Samsung ทุ่มงบประมาณ 2 ล้านล้านวอน (ประมาณ 53.65 พันล้านบาท) สร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์ในเมือง Giheung ประเทศเกาหลีใต้ โดยทำพิธีเริ่มการก่อสร้างเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาและตั้งเป้าว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2028
ศูนย์วิจัยและพัฒนานี้เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีขนาดพื้นที่ 109,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ Seoul และอยู่ใกล้กับศูนย์วิจัยและพัฒนาของ Samsung ที่มีอยู่เดิมในเขต Hwaseong นอกจากนี้ Samsung ยังมีโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกตั้งอยู่ในเขต Pyeongtaek ใกล้ๆ กันด้วย
ที่มา - Samsung
Honda ตั้งศุนย์วิจัย AI แห่งใหม่ในโตเกียว โดยใช้ชื่อว่า Honda R&D Innovation Lab Tokyo หลังจากที่ก่อนหน้านี Honda ตั้งศูนย์วิจัยในไซตามะ และวาโกะเพื่อทำการวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์ Asimo
Honda เชื่อว่าการตั้งศูนย์วิจัยในเมืองใหญ่อย่างโตเกียวจะช่วยให้ง่ายขึ้นในการร่วมงานกับบรรดามหาวิทยาลัย องค์กรต่างๆ รวมถึงบริษัทด้านเทคโนโลยีด้วย
Honda ตั้งเป้าว่าจะเร่งพัฒนาหุ่นยนต์และรถไร้คนขับที่ซึ่งหวังให้ใช้งานตามทางด่วนได้ภายในปี 2020
ที่มา - Japan Times
ในขณะที่โลกของสมาร์ทโฟนกำลังถูกยึดด้วยสมาร์ทโฟนราคาย่อมเยา ซัมซุงผู้ครองหัวหาดของสมาร์ทโฟนรุ่นท็อปในตลาดยังคงไม่ยอมแพ้ และพยายามเพิ่มมูลค่าด้วยการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น ล่าสุดมีแผนว่าจะเปิดศูนย์พัฒนาแห่งใหม่ในซิลิคอนวัลเลย์เร็วๆ นี้
พร้อมกับแผนการเปิดศูนย์พัฒนาใหม่ ก็มีข่าวจาก Business Insider รายงานว่าตอนนี้ซัมซุงกำลังไล่กวาดคนเข้าร่วมทีมอย่างบ้าคลั่ง จากคำพูดของ Bob Brennan รองหัวหน้าระดับสูงของซัมซุงระบุว่าต้องการจะดึงตัวพวกดร. และผู้มีความสามารถระดับหัวแถวมาร่วมทีมให้ได้โดยเร็วที่สุด เพื่อสร้างนวัตกรรมร่วมกันกับซัมซุง
Huawei ตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) สำหรับภาคพื้นยุโรปที่ประเทศฟินแลนด์ เล็งเพิ่มกำลังพลสำหรับงานวิจัยและพัฒนาภายใน 5 ปี
Huawei ซึ่งตั้งเป้าจะพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มสมาร์ทโฟน เดินหน้าตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประจำภาคพื้นยุโรป ด้วยเงินลงทุนราว 90 ล้านดอลลาร์ โดยเลือกที่ตั้ง ณ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยตั้งอยู่ถัดจากสำนักงานใหญ่ของ Nokia ไม่กี่นาทีเท่านั้น ซึ่งทำเลที่ตั้งของสำนักงานดังกล่าวก็ไม่ได้มาจากไหน แต่เป็นส่วนหนึ่งของอสังหาริมทรัพย์ที่ Nokia ปล่อยขายเอาเงินมาหมุนธุรกิจนั่นเอง
ความจุ 25GB ต่อเลเยอร์ของแผ่น Blu-ray ดูเหมือนจะยังไม่พอสำหรับโซนี่และพานาโซนิก เมื่อทั้งคู่ได้ง่วนอยู่กับการค้นคว้าหาวิธีที่จะทำให้ความจุของหนึ่งเลเยอร์บนแผ่น Blu-ray นั้นมากขึ้นไปอีก โดยวิธีการที่เพิ่มความจุในครั้งนี้นั้นใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Maximum Likelihood Sequence Estimation evaluation index หรือชื่อย่อ i-MLSE (ใส่ "i" ไว้ให้เท่ห์ไม่แพ้ใคร) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการคาดเดาอัตราการผิดพลาดของการอ่านแผ่น On-the-fly