Vodafone ประเทศเยอรมันเริ่มให้บริการซิมแบบใหม่จากบริษัท G&D มันมีความสามารถในการเข้ารหัส, และเซ็นลายเซ็นดิจิตอล ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้ารหัสอีเมล, ลงลายเซ็นดิจิตอลในอีเมล, และล็อกอิน VPN ได้โดยใช้ซิมเป็นเครื่องยืนยันตัวตน
ซิมนี้รองรับแอนดรอยด์ ส่วน BB10 และ Windows Phone มีแผนจะรองรับเร็วๆ นี้ ส่วน iOS ยังไม่มีแผน
ลูกค้าที่ต้องการใช้ซิมรุ่นนี้จะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติม โดยยังไม่ประกาศราคา
ที่มา - The Register
จากกรณี Galaxy Note 3 ล็อกโซนของซิมการ์ด ในยุโรปและอเมริกาจนถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก
ล่าสุดตัวแทนของซัมซุงเยอรมนีได้แสดงท่าทีอย่างเป็นทางการ ยอมรับว่านโยบายการล็อคซิมส่งผลกระทบเกินกว่าที่ซัมซุงคาดไว้ และซัมซุงได้รับคำถามจากผู้ใช้เป็นจำนวนมาก
เบื้องต้นซัมซุงจะยังใช้นโยบายล็อคโซนซิมการ์ดกับผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ๆ ต่อไปดังเดิม แต่จะนำข้อมูลและเสียงวิจารณ์จากลูกค้าไปวิเคราะห์อย่างละเอียด แล้วค่อยพิจารณาปรับนโยบายนี้ในอนาคตต่อไป ส่วนลูกค้าที่ต้องการปลดล็อคโซนก็สามารถติดต่อศูนย์บริการของซัมซุงได้ตามปกติ
เราเห็นมือถือ 2 ซิมกันมาจนเบื่อแล้ว คราวนี้เป็นข่าวของ Android 3 ซิมกันบ้างครับ
ค่าย LG นำ Optimus L4II ซึ่งมีรุ่น 2 ซิมทำตลาดประเทศกำลังพัฒนาอยู่แล้ว มายกเครื่องใหม่โดยใช้ชิปเซ็ตของ MediaTek ที่รองรับ 3 ซิมแบบใช้งานได้พร้อมกัน (ทั้ง voice/data) ในประเทศบราซิล ถือเป็นมือถือ 3G 3 ซิมตัวแรกของโลก
MediaTek คุยว่าชิปเซ็ตของตัวเองรองรับการทำงาน 3 ซิมพร้อมกันโดยที่ระบบยังเสถียร ช่วยลดปัญหาสายหลุดหรือเสียงไม่ชัดเจนที่พบบ่อยในมือถือหลายซิมได้ แถมผู้ใช้งานยังสามารถปิดการทำงานของบางซิมเมื่อไม่ใช้งานได้ด้วย
MediaTek บอกว่ามือถือหลายซิมเป็นสิ่งจำเป็นในประเทศกำลังพัฒนา และชิปเซ็ตตัวใหม่นี้จะช่วยให้ผู้ผลิตมือถือทั่วโลกทำตลาดประเทศกำลังพัฒนาได้ง่ายขึ้น
รายงานข่าวจากเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ The New York Times ระบุว่า บริษัทวิจัยด้านความปลอดภัยในประเทศเยอรมนีตรวจพบช่องโหว่ในการเข้ารหัสของซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือที่ใช้การเข้ารหัสแบบ D.E.S. (Data Encryption Standard) ที่ใช้มาตั้งแต่ช่วงปี 1970 ซึ่งทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถดึงเอารหัสดิจิตอลของซิมการ์ดจำนวน 56 หลักออกมา และสามารถใช้ซิมการ์ดนั้นเสมือนว่าเป็นของตนเองได้ทันที
หน่วยงานกำกับและดูแลด้านโทรคมนาคมของอินโดนีเซียเตรียมเสนอข้อกำหนด ให้ซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือต้องมีราคาขายขั้นต่ำ 100,000 รูเปียขึ้นไป หรือประมาณ 310 บาท จากเดิมที่ปล่อยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายแข่งขันกัน จนซิมการ์ดพรีเพดราคาเริ่มต้นเพียง 2,000 รูเปีย หรือแค่ 6 บาท
สาเหตุที่มีการเสนอข้อกำหนดนี้เพราะอัตราการย้ายค่ายของลูกค้า (Churn Rate) ในอินโดนีเซียนั้นสูงถึง 20% ต่อเดือน ซึ่งมากที่สุดในทวีปเอเชีย หากมีการปรับราคาซิมการ์ดเริ่มต้นขึ้นมาก็น่าจะช่วยลดปัญหานี้ได้
แม้บนเวทีจะไม่ได้มีการพูดถึง แต่ในหน้า Compare iPhone Models บนเว็บ Apple ได้บอกไว้ว่า iPhone 5 จะใช้ Nano-SIM เป็นซิมมาตรฐาน ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า Micro-SIM ที่ใช้ใน iPhone 4/4S ถึง 40%
iPhone 5 จึงเป็นมือถือรุ่นแรกที่รองรับ Nano-SIM เป็นซิมมาตรฐาน ซึ่งทางผู้ให้บริการโทรศัพท์ทั้งหลายก็ได้เตรียม Nano-SIM ไว้รองรับแล้ว
ที่มา: MacRumors
ข่าวลือที่ว่า iPhone รุ่นใหม่จะใช้ซิมการ์ดมาตรฐานใหม่ที่เพิ่งผ่านมาสดร้อนๆ อย่าง Nano-SIM ดูท่าจะใกล้เคียงความจริงเข้าไปเรื่อยๆ หลังจากก่อนหน้านี้เคยมีข่าวจากโอเปอร์เรเตอร์ฝั่งยุโรป ตามมาด้วยภาพหลุดถาดใส่ซิมใหม่ ตอนนี้มีภาพตัวจริงของ Nano-SIM ออกมาแล้ว
ภาพของ Nano-SIM ที่ว่าหลุดมาจากเครือข่าย T-Mobile (เยอรมนี) ที่ส่งให้กับคู่ค้าในประเทศ แล้วเว็บไซต์ iFun ไปได้ภาพถ่ายของซิมที่ว่ามา (ดูภาพได้ท้ายข่าว)
เว็บไซต์ NoWhereElse ของฝรั่งเศส เปิดเผยภาพถาดใส่ Nano-SIM ที่คาดว่าจะใช้บน iPhone รุ่นต่อไป โดยตัวถาดใส่ซิมตัวนี้มีขนาดเล็กกว่าถาดใส่ซิมแบบ iPhone 4S พอสมควร (จากที่ดูน่าจะประมาณ 3 มิลลิเมตรได้) และสีของถาดก็มีสีดำ ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะเป็นของเครื่องต้นแบบ iPhone รุ่นใหม่สีดำก็ได้ (หรือเป็นแค่เงาตอนถ่ายรูป)
สุดท้ายจะใช้ Nano-SIM หรือไม่ก็คงต้องติดตามตอนต่อไป แต่ส่วนตัวคาดว่าจะได้เห็นแน่ ๆ
มาตรฐานซิมการ์ดใหม่อย่าง Nano SIM (ชื่ออย่างไม่เป็นทางการ) อาจจะได้ใช้กันเร็วกว่าที่คิด หลังจากสำนักข่าว FT รายงานว่า ผู้ให้บริการมือถือในยุโรปหลายรายเริ่มสั่งผลิต Nano SIM จากผู้ผลิตสำหรับเตรียมใช้ใน iPhone รุ่นใหม่แล้ว
และจากการที่มาตรฐานใหม่ดังกล่าวเพิ่งอนุมัติไปเมื่อต้นเดือนมิถุนายน ถ้าหากว่าข่าวจาก FT เป็นจริงนั่นหมายความว่าแอปเปิลนั้นออกแบบตัวถาดใส่ซิมตั้งแต่ก่อนจะลงคะแนนมาตรฐานเลยทีเดียว
ครบกำหนดเก่าของการลงมติ Nano SIM หลังจากองค์กรควบคุมมาตรฐานโทรคมนาคมยุโรป (ETSI) ไม่สามารถหาข้อตกลงได้ จนต้องเลื่อนออกไปอย่างน้อยหนึ่งเดือน ตอนนี้ได้ข้อสรุปแล้วครับ
การลงมติที่จัดขึ้นระหว่างการประชุมในประเทศญี่ปุ่นของสมาชิก ETSI ได้ข้อสรุปว่าการออกแบบใหม่ที่จะนำมาใช้กับซิมการ์ดรุ่นที่สี่ (ตอนนี้ก็เรียกว่า Nano SIM ไปก่อน) จะมีขนาดเล็กลง 40% เมื่อเมื่อเทียบกับ micro SIM ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ขนาดจริงๆ คือ กว้าง 12.3 มม. สูง 8.8 มม. และหนา 0.67 มม. มีฟังก์ชันการใช้งานเหมือนรุ่นก่อนหน้าทุกประการ และสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่รองรับซิมการ์ดรุ่นเก่าได้ (backwards compatible)
การชี้อนาคตของ Nano SIM ดูเหมือนจะต้องรอไปอีกหน่อย หลังจากที่การลงมติเลือกมาตรฐานดังกล่าวไม่มีการโหวตเลือกเกิดขึ้น และมีการถกเถียงทางด้านกฏหมายแทน โดยทั้งสองฝั่งที่เสนอมาตรฐาน (แอปเปิล และโนเกีย) ต่างออกแบบหน้าตาของ Nano SIM อิงกับสิทธิบัตรที่ตัวเองถืออยู่ และจากการที่ไม่สามารถโหวตได้ในครั้งนี้มีผลทำให้ต้องเลื่อนการลงมติออกไปอย่างน้อย 30 วัน
เพิ่มเติมในส่วนของหน้าตา Nano SIM ของฝั่งโนเกียที่คล้ายกับ micro SD ที่ใช้ในปัจจุบันมาก ซึ่งอาจมีบางส่วนอยู่ในสิทธบัตรที่มีในครอบครองของบริษัทผลิตเมมโมรี่เช่น SanDisk, Toshiba และ Panasonic ได้
ส่วนรูปคร่าวๆ ของ Nano SIM ทั้งฝั่งแอปเปิล และโนเกียสามารถดูได้จากข่าวเก่าครับ
กระบวนการลงมติเลือกมาตรฐาน nano SIM ขององค์กรควบคุมมาตรฐานโทรคมนาคมยุโรป (ETSI) ได้เริ่มต้นแล้วซึ่งคาดว่าผลจะออกในไม่กี่วันข้างหน้า แต่ดูเหมือนวิวาทะจากฝ่ายตรงข้ามกับแอปเปิล ซึ่งนำโดยโนเกีย ที่มีผู้สนับสนุนคือโมโตโรลาและ RIM จะยังไม่จบ หลังจากที่แอปเปิลออกมาบอกว่าถ้าหาก ETSI เลือกมาตรฐานของแอปเปิลแล้วแอปเปิลจะไม่เก็บค่าธรรมเนียม
ต่อเนื่องจากข่าวที่หลายฝ่ายกังวลแอปเปิลเสนอออกแบบ nano SIM มาพร้อมถาดใส่ ซึ่งถ้าหากแอปเปิลชนะ อาจนำไปสู่การเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งาน nano SIM ได้
ย้อนความเดิมก่อนว่าช่วงนี้ใกล้จะถึงกำหนดการที่องค์กรที่ควบคุมมาตรฐานโทรคมนาคมยุโรป (ETSI) จะนัดประชุมเพื่อโหวตมาตรฐานใหม่ของซิมการ์ดรุ่นต่อไปที่จะใช้ในอนาคต (ชื่ออย่างไม่เป็นทางการ nano SIM) โดยแบ่งเป็นสองฝ่ายคือแอปเปิล และกลุ่มพันธมิตรที่นำโดยโนเกีย ที่ทำแต้มนำไปก่อนแล้วด้วยการข่มว่าฝั่งตัวเองมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่า ซึ่งจะทำให้ nano SIM นอกจากจะขนาดเล็กลงแล้ว ยังมีความสามารถในการรับสัญญาณได้ดีขึ้น รวมถึงราคาผลิตต่อหน่วยที่ต่ำลงอีกด้วย
หลายคนคงคุ้นชื่อกับซิมรุ่นใหม่ที่เล็กกว่า Micro SIM (ตอนนี้เรียก nano SIM ไปพลางๆ) หลังจากที่แอปเปิลได้เสนอมาตรฐานดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่ดูแลมาตรฐานนี้อยู่อย่าง The European Telecommunications Standards Insti
ผู้ที่ใช้ iPhone และมือถือของโนเกียบางรุ่นคงคุ้นเคยกับ Micro-SIM ซิมการ์ดขนาดเล็กกว่าปกติ แต่ล่าสุดเรากำลังจะมีซิมชนิดใหม่ที่ "เล็กลงได้อีก" มันคือ Nano-SIM
บริษัท Giesecke & Devrient (G&D) ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตไมโครชิปฝังตัวจากเยอรมนี และเป็นผู้สร้างซิมการ์ดรายแรก เตรียมจะเปิดตัว Nano-SIM ในงานแสดงสินค้าที่ปารีสสัปดาห์หน้า
Nano-SIM จะมีขนาด 12mm x 9mm ซึ่งเล็กลงกว่า Micro-SIM อยู่ 30% (ขนาดของ Micro-SIM คือ 15mm x 12mm) ส่วนความบางจะลดลงจากเดิม 15% (ซิมการ์ดทุกแบบในปัจจุบันหนา 0.76mm) ถ้าเปรียบเทียบขนาดกับซิมการ์ดปกติแล้ว จะเล็กกว่ากัน 60%
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าแอปเปิลได้ยื่นร่างมาตรฐานของซิมการ์ดแบบใหม่ไปยัง The European Telecommunications Standards Institute (ETSI) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลมาตรฐานโทรคมนาคมของยุโรป
ตัวแทนของ ETSI ยืนยันว่าแอปเปิลเสนอร่างมาตรฐานเข้าไปจริง ส่วนการพัฒนาไปเป็นมาตรฐานของ ETSI ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเดินหน้าอย่างไร และกระบวนการทั้งหมดอาจใช้เวลามากกว่า 1 ปี ถ้าหากบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมมีความเห็นที่ขัดแย้งกัน
ส่วนตัวแทนจาก Orange เครือข่ายมือถือของฝรั่งเศสออกมาสนับสนุนร่างมาตรฐานของแอปเปิล โดยระบุว่าซิมการ์ดแบบใหม่จะเล็กกว่า Micro SIM ที่ใช้ใน iPad/iPhone รุ่นปัจจุบัน
มาตรฐาน Micro SIM ก็ถูกรับรองโดย ETSI เช่นกัน โดยออกเป็นมาตรฐานในปี 2003
คนที่ยังไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟนก็สามารถเล่น Facebook ได้เช่นกัน เพราะวันนี้เราสามารถเสียบ "Facebook SIM" ที่ฝังโปรแกรมสำหรับ Facebook เวอร์ชัน GSM SIM Toolkit มาให้
Facebook เวอร์ชันนี้ไม่หรูหราอลังการนัก แต่ก็สามารถอัพเดตสถานะ, ขอเป็นเพื่อน ฯลฯ ที่เป็นงานด้านข้อความได้หมด (ดูรูปไม่ได้นะครับ) ใช้ได้กับมือถือระบบ GSM ทุกรุ่น และใช้การส่งข้อมูลผ่าน Class 2 SMS เพื่อการันตีว่าใช้ได้กับมือถือทุกรุ่นจริงๆ อย่างไรก็ตามยังไม่บอกว่ามีค่าใช้จ่ายในการใช้งานเท่าไร
บริษัทที่พัฒนาชื่อ Gemalto เป็นบริษัทด้านความปลอดภัยบนมือถือ
ช่วงหลังๆ รัฐบาลอินเดียหันมาเน้นเรื่องความมั่นคงของระบบสารสนเทศมากขึ้นเยอะ นอกจากเรื่องข้อตกลงกับ RIM, กูเกิลและ Skype หรือ การประกาศทำระบบปฏิบัติการเอง แล้ว ล่าสุดยังมีแผนจะให้ซิมการ์ดต้องเข้ารหัสด้วย
ตามแผนของรัฐบาลอินเดียจะกำหนดให้ซิมการ์ดในโทรศัพท์มือถือ ต้องมีใบรับรองดิจิทัล เพื่อให้การติดต่อสื่อสารถูกเข้ารหัส ตัวแทนของรัฐบาลอินเดียให้ความเห็นว่าการทำธุรกรรมผ่านมือถือจะน่าเชื่อถือขึ้นมาก
รัฐมนตรีกระทรวงสื่อสารของญี่ปุ่นได้พิจารณาทบทวนการ "ล็อกซิม" ไม่ให้โทรศัพท์มือถือจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละรายใช้ซิมการ์ดของค่ายอื่น และจะประชุมในประเด็นนี้กับภาคธุรกิจและผู้บริโภคในวันศุกร์นี้
ทาง NTT DoCoMo ค่ายมือถืออันดับ 1 ของญี่ปุ่นออกมาโต้ว่า ต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง เพราะบริษัทมีบริการที่มีลักษณะเฉพาะหลายอย่าง ไม่ใช่เฉพาะด้านเสียง ซึ่งจะใช้งานได้ก็ต่อเมื่อใช้เครื่องโทรศัพท์รุ่นพิเศษทั้งหลาย การปลดล็อกซิมอาจจะทำให้มีข้อจำกัดในการบริการได้
รายงานข่าวทางอินเทอร์เน็ตหลายแห่ง ระบุตรงกันว่า เร็วๆ นี้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมของพม่า (MPT) จะเปิดให้บริการซิมการ์ดแบบพรีเพด (Prepaid SIM card) ในโครงข่าย GSM และในระยะแรกคาดว่าจะจำหน่ายเป็นสกุลเหรียญสหรัฐ (US$) ทั้งนี้มุ่งเน้นที่กลุ่มนักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางเข้ามาในประเทศ
ด้านราคาจำหน่ายนั้นยังไม่ชัดเจน ทว่าข่าวลือระบุว่า คงจะมีราคาประมาณ 50 เหรียญ และซิมการ์ดแต่ละใบกำหนดให้มีวงเงินสำรองไว้ 10 เหรียญ สำหรับบัตรเติมเงินที่เตรียมจำหน่ายมี 3 ชนิดราคาคือ US$10, US$30 และ US$50 โดยมีอายุใช้งาน 1 สัปดาห์, 3 สัปดาห์ และ 5 สัปดาห์ ตามลำดับ
หน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของปากีสถาน (PTA) เรียกร้องรัฐบาลให้ผ่านร่างกฎหมายใหม่ และอนุญาตให้สั่งจำคุกหัวขโมยโทรศัพท์มือถือได้สูงสุด 49 ปี
ทั้งนี้หน่วยงานกำกับดูแลกำลังเฝ้าตรวจจับการจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์ที่มิได้ลงทะเบียน และยังมุ่งไปที่ใช้ SIM card กับเครื่องโทรศัพท์ที่ถูกขโมยมาก่อนที่ผู้ให้บริการจะตัดหมายเลขเมื่อได้รับแจ้งเครื่องหาย
ร่างกฎหมายที่มีการแก้ไขใหม่นี้ได้เพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนจะต้องโทษจำสูงสุด 49 ปี หรือปรับเพิ่มเป็น 10 ล้านรูปี (ราว 4.4 ล้านบาท) หรือทั้งจำทั้งปรับ
สมาคม GSM (GSMA) ซึ่งเป็นสมาคมการค้าด้านอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ระดับโลกสมาคมหนึ่ง ได้ออกมาเรียกร้องให้บรรดาผู้ผลิตเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ใส่ฟังก์ชั่น NFC (Near Field Communication) เวอร์ชั่นชุดสมบูรณ์ (ที่ประกอบด้วยอินเทอร์เฟซ Single Wire Protocol – SWP ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐานแล้ว) ในเครื่องรุ่นใหม่ๆ ที่จะผลิตขึ้นตั้งแต่กลางปี 2552
หลังจากมีการประชุม Asia Mobile Congress ที่มาเก๊าเมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการของ GSMA กล่าวว่า จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการใช้บริการสั่งจ่ายเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile payment)