Red Hat Enterprise Linux
เมื่อปลายปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Red Hat วันนี้ผลลัพธ์อย่างรูปธรรมเกิดขึ้น เมื่อไมโครซอฟท์จะขาย Red Hat Enterprise Linux (RHEL) บน Azure Marketplace เฉกเช่นเดียวกับการขายระบบปฏิบัติการมีไลเซนส์อื่นๆ บน Azure
RHEL ที่ขายจะมีให้เลือกทั้ง 6.2 และ 7.2 ตอนนี้ใครที่อยากสร้าง VM รัน RHEL ก็สามารถกดซื้อและสั่งดีพลอยได้จาก Azure โดยตรงครับ
ในโอกาสเดียวกัน ไมโครซอฟท์ยังขยายบริการ Azure Container Service รุ่นพรีวิวให้กับทุกคนที่สนใจ สามารถเลือกใช้ซอฟต์แวร์ได้ตามชอบ ทั้ง Docker Swarm และ Mesosphere Marathon
Red Hat Enterprise Linux (RHEL) เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 7.2 ของใหม่ได้แก่
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือครั้งใหญ่กับเรดแฮท ข้อตกลงแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
Red Hat Enterprise Linux หรือ RHEL ออกรุ่น 6.7 อัพเดตย่อยหลายส่วน แต่มีส่วนสำคัญ เช่น รองรับโปรโตคอล Security Content Automation Protocol (SCAP) สำหรับการตรวจสอบมาตรการความปลอดภัยในองค์กรว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่
การปรับปรุงเรื่องอื่นๆ เช่น ยกเลิกการรองรับ SSLv3 และบังคับไปใช้ TLS, การเสียบไดรฟ์ USB จะอ่านได้อย่างเดียวเท่านั้นเป็นค่าเริ่มต้น, รองรับ noexec ทำให้สามารถกำหนดได้ว่าดิสก์บางส่วนห้ามรันไฟล์
ลูกค้าของ Red Hat สามารถเข้าไปดาวน์โหลด RHEL 6.7 ได้ผ่าน Red Hat Customer Portal
ที่มา - Red Hat
หลังจากที่ปล่อย Red Hat Enterprise Linux (RHEL) 7 Beta มาเกือบๆ ครึ่งปี วันนี้ทางเรดแฮตได้ปล่อยระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ของตนออกมาแล้วครับ
ความสามารถในรุ่นนี้ยังคงเป็นไปตามข่าวเก่าคือ เพิ่มการรองรับ Docker มาตั้งแต่ต้น เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับทรัพยากรให้สูงขึ้น และอื่นๆ
สำหรับ CentOS ที่ถูกรวมเข้าในบริษัทเรดแฮต ขณะนี้ก็กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งจะออกตามมาในเร็วๆ นี้ สามารถดูความคืบหน้าได้ที่ CentOS Seven ครับ
ที่มา: Red Hat
ก่อนเข้าข่าวต้องปูพื้นก่อนนิดนึงว่า ผลิตภัณฑ์หลักของ Red Hat ในตอนนี้คือ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ซึ่งเปิดซอร์สโค้ด แต่ไม่แจกไบนารี (ดังนั้นถ้าอยากได้อัพเดตก็ต้องเสียเงินค่า subscription/support)
เมื่อ RHEL เปิดซอร์สโค้ด ก็มีองค์กรหลายแห่งเอาซอร์สไปทำดิสโทรของตัวเอง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ CentOS (ฟรีทั้งหมดแต่อัพเดตช้าหน่อย)
ฝั่งของ Oracle ก็มี Oracle Linux ที่นำซอร์สโค้ดของ RHEL มาปรับแต่งให้เหมาะกับการรันแอพพลิเคชันของตัวเอง (แต่การทำงานข้างในยังเหมือน RHEL เกือบทั้งหมด) และใช้วิธีขาย subscription/support เหมือนกัน ซึ่งก็ถือว่าเจาะตลาดของ Red Hat ไปบางส่วน (โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่อยากรัน Oracle 11g บน RHEL ก็หันมาใช้ Oracle Linux แทนจะดีกว่า)
Red Hat ขยายระยะเวลาการสนับสนุน Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ดิสโทรสำหรับองค์กรจากเดิม 7 ปีเป็น 10 ปี
การขยายครั้งนี้จะนับเฉพาะ RHEL 5 และ RHEL 6 เท่านั้น โดยผู้ใช้ RHEL 6 จะสามารถใช้ได้นานถึงปี 2020 (ถ้าไม่เปลี่ยนเองก่อนหน้านั้น) ส่วน RHEL 5 จะได้ถึงปี 2017 และถ้าจะเอากันจริงๆ ทั้งสองรุ่นนี้ยังสามารถต่ออายุจากระยะเวลา 10 ปีตามมาตรฐานไปได้อีก 3 ปี แต่เป็นการสนับสนุนแบบ Extended Life ที่ไม่เต็มที่เท่ากับการสนับสนุนในช่วงเวลาปกติ (รายละเอียดดูจาก Red Hat)
Red Hat ให้เหตุผลว่าการขยายระยะเวลาครั้งนี้เป็นเพราะลูกค้าของตัวเองร้องขอมา
Red Hat ออกระบบปฏิบัติการลินุกซ์สำหรับองค์กร Red Hat Enterprise Linux (RHEL) รุ่น 6.2 แล้ว
RHEL 6.2 ถือเป็นสาย 6.x ตัวที่สามต่อจาก RHEL 6.0 ที่ออกเมื่อหนึ่งปีก่อน และ RHEL 6.1 ที่ออกเมื่อเดือนพฤษภาคม ส่วนของใหม่ในรุ่น 6.2 ก็มีหลายอย่าง
เว็บไซต์ The Register ได้พรีวิวฟีเจอร์ใหม่ของ Red Hat Enterprise Linux 6 (RHEL 6) Beta ซึ่งน่าจะออกรุ่นจริงในช่วงปลายปีนี้ RHEL6 ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลังจาก RHEL5 ในปี 2007
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Red Hat ออก RHEL 5.4 ซึ่งถือเป็นรุ่นย่อยรุ่นที่ 4 ของสาย RHEL 5.x และมีฟีเจอร์ที่สำคัญคือ KVM (Kernel-based Virtual Machine) ซึ่งเป็นฟีเจอร์ virtualization ที่อยู่ในระดับเคอร์เนล
Red Hat ได้มีประกาศรุ่นล่าสุด ของ Red Hat Enterprise Linux 4 เวอร์ชัน 4.8เป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่ครั้งที่ 8 และระบบปฏิบัติการ Red Hat Enterprise Linux ได้มีการแนะนำตัวกันครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2548เป็นรูปแบบใหม่ที่ใช้ในผลิตภัณต์ในรอบ 7ปี ตอนนี้สายการพัฒนาได้แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ในอนาคตจะมุ่งเป้าไปที่การปรับปรุงสินค้าและการดูแลแก้ไขด้านความปลอดภัยในการพัฒนาและชวยลูกค้าในการพัฒนาด้าน IT อย่างค่อยเป็นค่อยไป และนี่คือสิ่งที่จะมีใน Red Hat Enterprise Linux 5
Red Hat Enterprise Linux 5 ออกมาตามกำหนด เรื่องว่าตัว RHEL มีอะไรใหม่ลองอ่านดูในข่าวเก่าๆ ใต้แท็ก Red Hat หรือไม่ก็ดูจากเว็บของ RHEL โดยตรง
ที่น่าสนใจกว่าตัว RHEL คือกลยุทธ์ของ Red Hat ซึ่งช่วงหลังถูกตีกระหนาบโดย Novell+Microsoft และ Oracle ดังนั้น Red Hat จึงต้องมีอะไรที่เข้มแข็งกว่านั้นมาสู้ บริษัทจึงเน้นไปทางแอพพลิเคชันมากขึ้น จะเห็นได้จากการเข้าซื้อ JBoss ส่วนกลยุทธ์ใหม่ที่มากับ RHEL5 คือ RHX (Red Hat Exchange) ซึ่งเป็นตัวกลางในการซื้อซัพพอร์ตจากแอพพลิเคชันจากผู้ผลิตรายอื่นๆ ตัวอย่างเช่น MySQL หรือ SugarCRM
RHX จึงเป็นจิ๊กซอตัวใหม่ที่จะช่วยให้ Red Hat ชิงตลาด Enterprise ได้อย่างเบ็ดเสร็จมากขึ้น จับตาดูกลยุทธ์นี้ดีๆ
RHEL4 ออกมานานพอสมควร ถึงเวลาของ RHEL5 เสียที ของใหม่สำคัญในเวอร์ชันนี้คือการสนับสนุน Xen (เฉพาะสถาปัตยกรรม i386 กับ x86-64 เท่านั้น ส่วน IA-64 เป็นรุ่นพรีวิว)
RHEL5 จะแบ่งเป็นสองรุ่นคือ
ถ้าสนใจทดสอบ เค้าบอกว่าต้องเป็นสมาชิก Red Hat Network ครับ
ที่มา - Linux Lookup