับคำร้องเรียนว่ามีสัญญาณรบกวนมือถือความถี่ 900MHz และเข้าตรวจสอบ พบว่าปัญหาเกิดจากเครื่องส่งสัญญาณ RFID ที่ใช้ควบคุมไม้กั้นทางเข้าบ้านจัดสรร-คอนโดมิเนียม มีความถี่หรือกำลังส่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด และนำเข้ามาในประเทศไทยไม่ถูกต้องตามกระบวนการ ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
ความถี่และกำลังส่งของ RFID ที่ กสทช. กำหนดมีดังนี้
เพิ่งมีคนถามเรื่องกองทุน USO ก็มีข่าวมาจากทาง กสทช. พอดี ก็เอามาลงไว้เพื่อประกาศให้ทราบโดยทั่วกันครับ
เกริ่นก่อนว่า กสทช. มีกองทุนอยู่หนึ่งกองชื่อ "กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ" (เรียกกันสั้นๆ ว่า กองทุน กสทช. หรือ กองทุน USO ก็ได้) ซึ่งมีรายได้มาจากค่าธรรมเนียม-ส่วนแบ่งรายได้ของบริษัทโทรคมนาคม-วิทยุ-โทรทัศน์ต่างๆ แล้ว กสทช. จะนำเงินในกองทุนนี้ไปจัดบริการโทรคมนาคม-วิทยุ-โทรทัศน์ในพื้นที่ขาดแคลน หรือนำไปพัฒนาวงการในด้านต่างๆ