Video Electronics Standards Association
Video Electronics Standards Association (VESA) ออกสเปกของ DisplayPort เวอร์ชัน 2.1 ที่เป็นการอัพเกรดจาก DisplayPort 2.0 ที่ออกในปี 2019 แต่ผ่านมา 3 ปีแล้วยังแทบไม่มีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายใดนำไปใช้งาน
DisplayPort 2.1 มีอัตราการส่งข้อมูลเท่ากับเวอร์ชัน 2.0 (สูงสุดทำได้ที่ 80 Gbps) แต่ปรับปรุงเรื่องการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เฟซของพอร์ต USB4 ที่เริ่มทำมาใน DisplayPort Alt Mode 2.0 ในปี 2020 ให้ดีขึ้น (สาย USB Type-C ที่เป็น USB4 จะสามารถส่งข้อมูลได้ทั้ง USB4 และ DisplayPort), รองรับการทำ bandwidth management ผ่าน USB4
VESA องค์กรมาตรฐานการผลิตจอภาพประกาศออกมาตรฐาน ClearMR วัดอัตราการตอบสนองของจอภาพที่มีส่วนสำคัญกับการใช้งานภาพที่มีอัตราการรีเฟรชสูงๆ โดยเฉพาะเกม โดย ClearMR จะมาแทน Motion Picture Response Time (MPRT) ที่วัดความเร็วในการเปลี่ยนสีของพิกเซล
ปัญหาของ MPRT คือผู้ผลิตมักใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อเร่งความเร็ว MPRT เช่น การสั่งแสดงค่าสีสว่างหรือมืดกว่าค่าที่ต้องการ แม้หน้าจอจะแสดงสีไปยังค่าที่ต้องการได้เร็ว แต่ในความเป็นจริงภาพที่ได้จะมีร่องรอยจากการสั่งค่าสีที่เกินจริงนี้อยู่ ClearMR กำหนดค่า Clear Motion Ratio (CMR) วัดความชัดของภาพโดยรวมด้วยการถ่ายภาพหน้าจอที่กำลังแสดงภาพที่กำหนดจากกล้องความเร็วสูง พร้อมกับเครื่องตรวจวัดสี
Video Electronics Standards Association (VESA) สมาคมที่ออกมาตรฐานด้านจอแสดงผล (เป็นหน่วยงานเดียวกับที่ออกมาตรฐาน DisplayPort) ประกาศออกมาตรฐาน Adaptive-Sync การแสดงผลภาพโดยมีอัตรารีเฟรชเรตไม่คงที่ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ variable refresh rate (VRR)
VRR เป็นเทคโนโลยีการแสดงผลที่แต่ละฉากอาจมีอัตรารีเฟรชไม่เท่ากัน เช่น ฉากคุยกันที่ภาพไม่ค่อยเคลื่อนไหวมีอัตรารีเฟรชต่ำ แต่ฉากแอคชั่นมีอัตรารีเฟรชสูง
ก่อนหน้านี้เราอาจคุ้นกับมาตรฐานของบริษัทการ์ดจอ เช่น NVIDIA G-Sync หรือ AMD FreeSync แต่มาตรฐาน Adaptive-Sync ของ VESA เป็นขององค์กรกลางที่ไม่ขึ้นกับบริษัทใด
VESA (สมาคม Video Electronics Standards Association) ประกาศเปิดตัวสเปค DisplayPort Alt Mode 2.0 เป็นการอัพเกรดจาก DisplayPort Alt Mode เวอร์ชันแรก ที่ทำให้ DisplayPort สามารถเชื่อมต่อผ่าน USB-C
DispalyPort Alt Mode 2.0 เป็นการยกเอาสเปค DisplayPort 2.0 ที่ออกเมื่อปีที่แล้วให้ทำงานร่วมกับมาตรฐาน USB4 ได้ ส่วนหนึ่งก็ด้วยทั้ง 2 มาตรฐานพัฒนาจาก Thunderbolt 3 ทั้งคู่
สมาคม VESA หรือ Video Electronics Standards Association ประกาศออกสเปกของ DisplayPort 2.0 มาตรฐานการส่งข้อมูลวิดีโอเวอร์ชันใหม่ ที่มีแบนด์วิดท์สูงสุดทางทฤษฎีถึง 80Gbps สูงกว่าของเวอร์ชันก่อนคือ DisplayPort 1.3/1.4 ที่ทำได้ 32.4Gbps เกือบ 3 เท่าตัว
แบนด์วิดท์ของ DisplayPort 2.0 ทำให้รองรับการส่งวิดีโอความละเอียด 8K พร้อมฟีเจอร์ต่างๆ อย่างรีเฟรชเรตสูงๆ หรือภาพแบบ HDR ได้สบาย แต่เท่านั้นยังไม่พอ การที่แบนด์วิดท์สูงมากจนเกินพอ (ลำพังแค่ DisplayPort 1.4 ก็รองรับ 8K อยู่แล้ว) ส่งผลให้ DisplayPort 2.0 มีฟีเจอร์ multi-stream ส่งข้อมูลวิดีโอได้หลายชุดพร้อมกัน ต่อออกหลายจอพร้อมกันด้วยเคเบิลเส้นเดียว (ต่อแบบ daisy-chain)
VESA หรือ Video Electronics Standards Association (ถ้าให้แปลน่าจะเป็น สมาคมกำหนดมาตรฐานวิดีโออิเล็กทรอนิกส์) ได้เปิดตัวมาตรฐาน HDR ใหม่ในชื่อ DisplayHDR True Black เพื่อกำหนดมาตรฐานระดับการแสดงผลสีดำให้กับจอภาพสมัยใหม่ที่เป็นกลุ่ม OLED ไปจนถึงจอ microLED ในอนาคต
ซึ่งมาตรฐาน DisplayHDR True Black แบบใหม่นี้จะกำหนดค่าของสีดำได้ลึกกว่าเดิมถึง 100 เท่า และปรับปรุงการวัด rise time (เวลาที่จอพลิกจากการแสดงผลสีดำมาเป็นขาว) ได้ดีกว่าเดิมถึง 4 เท่า
ในประเด็นเดียวกัน VESA ก็เปิดตัวมาตรฐานการวัด DisplayHDR และ DisplayHDR True Black ออกมาเป็น DisplayHDR 500 เลเวลสำหรับจอ HDR บนโน้ตบุ๊กแบบบางโดยเฉพาะ โดยยังคงเกณฑ์ของระดับความเข้มของสีดำ, color gamut เหมือนกับชุดวัด DisplayHDR 600 และ DisplayHDR 1000 เลเวล แต่ลดเกณฑ์ด้านการวัด luminance (ความเข้มแสง) ลงเล็กน้อยให้สอดคล้องกับการควบคุมความร้อนของจอขนาดพกพาด้วย
ที่มา - VESA
VESA องค์กรดูแลมาตรฐานด้านจอภาพ เปิดตัว DisplayPort รุ่น 1.4 ต่อยอดจาก 1.3 เมื่อเดือนกันยายนปี 2014 ด้วยคุณสมบัติดังนี้ ขออนุญาตสรุปเป็นหัวข้อนะครับ
VESA และ USB 3.0 Promoter Group ได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐาน DisplayPort Alternative Mode (ต่อไปจะขอเรียกย่อ ๆ ว่า Alt Mode) ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณภาพและเสียงตามมาตรฐาน DisplayPort ผ่านหัวต่อแบบ USB Type-C หัวต่อแบบใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนที่แล้ว โดยการเชื่อมต่อนี้จะรองรับการส่งข้อมูลเสียงและภาพที่ความละเอียดระดับ 4K และสูงกว่านั้น การส่งข้อมูลในแบบ USB 3.1 และการจ่ายพลังงานสูงสุดถึง 100 วัตต์ ทั้งนี้อุปกรณ์ที่รองรับ DisplayPort เดิมสามารถทำงานร่วมกับ Alt Mode ได้ผ่านอแดปเตอร์
กลุ่ม Video Electronics Standards Association (VESA) ประกาศออกสเปกของมาตรฐาน DisplayPort เวอร์ชัน 1.3 ที่พัฒนาขึ้นจากเวอร์ชัน 1.2 (ออกปี 2009)
VESA เปิดตัวมาตรฐาน DockPort ซึ่งเป็นส่วนขยายของ DisplayPort เดิม โดยเป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลและจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ผ่านทางพอร์ท DisplayPort (ซึ่งเป็นมาตรฐานของ VESA เช่นกัน) นอกเหนือไปจากสัญญาณภาพ ทำให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์มากกว่าหนึ่งรูปแบบผ่านสายเส้นเดียวในลักษณะเดียวกับ Thunderbolt ของ Intel เช่นการต่อพีซีเข้ากับจอภาพที่เป็น USB hub ในตัวได้โดยไม่ต้องต่อสาย USB อีกเส้นเป็นต้น
DockPort ส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ในรูปแบบของ USB 3.1 ผ่านสาย DisplayPort ต่างกับ Thunderbolt ที่ใช้อินเตอร์เฟสแบบ PCI Express
ในขณะที่หลาย ๆ คนกำลังยินดีกับการมาของการแสดงผลระดับ 4K ที่ให้ภาพที่มีความละเอียดคมชัดขึ้นมากกว่าเดิม แต่หลายคนคงจะลืมนึกไปว่า ตอนนี้มีการเชื่อมต่อใดบ้างที่รองรับการใช้งานในระดับ 4K จริง ๆ
เมื่อวันที่ 24 ที่ผ่านมา VESA หรือ Video Electronics Standards Association องค์กรที่คอยออกมาตรฐานเกี่ยวกับเรื่องการแสดงผล ได้ประกาศบรรลุข้อกำหนดของมาตรฐาน Display Stream Compression Standard และเปิดรับข้อเสนอของมาตรฐานนี้แล้ว
เป้าหมายของมาตรฐาน Display Stream Compression Standard คือการเพิ่มความละเอียดของการแสดงผลผ่านส่วนเชื่อมต่อที่มีอยู่แล้ว เช่น DisplayPort และปรับปรุงเรื่องของการใช้พลังงานและฮาร์ดแวร์สำหรับอุปกรณ์พกพา
ในวันนี้ Video Electronics Standard Association (VESA) ได้ประกาศให้ Mini DisplayPort ของแอปเปิลเป็นหนึ่งในมาตรฐานการเชื่อมต่อจอภาพอย่างเป็นทางการของ VESA โดยในมาตรฐานได้กำหนดให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่จะใช้ Mini DisplayPort ต้องตรงตามข้อกำหนดมาตรฐาน DisplayPort 1.1a และ Mini DisplayPort จะถูกรวมบรรจุเข้าในมาตรฐาน DisplayPort เวอร์ชัน 1.2 อย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้
DisplayPort เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อจอภาพของทาง VESA ที่ร่วมมือกับผู้ผลิตหลายๆ เจ้าโดยมีคู่แข่งที่เทียบเคียงกันได้ในบางแง่มุมคือ HDMI โดยสามารถรองรับการส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 21.6GB/s ซึ่งอาจสามารถขยายการใช้งานไปถึงการแสดงผลรูปแบบอื่นๆ รวมถึงข้อมูลเสียงได้ในอนาคต