จีนพัฒนาดาวเทียมควอนตัมดวงแรกของโลก และส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อเวลา 1:40 นาฬิกา ตามเวลาท้องถิ่นจาก Jiuquan Satellite Center เพื่อทดสอบและวางรากฐานสำหรับการสื่อสารที่ปลอดภัยผ่าน Quantum Encryption และทดลองภาคปฎิบัติกับทฤษฎี Quantum Entanglement ระหว่างอวกาศและพื้นโลก
ดาวเทียม Quantum Science Satellite (QUESS) หรือที่ตอนหลังถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น Mozi เป็นดาวเทียมสื่อสารควอนตัมดวงแรกของโลกที่ถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติการจริงบนอวกาศ ดาวเทียมดังกล่าวถูกพัฒนาโดยทีมงานจาก University of Science and Technology of China ใน Hefei และจะต้องอยู่ในขั้นตอนการทดสอบอีก 3 เดือน ก่อนการเริ่มปฏิบัติภารกิจจริง
Mohammad Choucair นักวิจัยจาก The University of Sydney ได้เผยแพร่บทความของตนผ่านเว็บไซต์ The Conversation ว่าด้วยเรื่องของวัสดุจากการเผาแนฟทาลีน (naphthalene) (สารประกอบหนึ่งที่พบในลูกเหม็น) สามารถใช้เป็นคิวบิตที่คงสถานะ superposition ในอุณหภูมิห้องได้ โดยอ้างอิงจากงานวิจัยที่ทำร่วมกับนักวิจัยประเทศสวิตเซอร์แลนด์และประเทศเยอรมนี
นักวิจัยจากกูเกิล ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Harvard, Lawrence Berkeley National Labs, UC Santa Barbara, มหาวิทยาลัย Tufts, และ University College London จำลองพลังงานของโมเลกุลไฮโดรเจน (H2) บนคอมพิวเตอร์ควอนตัมได้สำเร็จ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ควอนตัมมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะยังไม่มีแนวโน้มว่าคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะสามารถเจาะกระบวนการเข้ารหัสลับที่ใช้กันทุกวันนี้ได้ภายในเร็ววันก็ตาม แต่ NIST ก็เริ่มกระบวนการกำหนดมาตรฐานการเข้ารหัสลับหลังเข้าสู่ยุคคอมพิวเตอร์ควอนตัมแล้ว
NIST ระบุว่าการคาดการณ์ว่าคอมพิวเตอร์ควอนตัมระดับที่ใช้เจาะการเข้ารหัสลับที่เราใช้งานกันทุกวันนี้ น่าจะใช้เวลาประมาณ 20 ปี อย่างไรก็ดี กระบวนการเข้ารหัสที่เราใช้กันทุกวันนี้ก็ใช้เวลาในการพัฒนาโครงสร้างกันประมาณ 20 ปีเช่นกัน ทำให้กระบวนการวางมาตรฐานควรเริ่มโดยเร็ว
เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Innsbruck และ Austrian Academy of Science ประเทศออสเตรียประสบความสำเร็จในการจำลองการเกิดอนุภาคและคู่ปฏิยานุภาค (antiparticle) ของมันโดยใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัม
เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Pennsylvania State นำโดยศาสตราจารย์ David S. Weiss ประสบความสำเร็จในการสร้างวงจรคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบ 3 มิติ โดยใช้แสงเลเซอร์และคลื่นไมโครเวฟควบคุมสถานะ quantum superposition ของอะตอม ทำให้สามารถสร้างหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่มีขนาดเล็กลง และควบคุมสถานะของคิวบิตได้ดียิ่งขึ้น
กูเกิลเปิดให้ทดสอบกระบวนการแลกเปลี่ยนกุญแจในการเข้ารหัส (key exchange algorithm) ที่มีชื่อว่า “New Hope” แล้ว ผ่านทาง Google Chrome Canary
ช่วงหลังมานี้เราเริ่มจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ควอนตัมกันมากขึ้น ทั้งเรื่องของการวิจัยพัฒนา จนไปถึงความพยายามสร้างเพื่อเอาไปใช้จริง หลายหน่วยงานในต่างประเทศก็เริ่มพูดถึง และให้การสนับสนุนงานวิจัยเหล่านี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ (ขนาดนายกรัฐมนตรีแคนาดายังเคยพูดถึงเลย) หลายคนเชื่อกันว่านี่จะเป็นวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์แบบก้าวกระโดด
แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้จัก หรือเพิ่งจะได้ยินชื่อนี้เป็นครั้งแรกเสียด้วยซ้ำ บทความนี้เขียนไว้เพื่อนำเสนอว่าคอมพิวเตอร์ควอนตัมคืออะไร แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ๆ กันยังไง และเราจะได้ประโยชน์อะไรจากมัน
Rami Barends และ Alireza Shabani สองวิศวกรด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควอนตัม ได้เผยความสำเร็จอีกขั้นในการวิจัยสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมเพื่อการใช้งานทั่วไป (universal quantum computer) โดยจำลองโมเดลของคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบการประมวลผลด้วยทฤษฎี adiabatic บนโมเดลคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบวงจรอีกทีหนึ่ง วิธีการดังกล่าวทำให้คอมพิวเตอร์สามารถตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดของคิวบิตได้ (quantum error correction)
ผลลัพธ์ที่ได้คือโมเดลคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบใหม่ที่เรียกว่า digitized adiabatic quantum computing ทางนักวิจัยเชื่อว่าโมเดลนี้จะช่วยให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ใช้จำนวนคิวบิตมากขึ้นได้ ทำให้การสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมเพื่อใช้งานทั่วไปนั้นมีความเป็นไปได้มากขึ้นนั่นเอง
IBM เปิดตัวคลาวด์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ควอนตัมในชื่อ IBM Quantum Experience มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิจัยและนักศึกษาเข้าไปทดลองใช้งานและสร้างความคุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์ควอนตัม เป็นการขยายองค์ความรู้และสนับสนุนงานวิจัยทางด้าน quantum computing ต่อไป
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ประกาศเตรียมลงทุนพันล้านยูโรสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีควันตัม มีกำหนดเริ่มโครงการในปี 2018
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ European Cloud Initiative ที่จะลงทุนระบบคลาวด์รวม 6.7 พันล้านยูโร ส่วนหลักๆ เป็นโครงสร้างสำหรับการจัดการข้อมูล 3.5 พันล้านยูโร โครงการเทคโนโลยีควันตัมพันล้านยูโร และโครงการอื่นๆ
รายละเอียดโครงการนี้จะประกาศเพิ่มเติมในงาน Quantum Europe Conference กลางเดือนพฤษภาคมนี้
ที่มา - Nature, European Commission
Justin Trudeau นายกรัฐมนตรีหนุ่มหล่อของแคนาดา ไปแถลงข่าวว่ารัฐบาลแคนาดาจะลงทุน 50 ล้านดอลลาร์แคนาดา ให้ Perimeter Institute สถาบันวิจัยด้านฟิสิกส์ทฤษฎีของ University of Waterloo
ในงานมีนักข่าว "ลองของ" ถาม Trudeau เชิงประชดว่าอยากให้เขาอธิบายเรื่องควอนตัมคอมพิวเตอร์ให้ฟัง แต่เปลี่ยนไปถามเรื่องบทบาทของแคนาดากับการส่งทหารไปร่วมรบกับ ISIL/ISIS แทน
อย่างไรก็ตาม Trudeau ไม่พลาดเรื่องนี้ เขาหัวเราะและบอกว่าหลักการของควอนตัมคอมพิวเตอร์ไม่ยาก คอมพิวเตอร์ปกติใช้ระบบบิต 0 หรือ 1 แต่ควอนตัมคอมพิวเตอร์ 1 บิตให้ข้อมูลที่ซับซ้อนกว่านั้น พร้อมปิดท้ายว่าอย่าให้เขาพูดต่อเลย เดี๋ยวได้คุยยาวทั้งวันแน่นอน
บิล เกตส์ตอบคำถามผ่าน Reddit เป็นครั้งที่สี่ มีประเด็นด้านไอทีที่น่าสนใจ ดังนี้
ทีมนักวิจัยของกูเกิลออกมาเผยความคืบหน้าของการใช้ ควอนตัมคอมพิวเตอร์กับงานวิจัยด้าน AI หลังจากในปี 2013 กูเกิลจับมือกับ NASA ซื้อคอมพิวเตอร์ของบริษัท D-Wave ไปใช้งาน
D-Wave เคยประกาศความสำเร็จในการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ แต่ในวงการวิจัยเองกลับมีข้อโต้เถียงกันมากว่า D-Wave ใช้งานได้จริงแค่ไหน (อ่านรายละเอียดในข่าวเก่า)
ผลการวิจัยของกูเกิลพบว่าในโจทย์บางประเภทที่มีตัวแปรเกือบ 1,000 ค่า ระบบของ D-Wave ทำงานได้เร็วกว่าอัลกอริทึมแบบเดิมๆ ทั้ง simulated annealing และ Quantum Monte Carlo มาก บางครั้งทำงานเร็วกว่ากันถึง 108 เท่าด้วยซ้ำ ซึ่งทางทีม Quantum Artificial Intelligence ของกูเกิลจะเดินหน้าพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ เพื่อพัฒนาวงการควอนตัมคอมพิวเตอร์ต่อไป
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์บางรายก็ยังตั้งข้อสังเกตกับผลการวิจัยของกูเกิล รายละเอียดอ่านได้จาก Phys.org
ที่มา - Google Research Blog
ทีมนักวิจัยจาก IBM Research ประกาศความสำเร็จด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์ใน 2 ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกัน
อย่างแรกคือเทคนิคการตรวจจับความผิดพลาดของควอนตัม แนวคิดของควอนตัมคอมพิวเตอร์มาจากทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ ที่เราไม่สามารถฟันธง "สถานะ" ของอนุภาคได้ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ (ทุกอย่างคือความน่าจะเป็น) เมื่อนำอนุภาคมาทำเป็นบิต (หรือคิวบิต qubit ในภาษาของควอนตัม) จึงต้องมีวิธีตรวจสอบให้ชัดเจนว่าคิวบิตนั้นเป็น 0 หรือ 1
เทคนิคที่ใช้กันในวงการแต่เดิมสามารถตรวจจับข้อผิดพลาดแบบ bit-flip (สถานะผิดจาก 0 เป็น 1 หรือกลับกัน) เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีข้อผิดพลาดอีกแบบที่เรียกว่า phase flip (มุมการหมุนของคิวบิตเพี้ยนไป) ซึ่งเทคนิคใหม่ของ IBM สามารถตรวจจับได้ทั้งสองแบบ
ข่าวต่อเนื่องจากกสทช. เห็นชอบให้เลื่อนการจ่ายเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอล ในการประชุมวันเดียวกันทางกสทช. ก็อนุมัติเงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นจำนวนเงินกว่า 47 ล้านบาท โดยผ่านการอนุมัติทั้งหมด 14 โครงการ แต่มีโครงการด้านไอที ทั้งหมด 7 โครงการ ได้แก่
หนังสือพิมพ์ Washington Post เปิดเผยข้อมูลจากเอกสารชิ้นใหม่ ระบุถึงงบประมาณของงานวิจัย "Penetrating Hard Targets" ที่ทำสัญญาลับกับห้องแล็บฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยแมริแลนด์มูลค่า 79.7 ล้านดอลลาร์
หาก NSA สามารถพัฒนาคอมพิวเตอร์ควันตัมสำเร็จจนใช้งานได้จริง ก้าวต่อไปคือการรันขั้นตอนวิธีของ Shor ที่จะแยกตัวประกอบเฉพาะของตัวเลขออกมาได้อย่างรวดเร็ว โดยกระบวนการแยกตัวประกอบที่ใช้เวลานานเป็นการป้องกันสำคัญของการเข้ารหัส RSA ที่นิยมใช้งานกันโดยทั่วไปทุกวันนี้
นับตั้งแต่ D-wave วางจำหน่ายควอนตัมคอมพิวเตอร์ ก็มีข้อถกเถียงกันมากว่า D-wave ทำได้จริงหรือแค่แหกตา ถึงแม้ว่าหน่วยงานชั้นนำอย่าง Lockheed Martin รวมถึง Google กับ NASA จะซื้อไปใช้แล้วก็ตาม
กูเกิลประกาศความร่วมมือกับศูนย์วิจัย NASA Ames Research Center เปิดห้องวิจัย Quantum Artificial Intelligence Lab มาวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ด้วยเทคโนโลยี "ควอนตัมคอมพิวเตอร์"
ห้องวิจัยแห่งนี้จะใช้ควอนตัมคอมพิวเตอร์จากบริษัท D-Wave (อ่านรายละเอียดในข่าว Quantum Computer เริ่มวางขายแล้ว) เพื่อศึกษาว่าเทคโนโลยีด้านควอนตัมคอมพิวติงจะช่วยพัฒนาการวิจัยด้านการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) ได้อย่างไร
แนวคิด ควอนตัมคอมพิวเตอร์ (Quantum Computer) เป็นสิ่งที่พูดกันมานานแล้ว แต่ควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่วางขายในเชิงพาณิชย์เพิ่งวางขายเป็นครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
แนวคิดของควอนตัมคอมพิวเตอร์จะเข้าใจยากสักหน่อย แบบสั้นๆ คือคอมพิวเตอร์ปกติจะมีหน่วยย่อยที่สุดเป็น "บิต" (bit) ซึ่งมีสถานะเป็น 1 หรือ 0 อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่กรณีของควอนตัมคอมพิวเตอร์จะใช้หน่วยย่อยที่ต่างออกไปคือ "คิวบิต" (qubit) ซึ่งมีสถานะเป็น 1 และ 0 พร้อมกันได้ (ตามหลักของกลศาสตร์ควอนตัม) ทำให้วิธีการประมวลผลต่างออกไปจากคอมพิวเตอร์ปกติ และแก้ปัญหาที่คอมพิวเตอร์ปกติต้องใช้เวลานานมากในการประมวลผลได้เร็วขึ้นมาก