รายงานจากสื่อของรัฐบาลจีนได้ออกมาพูดถึงความเป็นไปได้ที่จะจำกัดการส่งข้อความผ่านมือถือในแต่ละวัน เพื่อต่อสู้กับข้อความที่มีลักษณะเข้าข่ายสแปม
การส่งข้อความสแปมนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวมเร็ว และหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และไม่ใช่เรื่องแปลกเลยถ้าหากว่าในวันๆ หนึ่งจะได้รับข้อความสแปมเหล่านี้มากกว่าสิบข้อความ
โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทั้งสามอย่าง China Telecom, China Mobile Ltd และ China Unicom ต่างก็ตกลงในสัญญาที่จะร่วมต่อสู้กับข้อความสแปมเหล่านี้
หากข้อบังคับนี้เริ่มบังคับใช้ จะมีผลทำให้ไม่สามารถส่งข้อความได้มากกว่า 200 ข้อความต่อชั่วโมงในวันธรรมดา 500 ข้อความต่อชั่วโมงในวันหยุด และ 1,000 ข้อความในวันธรรมดา 2,000 ข้อความในวันหยุด
วันนี้มีรายงานว่า Twitter นั้นโดนหนอน StalkDaily.com โจมตี โดยอาการของผู้ที่ติดนั้นคือจะมีการปล่อยข้อความโฆษณาเว็บไซต์ StalkDaily เป็นระยะๆ และบางครั้งอาจเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้อีกด้วย
TechCrunch ได้แนะนำไม่ให้ผู้ใช้ Twitter เข้าเว็บไซต์ดังกล่าว เพราะอาจจะติดหนอนได้โดยไม่รู้ตัว ถึงแม้ว่าหน้าเว็บไซต์นั้นจะบอกว่าไม่เกี่ยวกันก็ตาม นอกจากนี้ในรายงานสถานะของ twitter ก็ยังได้ออกมายอมรับว่า Twitter นั้นเจอปัญหาดังกล่าวจริง แต่ได้ทำการแก้ไขแล้ว
The Nation รายงานว่ากรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคได้ออกมากล่าวว่า การส่ง SMS โดยนายกฯ อาจจะเข้าข่ายการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลก็ได้
ภายใต้กฏหมายโทรคมนาคม ผู้ให้โอเปรเตอร์ไม่มีสิทธิที่ให้ข้อมูลและรายชื่อของผู้ใช้ของลูกค้าตัวเอง แก่บุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม โดยไม่มีการได้รับอนุญาตจากผู้ใช้งานเอง
นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะอีกว่า นายกรัฐมนตรีควรเลือกใช้การนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์หรือสื่อสาธารณะอื่น ๆ ในการติดต่อสื่อสารกับประชาชน แทนที่จะเลือกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน
ที่มา - The Nation
พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายกรณ์ จาติกวณิช ได้ส่งหนังสือเชิญผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสามค่ายใหญ่คือ เอไอเอส, ดีแทค, และทรูมูฟ เข้าประชุมเพื่อขอความร่วมมือในการส่ง SMS ที่มีข้อความดังนี้
ผม นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ขอเชิญท่านร่วมนำประเทศไทยออกจากวิกฤติ สนใจได้รับการติดต่อจากผม กรุณาตอบ 1 มาที่เบอร์ 9191 (3 บ.)
หากผู้ใช้ทำตามข้อความใน SMS จะมีเสียงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวว่า
ผม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผมทราบดีกว่า พี่น้องประชาชนกำลังเดือดร้อน เครียด ผมจึงตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะทุ่มเทใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ช่วยเหลือ บ้านเมือง แต่ผมคงจะทำไม่สำเร็จหากคนไทยไม่สามัคคีกัน จึงอยากขอโอกาสจากทุกคน
กฏหมายต่อต้านการส่งสแปมหรือที่เรียกกันว่า CAN-SPAM ของสหรัฐฯ นั้นมีการตราออกมาตั้งแต่ปี 2003 และเมื่อวานที่ผ่านมาศาลรัฐแคลิฟอร์เนียก็ได้ตัดสิน John Doe (ชื่อสมมติของชาวสหรัฐในกรณีหาตัวตนจริงๆ ไม่ได้) ให้รับโทษฐานที่ส่งสแปมใน MySpace กว่าเจ็ดแสนข้อความ รวมเป็นโทษปรับถึง 234 ล้านดอลลาร์
กฏหมาย CAN-SPAM นี้ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าไม่สามารถปกป้องประชาชนจากการส่งสแปมได้จริง แถมยังเป็นตัวปิดกั้นไม่ให้มีการตรากฏหมายที่น่าจะทำงานได้ดีกว่านี้ออกมา และการฟ้องร้องจำนวนมากผู้ทำความผิดก็ไม่ได้ถูกจับเพราะไม่สามารถหาตัวได้พบ เช่นเดียวกับคดีนี้
วันที่ 5 พฤษภาคม 2008 ที่ผ่านมา Yahoo! ได้เปิดตัวบริการ SearchScan ที่ช่วยปกป้องผู้ใช้จาก virus, spyware และ spam โดยใช้เทคโนโลยี SiteAdvisor ของ McAfee ที่จะช่วยเตือนผู้ใช้ถึงความเสี่ยงที่พบบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ปรากฏบนผลการค้นหาของ Yahoo! โดยจะเริ่มให้บริการโดยอัตโนมัติในประเทศ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสเปน โดยแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ปัญหาสแปมเมลยังคงเป็นปัญหาใหญ่อย่างต่อเนื่องในโลกออนไลน์ แต่ช่วงหลังระบบการตรวจสอบสแปมของผู้ให้บริการเมลฟรีก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นักส่งสแปมต้องหาทางออกใหม่ๆ ด้วยการใช้บริการจากเมลฟรีเช่น Hotmail หรือ Gmail เองเป็นเซิร์ฟเวอร์เพื่อส่งสแปม แต่ก็มีข้อจำกัดคือแอดเดรสที่ได้จะมีจำนวนจำกัด ทำให้ระบบกรองเมลสามารถกรองแอดเดรสที่ส่งสแปมได้อย่างรวดเร็ว
แต่ล่าสุดทาง WebSense ก็ได้ออกมาระบุว่าทางห้องทดลองด้านความปลอดภัยของทาง WebSense ได้พบความพยายามในการสมัคร Gmail ด้วยบอตอัตโนมัติ และพบว่าบอตตัวนี้สามารถสมัคร Gmail ได้สำเร็จด้วยโอกาสประมาณหนึ่งในห้า
โดยปกติของสแปมเมอร์ทั่วไปจะใช้การส่งสแปมจำนวนมากไปยังรายชื่ออีเมลที่ตัวเองมีอยู่ ซึ่งการส่งมากๆ แบบนี้ไม่นาน account ก็จะถูกแบนไป ทำให้บรรดาสแปมเมอร์ทั้งหลายจะใช้บริการฟรีเว็บเมลซะเป็นส่วนใหญ่ เพราะลงทะเบียนง่าย พอใช้แล้วโดนแบนก็ลงทะเบียนอันใหม่ขึ้นมาใช้ส่งอีก ทำให้มีความต้องการจะลงทะเบียนอีเมลจำนวนมากๆ เพื่อเอามาใช้ส่งสแปม ซึ่งผู้ให้บริการเว็บเมลก็มีระบบป้องกันการลงทะเบียนครั้งละเยอะๆ โดยใช้ CAPTCHA อยู่แล้ว
โดยปกติแล้ววิกิพีเดียภาษาอังกฤษจะมีมาตรการกับการจัดการกับสแปมด้วยการใช้ URL Blacklist แต่เมื่อไม่กี่วันก่อน Jimmy Wales ออกมาเปลี่ยนมาตรการดังกล่าวเป็นการใช้งาน nofollow แทน
บอกก่อนว่า nofollow มันคือแอททริบิวสำหรับแทค rel บน HTML ที่จะทำให้เซิร์จเอนจิ้น "ไม่นับ" ลิงค์นี้เป็นคะแนน (ไม่ใช่ไม่ให้ Spider ตามลิงค์นะครับ) เช่น PageRank
การปรับเปลี่ยนครั้งนี้มีเหตุผลประกอบหลักๆ ก็คือ สแปมจาก SEO World Championship ซึ่งเป็นการแข่งขันว่าใครจะสามารถทำ SEO ได้ดีกว่ากัน โดยตัดสินจากอันดับในเซิร์จเอนจิ้น ณ วันที่ 1 พฤษภาคม
บริษัทด้านความปลอดภัย IronPort ได้วิเคราะห์ตัวเลขของอีเมลสแปมระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2006 ที่ผ่านมา พบว่าปริมาณสแปมเพิ่มขึ้นถึง 35%
สถิติเดิมคือ 31 พันล้านฉบับต่อวันในเดือนตุลาคม 2005 และใช้เวลา 1 ปีเพิ่มมาเป็น 63 ล้านฉบับในเดือนตุลาคม 2006 แต่พอข้ามมาอีกเดือน มันขึ้นมาเป็น 85 ล้านฉบับต่อวัน โดยขึ้นเยอะสุดระหว่างวันที่ 13-22 และ 26-28 ซึ่งช่วงกลางเดือนนั้นมีการปล่อยสแปมปริมาณมหาศาลที่ทำให้ระบบฟิลเตอร์เป็นง่อย ส่งผลให้มีสแปมหลุดเข้ามาอีกจำนวนมาก
Spam ถือเป็นปัญหาน่ารำคาญ และกำจัดได้ยากบนโลกอินเทอร์เน็ตสมัยนี้ ดังที่คุณเชกูเวรา เคยเขียนรายละเอียดทั้งหมดให้เราอ่านกันมาแล้วครั้งหนึ่ง ใน
Spam, Spim, Spit and Spandy ภาค 1,ภาค 2 และ ภาค 3
BioLawCom.De เอง ก็ประสบปัญหาสแปมบ้างเป็นครั้งคราว แต่เจอแต่ละครั้ง หนักหนาสาหัสไม่น้อย ต้องคอยตามล้างตามเช็ด หาวิธีป้องกันใหม่ ๆ อยู่เรื่อย เหมือนกันครับ ผมคิดว่าในหน้าเว็บไซท์หลาย ๆ แห่งก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน เลยอยากแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องนี้กับเพื่อน ๆ ดูบ้าง
ก็อย่างที่คุณเช เคยเขียนไว้ในบล็อกไปแล้วครับว่า การป้องกัน สแปมมีหลายวิธี อาทิ ...
มีการตรวจพบว่าเมลที่ส่งออกมาจาก GMail ตั้งแต่วันนี้ จะมีส่วน DomainKeys ติดมาด้วย
เทคโนโลยีโดเมนคีย์นี้ได้รับการสนับสนุนหลักโดยยาฮู คู่แข่งตัวเอ้ของกูเกิล โดยทางยาฮูได้ประกาศให้การสนับสนุนเทคโนโลยีตัวนี้ตั้งแต่เมื่อเดือนกุมภาที่ผ่านมา
การเข้ามาสนับสนุนเทคโนโลยีนี้อย่างไม่เป็นทางการ (ยังไม่ได้รับการยืนยันจากทางกูเกิล) คาดว่าจะเป็นการให้การสนับสนุนแบบ "รวมกันเราอยู่" เนื่องจากทางฝั่งไมโครซอฟท์นั้นพยายามเสนอมาตรฐานของตนที่ชื่อว่า SenderID เข้าสู่มาตรฐานสากล แต่ตกไปเนื่องจากปัญหาสิทธิบัตร
ต่อจาก Sender ID กับปัญหาสารพัด แนวคิด Sender ID ของไมโครซอพท์โดนต่อต้านโดย Apache Foundation ไปรายหนึ่งแล้ว หลังจากนั้น IETF (Internet Engineering Task Force) ก็ไม่ยอมรับข้อเสนอ Sender ID ที่ไมโครซอพท์ยื่นไปอีก วิบากกรรมถัดมาคือ AOL ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ที่สุดของอเมริกา ก็ออกมาแถลงว่าจะไม่ใช้ Sender ID
สาเหตุนั้น AOL อ้างตามความเห็นของ IETF ซึ่ง AOL เลือกจะวิธีการที่เรียกว่า SPF หรือ Sender Policy Framework แทน ข่าวจาก ZDNet