เมื่อตอนที่ Ubuntu 8.04 ออกสู่ตลาดนั้นทาง Mark Shuttleworth ได้ประกาศไว้แต่ต้นว่าใน Ubuntu LTS นั้นจะมีการออกรุ่นย่อยซึ่งเป็นการปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ และรวมเอาแพตซ์ด้านความปลอดภัยเข้าไปอยู่เรื่อยๆ และในตอนนี้เอง Ubuntu 8.04.1 ก็เปิดให้ดาวน์โหลดกันแล้ว
ในเวอร์ชั่นนี้เท่าที่ไล่อ่านดูผมพบว่าเป็นการแก้ในเรื่องของความเสถียรเป็นจำนวนมาก, และอัพเดตไฟร์ฟอกซ์เป็นรุ่น 3.0 ตัวจริงกันแล้ว และโดยเฉพาะไม่มีบั๊ก OpenSSL ในรุ่นนี้แล้วอีกด้วย
จากข่าวเก่า รายละเอียดเพิ่มเติมของ Ubuntu Netbook Remix ทางบริษัท Canonical บอกว่าจะไม่ออก ISO ของ Ubuntu Netbook Remix ให้คนทั่วไปโหลด เพราะเป็นดิสโทรพิเศษที่ทำให้กับ OEM เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ซอฟต์แวร์ส่วนที่เป็นโอเพนซอร์สใน Ubuntu Netbook Remix ทุกตัวเปิดให้ผู้ใช้ Ubuntu สามารถดาวน์โหลดได้ทาง apt-get และมีหลายๆ เว็บ (อย่างเช่น Ars Technica) นำมาทดสอบกันแล้ว คราวนี้ Blognone เลยขอลองบ้าง
Gerry Carr ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของ Canonical ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Laptop Magazine และเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของ Ubuntu Netbook Remix
เมื่อครั้งแรกที่ทาง Canonical เปิดตัว Ubuntu Netbook Remix (ต่อไปจะเรียกว่า UNR) นั้นยังไม่มีให้ดาวน์โหลดมาทดสอบกัน แต่ในวันนี้ Ubuntu ชุดใหม่นี้ก็มีให้ทดสอบกันใน Launchpad แล้วและทาง ArsTechnica ก็รีบเอามารีวิวกันอย่างรวดเร็ว
UNR ยังคงความเป็น Ubuntu ไว้อย่างเหนียวแน่นไม่ว่าจะเป็นส่วนกราฟิกที่ใช้งาน Gnome อยู่เช่นเดิม โดยการเปลี่ยนแปลงหลักๆ นั้นคือส่วนของเมนูที่ทำเป็นแบบเต็มจอเพื่อให้สามารถกดด้วยมือได้ง่าย และทุกโปรแกรมใน UMR นั้นจะทำงานแบบเต็มหน้าจอทั้งหมด เพราะเครื่อง Netbook นั้นจอภาพมักมีขนาดเล็กอยู่แล้ว การทำงานในแบบวินโดวส์เลยอาจจะไม่มีประโยชน์เท่าใหร่นัก
จากข่าวเก่า Ubuntu Netbook Remix สำหรับโน้ตบุ๊กขนาดเล็ก วันนี้ที่งาน Computex 2008 ที่ไต้หวัน บริษัท Canonical ได้นำ Ubuntu Netbook Remix ของจริงมาโชว์แล้ว
ข่าวสั้นมากครับ ในบทสัมภาษณ์ Mark Shuttleworth ของหนังสือพิมพ์ Guardian ของอังกฤษ Shuttleworth บอกสั้นๆ แค่ว่ากำลังร่วมงานกับอินเทล พัฒนาดิสโทรสำหรับ Netbook หรือโน้ตบุ๊กขนาดเล็กที่ใช้ซีพียู Atom อยู่ ชื่อของดิสโทรคือ Netbook Remix และจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้
ส่วนในบทสัมภาษณ์มีเรื่องทั่วไปอื่นๆ เช่น ทำไมถึงมาทำ Ubuntu, บริษัท Canonical มีบทบาทอย่างไรในการพัฒนา และความเห็นต่อ OOXML
รายละเอียดของ Netbook อ่านในข่าวเก่า อินเทลเปิดตัวแพลตฟอร์ม Atom และบล็อกของอินเทล Thoughts on Netbooks
Ask Blognone หายไปนาน กลับมาคราวนี้หัวข้อคือ คุณอยากเปลี่ยนอะไรใน Ubuntu 8.04
กติกาเล็กน้อย
Mark Shuttleworth แห่ง Ubuntu เขียนบล็อกเสนอไอเดียให้ดิสโทรรายใหญ่ (Red Hat, SUSE, Debian) มาตกลงกันเพื่อกำหนดช่วงออกรุ่นสำคัญ (เช่น RHEL หรือ Ubuntu LTS) ไล่เลี่ยกัน เป้าหมายของไอเดียนี้คือเพื่อให้โครงการต้นน้ำทั้งหลาย (GNOME/KDE, OpenOffice.org, Mozilla) รู้กำหนดออกของดิสโทรล่วงหน้า และปรับกำหนดออกรุ่นของโปรแกรมของตัวเองตาม ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายคือดิสโทรรุ่นสำคัญจะมีเสถียรภาพมากขึ้น Shuttleworth บอกว่าเขายินดีจะเปลี่ยนกำหนดออกของ Ubuntu รุ่นถัดๆ ไปถ้าไอเดียที่เสนอทำได้จริง
เมื่อไม่กี่ชั่วโมงมานี้มีการค้นพบข้อบกพร่องในส่วนของการสร้างตัวเลขแบบสุ่มในแพ็กเกจ OpenSSL ทำให้การสุ่มคีย์ได้ค่าซ้ำง่ายกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้แฮกเกอร์อาจจะเดาคีย์ในเครื่องที่ใช้ OpenSSL เหล่านี้ได้
สำหรับ Ubuntu ที่ได้รับผลกระทบจากบั๊กนี้คือรุ่น 7.04, 7.10 และ 8.04 สำหรับ Debian นั้นรุ่น etch, lenny, และ sid ได้รับผลกระทบจากบั๊กนี้ ที่สำคัญกว่านั้นคือซอฟต์แวร์ที่ได้รับผลกระทบนั้น เป็นวงกว้างค่อนข้างมาก โดยส่วนที่ยืนยันว่าเกี่ยวข้องคือ
คิดว่าคุณผู้อ่านหลายๆ ท่านน่าจะเคยใช้ Ubuntu กันมาบ้างแล้ว หรืออย่างน้อยก็ต้องเคยได้ยินบ้าง ในแง่ของการใช้งานนั้น Ubuntu สามารถใช้งานภาษาไทยมาได้ตั้งแต่เวอร์ชันแรกแล้ว และแน่นอน ภาษาไทยไม่ได้ลอยมาจากอากาศแล้วใส่ลงไปได้เอง มันต้องมีคนทำใส่ลงไปแน่นอนอยู่แล้ว แล้ว "คนนั้น" เป็นใครล่ะ อันนั้นเอาไว้ก่อนครับ ไปหาคำตอบกันเอาเอง ส่วนตอนนี้ผมจะมาแนะนำวิธีให้คุณเป็นหนึ่งใน "คนนั้น" ครับ
หลังจากที่เรียกน้ำย่อยไปนานกับ Ubuntu 8.04 Hardy Heron รุ่นธรรมดาไปสักอาทิตย์แล้ว
และทาง Ubuntu Studio นำทีมโดย Canonical Ltd. เองไม่หยุดพัฒนา จนได้มาซึ่ง Ubuntu Studio 8.04 ซึ่งมีความสามารถคล้ายกับห้อง สตูดิโอ ชั้นนำไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมบันทึกเสียง, ตัดต่อวิดีโอ รวมไปถึง การ ตัดต่อเพลง ด้วยประสิทธิ์ภาพที่ทุกคนรู้กันว่า เรื่องกราฟฟิก Ubuntu ชนะ Windows ไปอย่างมากจึงทำให้ได้มาซึ่งโปรแกรมต่างๆมากมายไว้ให้ใช้งานกัน
ข้อแตกต่างระหว่างรุ่นปกติ
ผู้ใช้ Ubuntu คนหนึ่งเกิดไอเดียอยากรู้ว่า Ubuntu 8.04 นั้นใกล้เคียงกับให้คนทั่วไปใช้แล้วหรือยัง เขาจึงให้แฟนสาวของตัวเองที่ไม่เคยใช้ลินุก์ซมาก่อนทดสอบ โดยตั้งโจทย์ต่างๆ ให้ลองทำ 12 ข้อ
ผู้หญิงคนนี้ชื่อ Erin ในข่าวบอกว่าเป็นนักศึกษาคณะปรัชญา มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ระดับทั่วไปคือ word processor, spreadsheet, Photoshop เล็กน้อย และใช้งานอินเทอร์เน็ตปกติ ส่วนโจทย์ที่ตั้งให้เธอทำก็มีตั้งแต่ค้นเว็บด้วยกูเกิล, หาวิดีโอใน YouTube (ซึ่งจะมีปัญหากับการลง Flash), เขียนซีดีเพลง, วาดภาพ, แต่งภาพ, เปลี่ยนความละเอียดหน้าจอ ฯลฯ ซึ่งก็มีทั้งที่ทำได้แบบไม่น่าเชื่อ และที่ทำไม่ได้แบบน่าด่าคนเขียนโปรแกรม คนเขียนบรรยายวิธีคิดและขั้นตอนการลองผิดลองถูกของ Erin อย่างละเอียด แนะนำอย่างยิ่งให้อ่านครับ
ใกล้ความจริงเข้ามาเรื่อยๆ กับ Ubuntu รุ่น LTS (Long Term Support) ที่จะมีช่วงเวลาซัพพอร์ตยาวนานกว่าปรกติ ตอนนี้เหลืออีกเพียงเดือนเดียวก็จะถึงกำหนดการออกตัวจริงกันแล้ว ในแง่ของความสามารถแล้วรุ่นเบต้านี้แทบไม่ต่างอะไรจากรุ่น Alpha ที่มีการออกมาให้ทดสอบกันถึงหกรุ่นไปแล้วก่อนหน้านี้ (ข่าวเก่า)
การออกรุ่นเบต้านี้เป็นการหยุดการเพิ่มเติมความสามารถใหม่ๆ ให้กับ Ubuntu 8.04 ไปด้วย โดยในรุ่นเบต้านี้จะรวมถึงการหยุดรับข้อความใหม่ๆ ที่รอการแปล และสำหรับรุ่นเต็มนั้นจะออกในวันที่ 24 เมษายนที่จะถึงนี้ (ตารางกำหนดการ)
ถ้าใครยังจำกันได้ ปีที่แล้ว Dell ได้เปิดเว็บ Dell IdeaStorm ให้ลูกค้าของ Dell ได้ส่งคำแนะนำและข้อเสนอไปยัง Dell โดยตรง โดยใช้ระบบโหวตแบบ Digg (ข่าวเก่า) ซึ่งข้อเสนอที่ได้คะแนนโหวตสูงสุดคือให้ Dell สนับสนุนลินุกซ์ และสุดท้ายมันก็เกิดขึ้นจริงๆ (ข่าวเก่า)
มาวันนี้ทางโครงการ Ubuntu ได้ทำแบบเดียวกันบ้าง โดยเปิดให้ผู้ใช้งาน Ubuntu ทั่วไป ร่วมโหวตปัญหาที่อยากให้แก้/ฟีเจอร์ที่อยากให้มีมากที่สุดใน Ubuntu ผ่านทางเว็บไซต์ Ubuntu Brainstorm
Mark Shuttleworth ประกาศโค้ดเนมของ Ubuntu รุ่นหน้า 8.10 แล้วว่าชื่อ Intrepid Ibex ซึ่งหมายถึงแพะภูเขาผู้กล้าหาญ (ดูรูป Ibex)
Ubuntu 8.10 จะเป็น Ubuntu รุ่นที่เก้า และเป็นการครบรอบ 4 ปีของ Ubuntu ตัวแรก 4.10 Warty Warthog โดยเวอร์ชันนี้มีเป้าหมายจะพัฒนาส่วนของ mobile computing เป็นสำคัญ
หลังจาก Ubuntu 6.06 LTS เป็นต้นมา โค้ดเนมของ Ubuntu เรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษโดยเริ่มจาก D (Dapper Drake) จนมาถึง I (Intrepid Ibex) ในเวอร์ชันนี้ ตัวหน้าถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนคงเป็น J
ที่มา - Ars Technica
Ubuntu 8.04 หรือรหัส Hardy Heron ที่กำหนดออกเดือนเมษายน ออกรุ่น Alpha 4 มาให้ลองใช้กันแล้ว เวอร์ชันนี้มีของใหม่เพิ่มมาพอสมควร ดูรูปประกอบได้ตามลิงก์ที่มาทุกอัน
eeeXubuntu ระบบปฏิบัติการตัวใหม่สำหรับ EeePC มาแล้ว!
หลายๆ คนในที่นี้คงจะคุ้นๆ กับชื่อของ EeePC กับ Xubuntu กันบ้างแล้วนะครับ แต่สำหรับเจ้า eeeXubuntu ชื่อประหลาดนี่มันคืออะไรกัน?
คนที่เคยได้สัมผัส EeePC มาแล้ว คงจะรู้สึกได้ว่าการใช้งาน Ubuntu บนเครื่อง EeePC นั้น ค่อนข้างน่าหงุดหงิดในเรื่องของความละเอียดหน้าจอที่เล็กมาก ทำให้หลายๆ ส่วนของหน้าต่างไม่สามารถแสดงผลได้ครบถ้วน ต้องคอยขยับเลื่อนไปมา
สัปดาห์ที่แล้วมี OpenOffice.org 2.3.1 ออกมา แต่ว่าตามนโยบายของ Ubuntu นั้นจะไม่ยอมเปลี่ยนรุ่นกลางอากาศถ้าไม่มีเหตุอันควร แต่ในเวลาเดียวกัน Ubuntu ก็นำแพตซ์ใหม่ๆ ใส่เพิ่มเข้าไปแล้วออกมาเป็นรุ่นปรับปรุงแทน ปัญหาภาษาไทยจึงยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถาวร ตัวแก้ที่เคยทำไว้ก็ดูเก่ากระทันหัน หลายคนกดอัพเดตโดยไม่ได้สังเกตก็จะเจอปัญหาเดิมตามมาหลอกหลอนทันที หลังจากเสียเวลาไป 3 วันในที่สุดก็ได้ตัวใหม่ออกมาให้ลองใช้กัน อยู่ที่เดิมครับ ใครที่เคยลงไปแล้วน่าจะใช้ได้ทันทีแค่ยอมรับการอัพเดตที่ค้างไว้ตั้งแต่สัปดาห์ก่อน
ทาง Ubuntu ได้ออกรุ่นอัลฟ่าของ Hardy Heron หรือ Ubuntu 8.04 มาแล้ว โดย Hardy Heron จะออกเดือนเมษายนปีหน้า และเป็นเวอร์ชัน LTS (Long term support) ซึ่งสนับสนุนนานเป็นพิเศษ 3 ปี
สำหรับรุ่นอัลฟ่าแรกยังไม่มีอะไรใหม่เข้ามามาก หลักๆ เป็นการดึงแพกเกจของ Debian เข้ามาตามปกติของ Ubuntu รุ่นอัลฟ่า ก่อนจะค่อยๆ ขัดเกลาและแก้บั๊กในรุ่นอัลฟ่าท้ายๆ ไปจนถึงเบต้า รายการฟีเจอร์ใน 8.04 ตัวจริง อ่านได้จากข่าวเก่า หรือจาก Launchpad โดยตรง
ที่มา - Hardy Heron Alpha 1
หลังการเปิดขายเครื่อง Everex gPC ที่ใช้ gOS ได้สัปดาห์เดียว ทาง Wal-Mart ก็ขายเครื่องทั้งหมดออกไปแล้ว แต่โดยในตอนนี้เครื่อง gPC ไม่สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้อีกต่อไป แต่อาจจะมีบ้างร้านของ Wal-Mart มีเครื่องรุ่นนี้ค้างอยู่บ้าง
เครื่อง gPC ล็อตแรกที่วางขายนี้มีจำนวนหนึ่งหมื่นเครื่อง โดยเป็นความตั้งใจของทางผู้ผลิตที่จะวางจำหน่ายในปริมาณน้อย เพื่อเตรียมการซัพพอร์ต ก่อนจะวางจำหน่ายล๊อตใหญ่กว่านี้ต่อไป
หลังจากที่เขียนบทความรีวิว ASUS Eee PC แบบคร่าวๆ ไปแล้วในรอบแรก และรู้สึกอึดอัดกับ Xandros ซึ่งเป็นระบบปฎิบัติการมาตรฐานของมัน ทำให้เกิดความคิดว่า “เออะ เอามาลง Ubuntu ดีกว่า...” และเจ้าของเครื่องก็เห็นด้วยตามนั้น เป็นอันสรุปว่า ลง Ubuntu กันดีกว่า
ปัญหาที่ผมคิดไว้ก่อนจะลงเลย ก็คือเรื่องประสิทธิภาพ ว่าเครื่องขนาดนี้ลงไปแล้วจะทำงานได้เรอะ หรือปัญหาเรื่องไดรเวอร์ต่างๆ นานาที่มันน่าจะมีปัญหา แต่เมื่อได้บูท Ubuntu ขึ้นมาจาก Live CD แล้วก็พบว่าหลายๆ เรื่องผิดคาด ส่วนเวอร์ชั่นที่นำมาลงก็คือ Ubuntu 7.10 Gutsy Gibbon ครับ
นักพัฒนา Ubuntu ไปรวมตัวกันที่งาน Ubuntu Developer Summit เพื่อเตรียมแผนสำหรับเวอร์ชันหน้า Hardy Heron ซึ่งจะเป็น Long Term Support อีกด้วย
Heron จะเน้นการปรับปรุงการใช้งานเดิมมากกว่าเพิ่มฟีเจอร์ใหม่แบบ Gutsy Gibbon รายการฟีเจอร์ที่เสนอ (อาจไม่มีในเวอร์ชันจริง) มีคร่าวๆ ดังนี้
สืบเนื่องจากผมดันไปเจอปัญหาเกี่ยวกับการตัดคำภาษาไทย (#81519) บน OpenOffice.org รุ่น 2.3.0 (ข่าวเก่า) ที่จะมากับ Ubuntu Gutsy ตั้งแต่เมื่อกลางเดือนที่แล้ว แต่สายไปหนึ่งวันทำให้ Ubuntu Gutsy ที่ออกเมื่อวานยังคงมีปัญหานี้ เพราะทีมพัฒนาของ OpenOffice.org ตั้งเป้าไว้ว่าจะปล่อยตัวแก้ออกมาในรุ่น 2.3.1 ที่จะออกในช่วงปลายปี ปัญหานี้จะว่าร้ายแรงก็ใช่ ไม่ร้ายแรงก็ใช่ ถ้าพิมพ์ไทยล้วนไม่ค่อยมีปัญหา อังกฤษล้วนไร้ปัญหา แต่ถ้าพิมพ์ปนกันโอกาสที่จะแฮงค์สูงมาก ทั้งนี้ปัญหามักเกิดกับพวก i386 ซะด้วย พวกโน๊ตบุ๊คโดนเรียบ ซึ่งหนึ่งในผู้โชคร้ายก็คือผม
หลังการรอคอยมาหกเดือน Gutsy Gibbon ที่เป็นชื่อรหัสของ Ubuntu Linux ตัวล่าสุดก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วในวันนี้ เช่นเดียวกับการเปิดตัวปรกติ Ubuntu 7.10 เปิดตัวในสามรูปแบบหลักๆ โดยมีฟีเจอร์ใหม่ๆ ดังนี้