Tags:
Node Thumbnail

นับตั้งแต่ D-wave วางจำหน่ายควอนตัมคอมพิวเตอร์ ก็มีข้อถกเถียงกันมากว่า D-wave ทำได้จริงหรือแค่แหกตา ถึงแม้ว่าหน่วยงานชั้นนำอย่าง Lockheed Martin รวมถึง Google กับ NASA จะซื้อไปใช้แล้วก็ตาม

Tags:
Node Thumbnail

กูเกิลประกาศความร่วมมือกับศูนย์วิจัย NASA Ames Research Center เปิดห้องวิจัย Quantum Artificial Intelligence Lab มาวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ด้วยเทคโนโลยี "ควอนตัมคอมพิวเตอร์"

ห้องวิจัยแห่งนี้จะใช้ควอนตัมคอมพิวเตอร์จากบริษัท D-Wave (อ่านรายละเอียดในข่าว Quantum Computer เริ่มวางขายแล้ว) เพื่อศึกษาว่าเทคโนโลยีด้านควอนตัมคอมพิวติงจะช่วยพัฒนาการวิจัยด้านการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) ได้อย่างไร

Tags:
Node Thumbnail

แนวคิด ควอนตัมคอมพิวเตอร์ (Quantum Computer) เป็นสิ่งที่พูดกันมานานแล้ว แต่ควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่วางขายในเชิงพาณิชย์เพิ่งวางขายเป็นครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

แนวคิดของควอนตัมคอมพิวเตอร์จะเข้าใจยากสักหน่อย แบบสั้นๆ คือคอมพิวเตอร์ปกติจะมีหน่วยย่อยที่สุดเป็น "บิต" (bit) ซึ่งมีสถานะเป็น 1 หรือ 0 อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่กรณีของควอนตัมคอมพิวเตอร์จะใช้หน่วยย่อยที่ต่างออกไปคือ "คิวบิต" (qubit) ซึ่งมีสถานะเป็น 1 และ 0 พร้อมกันได้ (ตามหลักของกลศาสตร์ควอนตัม) ทำให้วิธีการประมวลผลต่างออกไปจากคอมพิวเตอร์ปกติ และแก้ปัญหาที่คอมพิวเตอร์ปกติต้องใช้เวลานานมากในการประมวลผลได้เร็วขึ้นมาก

Pages