Windows 7
Valve ออก Steam Client Update รอบต้นเดือนพฤศจิกายน 2024 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้แล้ว 2 ประการ
Steam หยุดรองรับ Windows 7, 8, 8.1 อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2024 ตามที่ประกาศไว้ล่วงหน้าเมื่อเดือนมีนาคม 2023 ด้วยเหตุผลว่า Steam ใช้เอนจิน Chrome ฝังในแอพเพื่อเรนเดอร์เว็บเพจ เมื่อ Chrome หยุดรองรับระบบปฏิบัติการเหล่านี้ ทำให้ Steam ต้องหยุดตามไปด้วย
ไคลเอนต์ Steam จะยังใช้งานได้บน Windows 7, 8, 8.1 ดังเดิม แต่จะไม่มีอัพเดตใหม่ๆ ให้แล้ว ซึ่งรวมถึงอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยด้วย ผู้ใช้ต้องรับความเสี่ยงเรื่องมัลแวร์เอาเอง อีกทั้ง Valve จะไม่การันตีว่า Steam จะไม่พังในอนาคต
ไมโครซอฟท์ประกาศเมื่อประมาณสัปดาห์ที่แล้ว ว่าผู้ใช้งานจะไม่สามารถลงและ activate Windows 10 หรือ Windows 11 โดยใช้ไลเซนส์คีย์ของ Windows 7 หรือ Windows 8 ได้แล้ว ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่ค้นพบกันก่อนหน้านี้
เมื่อตอนไมโครซอฟท์ออก Windows 10 ได้เปิดให้ผู้ที่ใช้งาน Windows 7 และ 8 สามารถอัพเกรดเวอร์ชันได้ฟรี แต่จำกัดเวลา ซึ่งสิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ 29 กรกฎาคม 2016 อย่างไรก็ตามยังมีช่องทางที่สามารถอัพเกรดได้ด้วยการใช้ไลเซนส์คีย์ของ Windows 7 และ 8 ซึ่งในประกาศนี้ไมโครซอฟท์บอกว่าจะไม่สามารถทำได้แล้วนั่นเอง
Rufus ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเขียนไฟล์อิมเมจ ISO ลงไดรฟ์ USB ออกเวอร์ชัน 4.0 มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ไม่รองรับการรันบน Windows 7 แล้ว (ต้องเป็น Windows 8 ขึ้นไป) และตัวไฟล์ Rufus.exe บนวินโดวส์จะใช้ไบนารี 64 บิตเป็นดีฟอลต์ (แต่ยังมีให้เลือกแบบ x86-32 และ Arm ถ้าต้องการ)
การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ คือแก้บั๊กในการติดตั้ง Ubuntu 23.04 หลายจุด
Steam ประกาศหยุดรองรับ Windows 7, 8, 8.1 ในวันที่ 1 มกราคม 2024 โดยตัวไคลเอนต์ Steam จะไม่สามารถรันได้อีกต่อไป ผู้ใช้จำเป็นต้องอัพเกรดไปใช้ระบบปฏิบัติการที่ใหม่กว่าอย่าง Windows 10 หรือ 11 แทน
Steam ให้เหตุผลว่าใช้ Chrome เวอร์ชันฝังในแอพสำหรับเปิดหน้าเว็บ เมื่อ Chrome หยุดรองรับ Windows รุ่นเก่าไปแล้ว ทำให้ Steam ต้องหยุดรองรับตามไปด้วย
วันนี้ 10 มกราคม 2023 เป็นวันที่ระบบปฏิบัติการ Windows 7, Windows 8.1 สิ้นอายุขัยอย่างสมบูรณ์ นั่นคือหมดระยะซัพพอร์ตพิเศษแบบเสียเงิน Extended Security Update (ESU) เท่ากับว่าหลังจากนี้ไมโครซอฟท์ไม่มีแพตช์ใดๆ ให้อีกแล้ว (แพตช์สุดท้ายจะออกวันนี้)
Windows 7 และ Windows 8.1 หมดระยะซัพพอร์ตแบบปกติตั้งแต่ 14 มกราคม 2020 ผู้ใช้ทั่วไปไม่มีแพตช์ใหม่มานาน 3 ปีแล้ว แต่องค์กรที่ยังไม่พร้อมเปลี่ยน ยังสามารถจ่ายเงินซื้อการอัพเดตแพตช์จากไมโครซอฟท์ต่อได้อีก 3 ปี
มีคนพบว่า Chrome เริ่มแสดงข้อความแจ้งเตือนในตัวเบราว์เซอร์เวอร์ชันที่รันบน Windows 7 SP1, Windows 8.1 และ Windows Server 2012 R2 บอกว่าจะไม่มี Chrome เวอร์ชันใหม่บนระบบปฏิบัติการเก่าอีกแล้ว และขอให้อัพเกรดเป็น Windows 10 ขึ้นไปแทน
Windows 7 SP1, 8.1, 2012 R2 จะหมดระยะซัพพอร์ตอย่างสมบูรณ์ (หมดระยะ Extended Security Update ที่ต้องจ่ายเงินซื้อแพตช์) ในเดือนมกราคม 2023 ซึ่ง Chrome ก็ประกาศหยุดซัพพอร์ตวันเดียวกับไมโครซอฟท์ โดยจะออก Chrome 110 ให้เป็นเวอร์ชันสุดท้าย
การขึ้นข้อความเตือนของ Chrome สามารถกดปิดได้ แต่เมื่อเปิดเบราว์เซอร์ขึ้นมาใหม่ก็จะแสดงใหม่อีกครั้งเสมอ
Google ประกาศแผนการปล่อยอัพเดต Chrome เวอร์ชั่น 110 ซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นสุดท้ายที่สนับสนุนการใช้งานบนระบบปฏิบัติการ Windows 7 และ Windows 8.1 ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ปีหน้า
แม้ว่า Windows 7 จะมีอายุนานกว่า 13 ปีมาแล้ว และ Microsoft ได้ประกาศหยุดการอัพเดตเพื่อสนับสนุน Windows 7 ไปตั้งแต่ปี 2020 แต่จากการประเมินเมื่อต้นปี 2021 ยังมีอุปกรณ์ที่รันระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นนี้อยู่มากกว่า 100 ล้านเครื่องทั่วโลก ซึ่งเท่ากับว่าหลังจากปีหน้าไปเครื่องของใครที่ยังรัน Windows 7 อยู่ก็จะขาดการสนับสนุนจากทั้งผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการเองและผู้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์รายใหญ่
ไมโครซอฟท์ประกาศเตือนวันสิ้นสุดการซัพพอร์ต Microsoft 365 Apps (ซึ่งก็คือแอพตระกูล Office ทั้งหลาย) รวมถึง Office 2013 และ Office 2016 บนระบบปฏิบัติการ Windows 7 และ Windows 8.1 ในวันที่ 10 มกราคม 2023 วันเดียวกับระยะสิ้นสุดการซัพพอร์ตของ Windows 8.1
ไมโครซอฟท์หยุดซัพพอร์ต Windows 7 ไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 แต่ลูกค้าบางกลุ่มอาจยังจ่ายเงินซื้อ Extended Security Updates (ESU) เพิ่มอีก 3 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 10 มกราคม 2023 เช่นกัน (เท่ากับว่า Windows 7 ESU จะหมดอายุพร้อม Windows 8.1) ส่วน Office เวอร์ชันที่ใหม่กว่านั้นคือ 2019 ไม่รองรับ Windows 7/8.1 ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
ไมโครซอฟท์ประกาศเตรียมหยุดซัพพอร์ต OneDrive ที่เป็นโปรแกรมเวอร์ชันเดสก์ท็อป สำหรับผู้ใช้งาน Windows 7, Windows 8 และ Windows 8.1 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2022 เป็นต้นไป โดยตั้งแต่วันดังกล่าว OneDrive จะหยุดซิงก์ไฟล์ แต่ยังสามารถเข้าถึงไฟล์ได้ผ่านเว็บ
เหตุผลนั้นก็ตรงไปตรงมา คือ Windows ดังกล่าวเป็นเวอร์ชันเก่า และไมโครซอฟท์ต้องการนำทรัพยากรทีมงานไปพัฒนาฟีเจอร์และความปลอดภัย สำหรับ Windows เวอร์ชันใหม่กว่าคือ Windows 10 และ Windows 11
เราเพิ่งเห็นข่าว NVIDIA เลิกออกไดรเวอร์ GeForce ให้ Windows 7/8/8.1 เมื่อไม่กี่วันก่อน วันนี้ฝั่ง AMD ออกมาประกาศแบบเดียวกันว่า Windows 7 เข้าสถานะ legacy support เรียบร้อยแล้ว โดยไดรเวอร์รุ่นสุดท้ายที่รองรับ Windows 7 คือ Radeon Software Adrenalin 21.5.2 ที่ออกมาก่อนหน้านี้ (เวอร์ชันล่าสุดที่ออกวันนี้คือ 21.6.1 ที่มาพร้อม FidelityFX Super Resolution)
AMD ยังประกาศหยุดซัพพอร์ตจีพียูรุ่นเก่าหลายตัวไปพร้อมกัน ได้แก่จีพียูกลุ่มสถาปัตยกรรม GCN ที่เก่าหน่อยคือ
Windows 7 หมดระยะซัพพอร์ตไปตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 แปลว่าไม่มีแพตช์รายเดือนมานานแล้ว
ล่าสุดไมโครซอฟท์ถอดความสามารถอีกอย่างของ Windows 7 (รวมถึง Windows Server 2008 และ 2008 R2 ที่หมดอายุพร้อมกัน) นั่นคือไม่สามารถติดตั้งไดรเวอร์ฮาร์ดแวร์อัตโนมัติผ่าน Windows Update ได้อีกแล้ว ด้วยเหตุผลว่าใบรับรอง SHA-1 Trusted Root Certificate Authority หมดอายุ และไมโครซอฟท์ตัดสินใจไม่ต่ออายุใบรับรองนี้ ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างไคลเอนต์กับเซิร์ฟเวอร์เป็นไปได้ยากขึ้น
สำหรับลูกค้าที่ซื้อซัพพอร์ตแบบจ่ายเงิน Extended Security Updates (ESU) ยังสามารถอัพเดตไดรเวอร์ได้ผ่านวิธีอื่นคือ Windows Server Update Services (WSUS)
NVIDIA ประกาศแผนหยุดซัพพอร์ตระบบปฏิบัติการ Windows 7 และ Windows 8/8.1 โดยจะออกไดรเวอร์ Game Ready ตัวสุดท้ายในเดือนสิงหาคม 2021 เท่านั้น ส่วนไดรเวอร์รอบเดือนตุลาคม 2021 เป็นต้นไปจะรองรับเฉพาะ Windows 10 เท่านั้น
NVIDIA ให้เหตุผลว่า Windows 7 และ Windows 8 เป็นระบบปฏิบัติการที่ไมโครซอฟท์เลิกซัพพอร์ตไปแล้ว ส่วน Windows 8.1 ก็ใกล้หมดระยะซัพพอร์ต จึงตัดสินใจย้ายทรัพยากรมาทำบน Windows 10 อย่างเดียวแทน
NVIDIA จะยังออกอัพเดตให้ Windows 7/8/8.1 เฉพาะแพตช์ความปลอดภัยอย่างเดียวอีก 3 ปี ไปจนถึงเดือนกันยายน 2024
Clément Labro นักวิจัยความปลอดภัยชาวฝรั่งเศส เป็นเจ้าของสคริปต์ชื่อ PrivescCheck ใช้ตรวจสอบว่าคอนฟิกของ Windows เผลอเปิดให้เกิดช่องโหว่ความปลอดภัยหรือไม่
หลังออกสคริปต์เวอร์ชันใหม่ (เผยแพร่บน GitHub) เขาค้นพบว่าสคริปต์ของเขาทำงานแปลกๆ บน Windows 7 และ Windows Server 2008 R2 ที่เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นเก่า หลังสอบสวนในรายละเอียดแล้วเขาก็พบว่านี่เป็นบั๊ก zero-day ของ Windows 7/2008 R2 ที่ทำให้เราสามารถเลื่อนขั้นสิทธิ (privilege escalation) ของบริการชื่อ RpcEptMapper ผ่านระบบ registry ของ Windows ได้อย่างที่ไม่ควรจะเป็น
ช่องโหว่นี้สามารถสร้างไฟล์ DLL ของตัวเองแล้วให้ระบบเรียกใช้งานด้วยสิทธิของระบบ (system privilege) ได้ อย่างไรก็ตาม ช่องโหว่นี้จำเป็นต้องเข้าถึงเครื่องแบบ local access ดังนั้นความรุนแรงจึงไม่เยอะมากนัก
กูเกิลประกาศยืดระยะเวลาซัพพอร์ต Chrome บน Windows 7 นานขึ้นอีก 6 เดือน เป็นสิ้นสุดวันที่ 15 มกราคม 2022 เนื่องจากตลาดองค์กรยังใช้งาน Windows 7 กันอยู่มาก
กูเกิลอ้างสถิติจากบริษัท Kantar ที่ถูกจ้างให้สำรวจตลาดองค์กร พบว่า 78% ย้ายจาก Windows 7 แล้ว แต่ยังมีอีก 22% ที่ยังใช้งาน Windows 7 อยู่ แม้มีแผนการย้ายมาใช้ Windows 10 ก็ตาม
เมื่อต้นเดือนนี้ เราเห็นไมโครซอฟท์เริ่มปล่อย Microsoft Edge ตัวใหม่ผ่าน Windows Update สำหรับ Windows 10
ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกอัพเดต Microsoft Edge ให้ผู้ใช้ Windows 7 SP1 และ Windows 8.1 ด้วยเช่นกัน ในแง่ตัวเบราว์เซอร์คงไม่มีอะไรต่างกัน แต่กรณีของ Windows 7/8.1 ไม่มี Edge ตัวเดิมมาให้ด้วย การมาถึงของ Edge ตัวใหม่จึงไม่ได้มาแทน Edge ตัวเดิม แต่เป็นเบราว์เซอร์ตัวใหม่ที่เพิ่มเข้ามานอกเหนือจาก Internet Explorer 11 โดยจะไม่เปลี่ยนค่าดีฟอลต์ของระบบด้วย
มีผู้ใช้ Windows 7 หลายราย แจ้งปัญหาว่าไม่สามารถสั่งปิดเครื่องได้ โดยเจอข้อความแจ้งเตือน You don't have permission to shut down this computer
กลุ่มผู้ใช้ใน Reddit แนะนำวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น (workaround) ด้วยการสร้างบัญชีแอดมินใหม่อีกอัน สลับบัญชี แล้วใช้บัญชีนั้นสั่งปิดเครื่องแทน หรืออีกวิธีหนึ่งคือเข้าไปเปลี่ยนค่า "User Account Control: Run all administrators in Admin Approval Mode." ใน Registry (อ่านวิธีอย่างละเอียดได้ตามที่มา)
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าสาเหตุของบั๊กนี้เกิดจากอะไร และไมโครซอฟท์จะยังอัพเดตแพตช์แก้บั๊กนี้ให้หรือไม่ เพราะ Windows 7 หมดระยะซัพพอร์ตไปแล้ว
เมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา เป็นเส้นตายหมดอายุขัยของ Windows 7 แปลว่าจะไม่มีแพตช์อะไรออกมาอีก โดยแพตช์รหัส KB4534310 นับเป็นแพตช์สุดท้ายที่ Windows 7 ได้รับ ส่วนองค์กรใดที่ยังไม่อัพเกรดก็สามารถจ่ายเงินซื้อซัพพอร์ต (ESU) ต่อได้ เช่นรัฐบาลเยอรมนีเป็นต้น
อย่างไรก็ตามในแพตช์ที่ควรจะเป็นแพตช์สุดท้าย กลับมีบั๊กทำให้ภาพหน้าจอ (wallpaper) กลายเป็นสีดำเมื่อตั้งค่าแบบ Stretch (ยืดภาพให้เต็มจอ) แก้ได้โดยการเปลี่ยนเป็น Fill, Fit, Tile หรือ Center ไปก่อน ซึ่ง Microsoft ระบุว่าจะออกแพตช์มาแก้บั๊กนี้ให้ภายหลัง และในทีแรก Microsoft จะปล่อยแพตช์นี้ให้เฉพาะองค์กรที่ซื้อ ESU เท่านั้น แต่ก็เปลี่ยนใจมาปล่อยให้ผู้ใช้ Windows 7 ทุกคนเพราะ Microsoft สร้างบั๊กนี้ขึ้นมาเอง
Windows 7 หมดระยะซัพพอร์ตไปเรียบร้อยแล้ว แต่ไมโครซอฟท์ยังมีทางออกให้ลูกค้าองค์กรสามารถซื้อบริการซัพพอร์ตและแพตช์ความปลอดภัยต่อได้อีก 3 ปี ในชื่อโครงการ Extended Security Updates (ESU)
ล่าสุดมีรายงานข่าวว่ารัฐบาลเยอรมนีเตรียมจ่ายเงินอย่างน้อย 800,000 ยูโร (ประมาณ 27 ล้านบาท) เพื่อซื้อซัพพอร์ต ESU กับคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลประมาณ 33,000 เครื่องที่ยังใช้ Windows 7 อยู่
ตามที่ไมโครซอฟท์ประกาศล่วงหน้าไว้นานหลายปี วันนี้ 14 มกราคม 2020 ถือเป็นวันสุดท้ายของระบบปฏิบัติการ Windows 7
ไมโครซอฟท์จะออกแพตช์สุดท้ายของ Windows 7 (ตามรอบ Patch Tuesday คือวันนี้ตามเวลาสหรัฐ หรือคืนนี้ของบ้านเรา) หลังจากนั้นแล้ว Windows 7 ยังใช้งานได้ตามปกติ แต่จะไม่มีแพตช์ความปลอดภัยให้อีกแล้ว นั่นแปลว่าหากเกิดมัลแวร์ใหม่ๆ (เช่น กรณีของ WannaCry/WannaCrypt ผู้ใช้ Windows 7 จะมีความเสี่ยงทันที)
Windows 7 ถือเป็นระบบปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง แต่ปัจจุบันมีอายุเกิน 10 ปีแล้ว (ออกเดือนตุลาคม 2009) และมีอายุขัยของมันที่ต้องสิ้นสุดลง
Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตในวันอังคารหน้า 14 มกราคม 2020 แม้ไมโครซอฟท์ชักจูงให้คนอัพเกรดเป็น Windows 10 มากแค่ไหน แต่ก็ยังมีผู้ใช้ Windows 7 อีกเป็นจำนวนมาก (สถิติของ Blognone เองยังมีคนใช้ Windows 7 ประมาณ 4.5% ของผู้ชมเว็บทั้งหมด และคิดเป็น 20% ของผู้ใช้ Windows ทั้งหมดในรอบ 30 วันล่าสุด)
กูเกิลในฐานะเจ้าของเบราว์เซอร์ยอดนิยม จึงประกาศซัพพอร์ต Chrome บน Windows 7 ต่อไปอีกอย่างน้อย 18 เดือน (ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2021) เพื่อให้ผู้ใช้ (โดยเฉพาะฝั่งองค์กร) มีเวลาปรับตัว และยังได้ใช้เบราว์เซอร์ที่อัพเดตแพตช์ความปลอดภัย แม้ตัวระบบปฏิบัติการไม่มีแพตช์ให้อีกแล้ว
สิ่งแรกๆ ที่เราจะเห็นในโลกไอทีปี 2020 คือ Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตในวันที่ 14 มกราคม 2020 (นั่นคืออีก 2 สัปดาห์) แม้ไมโครซอฟท์พยายามทุกทางให้ผู้ใช้อัพเกรดเป็น Windows 10 แต่ยังมีผู้ใช้ Windows 7 อีกจำนวนมาก (สถิติของ Blognone เองในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Windows 7 ประมาณ 6.3% ของผู้ใช้ทั้งหมด หรือคิดเป็น 23% ของผู้ใช้ Windows ทั้งหมด)
เหตุผลที่ผู้ใช้เหล่านี้ไม่ได้อัพเกรดเป็น Windows 10 คงแตกต่างกันไป เช่น คอมพิวเตอร์เก่า (แต่จริงๆ Windows 10 ใช้สเปกขั้นต่ำเท่ากับ Windows 7), ไม่ชอบหรือไม่คุ้นเคยกับ Windows 10 หรือ อาจตกรถ ไม่ทันการอัพเกรดฟรีในช่วงปี 2015-2016
อย่างไรก็ตาม ไมโครซอฟท์ยังแอบหลับตาข้าง โดยเปิดให้ผู้ใช้ Windows 7/Windows 8.1 ที่มีไลเซนส์แท้ อัพเกรดเป็น Windows 10 ได้ต่อไป บทความนี้จะสอนวิธีการทำครับ
Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตในเวลาอีกประมาณ 1 เดือนกว่าๆ (14 มกราคม 2020) ล่าสุดมีข้อมูลยืนยันบนเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์แล้วว่า บริการแอนตี้ไวรัส Microsoft Security Essentials (MSE) ที่มาพร้อมกับ Windows 7 จะหยุดให้บริการไปพร้อมกัน
ถึงแม้ประกาศนี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก แต่ตอนสมัย Windows XP หมดระยะซัพพอร์ต ไมโครซอฟท์ยังอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสให้ Microsoft Security Essentials ต่ออีกหลายเดือน ซึ่งคราวนี้ไม่ทำแล้ว ตรงนี้จึงกลายเป็นความเสี่ยงของผู้ที่ยังจะใช้ Windows 7 ต่อไป ที่อาจต้องหาแอนตี้ไวรัสยี่ห้ออื่นมาใช้งานแทน
ส่วนบริการแอนตี้ไวรัสแบบเดียวกันคือ Windows Defender บน Windows 8 และ Windows 10 ยังใช้งานได้ตามปกติ
ไมโครซอฟท์ประกาศปิดการทำงานของ VBScript บน Internet Explorer 11 ด้วยเหตุผลว่าเป็นฟีเจอร์ที่ล้าสมัย (deprecated) ไปนานแล้ว แต่ยังเปิดให้ใช้งานต่อมาอีกระยะหนึ่งเพื่อรักษาความเข้ากันได้ (backwards compatibility) โดยเฉพาะกับเว็บไซต์เก่าๆ ภายในองค์กร
ล่าสุดไมโครซอฟท์บอกว่าถึงเวลาอันสมควรแล้ว จึงออกอัพเดตปิดการทำงานของ VBScript ของ IE11 บน Windows 10 ไปตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม และ Windows 7, 8, 8.1 จะตามมาในวันที่ 13 สิงหาคมนี้
ผู้ที่ยังจำเป็นต้องใช้ VBScript จริงๆ ยังสามารถเปิดกลับมาได้ผ่านการแก้ไข Registry หรือ Group Policy ของระบบปฏิบัติการ
ไมโครซอฟท์ออกเว็บเบราว์เซอร์ Microsoft Edge ยุค Chromium สำหรับ Windows รุ่นเก่าคือ 7, 8, 8.1 โดยตอนนี้ยังมีสถานะเป็นรุ่น Canary channel และจะออก Dev channel ตามมาในเร็วๆ นี้
ฟีเจอร์ของ Edge บน Windows 7, 8, 8.1 ก็เทียบเท่ากับ Edge บน Windows 10 เกือบทุกประการ โดยจะมีฟีเจอร์แสดงผลด้วยเอนจิน IE เพื่อซัพพอร์ตเว็บไซต์เก่าๆ ด้วยเช่นกัน