ข่าวนี้ต่อเนื่องจากประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน 2005
รัฐบาลนอร์เวย์ประกาศแผนการใช้ฟอร์แมตเอกสารที่เป็นมาตรฐานเปิดในหน่วยงานของรัฐ โดยมีเหตุผลว่าประชาชนต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ขึ้นกับซอฟต์แวร์ที่ใช้
ฟอร์แมตที่นอร์เวย์ประกาศใช้มี 3 ชนิด ดังนี้
ตามหลังเพื่อนๆ มานานพอสมควร แต่ในที่สุดทีมงานของไมโครซอฟท์ก็ได้เขียนบล็อกระบุว่าแพตซ์ล่าสุดของใน Internet Explorer 8 นั้นผ่านการทดสอบ Acid2 ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเตรียมการเปิดตัวให้ใช้งานรุ่นเบต้าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2008 ที่จะถึงนี้
นับว่าไมโครซอฟท์ทำได้ดีพอสมควรในการทำตามมาตรฐานในช่วงหลัง โดย Firefox 3 ที่จะผ่าน Acid2 เหมือนกันนั้นเพิ่งเปิดตัวรุ่น Beta 2 ไปเมื่อไม่กี่วันมานี้ และน่าจะเปิดตัวจริงได้ในปีหน้า ในแง่ของ CSS แล้วนับว่าไมโครซอฟท์ตามหลังมาไม่ไกลนัก อย่างไรก็ตามยังมีบั๊กอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในการทดสอบ Acid2 ที่ต้องรอดูกันต่อไปว่าจะได้รับการแก้ไขหรือไม่อย่างไร
รัฐบาลเนเธอร์แลนด์อนุมัติแผนการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส-เก็บข้อมูลในฟอร์แมตที่เป็นมาตรฐานเปิด เช่น ODF โดยมีเส้นตายรอบแรกในเดือนเมษายน 2008 นี้
โฆษกของกระทรวงเศรษฐกิจกล่าวว่า เหตุผลสำคัญคือการลดค่าใช้จ่าย และลดการพึ่งพาผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใดรายหนึ่ง โดยหน่วยงานในภาครัฐจะยังสามารถใช้งานซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์แบบเก่าได้ต่อไป ตราบเท่าที่อยู่ในเงื่อนไขของนโยบายใหม่นี้ (เนื่องจากข่าวต้นฉบับไม่ได้ให้ลิงก์รายละเอียดของนโยบายมาด้วย เลยไม่มีข้อมูลว่าเค้าจะทำอะไรกันบ้าง)
ปัจจุบันกระแสใช้งานโอเพนซอร์สฝั่งรัฐบาลมาแรงมากในยุโรป ทั้งระดับชาติอย่างเช่นข่าวนี้ และระดับเทศบาลเมืองใหญ่ เช่น มิวนิกและเวียนนา เป็นต้น
ถึงแม้ฟอร์แมต Office Open XML จะไม่ผ่านโหวตเข้าเป็นมาตรฐาน ISO ไปแล้ว (ข่าวเก่า) แต่นั่นเป็นเพียงแค่การขออนุมัติแบบ fast track เท่านั้น ไมโครซอฟท์และ ECMA ยังสามารถแก้ไขปัญหาทางเทคนิคตามที่ประเทศต่างๆ ให้ความเห็นมา แล้วส่งเข้ากระบวนการของ ISO ได้ใหม่อีกครั้ง
Rick Jelliffe คอลัมนิสต์ของ O'Reilly ได้นำความเห็นจากหน่วยงานด้านมาตรฐานของทุกประเทศมาวิเคราะห์ และพยากรณ์ว่าแต่ละประเทศจะมีท่าทีอย่างไรในการโหวตรอบหน้า ซึ่งเหตุผลที่รับ/ไม่รับของแต่ละประเทศก็แตกต่างกันมาก บางประเทศขอแค่แก้จุดเล็กๆ น้อยๆ ก็ยอมแล้ว ส่วนบางประเทศยืนยันว่าต้องแก้ปัญหาฐานรากสำคัญของฟอร์แมตเลย
ถึงแม้การโหวตรับ Office OpenXML เข้าเป็นมาตรฐาน ISO จะลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ของไมโครซอฟท์ (ข่าวเก่า) แต่การโหวตครั้งนี้ก็ส่งผลสะเทือนวงการผู้ออกมาตรฐานอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งดูได้จากข่าวการล็อบบี้ของไมโครซอฟท์ต่อหน่วยงานผู้ออกมาตรฐานในประเทศต่างๆ ทั่วโลก (ข่าวเก่า)
จากเหตุการณ์นี้จึงมีคนเสนอว่ากระบวนการโหวตรับของ ISO ที่ใช้คะแนนจากหน่วยงานผู้ออกมาตรฐานของประเทศสมาชิกนั้นยังไม่มีมาตรฐานเพียงพอ จึงเสนอว่าถึงเวลาแล้วที่ ISO จะต้องปรับปรุงกระบวนการของตัวเองเสียใหม่ ดังนี้
จากข่าว ความเห็นของไมโครซอฟท์ประเทศไทยต่อ OOXML ตอนนี้เริ่มมีรายงานความเห็นของแต่ละประเทศต่อเรื่องนี้ออกมาแล้ว
ผลจากการประชุมของคณะกรรมการ 21 คนแบบมาราธอนกว่า 6 ชั่วโมง (และการล็อบบี้อีกมากมายจากทั้งสองค่าย) อินเดียตัดสินใจเอกฉันท์ว่าจะ "โหวตโน" โดยมีเงื่อนไขว่าอาจพลิกเป็น "เยส" ได้ถ้าไมโครซอฟท์แก้ปัญหาทางเทคนิคของ OOXML กว่า 200 จุดได้
Rakesh Bakshi หัวหน้าฝ่ายกฎหมายของไมโครซอฟท์ให้สัมภาษณ์ว่า "ตัวเลือกมีแค่สามทาง คือรับ ไม่รับ และไม่ลงคะแนน ซึ่งเราก็เคารพการตัดสินใจของรัฐบาล"
Blognone ติดตามข่าวเรื่องสงครามมาตรฐาน ODF ปะทะ Microsoft Office Open XML (OOXML) มาโดยตลอด ถึงแม้เราอยู่ฝ่าย ODF แต่ก็เปิดโอกาสให้กับฝั่ง OOXML เช่นกัน ในโอกาสที่ OOXML กำลังถูกยื่นเข้าไปเป็นมาตรฐานของ ISO ผมก็ได้รับเอกสารเกี่ยวกับ OOXML จากคุณฟูเกียรติ จุนนวล แห่งไมโครซอฟท์ประเทศไทยมาให้อ่านกัน
ไหนๆ เรื่องนี้กำลังฮ็อตแล้ว ก็ขออธิบายสถานการณ์ปัจจุบันแบบคร่าวๆ รวมถึงข้อมูลเพิ่มเติมของทั้งสองฝ่าย เพื่อว่าผู้อ่าน Blognone จะได้นำไปอ่านประกอบการพิจารณาสนับสนุนฟอร์แมตตัวใดตัวหนึ่ง ผมหวังว่าจะได้เห็นการอภิปรายกันอย่างสร้างสรรค์และจริงจังนะครับ
จาก http://www.noooxml.org/petition-th
(มีบางข้อที่ในเว็บนั้นแปลแล้วอาจยังไม่ชัดเจน, จึงได้เรียบเรียงใหม่ในบางข้อให้ชัดเจนขึ้น ดังข้างล่างนี้)
ขอให้สมาชิกทั้งหลายใน ISO ลงคะแนนเสียง 'ปฏิเสธ'การรับรอง ISO DIS 29500 (Office OpenXML หรือ รูปแบบ OOXML) เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการดังต่อไปนี้