Transcend ผู้ผลิตอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเปิดตัว JetDrive 855 และ 850 ซึ่งเป็น External SSD สำหรับผลิตภัณฑ์ตระกูลแมคทั้งหมดโดยเฉพาะ
คุณสมบัติของ SSD บน JetDrive ทั้งสองรุ่นคือเป็นชิปแบบ 3D NAND อินเทอร์เฟสของเป็น NVMe บัส PCIe 3.0 x4 ทำความเร็วในการอ่านได้ที่ 1,600MB/s และเขียนที่ 1,300MB/s เชื่อมต่อผ่านพอร์ท Thunderbolt 1.0 เคสเป็นอลูมิเนียมซึ่งสามารถถอดเปลี่ยน SSD ข้างในได้
JetDrive 855 และ 850 ที่ขายในไทยมี 2 ความจุคือ 240GB และ 480GB ประกัน 5 ปี รองรับอุปกรณ์แมคที่รัน macOS High Sierra (10.13) ขึ้นไปเท่านั้น ส่วนราคายังไม่ประกาศครับ
ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์
Samsung เปิดตัว NVMe SSD ความจุ 8TB ขนาด 11 x 3.05cm ที่ใช้มาตรฐานใหม่ Next-generation Small Form Factor (NGSFF) หรือ NF1 สามารถให้ความจุที่เพิ่มขึ้นสองเท่าจาก NVMe SSD แบบ M.2 (11 x 2.2cm) ที่ใช้ทั่วไปในการออกแบบเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่และ Ultrabook
NVMe SSD ความจุ 8TB เหมาะสำหรับงานวิเคราะห์ข้อมูลและ Virtualization ในศูนย์ข้อมูลและระบบเซิร์ฟเวอร์ในองค์กร สามารถรวมความจุได้มากถึง 576TB สำหรับใช้งานกับ Rack Server ขนาด 2U
Western Digital ประเทศไทยเปิดตัว Black 3D NVMe SSD สำหรับกลุ่มเกมเมอร์และทำงานสายกราฟิคโดยเฉพาะ อินเทอร์เฟสเป็น M.2 เชื่อมต่อผ่าน PCIe 3.0 แบบ 4 เลน โดยมีวางจำหน่ายครบทั้ง 3 รุ่น 3 ความจุได้แก่
WD เปิดตัว Black 3D NVMe SSD เป็นที่เก็บข้อมูลที่ออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับกราฟิกและวิดีโอ 4K และ Ultra HD ได้เป็นอย่างดี เน้นจับกลุ่มตลาดเกมเมอร์และกลุ่มผู้ใช้งานผลิตวิดีโอที่ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลประสิทธิภาพสูง มีความจุ 3 แบบให้เลือกคือ 250GB, 500GB และ 1TB โดยแต่ละรุ่นมีความเร็วการอ่านเขียนต่างกันคร่าว ๆ ดังนี้
เมื่อเดือนก่อน Samsung เพิ่งเปิดตัว SSD สำหรับองค์กร ความจุ 30 TB ไปหมาดๆ ทว่าสถิติ SSD ที่มีความจุมากที่สุดในโลกก็อยู่กับ Samsung ได้ไม่นาน เพราะล่าสุด Nimbus Data ได้เปิดตัว ExaDrive DC100 หน่วยความจำ SSD ขนาดความจุ 100 TB ออกมาแล้ว
ExaDrive DC100 เป็น SSD ขนาด 3.5 นิ้ว ผลิตในสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นจากหน่วยความจำ 3D NAND ออกแบบมาสำหรับการใช้งานในศูนย์ข้อมูล ซึ่งไม่เพียงแต่เป็น SSD ที่มีขนาดความจุข้อมูลมากที่สุดในโลกตอนนี้เท่านั้น Nimbus Data ยังระบุว่า ExaDrive DC100 มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานดีที่สุดในโลกด้วย
อินเทลเปิดตัว Intel Optane SSD 800P สตอเรจตระกูล Optane รุ่นเล็กที่สุดในตอนนี้ หลังจากครึ่งปีก่อนเปิดตัวรุ่น 900P ที่ราคาเริ่มต้นสูงกว่าหมื่นบาท
Optane SSD 800P มีสองรุ่น คือ 58GB และ 118GB ทาง Gizmodo ระบุว่าราคารุ่นเล็กอยู่ที่ 130 ดอลลาร์ รุ่นใหญ่อยู่ที่ 200 ดอลลาร์ เทียบกับ 900P ที่รุ่น 280GB อยู่ที่ 389 ดอลลาร์แล้วก็นับว่าราคาไม่ได้ถูกลงแต่อย่างใด
ซัมซุงเปิดตัว SSD ขนาด 2.5 นิ้วรุ่น PM1643 สำหรับองค์กร ด้วยความจุ 30.72TB จากหน่วยความจำแฟลช NAND 1TB ทั้งหมด 32 แผ่น แต่ละแผ่นใช้ชิป V-NAND แบบ 16 เลเยอร์ 512Gb ตัว SSD คอนโทรลเลอร์ใช้ DRAM 40GB เป็น TSV DRAM ขนาด 4GB ทั้งหมด 10 ตัว
ในแง่ประสิทธิภาพ ความเร็วในการอ่านเขียนอยู่ที่ 2,100MB/s และ 1,700MB/s ตามลำดับ ส่วนการอ่านเขียนแบบสุ่มอยู่ที่ 400,000 IOPS และ 50,000 IOPS ใช้อินเทอร์เฟส Serial Attached SCSI
ซัมซุงไม่ได้เปิดเผยราคามาด้วย พร้อมระบุว่าจะเปิดตัว SSD บนเทคโนโลยีเดียวกันกับความจุ 16.36TB, 7.68TB, 3.84TB, 1.92TB, 960GB และ 800GB ตามมา
ซัมซุงเปิดตัว Z-SSD ขนาด 800GB เจาะตลาดองค์กร รองรับงานประเภทแคชข้อมูลความเร็งสูงหรือประมวลผลล็อกข้อมูลจำนวนมหาศาลอย่างปัญญาประดิษฐ์, บิ๊กดาต้าและ IoT มาพร้อม DRAM LPDDR4 ขนาด 1.5GB
800GB Z-SSD สามารถอ่านเขียนแบบสุ่มได้ที่ 750K IOPS และ 170K IOPS ตามลำดับ มีค่า DWPD อยู่ที่ 30 ระยะประกัน 5 ปี (TBW อยู่ที่ 42 Petabytes) ส่วนอายุใช้งานเฉลี่ย (MTBF) อยู่ที่ 2 ล้านชั่วโมง
นอกจากรุ่นความจุ 800GB ซัมซุงยังมีรุ่นย่อยขนาด 240GB ที่เปิดตัวพร้อมกันด้วย
ที่มา - ซัมซุง
ซัมซุงเปิดตัว 860 PRO และ 860 EVO ซึ่งเปน SSD แบบ V-NAND 64 เลเยอร์ตัวแรกของสายคอนซูมเมอร์ โดยรุ่น PRO ใช้อินเทอร์เฟส SATA 6Gbps และมาพร้อมคอนโทรลเลอร์ MJX ตัวใหม่
ความในการอ่านเขียนของ PRO และ EVO สูงสุดอยู่ที่ 560/530 MB/s และ 550/520 MB/s ส่วนการอ่านเขียนแบบสุ่มสูงสุดที่ 100K/90K IOPS และ 98K/90K IOPS โดย 860 PRO มีเฉพาะขนาด 2.5 นิ้ว ส่วน 860 EVO มีทั้ง 2.5 นิ้ว, mSATA และ M.2
860 PRO มีความจุตั้งแต่ 256GB, 512GB, 1TB, 2TB และ 4TB ราคาเริ่มต้น 139.99 ดอลลาร์ ส่วน 860 EVO มีความจุ 250GB, 500GB, 1TB, 2TB และ 4TB ราคาเริ่มต้น 94.99 ดอลลาร์
อินเทลเปิดตัวเทคโนโลยี Optane หรือ 3D XPoint มาตั้งแต่ปี 2015 จำกัดสินค้าเฉพาะเครื่องเซิร์ฟเวอร์เฉพาะทางมาโดยตลอด จนตอนนี้อินเทลก็เปิดตัวสินค้าตระกูล Optane SSD 900P สำหรับผู้ใช้ทั่วไปแล้ว
อินเทลวางตัว 900P สำหรับผู้ที่ต้องการความเร็วดิสก์สูง เช่น งานจำลองระบบ, การเรนเดอร์สามมิติ, ไปจนถึงการเล่นเกมที่ต้องการให้โหลดเกมเร็วขึ้น
ตัว SSD ต้องเชื่อมต่อด้วย PCIe NVMe 3.0 x4 ขนาดดิลก์เล็กสุดที่ 280GB ราคาเริ่มต้น 389 ดอลลาร์ หรือ 13,000 บาท รุ่น 480GB ราคา 599 ดอลลาร์หรือ 20,000 บาท
สิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Western Digital ได้เปิดตัว SSD รุ่นใหม่สองตัวภายใต้ยี่ห้อ SanDisk และ WD เอง (WD ได้ซื้อกิจการ SanDisk ไปเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว) และทาง WD ได้ส่ง SSD ทั้งสองตัวนี้มาให้รีวิวครับ
หากจะให้พูดสั้นๆ ก็ต้องบอกว่า SSD ทั้งสองตัวนี้ต่างกันแค่ “สติกเกอร์ที่แปะอยู่” และ “บรรจุภัณฑ์” เท่านั้น ทั้งสเปก, ราคา และการรับประกันก็เหมือนกันทั้งหมด เรียกได้ว่าศรัทธายี่ห้อไหนก็หยิบอันนั้นได้เลย โดยผมได้รับรุ่นความจุขนาด 1TB แบบ SATA มาทดสอบนะครับ
Western Digital เปิดตัวหน่วยความจำแบบ 3D NAND SSD ที่มีการจัดเรียงแผ่นชิป NAND ใหม่ ช่วยทำลายข้อจำกัดของหน่วยความจำแบบ 2D NAND โดยการวางแผ่น 3D NAND ของ WD จะเป็นแบบ 64 เลเยอร์ มาใน 2 แบรนด์คือ WD Blue และ SanDisk Ultra
ด้านสเปคทั้ง WD Blue และ SanDisk มีสเปคใกล้เคียงกันคือใช้อินเทอร์เฟสแบบ SATA III 6GB/s โดย WD Blue มีตัวเลือกเป็น M.2 มาให้ด้วย อัตราการอ่านเขียนอยู่ที่ 560/530 MB/s ส่วนอัตราการอ่านเขียนแบบสุ่มอยู่ที่ 95K/84K ยกเว้นรุ่นความจุ 250GB ที่ความเร็วอ่านเขียนอยู่ที่ 550/525 MB/s และอัตราการเขียนสุ่มจะอยู่ที่ 81K
ราคาทั้งสองรุ่นจะเท่ากันในแต่ละความจุดังนี้
อินเทลเปิดตัวสินค้าในกลุ่มสตอเรจชุดใหม่ พร้อมกับแพลตฟอร์ม Ruler ที่ยังไม่มีสินค้าจริงขายแต่เป็นสเปคขนาด SSD ที่จะมาแทนที่ SSD แบบเดิมที่มักออกแบบโดยพยายามใส่แทนที่ฮาร์ดดิสก์หรือไม่ก็พยายามวางเป็นการ์ด PCIe ที่ไม่ได้ออกแบบรองรับสตอเรจโดยตรง
แพลตฟอร์ม Ruler จะทำให้อินเทลสามารถสร้าง SSD สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่มีความจุสูงสุด 1PB และยังใส่ลงเซิร์ฟเวอร์ 1U ได้ อินเทลไม่บอกว่าจะผลิต SSD ในแพลตฟอร์มนี้ออกขายจริงเมื่อไหร่ แต่ระบุว่าจะมีทั้งแบบ Optane และ 3D NAND
สินค้าอีกตัวคือ SSD แบบสองพอร์ตเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบ เปิดตัวพร้อมกันสามตระกูล ได้แก่ DC D4500, DC D4502, และ DC D4600 ยังไม่เปิดสเปคเต็มและราคา แต่ระบุว่าจะวางขายภายในไตรมาสสามนี้
Raghunath Nambiar ผู้บริหารฝ่ายเซิร์ฟเวอร์ UCS ของ Cisco ให้สัมภาษณ์กับ The Register ถึงแนวโน้มของการใช้สตอเรจแฟลชแบบ NVMe ในโลกของเซิร์ฟเวอร์
Nambiar บอกว่าเมื่อพูดถึง NVMe คนมักพูดถึงความเร็วที่เหนือกว่า แต่จริงๆ แล้วข้อดีของ NVMe คือเรื่องความจุที่เหนือกว่า SSD แบบดั้งเดิมต่างหาก ปัจจุบันไดรฟ์ SSD ขนาด 2.5 นิ้วจะมีความจุตันที่ 7TB ในขณะที่ NVMe จะขยายไปถึง 32TB ในไม่ช้า และเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กของ Cisco ก็จะมีความจุ 64TB หรือใหญ่กว่านั้นเป็นมาตรฐาน
ความเห็นของ Nambiar คือปริมาณข้อมูลที่ต้องเก็บและต้องประมวลผลจะเพิ่มขึ้นอีกมาก จนเครือข่าย Ethernet 100G ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย สิ่งที่โลกไอทีต้องการคือออกแบบระบบที่ throughput โดยรวมสูงขึ้น เพราะการพึ่งพาแต่สมรรถนะของซีพียูหรือจีพียูที่ดีขึ้นเพียงอย่างเดียว จะไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน
Viking Technology เปิดตัวไดรฟ์ SSD รุ่น UHC-Silo ความจุมโหฬาร 50TB ในขนาดไดรฟ์ 3.5 นิ้ว ต่อกับเมนบอร์ดด้วย SAS 6Gb เหมาะกับดาต้าเซ็นเตอร์ที่อาจมีข้อจำกัดเรื่องการติดตั้งไดรฟ์
ด้านสเปคอาจไม่โดดเด่นเรื่องความเร็วนัก เพราะมีอัตราอ่านเขียนที่ 500/350 MB/s อัตราอ่าน/เขียนแบบสุ่มที่ 60K/10K IOPS ใช้ชิปแฟลชแบบ MLC กินไฟ 16 วัตต์ ไม่ระบุว่าใช้ชิปคอนโทรลเลอร์ของใครครับ
Micron คืออีกหนึ่งผู้ผลิตชิปแฟลชเมมโมรีที่ล่าสุดเขาเปิดตัวสถาปัตยกรรม SSD แบบใหม่ ชื่อ SolidScale ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ SSD ระดับดาต้าเซ็นเตอร์ โดยระบุว่าปัจจุบันนี้เราใช้งานประสิทธิภาพของ SSD แบบ NVMe แค่ 30-40% ของประสิทธิภาพจริงเท่านั้นทั้งอัตรา IOP และความจุ
SolidScale จะเข้ามาเพิ่มความสามารถให้ SSD ทำงานแชร์ทรัพยากรไปยังเซิร์ฟเวอร์เครื่องอื่นในกลุ่มเดียวกันได้ สเกลขยายขนาดได้ผ่านซอฟท์แวร์ โดยพัฒนาต่อยอดจาก NVMe over Fabric (NVMeoF) เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์เครื่องอื่นๆ ด้วยโปรโตคอล RDMA over Converged Ethernet (RoCE) ดูคลิปประกอบน่าจะเข้าใจได้มากขึ้นครับ โดยตัวเลขความเร็วที่ Micron เคลมอยู่ที่ 10.9M IOPS เมื่อวัดกับโนด SolidScale ขนาด 2U จำนวน 3 ตัว พร้อมจำหน่ายจำนวนมากในปี 2018
หลังจากควบรวมกิจการ SSD ไปอยู่ในอาณัติตนเองพักใหญ่ ล่าสุด Western Digital เปิดตัวไดรฟ์ SSD แบบพกพาในชื่อ My Passport SSD ขนาดเท่ากลักไม้ขีดไฟ ใช้ภาษาดีไซน์แบบเดียวกับฮาร์ดดิสก์พกพา My Passport ที่มีหลายสี หัวต่อเป็น USB-C ที่สเปคความเร็ว USB3.0/3.1 กับความเร็วการโอนถ่ายที่ 515MB/s พร้อมอะแดปเตอร์กลับไปใช้กับ USB-A ได้ตามปกติ
ความจุมีให้เลือกตั้งแต่ 256, 512GB และ 1TB รองรับการเข้ารหัส 256 บิต ในราคา 100, 200 และ 400 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของ SSD คืออายุใช้งานที่จำกัดหากมีการอ่านเขียนซ้ำๆ จุดเดิมเรื่อยๆ สำหรับการใช้งานโดยทั่วไปนั้นคงสังเกตได้ยากเพราะการเขียนมักกระจายไปทั่วดิสก์ รวมถึง SSD บางรุ่นก็มีพื้นที่สำรองสำหรับย้ายข้อมูลในบล็อคที่ใช้งานบ่อยออกไปอยู่ที่อื่นเสีย แต่สำหรับงานวิดีโอขนาดใหญ่เช่นภาพ 4K การเขียนทับทั้งดิสก์ซ้ำๆ เป็นเรื่อยปกติ ตอนนี้โซนี่ก็ออก SSD ตระกูล G ออกมาเพื่อรองรับการเขียนซ้ำจำนวนมากๆ
โซนี่ออกดิสก์ในตระกูลนี้มาสองรุ่น คือ SV-GS96 ขนาด 960GB สามารถเขียนทับได้รวม 2400TB และ SV-GS48 ขนาด 480GB สามารถเขียนทับได้รวม 1200TB รวมอายุการใช้งานหากเขียนสัปดาห์ละ 5 วันก็น่าจะอยู่ได้ 10 ปี
อินเทลร่วมมือกับไมครอน เปิดตัวเทคโนโลยีหน่วยความจำแบบใหม่ที่เรียกว่า 3D XPoint มาตั้งแต่ปี 2015 โดยโฆษณาว่ามันเร็วกว่าหน่วยความจำแบบ NAND ที่ใช้กันในปัจจุบันถึง 1,000 เท่า, ทนทานกว่ากัน 1,000 เท่า และจัดเรียงชิปหน่วยความจำได้หนาแน่นกว่า DRAM 10 เท่า
อินเทลตั้งเป้านำ 3D XPoint มาใช้ทำสตอเรจ SSD ความเร็วสูงภายใต้แบรนด์ Optane ที่วางตัวไว้เป็น "แคชความเร็วสูง" ที่อยู่ระหว่างแรมกับสตอเรจ หรือบางครั้งอาจมองว่ามันเป็นส่วนขยายของแรมก็ได้ ด้วยการที่มันทำงานได้เร็วมากๆ นั่นเอง
หลังจากโฆษณามานานและเลื่อนกำหนดวางขายมาหลายรอบ ในที่สุดผลิตภัณฑ์ตัวแรก Intel Optane SSD DC P4800X ก็เริ่มวางขายแล้ว
Western Digital ยักษ์ใหญ่ในวงการฮาร์ดดิสก์เก็บข้อมูล เปิดตัวหน่วยความจำแบบ Solid State Drive 2 รุ่น ได้แก่ WD Blue SSD และ WD Green SSD พร้อมกับ WD SSD Dashboard ซอฟต์แวร์สำหรับดูสถานะของไดร์ฟ, อุณหภูมิ, พื้นที่คงเหลือ และอื่นๆ
Research And Markets เว็บไซต์จำหน่ายผลการวิจัยโชว์ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของสื่อบันทึกข้อมูลแบบ SSD ที่ทำงานบนบัส PCIe จะเติบโตสูงขึ้นถึง 33.24% ภายในปี 2016 ถึง 2020 นี้
รายงานฉบับนี้อธิบายถึงตัวเลขคาดการณ์นี้จากภาวะตลาดในแต่ละพื้นที่ตลอดจนรูปแบบการใช้งานในอนาคต ที่มีกลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์เป็นตัวผลักดันหลัก ที่กระแสของการใช้ดาต้าเซ็นเตอร์แบบแชร์ทรัพยากรกัน (colocation) จะเติบโตขึ้น ลดการดูแลรักษา และใช้พลังงานต่ำลง ส่วนอีกหนึ่งปัจจัยที่ท้าทายคือการขาดสื่อบันทึกข้อมูลที่มีอัตราหน่วงที่ต่ำกว่านี้ (lack of availability of constant low latency) ซึ่งระหว่างนี้การเขียนข้อมูลอาจมีแคชช่วย แต่สำหรับการอ่านข้อมูลนั้นยังไม่มีอะไรมาแทน รายงานฉบับนี้ราคา 2,500 เหรียญสหรัฐฯ
ซัมซุงเปิดตัว SSD แบบ M.2 PCIe รุ่นใหม่ 960 Pro และ 960 Evo ต่อจากซีรีส์ 950 ที่ออกขายเมื่อปีที่แล้ว โดย SSD ซีรีส์ 960 ตัวใหม่ใช้คอนโทรลเลอร์รุ่นใหม่ชื่อ Polaris ประมวลผลแบบ 5 คอร์ (ซีรีส์ 950 ใช้ 3 คอร์) และใช้เทคโนโลยีหน่วยความจำ 3D V-NAND รุ่นล่าสุดแบบ 48 เลเยอร์ เพิ่มความจุให้มากขึ้นกว่าเดิม (ซีรีส์ 950 มี 32 เลเยอร์)
Samsung SSD 960 Pro มีจุดเด่นที่ความเร็วในการอ่านสูงสุดถึง 3.5GBps และความเร็วการเขียนสูงสุด 2.1GBps โดยมีให้เลือก 3 ขนาดคือ 512GB , 1TB, 2TB ราคาเริ่มต้นที่ 329 ดอลลาร์ไปจนถึง 1,299 ดอลลาร์สำหรับตัวท็อป 2TB
ส่วน Samsung SSD 960 Evo มีสเปกและราคาย่อมเยาลงมาสักหน่อย ความเร็วการอ่านสูงสุด 3.2GBps, ความเร็วการเขียน 1.9GBps มีขนาด 250GB (129 ดอลลาร์) และ 1TB (479 ดอลลาร์) ของทั้งสองรุ่นเริ่มขายเดือนตุลาคมนี้
เราเห็น SSD ขนาด 60TB จาก Seagate กันไปแล้ว ฝั่งของ Toshiba ก็ออกมานำเสนอข้อมูลของ SSD ขนาด 100TB ว่าเป็นไปได้เช่นกัน
หัวใจหลักของ SSD ความจุมากขนาดนี้คือเทคโนโลยี quad-level cell (QLC) ซึ่งเป็นการเรียงเซลล์หน่วยความจำ NAND แบบ 4 เลเยอร์ ส่งผลให้ 1 เซลล์จุข้อมูลได้ 4 บิต (0000 ถึง 1111) เพิ่มความจุขึ้นไปอีกหลายเท่าในราคาถูกกว่าเดิมมาก และกินพลังงานน้อยลงมาเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ความจุเท่ากัน
เราเพิ่งเห็นข่าว Seagate เปิดตัว SSD ขนาดใหญ่ถึง 60TB ในไดรฟ์ขนาด 3.5 นิ้ว ฝั่งของคู่แข่งอย่าง Samsung ก็เปิดตัวไดรฟ์ SSD ความจุ 32TB ซึ่งอาจดูน้อยกว่ากันเกือบครึ่ง แต่ขนาดไดรฟ์ก็เล็กกว่าคือ 2.5 นิ้ว
ไดรฟ์ตัวนี้เป็นตัวแรกที่ใช้เทคโนโลยี 3D Vertical NAND (V-NAND) รุ่นที่สี่ของ Samsung โดยวางเลเยอร์ NAND ซ้อนทับกัน 64 เลเยอร์ในชิปตัวเดียว สมัยเปิดตัวเทคโนโลยี V-NAND ในปี 2013 บริษัทสามารถวางได้ 24 เลเยอร์ และค่อยๆ พัฒนามาเรื่อยๆ จนทำได้ 64 เลเยอร์แล้ว ช่วยให้ความจุต่อขนาดของ SSD เพิ่มขึ้นมาก
อินเทอร์เฟซการเชื่อมต่อเป็น SAS (serial-attached SCSI) และออกแบบมาสำหรับเซิร์ฟเวอร์เป็นหลัก สินค้าจะวางขายจริงในปีหน้า
ช่วงนี้มีงานสัมมนา Flash Memory Summit เลยมีข่าวผลิตภัณฑ์ SSD ใหม่ๆ ออกมาเยอะพอสมควร บริษัทล่าสุดที่เข้ามาร่วมวงคือ Lenovo ที่กำลังพัฒนาบอร์ด SSD สำหรับเซิร์ฟเวอร์ ในชื่อโครงการ "Project Spark" มีความจุ 48TB
Project Spark ของ Lenovo มีความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์หลายราย เช่น Seagate, Toshiba, NxGn Data, Amphenol รูปแบบคือการนำชิป DRAM ความจุสูงมาวางบนบอร์ดที่เสียบเข้ากับพอร์ต PCIe ของเซิร์ฟเวอร์ มีอัตราเร็วการอ่านเขียนสูงถึง 1 ล้าน IOPS
ตอนนี้ Project Spark ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา รุ่นที่นำมาโชว์ในงานมีความจุ 6GB ส่วนตัวจริงจะวางขายกลางปีหน้า 2017