Data on 2.2M Active Troops Stolen From Veterans Affairs
ข้อมูลส่วนตัวของทหารประจำการของสหรัฐถูกขโมยจากกิจการทหารผ่านศึก (Veterans Affairs) ข้อมูลที่ถูกขโมยเหล่านี้ทำให้ทหารประจำการสองล้านสองแสนคนเสี่ยงต่อการถูกการนำเอาข้อมูลส่วนตัวอันประกอบไปด้วย ชื่อ วันเกิด รหัสประกันสังคม (social security number) ไปใช้ในในทางที่มิชอบ
ที่มา -- the Guardian Unlimited
FreeBSD Security Team ได้ขอให้ผู้ใช้ FreeBSD โดยเฉพาะคนที่ทำงานเป็นแอดมิน ช่วยตอบแบบสำรวจสั้นๆ 12 ข้อ เกี่ยวกับความปลอดภัยใน FreeBSD เพื่อที่จะได้นำความคิดเห็นไปปรับปรุงแก้ไข คิดว่าแถวนี้มีแอดมินและผู้ใช้ FreeBSD อยู่บ้าง เลยเอามาประชาสัมพันธ์ต่อให้ อยากได้ของดีก็ช่วยกันคนละไม้ละมือครับ
ที่มา - FreeBSD Security Survey
ไมโครซอฟท์ออกแพตช์ใหม่ตัวใหญ่ที่ซ่อมรูรั่วใน IE6 10 จุด ที่สำคัญคือไมโครซอฟท์ได้เตือนให้ผู้ใช้ทำการอัพเกรดจาก Windows 98/ME ซึ่งอายุการสนับสนุนจะหมดลงในวันที่ 11 มิถุนายนนี้ (แปลง่ายๆ ว่า ถึงมันจะมีรูรั่วทางความปลอดภัย มันจะไม่มีแพตช์มาซ่อมอีกแล้ว และเตือนว่าอย่าล้อเล่นกับความปลอดภัยครับ)
หลังจากเก้าเดือนก่อน ไซแมนเทคออกมาแจ้งผลสำรวจว่า IE นั้นมีความปลอดกว่าไฟร์ฟอกซ์ โดยให้เหตุผลว่าบั๊กด้านความปลอดภัยของ IE นั้นนับแล้วน้อยกว่า
ตอนนี้อยู่ดีๆ ไซแมนเทคก็ออกมาประกาศผลสำรวจใหม่ ว่าไฟร์ฟอกซ์นั้นปลอดภัยกว่าแล้ว โดยระบุว่าที่ต้องกลับการสำรวจนี้ ก็เพราะการสำรวจครั้งที่แล้วไม่ยุติธรรม เพราะนับเฉพาะช่องโหว่บนที่ผู้ผลิตยอมรับ ซึ่งในกรณีของไฟร์ฟอกซ์นั้น มีการพัฒนาที่โปร่งใสกว่ามาก ทำให้บั๊กด้านความปลอดภัยทั้งหมดถูกตรวจสอบได้
อันนี้ก็ข่าวต่อเนื่องอีกอันครับ ผมรอมันจบแล้วเขียนทีเดียว
เริ่มจาก ZDNet ได้ลงข่าวการทดสอบความปลอดภัยของ Mac OS X โดยมีชาวสวีเดนคนนึงตั้งเครื่องไว้ให้ลองเจาะเข้าไปดู ปรากฎว่า root ของเครื่องนั้นถูกฉกไปในเวลา 30 นาทีเท่านั้น เรื่องนี้เลยทำให้ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของ Mac OS X สั่นคลอน (ข่าว OSNews)
เนื่องจากใน Vista นั้นจะเปิดออพชันการเข้ารหัสไฟล์ในเครื่องมาให้อัตโนมัติ (ชื่อเทคโนโลยีคือ BitLocker Drive Encryption) ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ยากขึ้นถ้าเครื่องโดนแฮปไป ซึ่งก็เป็นผลดีสำหรับลูกค้า ในอีกกรณีหนึ่งคือป้องกันการรันโปรแกรมหรือฟังเพลงที่ไม่ได้รับอนุญาต ตามแนวคิด DRM ซึ่งใช้ร่วมกับชิป Trusted Platform Module ที่อยู่ในฮาร์ดแวร์มาซักพักแล้ว
การใช้ไอพอดอาจจะไม่ใช่เรื่องส่วนตัวในที่ทำงานอีกต่อไป เมื่อมือดีชื่อ Abe Usher ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ได้สร้างโปรแกรมชื่อว่า Slurp Audit [เว็บช้ามาก] ที่สามารถนำไปรันบนเครื่องเล่นเพลงอย่างไอพอดได้ โดยโปรแกรมจะรันอัตโนมัติเพียงการเสียบเครื่องเข้าพอร์ตยูเอสบี แล้วรันโปรแกรมนี้ มันจะแสกนโฟลเดอร์ Document an Settings แล้วดูดเอาไฟล์เอกสารต่างๆ เข้าสู่ไอพอดโดยอัตโนมัติ ซึ่งกับไอพอดขนาด 60 กิกะไบต์นั้น อาจจะดูดเอกสารสำคัญไปหมดโดยไม่มีใครรู้ตัวแม้แต่น้่อย
และแล้ว Trojan ที่อาจจะเป็นตัวแรกที่มีเป้าหมายไปยังกลุ่มผู้ใช้ Mac OS X ก็เผยโฉมออกมาแล้ว (พูดเหมือนรอมาเสียนาน อิอิ) โดยมีชื่อว่า Leap-A
เจ้า Leap-A ซ่อนตัวครั้งแรกใน link ในเว็บบอร์ดแห่งหนึ่ง โดยหลอกว่าเป็น Screenshort สำหรับ Leopard (Mac OS X 10.5) แล้วก็กระจายผ่านทาง iChat ในรูปของ compressed file ที่ชื่อ latestpic.tgz ซึ่งผู้รับจะต้อง download ไฟล์ดังกล่าว ถ้าไม่ดาวน์โหลด ก็ไม่ติด พวกบรรดาสาวกเป็ดเขียว Adium อย่างผมก็รอดไป
ถึงแม้จะมีอัตราการกระจายและระดับความรุนแรงต่ำ (เสียจนไม่น่าจะเป็นข่าว) แต่ที่เป็นข่าวเนี่ยก็เพราะดันมาเป็นกับ OS X มากกว่า
ไมโครซอฟท์ได้บอกว่าจะไม่รวมผลิตภัณฑ์แอนตี้ไวรัสเข้ามาใน Vista (มีแต่ Windows Defender หรือ AntiSpyware เดิม)เนื่องจากมีแผนจะทำตลาดนี้แยกต่างหาก
และตอนนี้ก็เปิดเผยรายละเอียดของ Microsoft OneCare Live แล้ว โดยชุดโปรแกรมนี้จะรวมเอาแอนตี้ไวรัส ไฟร์วอลล แบ็คอัพเข้าด้วยกัน โดยวางขายทั้งแบบเป็นกล่องและออนไลน์ ราคาสมาชิกรายปีต่อพีซีสามเครื่องอยู่ที่ 49.95 เหรียญ
โปรโตคอล SSH หรือ Secure Shell ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมานาน เพิ่งจะเข้าสู่กระบวนการออกมาตรฐานของ IETF (Internet Engineering Task Force) โดยตอนนี้อยู่ในขั้นตอนเสนอมาตรฐาน และต้องผ่านกระบวนการอีกหลายชั้นกว่าจะออกเป็นมาตรฐานจริง
ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่อิมพลีเมนต์ตามสเปก SSH อยู่ 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ SSH Communications Security (SSH.com) และ OpenSSH ที่ใช้กันในระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สแทบทุกตัว รวมถึง Mac OS X ด้วย ทั้งสองค่ายนี้ทำงานเข้ากันได้ไม่ 100% การออกมาตรฐานครั้งนี้ทางตัวแทนฝ่าย OpenSSH บอกว่ายินดีจะปรับเปลี่ยนให้เข้ากับมาตรฐาน
หลังจากที่คนใช้ Samba3 หลายคนต้องรอคอยให้ Samba ซึ่งเป็นโปรแกรมหลักในการเชื่อมต่อโลกของวินโดว์เข้ากับ *nix ทั้งหลายวันนี้ก็ได้ออก Samba4 รุ่นทดสอบ โดยฟีเจอร์หลักที่เป็นที่พูดถึงกันมากคือการรองรับ LDAP ในตัวพร้อมๆ กับการยืนยันบุคคลแบบ Kerberos ซึ่งทำให้เราใช้เครื่องวินโดวส์ทั่วไปมา Join Domain เข้ากับ Samba ได้เลย
เรื่องนี้อาจจะหมายถึงการขยายตัวของลินุกซ์ในกรณีที่องค์กรขนาดเล็ก ไม่ต้องการเสียเงินซื้อวินโดวส์ 2003 ซึ่งราคาค่อนข้างแพง ก็สามารถใช้ Linux + Samba4 แทนได้ระดับหนึ่ง
ไมโครซอฟท์ประกาศนโยบายใหม่ล่าสุดสำหรับวินโดว์วิสต้าที่คาดกว่าจะออกปลายปีนี้ว่า ไดรเวอร์ทั้งหมดสำหรับวิสต้าเวอร์ชัน 64 บิตนั้น ต้องได้รับใบรับรองดิจิตอลจากทางไมโครซอฟท์ก่อน จึงจะสามารถลงและทำงานในวินโดว์วิสต้าได้ โดยไมโครซอฟท์ไม่เก็บค่าธรรมเนียม แต่ผู้ผลิตไดรเวอร์ยังต้องเสีย 500 ดอลล่าร์ต่อปีสำหรับใบรับรอง Class 3 Commercial Software Publisher Certificate ให้กับ Verisign
โดยทั่วไปแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องดีสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เพราะเป็นการบังคับให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ทุกรายต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพไดรเวอร์ก่อน ราคา 500 ดอลลาร์ก็นับเป็นเรื่องเล็กสำหรับการผลิตฮาร์ดแวร์ออกมาสักชิ้นนึง
หลังจากกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ ออกคำสั่งให้ผู้ให้บริการค้นหาเว็บรายหลักๆ เช่น กูเกิล ยาฮู และไมโครซอฟท์ ต้องส่งรายการคำที่มีการค้นหาทั้งหมดในช่วงเวลาที่กำหนดให้รัฐบาล ในเวลานี้ทั้งยาฮูและไมโครซอฟท์ ต่างก็ตกลงส่งข้อมูลดังกล่าวให้กับรัฐบาลสหรัฐแล้ว โดยระบุว่าข้อมูลดังกล่าวจะไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้เว็บทั้งสองแต่อย่างใด เนื่องจากจะไม่มีข้อมูลที่ระบุตัวผู้ใช้ไว้ในข้อมูลดังกล่าวแต่อย่างใด
หลังจากยังอยู่ในเวอร์ชัน CTP อยู่มาพักนึง ตอนนี้วิสต้าซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อไปของไมโครซอฟท์ ก็มีแพตช์ออกมาให้โหลดกันแล้ว โดยแพตช์ที่ว่านี้เป็นตัวแก้บั๊กในการแสดงผลไฟล์ WMF ซึ่งเป็นบั๊กตัวเดียวกับในวินโดวส์เอ็กซ์พี เพราะใช้โค้ดส่วนที่พอร์ตต่อๆ กันมา
ไม่แน่ใจว่าคนอ่าน Blognone มีใครใช้อยู่รึเปล่า ถ้ามีแคปเจอร์หน้าจอตอนมันอัพเดตมากฝากกันบ้าง..
ที่มา - eWeek
เมื่อต้นปีที่ผ่านมามีการรายงานถึงบั๊กที่ทำให้แฮกเกอร์สามารถรันโปรแกรมผ่านทางไฟล์ WMF ซึ่งสามารถเปิดได้จาก IE ทำให้เป็นกังวลกันเป็นวงกว้างว่าจะเป็นอันตรายแบบเดียวกันสมัยบั๊กในการแสดงภาพ JPEG
เพียงสามวันก็มีแพตช์ออกมาจากเว็บไมโครซอฟท์เป็นการแก้บั๊กดังกล่าว และในไม่กี่ชั่วโมงต่อมาไมโครซอฟท์ก็รีบเอาไฟล์นั้นออกจากเว็บอย่างรวดเร็ว แต่ยังไม่เร็วพอ โดยมีคนโหลดไฟล์นั้นมาให้เราโหลดไปลองกันได้ที่ HexBlog แต่อย่างไรก็ตามไมโครซอฟท์เตือนว่าแพตซ์ตัีวนี้ยังไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างถูกต้อง และแพตซ์ตัวจริงจะออกในวันที่ 10 ที่จะถึงนี้
ช่วงสิ้นปีเรามีการจัดอันดับหลายต่อหลายอย่างกันไปแล้ว หลังจากผ่านพ้นปีไป ลองมาดูสรุปบั๊กที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมากันดีกว่า
หลังจากเรื่องยืดเยื้อกันมานานโซนี่ก็ยอมถอยในคดีการติดตั้งโปรแกรม XCP ลงในเครื่องของผู้ที่ซื้อแผ่นซีดีเพลงจากโซนี่อย่างถูกกฏหมาย โดยได้เสนอข้อแลกเปลี่ยนในการยอมความต่อศาลแล้วในวันนี้ โดยข้อเสนอระบุให้ผู้เสียหายสามารถขอเงินคืน พร้อมกับการได้รับสิทธิ์ที่จะโหลดเพลงอีกสามอัลบัมจจากร้านออนไลน์ อย่าง iTMS, NapSter หรือ Yahoo! Music
ข้อตกลงนี้ต้องได้รับการยินยอมจากศาลก่อนจึงจะมีผล โดยมีการประมาณการถึงตัวเลขแผ่นซีดีที่โซนี่ต้องชดใช้ไว้ที่ประมาณ 10 ล้านแผ่น
ที่มา - USA Today
เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาเมื่อมีการพบบั๊กในไลบรารีของการตรวจจับไวรัสของ Symantec ซึ่งทำให้ซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยจำนวน 64 รายการซึ่งรวมถึง Norton Antivirus ที่เราใช้กันบ่อยๆ โดยบั๊กนี่เกิดในจุดที่เมื่อมีการแสกนไฟล์ RAR ทำให้สามารถเกิด Buffer OverFlow และทำให้แฮกเกอร์สามารถใช้ช่องโหว่นี้เพื่อส่งคำสั่งอันตรายเข้ามาในเครื่องได้
ยามกลายเป็นไส้ศึกให้โจรไปซะแล้ว
ที่มา - eWeek
เมื่อวันพุธที่ผ่านมามีคนที่ใช้ชื่อ "fearwall" ใน eBay ออกมาปล่อยประมูล ข้อมูลรูรั่วอันใหม่ล่าสุดของ Microsoft Excel ด้วยราคาเริ่มต้นที่ 1 เซนต์ ราคานี้ถูกนักประมูลแข่งกันจนไปแตะที่ $60 ก่อนที่ eBay จะสั่งปิดการประมูลในวันต่อมา
จากรายละเอียดเพิ่มเติมที่ชายคนนี้แจ้งไว้ ทราบว่า รู้รั่วอันนี้ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา และได้ถูกแจ้งไปยัง Microsoft แล้ว ซึ่งรูรั่วนี้จะเกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ใช้พยายามจะตรวจสอบความสมบูรณ์ (validate) ข้อมูลในเอกสาร
Java Sandbox นั่นพูดสั้นๆ ง่ายๆ เหมือนเป็นสนามเด็กเล่นที่ให้ Applet เข้าไปวิ่งเล่นในเครื่องลูกข่าย (client) โดยกันไม่ให้ Applet นั้นเข้าถึงไฟล์ local system ก่อนจะได้รับอนุญาตจากผู้ใช้
Sacunia รายงานว่า พบรูรั่วหลายจุดที่ยอมให้ Applet ที่ไม่น่าเชื่อถือ สามารถหลบหลีกขั้นตอนการขออนุญาต เพื่อไป อ่าน/เขียน ข้อมูลในเครื่องลูกข่ายได้
โดย JDK/JRE รุ่นที่ตกอยู่ในอันตราย มีดังนี้
ทีมงานของเว็บเบราว์เซอร์ 4 ค่ายใหญ่ คือ Mozilla, Konqueror, IE และ Opera ไปประชุมกันที่โตรอนโต เพื่อหาแนวทางสำหรับเว็บเบราว์เซอร์ในการป้องกันภัยจาก Phishing และปัญหาอื่นๆ
เพื่อเป็นการบีบให้ผู้อ่านของเรามีความรู้เกี่ยวกับ Phishing เพิ่มเติม ผมไม่เขียนอธิบายว่ามันคืออะไรนะครับ (เป็นความขี้เกียจที่เหตุผลฟังดูดีมาก)
รายงานรูรั่วล่าสุดของบราวเซอร์ Internet Explorer มีอันตรายในพอที่จะเปิดช่องให้แฮกเกอร์เรียกโปรแกรมใดๆ ในเครื่องของเหยื่อได้ โดยรู้รั่วนี้ได้รับการยืนยันจากบริษัท FrSIRT ที่แสดงตัวอย่างไฟล์ HTML ที่สามารถเรียกโปรแกรมเครื่องคิดเลขของวินโดว์ขึ้นมาใช้งานได้ และคาดว่าในไม่ช้าจะมีเว็บดัดแปลงที่สร้างความเสียหายอย่างหนักออกมาอีกจำนวนมาก
ล่าสุดบั๊กนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากไมโครซอฟท์ แต่ในเครื่อง Windows 2000 และ 2003 ที่เปิด Enhaced Security Configuration เอาไว้จะไม่ได้รับผลจากช่องโหว่นี้
บั๊กในวงการซอฟท์แวร์แล้วถือว่าเป็นของคู่กันเสียเหลือเกิน ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าแปลกที่ผู้ใช้ทั่วๆไปเหมือนกับจะยอมรับได้ ยิ่งถ้าซอฟท์แวร์ตัวไหนมีอัพเดทบ่อยๆจะบอกว่าซอฟท์แวร์นี้ดีทั้งที่เรื่องที่อัพเดทนั้นเป็นการแก้บั๊กเฉยๆ ไม่ได้เพิ่มฟีเจอร์อะไรเข้าไป แต่ถ้าสมมติเป็นบ้าน บอกว่ามีช่างมาซ่อมให้บ่อยๆ นี่บ้านคงมีสภาพไม่น่าอภิรมย์ซักเท่าไหร่
ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะการอัพเดทของซอฟท์แวร์นั้นไม่ได้ยุ่งยากลำบากอะไร (จริงเหรอ?) ก็แค่ไปดาวน์โหลดแพทช์แล้วก็ดับเบิ้ลคลิก แล้วก็คิดซะว่า อย่างน้อยก็ยังมีการแก้ไขน่า ดีกว่าไม่มีการแก้เลย
IE7 เตรียมยกเลิกการสนับสนุนโปรโตคอล SSL (Secure Socket Layer) หรือที่เราคุ้นกันตรง HTTPS เวอร์ชัน 2 แล้ว เพื่อจะบีบให้เว็บไซต์หันไปใช้ SSLv3 หรือ TLSv1 แทน
SSL คิดค้นโดย Netscape สำหรับการเชื่อมต่อแบบเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัย โดย SSLv3 ออกมาตั้งแต่ปี 96 และเป็นพื้นฐานของ TLS (Transport Layer Security) เวอร์ชัน 1 ซึ่งจริงๆ มันแทบไม่ต่างกันเลย แค่ TLS เป็นชื่อของ IETF (Internet Engineering Task Force) เท่านั้นเอง