หลังไมโครซอฟท์ประกาศไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ตอนนี้ Windows 7 Pro ร่วมกับ Windows 8.1 หมดระยะการขายให้กับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ (OEM) แล้วตั้งแต่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา ดังนั้นหากพบเห็นแล็บท็อปที่ติดตั้งมาพร้อม Windows 7 Pro หรือ Windows 8.1 แสดงว่าเป็นเครื่องสต๊อคที่ยังขายไม่หมด
การหมดระยะดังกล่าว ทำให้ตอนนี้มีเพียง Windows 10 เท่านั้นที่จะถูกติดตั้งบนอุปกรณ์มาตั้งแต่โรงงาน ขณะที่ไมโครซอฟท์ระงับการขาย Windows 8 ให้กับ OEM ตั้งแต่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา
ไมโครซอฟท์กำหนดเส้นตายให้เหล่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สามารถขายอุปกรณ์ที่มาพร้อมกับ Windows 7 Professional ได้ถึงวันที่ 31 ตุลาคมปีหน้า เพื่อเป็นการกระตุ้นการถ่ายโอนผู้ใช้ไปยัง Windows 10 ที่มีเป้าหมายให้มีอุปกรณ์ที่รันระบบปฏิบัติการนี้ถึง 1 พันล้านชิ้น ส่วนด้านไมโครซอฟท์เองก็จะเริ่มแจ้งให้อัพเดตผ่าน Windows Update ในอนาคต
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการประจำเดือนตุลาคม Windows 7 ยังนำอยู่ที่ 55.71%
เว็บไซต์ Windows Phone Central รายงานว่า ไมโครซอฟท์ได้ส่งมอบ Windows Phone 8.1 ให้กับผู้ผลิตมือถือตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมาแล้ว
แหล่งข่าวยังให้ข้อมูลว่า มือถือใหม่ที่จะมากับ WP8.1 จะออกสู่ตลาดตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย. เป็นต้นไป แต่ก็ไม่ได้บอกว่าจะมีมือถือรุ่นใดจากค่ายใดบ้าง อย่างไรก็ตามหากดูจากข่าวก่อนหน้านี้ก็น่าจะมีโนเกีย Lumia 630 กับ Lumia 930 และซัมซุง ATIV SE
หลังจากมีข่าว Windows 8.1 with Bing ที่เป็น SKU ตัวใหม่ซึ่งทดสอบการหาเงินรูปแบบใหม่ของไมโครซอฟท์ และมีเป้าหมายเป็นตัวอัพเกรดฟรีหรือราคาถูกสำหรับผู้ที่ใช้ Windows 7 คาดว่าไมโครซอฟท์อาจเสนอ SKU นี้ให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของการลดค่าลิขสิทธิ์ที่เป็นข่าวลือก่อนหน้านี้ ล่าสุดบล็อกเกอร์รัสเซีย WZor เจ้าเก่าได้ปล่อย Windows Assessment and Deployment Kit (Windows ADK) for Windows 8.1 Update 2014 ชุดปรับแต่ง Windows สำหรับ OEM และบริษัทที่ต้องการติดตั้งระบบปฏิบัติการลงเครื่องจำนวนมาก - WZor
Eldar Murtazin แห่ง Mobile-review เปิดเผยว่า ไมโครซอฟท์ได้ล็อกมือถือและแท็บเล็ตต้นแบบของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ (OEM) ไว้ ทำให้ฟีเจอร์ส่วนมากไม่สามารถเข้าถึงได้ เขากล่าวว่าดูเหมือนไมโครซอฟท์ยังไม่ต้องการโชว์ฟีเจอร์เหล่านั้นแก่ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ ทำให้ผู้ผลิตเรียนรู้แพลตฟอร์มล่าสุดนี้จากเอกสารนำเสนอของไมโครซอฟท์เพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่มีโอกาสทดลองใช้จริง ซึ่งก็เหมือนกับการผลิตรถที่ผู้ผลิตทำให้แค่ออกแบบภายนอกให้ดีที่สุดโดยที่ไม่รู้ว่าภายในรถเป็นอย่างไรแต่รู้เพียงว่าภายในรถได้รับการตกแต่งเหมือนกับรายอื่น และกว่าจะรู้ก็คงสายเกินกว่าที่จะแก้ไขงานภายนอกรถเสียแล้ว
เว็บไซต์ SemiAccurate ได้ออกมาบอกว่าบริษัท HP ซึ่งเป็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ Windows ตัวยงสำหรับไมโครซอฟท์ได้ยกเลิกแผนการที่จะผลิตแท็บเล็ต Windows RT ทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ซึ่งอาจเป็นเพราะสู้แท็บเล็ตจากไมโครซอฟท์ไม่ได้จริงๆ หรืออาจเกิดจากความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจในตัวบริษัทไมโครซอฟท์ก็ได้
Patrick Moorhead อดีตรองประธาน AMD และปัจจุบันเป็นประธานของ Moor Insights & Strategy ได้เขียนบทความให้นิตยสารฟอร์บส์ในหัวข้อ "Can Windows 8 PC Partners Trust Microsoft?" โดยกล่าวว่า ไมโครซอฟท์ตัดสินใจเปิดตัว Surface หลังจากได้เห็นการออกแบบฮาร์ดแวร์รัน Windows 8 ของเหล่าบริษัทคู่ค้า นอกจากนั้นหนึ่งถึงสองสัปดาห์ก่อนหน้าการเปิดตัวแท็บเล็ตของตนเองไมโครซอฟท์ก็ได้พูดคุยกับเหล่าผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ในเรื่องการเปิดตัว แผนการตลาด และการกำหนดราคาของแต่ละรายอีกด้วย
DigiTimes รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า ไมโครซอฟท์จะแบ่งผลกำไรจากการขายแอพบน Windows Store ให้นักพัฒนาแอพนั้นมากกว่าแอพสโตร์อื่น (หากนับเวลานี้ก็คือมากกว่าร้อยละ 70) นอกจากนั้นบริษัทก็จะแบ่งผลกำไรให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ (OEM) ที่แนะนำลูกค้าให้ซื้อแอพตามที่ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ระบุได้ โดยที่บริษัทเหล่านั้นไม่ได้มีส่วนร่วมกับการพัฒนาแอพแต่ประการใด
แหล่งข่าวระบุว่าเหตุผลที่ไมโครซอฟท์เลือกที่จะแบ่งผลกำไรให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์นั้นอยู่บนพื้นฐานที่ว่าลูกค้าส่วนใหญ่ไม่สามารถหาแอพที่ตรงกับความต้องการได้ ดังนั้นผู้ผลิตจึงน่าจะมีส่วนในการแนะนำแอพที่ตรงกับความต้องการได้ และไมโครซอฟท์ก็ต้องการให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์คิดกำไรต่อฮาร์ดแวร์หนึ่งชิ้นให้น้อย เพื่อให้ราคาอุปกรณ์ถูกลงนั่นเอง
นาย Micheal Wang ประธานกรรมการบริหารของบริษัท Quanta Computing ประกาศลาออกอย่างเป็นทางการแล้วหลังร่วมงานกันมาถึง 19 ปี โดยมีนาย C. C. Leung หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทเข้ามาทำหน้าที่แทน
เป็นที่รู้กันว่านาย Wang มีนโยบายที่จะสร้าง Quanta ให้เป็นอิสระจากการควบรวมต่างๆ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกับลูกค้าของตนเอง แต่การออกไปของนาย Wang นี้อาจจะแสดงให้เห็นว่านโยบายนี้อาจจะไม่ได้รับการยอมรับจากทางกรรมการบริหารของบริษัท โดยมีข่าวลือว่าบริษัท Foxconn หรือชื่อทางการว่า Hon Hai นั้นกำลังของแลกหุ้นกับทาง Quanta เพื่อควบรวมกิจการกัน
ช่วงหลังแบรนด์ ASUS ได้รับการโปรโมทเรื่อยมา ขณะเดียวกันเราก็ได้ยินข่าวการเข้าประมูลไปผลิตเครื่องให้ยี่ห้ออื่นๆ เช่น แอปเปิลกันอยู่เรื่อยๆ ตอนนี้ทาง ASUS จึงเหมือนเหยียบเรือสองแคมอยู่โดยไม่รู้จะไปทางไหน จนมาถึงเวลานี้ก็เหมือนจะได้เวลาจัดระเบียบกันใหม่
งานนี้ทาง ASUS เตรียมแยกบริษัทรับจ้างผลิตออกเป็นสองส่วนคือ Pegatron และ Uniharn โดยบริษัทแรกจะรับงานผลิตสินค้าเกี่ยวกับพีซีเป็นหลัก และที่เหลือจะผลิตที่บริษัทหลัง ส่วนแบรนด์ ASUS นั้นจะอยู่ในไต้หวันต่อไป ส่วนอีกสองบริษัทที่แยกออกไปนั้นไม่แน่ว่าจะไปจดทะเบียนที่ไหน (เข้าใจว่าโรงงานอยู่ในจีนเป็นส่วนใหญ่)
ทาง ASUS ระบุว่าบริษัทจะลดบทบาทในบริษัทใหม่ลงเรื่อยๆ ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการเปิดเผยแผนการออกมาแต่อย่างใด