Seagate โชว์ SSD ใหม่ 2 รุ่นสำหรับลูกค้ากลุ่มองค์กร เน้นการใช้งานในศูนย์ข้อมูล ได้แก่
SSD อินเทอร์เฟซแบบ SAS (Serial Attached SCSI) ความจุ 60TB ซึ่งถือเป็น SSD ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน มาในขนาดไดรฟ์ 3.5 นิ้วมาตรฐาน บริษัทบอกว่าการมาถึงของ SSD ความจุมากขนาดนี้ ทำให้ไม่ต้องแยกระดับชั้นข้อมูลเป็นข้อมูลที่ใช้บ่อย (hot data) และข้อมูลที่นานๆ ใช้ที (cold data) เพื่อใช้กับสตอเรจแต่ละประเภทอีกต่อไป
SSD ความจุ 60TB จะวางขายในปีหน้า 2017 และในอนาคต Seagate จะผลักดันความจุของ SSD ไปให้ถึง 100TB ในไดรฟ์ตัวเดียว
นานๆ ทีจะเห็น Seagate เปิดตัวไดรฟ์ SSD ซึ่งล่าสุดเปิดตัว SSD แบบการ์ด M.2 NVMe และแบบ 2.5 นิ้วในรุ่น Nytro XF1440 (เน้นความทนทาน) และ XM1440 (เน้นความจุ) ซึ่งตัวหลังมีความจสูงสุดถึง 2TB (1960GB)
สเปคที่น่าสนใจอยู่ที่ไดรฟ์ทั้งสองรุ่นทำความเร็ว Read/Write (sequential) ได้สูงสุดที่ 2500/900 MB/s และค่า IOP Read/Write แบบสุ่มสูงสุดที่ 40K IOPS ใช้ชิป Marvell 88SS1093 ควบคุมชิป 3D NAND ของ Micron รุ่น 7100 ด้านความทนทานการเขียนสูงสุดที่ 3 DWPD (Drive Write Per Day - เขียนได้สูงสุดเท่าความจุไดรฟ์ 3 ครั้งต่อวัน) วางจำหน่ายเดือนพฤศจิกายนปีนี้ครับ และยังมีไดรฟ์รุ่น Nytro XP7102 สเปคเทียบเท่า XF1440 แต่เป็นการ์ด PCI-Express x4 วางจำหน่ายแล้ว
ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรเพราะ AMD ก็มีทั้ง RAM และ SSD ในแบรนด์ Radeon ของตนเอง ล่าสุดเปิดตัว Radeon R3 (ก่อนหน้านี้คือรุ่น R7) เป็นไดรฟ์ SSD ราคาประหยัดขนาด 2.5 นิ้ว ความจุ 120 ถึง 960GB ต่อผ่านพอร์ต SATA 6Gb/s ความเร็วอ่าน/เขียนอยู่ที่ 510 ถึง 520 MB/s และ 360 ถึง 470MB/s ตามแต่ละความจุ ราคาเริ่มต้นที่ 41 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1,440 บาท) ประกัน 3 ปี
SSD รุ่นดังกล่าวผลิตโดยบริษัท Galt จากจีน ที่ขายไดรฟ์ในรัสเซียในแบรนด์ชื่อ Ruby ครับ (ที่มา)
ประเด็นเพิ่มเติม บ้านเรามี SSD AMD Radeon R7 จำหน่ายอยู่ 120GB ราคา 2,690 บาทครับ ผลิตโดย OCZ
ที่มา - AMD
เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ SSD Samsung 840 Pro 128GB ลูกเดิมที่ผมใช้อยู่ใกล้จะเต็ม เลยลองหา SSD ลูกใหม่ว่ามีอะไรน่าสนใจบ้างที่ราคาไม่แพงจนเกินไปเหมือนเจ้าตลาดอย่าง Samsung 850 Pro ก็มาเจอ SanDisk Extreme Pro ที่เป็นรุ่นท็อปของยี่ห้อนี้ แถมผมก็เพิ่งทราบว่ามันมาพร้อมประกัน 10 ปีเหมือน Samsung เลยเก็บไว้เป็นหนึ่งในตัวเลือก
กูเกิลออกรายงาน "Flash Reliability in Production" ในงานประชุม USENIX FAST 2016 สำรวจความทนทานของ SSD สิบรุ่นที่กูเกิลใช้งาน รวมระยะเวลาทั้งหมดนับล้านวันทำงาน (กูเกิลระบุว่าจำนวนไดรฟ์เป็นความลับ) โดยแยก SSD ตามเทคโนโลยีการผลิต 3 กลุ่ม ได้แก่ MLC, SLC, และ eMLC ที่โดยทั่วไปแล้ว MLC มักมีราคาถูกกว่า และมักจะเชื่อกันว่า eMLC และ SLC นั้นทนทานกว่า
รายงานระบุว่าแม้ว่า SLC จะมีอัตราความผิดพลาดระดับบิต (raw bit error rate - RBER) ต่ำกว่าจริง แต่อัตราความเสียหายจนต้องส่งไดรฟ์ไปเปลี่ยนกลับไม่ต่างจากเทคโนโลยีอื่นมากนัก และตัว RBER เอง ผู้ใช้ก็มองไม่เห็นโดยตรงเพราะไดรฟ์สามารถซ่อมแซมความเสียหายเองได้
มาแบบไม่มีใครคาดคิดสำหรับ Sony ที่จู่ๆ ก็ลงมาเล่นในตลาด SSD ด้วยการเปิดตัว SLW-M ซึ่งเป็น SSD สำหรับผู้ใช้ทั่วไปเป็นครั้งแรก
SLW-M เป็น SSD ขนาด 2.5" หนา 7 มม. ใช้อินเทอร์เฟซ SATA 3.0 (6Gbps) มีความเร็วในการอ่านเขียนอยู่ที่ 560 MB/s และ 530 MB/s ตามลำดับ ภายในใช้คอนโทรลเลอร์ Phison PS3110-S10 (รีแบรนด์) และใช้ชิปแฟลช Toshiba A19 แบบ TLC โดยมีชุดซอฟต์แวร์มาให้ในตัวทั้ง Acronis True image 2015 และ Sony SSD ToolBox สำหรับช่วยจัดการข้อมูล
บริษัท Fixstars Corporation จากญี่ปุ่น เปิดตัว SSD ขนาดใหญ่สะใจ 10TB และ 13TB ในชื่อรุ่น Fixstars SSD-10000M และ SSD-13000M ตามลำดับ
SSD ทั้งสองรุ่นมีความเร็วการอ่าน 540 MB/s, การเขียนต่อกัน (sequential write) สูงสุด 520 MB/s ตลอดอายุการใช้งาน อุปกรณ์ชุดนี้เน้นตลาดลูกค้าองค์กรที่รูปแบบเนื้องานต้องการอ่าน/เขียนไฟล์ลงสตอเรจแบบต่อกันไปเรื่อยๆ เช่น สตรีมมิ่ง, ตัดต่อวิดีโอ, ภาพกราฟิก CG เป็นต้น
ไดรฟ์ SSD ของ Fixstars มีขนาด 2.5 นิ้วมาตรฐาน ใช้หน่วยความจำ NAND Flash ของ Toshiba และใช้ตัวคอนโทรลเลอร์ของ Fixstars เอง
ราคาก็แน่นอนว่าไม่ถูกครับ รุ่น 13TB ขายตัวละ 19,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 7 แสนบาท เริ่มวางขายในสหรัฐเดือนกุมภาพันธ์นี้
หน่วยบันทึกข้อมูลชนิด SSD ตามกลไกตลาด ราคาก็ลดลงเรื่อยๆ ล่าสุดมีตัวต้นแบบของ SSD จาก Mushkin ในรุ่น Reactor ที่ระบุว่าจะมากับความจุ 4TB ในราคาประมาณ 500 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 18,200 บาท) ซึ่งตกกิกะไบต์ละ 25 เซนต์ วางจำหน่ายภายในไตรมาส 2 ของปีนี้
SSD กลุ่มนี้ใช้ชิปคอนโทรลเลอร์ Silicon Motion SM2246EN กับชิปหน่วยความจำแฟลชแบบ 3D MLC ทำให้ SSD หนึ่งลูกในมิติ 2.5 นิ้วมีความจุระดับเทราไบต์ได้ Mushkin อธิบายว่า ในรุ่น 4TB จะใช้วิธีนำชิปฯ กลุ่มละ 2TB มาต่อกันแบบ JBOD และไบออสของพีซีจะเห็นเป็นไดรฟ์ลูกเดียว คาดการณ์ประสิทธิภาพอ่าน-เขียนที่ราว 10K IOPS และใช้พอร์ต SATA 6 Gb/s ครับ
ในอดีต SSD หรือ Solid-State Drive มีราคาแพงมาก และราคาเพิ่งลดลงมาอยู่ในระดับที่จับต้องได้เมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว แต่ก็ยังถือว่าราคาต่อ GB ยังสูงมากเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ ขณะนี้มีรายงานออกมาว่าแนวโน้มราคาของ SSD กับฮาร์ดดิสก์กำลังเข้าใกล้กันแล้ว
ในปี 2012 ราคาเฉลี่ยของพื้นที่ 1GB ของ SSD อยู่ที่ 99 เซ็นต์ ในขณะที่ของฮาร์ดดิสก์อยู่ที่เพียง 9 เซ็นต์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มราคาดังกล่าวในฝั่ง SSD กำลังลดลงอย่างมาก โดยในฝั่งฮาร์ดดิสก์แทบไม่ขยับเลย ซึ่งมีการคาดการณ์ไว้ว่าในปี 2017 ราคาต่อ GB ของ SSD จะอยู่ที่ 17 เซ็นต์ และของฮาร์ดดิสก์จะอยู่ที่ 6 เซ็นต์ โดยไม่ลดลงเลยตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป นี่หมายความว่า SSD ขนาด 1TB จะมีราคาเฉลี่ยราว 170 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6000 บาทเท่านั้น
ซัมซุงเปิดตัว SSD รุ่น 850 PRO และ 850 EVO ขนาด 2TB เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เข้ากำลังสู่ยุค 4K
SSD รุ่น 850 PRO และ 850 EVO ขนาด 2TB มาพร้อมกับชิปแฟลช 3D V-NAND 128Gb 32 เลเยอร์, คอนโทรลเลอร์ประสิทธิภาพสูง MHX ที่รองรับความจุ 2TB และชิป DRAM LPDDR3 4Gb ขนาด 20 นาโนเมตร จำนวน 4 ตัว มาในบอดี้อะลูมิเนียมขนาด 2.5 นิ้ว หนา 7 มิลลิเมตรเช่นเดียวกับรุ่นก่อนหน้า โดยรุ่น 850 PRO การันตีการเขียนที่ 300TBW หรือ 10 ปี และ 850 EVO ที่ 150TBW หรือ 5 ปี
ซัมซุงจะเปิดตัวไดรฟ์ตระกูล 850 ขนาด 2TB ที่มาพร้อมชิป 3D V-NAND ในรูปแบบ mSATA และ M.2 เพิ่มอีกในเร็วๆ นี้
อินเทลออก SSD รุ่นใหม่สำหรับตลาดคอนซูเมอร์คือ Intel SSD 750 Series จุดเด่นของมันคือเลิกใช้อินเทอร์เฟซแบบ SATA และเปลี่ยนมาใช้ PCI Express 3.0 x4 แทน โดยตัวไดรฟ์ยังมีขนาด 2.5" มาตรฐาน
SSD 750 Series มีความจุให้เลือก 2 ขนาดคือ 400GB และ 1.2TB อัตราการอ่าน-เขียนข้อมูลสูงสุด 2,400/1,200 MBps (sequential) และ 440,000/290,00 IOPS ส่วนราคาคือ 389 ดอลลาร์สำหรับรุ่น 400GB และ 1,029 ดอลลาร์สำหรับรุ่น 1.2TB
นอกจากนี้อินเทลยังออก SSD 535 Series ที่ราคาย่อมเยาลงมา ความจุมีให้เลือกตั้งแต่ 120-480GB มีไดรฟ์ให้เลือก 2 ขนาดคือ 2.5" และ M.2
ซัมซุงยังโชว์ความเป็นหนึ่งด้านโซลูชันหน่วยความจำอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดประกาศผลิต SSD รุ่นใหม่เป็นจำนวนมาก ซึ่งนั่นก็คือ SSD ขนาด M.2 รุ่น SM951 ที่รองรับการใช้งานผ่าน PCIe 3.0 x4 ตัวแรกๆ
ความเร็วสูงสุดเมื่อใช้ผ่าน PCIe 3.0 จะอ่านเขียนอยู่ที่ 2,150MB/s และ 1,550MB/s แต่ถ้าใช้กับบอร์ดรุ่นเก่าที่เป็น PCIe 2.x จะตกลงเหลือ 1,600MB/s และ 1,350MB/s ซึ่งก็ยังเร็วมากอยู่ดี
นอกจากจะเร็วแล้ว ตัว SM951 ยังรองรับฟีเจอร์กินพลังงานต่ำมากอย่าง L1.2 ซึ่งสามารถลดอัตราการบริโภคพลังงานเหลือเพียง 2 มิลลิวัตต์เท่านั้น
SM951 จะมีรุ่นตั้งแต่ความจุ 128GB-1TB แต่ยังไม่ระบุว่าจะเริ่มขายเมื่อไร ราคาเท่าไรครับ
ในปัจจุบัน อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบพกพาที่แพร่หลายที่สุดคงหนีไม่พ้น USB Drive ด้วยข้อได้เปรียบที่มีขนาดเล็กพกพาสะดวก ใช้งานง่าย และราคาไม่แพง แต่ก็มีข้อเสียที่สำคัญคือมีความจุค่อนข้างจำกัดสำหรับรุ่นที่วางขายทั่วไปในท้องตลาด และมีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลไม่สูง ส่งผลให้การถ่ายโอนไฟล์ขนาดใหญ่มีข้อจำกัดและทำได้ช้า ทางออกหนึ่งคือการใช้ Solid State Drive คู่กับตัวแปลง SATA <-> USB เพื่อแก้ข้อจำกัดด้านขนาดและความเร็ว แต่ก็ต้องแลกกับความสะดวกในการพกพา มาวันนี้มีคนจับ SSD และ USB Drive มารวมร่างกันแล้วครับ
Secure Drives บริษัทสัญชาติอังกฤษเปิดตัว SSD ที่มาพร้อมความสามารถในการทำลายตัวเองเพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญของผู้เป็นเจ้าของ
SSD ที่ว่านี้มีด้วยกัน 2 รุ่น คือ Autothysis128s และ Autothysis128t โดยทั้งคู่เป็นหน่วยความจำข้อมูลแบบโซลิดเสตทขนาด 128GB มีระบบทำลายตัวเองซึ่งจะทำงานเมื่อได้รับคำสั่งจากผู้ใช้ สำหรับการสั่งทำลายข้อมูลนั้นผู้ใช้จะต้องส่งข้อความไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ ซึ่งจะมีผลให้ตัว SSD ลบข้อมูลที่เก็บไว้พร้อมทั้งทำลายชิปภายในจนแตก
นอกเหนือจากการสั่งทำลายผ่านการส่งข้อความแล้ว ผู้ใช้สามารถตั้งค่าให้ตัว SSD รุ่นพิเศษนี้ทำลายตัวเองโดยอัตโนมัติได้ในอีกหลายสถานการณ์ (ซึ่งอาจตีความได้ว่ามีการพยายามรุกล้ำเข้าถึงข้อมูลโดยผู้ไม่หวังดี) อันได้แก่
ซัมซุงออกไดรฟ์ SSD รุ่นใหม่สำหรับตลาดคอนซูเมอร์ 850 Pro ที่มาแทน 840 Pro (ออกปี 2012)
จุดเด่นของ Samsung 850 Pro คือเทคโนโลยีการวางหน่วยความจำแบบ 3D NAND (หรือที่ซัมซุงเรียกว่า V-NAND) ที่เพิ่มความหนาแน่นของการเรียงชิป NAND มากกว่าเดิม และจะช่วยทำลายกำแพงความจุของ SSD ในระยะยาวต่อไป
แนวคิดของ 3D NAND คือการนำแผ่นวางชิป NAND มาขดเป็นวงกลม แทนการวางเป็นแผ่นแนวราบ (2D) ในแบบที่แล้วๆ มา (ดูคลิปประกอบท้ายข่าว) ซัมซุงบอกว่าเทคโนโลยีนี้ช่วยให้เพิ่มความจุได้เป็น 2 เท่า และยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการเขียน-เสถียรภาพในการใช้งานอีกด้วย
เทคโนโลยีด้าน SSD พัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในแง่ความจุและความเร็ว ล่าสุดค่าย SanDisk ได้เปิดตัว Enterprise SSD สำหรับการใช้งานในศูนย์ข้อมูล ที่มีความจุมากถึง 4TB แล้ว
SSD รุ่นนี้ใช้ชื่อว่า Optimus MAX มีขนาดเท่ากับฮาร์ดดิสก์ 2.5" มาตรฐาน ใช้การเชื่อมต่อแบบ Serial attached SCSI (SAS) เหมาะสำหรับงานประเภทอ่านข้อมูล โดยมีอัตราการอ่าน-เขียนข้อมูลที่ 400MBps (sequential) และ 75,000 I/Ops (random) ทางบริษัทคุยว่าตอนนี้มันสามารถใช้แทนฮาร์ดดิสก์ความเร็ว 15,000 rpm ที่ใช้งานในศูนย์ข้อมูลได้แล้ว และเตรียมออก SSD ความจุ 6-8TB ในปีหน้า
ในช่วงที่กระแส SSD (solid state drive) กำลังเริ่มมาแรงอย่างตอนนี้ หนึ่งในคำโฆษณาของโน้ตบุ๊กที่ใช้ SSD คือประหยัดพลังงานกว่ารุ่นที่ใช้ฮาร์ดดิสก์ เนื่องจาก SSD ไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหวเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ ทำให้แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่า
Tom's Hardware เว็บไซต์ฮาร์ดแวร์ชื่อดังได้ทำการทดสอบ SSD ในท้องตลาดหลายรุ่น และพบว่ามันไม่จริง SSD กลับเปลืองแบตเตอรี่มากกว่าฮาร์ดดิสก์ด้วยซ้ำ (ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพในการอ่าน-เขียนข้อมูลจะดีกว่าฮาร์ดดิสก์ก็ตาม)