Video Electronics Standards Association (VESA) ออกสเปกของ DisplayPort เวอร์ชัน 2.1 ที่เป็นการอัพเกรดจาก DisplayPort 2.0 ที่ออกในปี 2019 แต่ผ่านมา 3 ปีแล้วยังแทบไม่มีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายใดนำไปใช้งาน
DisplayPort 2.1 มีอัตราการส่งข้อมูลเท่ากับเวอร์ชัน 2.0 (สูงสุดทำได้ที่ 80 Gbps) แต่ปรับปรุงเรื่องการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เฟซของพอร์ต USB4 ที่เริ่มทำมาใน DisplayPort Alt Mode 2.0 ในปี 2020 ให้ดีขึ้น (สาย USB Type-C ที่เป็น USB4 จะสามารถส่งข้อมูลได้ทั้ง USB4 และ DisplayPort), รองรับการทำ bandwidth management ผ่าน USB4
ทีมของไมโครซอฟท์อธิบายการแก้บั๊กของ Windows ที่เรื้อรังมานาน หากเราต่อจอภายนอกผ่านพอร์ต DisplayPort แล้วปล่อยให้เครื่องหลับ หลังปลุกเครื่องขึ้นมา หน้าต่างในหน้าจอที่สองจะถูกรีเซ็ตมารวมกับหน้าจอหลัก ทำให้ต้องเสียเวลามาเรียงหน้าต่างใหม่ทุกครั้ง
ไมโครซอฟท์เรียกปัญหานี้ว่า Rapid Hot Plug Detect (Rapid HPD) และบอกว่าแก้บั๊กแล้วใน Windows Insider Build 21287 ที่เป็น Dev Channel (ยังไม่ชัดว่าจะถูกรวมอยู่ในรุ่นเสถียรตัวไหน)
VESA (สมาคม Video Electronics Standards Association) ประกาศเปิดตัวสเปค DisplayPort Alt Mode 2.0 เป็นการอัพเกรดจาก DisplayPort Alt Mode เวอร์ชันแรก ที่ทำให้ DisplayPort สามารถเชื่อมต่อผ่าน USB-C
DispalyPort Alt Mode 2.0 เป็นการยกเอาสเปค DisplayPort 2.0 ที่ออกเมื่อปีที่แล้วให้ทำงานร่วมกับมาตรฐาน USB4 ได้ ส่วนหนึ่งก็ด้วยทั้ง 2 มาตรฐานพัฒนาจาก Thunderbolt 3 ทั้งคู่
สมาคม VESA หรือ Video Electronics Standards Association ประกาศออกสเปกของ DisplayPort 2.0 มาตรฐานการส่งข้อมูลวิดีโอเวอร์ชันใหม่ ที่มีแบนด์วิดท์สูงสุดทางทฤษฎีถึง 80Gbps สูงกว่าของเวอร์ชันก่อนคือ DisplayPort 1.3/1.4 ที่ทำได้ 32.4Gbps เกือบ 3 เท่าตัว
แบนด์วิดท์ของ DisplayPort 2.0 ทำให้รองรับการส่งวิดีโอความละเอียด 8K พร้อมฟีเจอร์ต่างๆ อย่างรีเฟรชเรตสูงๆ หรือภาพแบบ HDR ได้สบาย แต่เท่านั้นยังไม่พอ การที่แบนด์วิดท์สูงมากจนเกินพอ (ลำพังแค่ DisplayPort 1.4 ก็รองรับ 8K อยู่แล้ว) ส่งผลให้ DisplayPort 2.0 มีฟีเจอร์ multi-stream ส่งข้อมูลวิดีโอได้หลายชุดพร้อมกัน ต่อออกหลายจอพร้อมกันด้วยเคเบิลเส้นเดียว (ต่อแบบ daisy-chain)
VESA องค์กรดูแลมาตรฐานด้านจอภาพ เปิดตัว DisplayPort รุ่น 1.4 ต่อยอดจาก 1.3 เมื่อเดือนกันยายนปี 2014 ด้วยคุณสมบัติดังนี้ ขออนุญาตสรุปเป็นหัวข้อนะครับ
เก็บตกข่าวเก่า กลุ่ม Video Electronics Standards Association (VESA) ผู้กำกับสเปคมาตรฐานของ DisplayPort เปิดสเปคของ Embeded DisplayPort (eDP) รุ่นใหม่ 1.4a ที่รองรับหน้าจอโน้ตบุ๊กความละเอียดสูงสุดถึง 7680x4320 พิกเซล (8K) ไปเลยทีเดียว
ตามสเปคที่ออกมาของ eDP 1.4a จะทัดเทียมกับของ DisplayPort 1.3 ตรงที่เพิ่มแบนด์วิดท์ส่งข้อมูลไปเป็น 8.1Gbps ต่อเลน สูงสุดที่ 32.4Gbps แบบสี่เลน โดยรองรับความละเอียดสูงสุดที่ 7680x4320 พิกเซลที่ 60Hz และ 3840x2160 พิกเซล สำหรับหน้าจอความถี่สูงระดับ 120Hz
VESA และ USB 3.0 Promoter Group ได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐาน DisplayPort Alternative Mode (ต่อไปจะขอเรียกย่อ ๆ ว่า Alt Mode) ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณภาพและเสียงตามมาตรฐาน DisplayPort ผ่านหัวต่อแบบ USB Type-C หัวต่อแบบใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนที่แล้ว โดยการเชื่อมต่อนี้จะรองรับการส่งข้อมูลเสียงและภาพที่ความละเอียดระดับ 4K และสูงกว่านั้น การส่งข้อมูลในแบบ USB 3.1 และการจ่ายพลังงานสูงสุดถึง 100 วัตต์ ทั้งนี้อุปกรณ์ที่รองรับ DisplayPort เดิมสามารถทำงานร่วมกับ Alt Mode ได้ผ่านอแดปเตอร์
กลุ่ม Video Electronics Standards Association (VESA) ประกาศออกสเปกของมาตรฐาน DisplayPort เวอร์ชัน 1.3 ที่พัฒนาขึ้นจากเวอร์ชัน 1.2 (ออกปี 2009)
VESA เปิดตัวมาตรฐาน DockPort ซึ่งเป็นส่วนขยายของ DisplayPort เดิม โดยเป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลและจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ผ่านทางพอร์ท DisplayPort (ซึ่งเป็นมาตรฐานของ VESA เช่นกัน) นอกเหนือไปจากสัญญาณภาพ ทำให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์มากกว่าหนึ่งรูปแบบผ่านสายเส้นเดียวในลักษณะเดียวกับ Thunderbolt ของ Intel เช่นการต่อพีซีเข้ากับจอภาพที่เป็น USB hub ในตัวได้โดยไม่ต้องต่อสาย USB อีกเส้นเป็นต้น
DockPort ส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ในรูปแบบของ USB 3.1 ผ่านสาย DisplayPort ต่างกับ Thunderbolt ที่ใช้อินเตอร์เฟสแบบ PCI Express
ในขณะที่หลาย ๆ คนกำลังยินดีกับการมาของการแสดงผลระดับ 4K ที่ให้ภาพที่มีความละเอียดคมชัดขึ้นมากกว่าเดิม แต่หลายคนคงจะลืมนึกไปว่า ตอนนี้มีการเชื่อมต่อใดบ้างที่รองรับการใช้งานในระดับ 4K จริง ๆ
เมื่อวันที่ 24 ที่ผ่านมา VESA หรือ Video Electronics Standards Association องค์กรที่คอยออกมาตรฐานเกี่ยวกับเรื่องการแสดงผล ได้ประกาศบรรลุข้อกำหนดของมาตรฐาน Display Stream Compression Standard และเปิดรับข้อเสนอของมาตรฐานนี้แล้ว
เป้าหมายของมาตรฐาน Display Stream Compression Standard คือการเพิ่มความละเอียดของการแสดงผลผ่านส่วนเชื่อมต่อที่มีอยู่แล้ว เช่น DisplayPort และปรับปรุงเรื่องของการใช้พลังงานและฮาร์ดแวร์สำหรับอุปกรณ์พกพา
เราเห็นข่าวของเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ Thunderbolt ของฝั่งอินเทลมาก็มาก คราวนี้ทางฝั่ง AMD ออกมาโชว์ต้นแบบของเทคโนโลยีคล้ายๆ กันที่เรียกว่า Lightning Bolt
อธิบายง่ายๆ Lightning Bolt ใช้แนวคิด "ทุกอย่างใน 1 สาย" ของ Thunderbolt แต่นำเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วมาใช้แทน โดย 1 สาย Lightning Bolt จะประกอบด้วย
การที่ Lightning Bolt ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว ทำให้ราคาของมันถูกมาก และการทำงานก็ไม่ซับซ้อน สามารถใช้สาย Mini DisplayPort ที่มีอยู่แล้ว แต่นำมาเปลี่ยนพินที่หัวพอร์ตเพียง 2 พินก็ใช้งานได้แล้ว
จากที่ผมลงข่าวเรื่อง VESA ประกาศใช้มาตรฐาน Mini DisplayPort (ดูข่าวเก่า) และคุณ lew ก็ได้คอมเมนท์ถามถึงว่าตกลง HDMI มันต่างกับ DisplayPort ยังไงบ้าง ซึ่งผมเองก็สงสัยเหมือนกัน ในวันนี้ผมเลยลองรื้อๆ ข้อมูลดู และพบประเด็นที่น่าสนใจหลายๆ อย่างเหมือนกัน ผมได้พยายามสรุปเป็นข้อๆ จะได้เข้าใจง่ายๆ นะครับ แต่คิดว่าถ้าใครอยากรู้ละเอียด อ่านใน Wikipedia ก็มีเยอะครับ (HDMI, DisplayPort)
ในวันนี้ Video Electronics Standard Association (VESA) ได้ประกาศให้ Mini DisplayPort ของแอปเปิลเป็นหนึ่งในมาตรฐานการเชื่อมต่อจอภาพอย่างเป็นทางการของ VESA โดยในมาตรฐานได้กำหนดให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่จะใช้ Mini DisplayPort ต้องตรงตามข้อกำหนดมาตรฐาน DisplayPort 1.1a และ Mini DisplayPort จะถูกรวมบรรจุเข้าในมาตรฐาน DisplayPort เวอร์ชัน 1.2 อย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้
DisplayPort เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อจอภาพของทาง VESA ที่ร่วมมือกับผู้ผลิตหลายๆ เจ้าโดยมีคู่แข่งที่เทียบเคียงกันได้ในบางแง่มุมคือ HDMI โดยสามารถรองรับการส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 21.6GB/s ซึ่งอาจสามารถขยายการใช้งานไปถึงการแสดงผลรูปแบบอื่นๆ รวมถึงข้อมูลเสียงได้ในอนาคต
ปัจจุบันเทคโนโลยีการแสดงผลมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเมื่อจอภาพมีความละเอียดสูง การส่งข้อมูลปริมาณมากๆ ไปยังจอภาพเพื่อแสดงผลมีความจำเป็น ซึ่งเทคโนโลยีการเชื่อมต่อปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น VGA หรือแม้แต่ DVI อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ
จากข่าวของ PS3 หลายคนคงรู้จักกับพอร์ต HDMI (High-Definition Multimedia Interface) ซึ่งเอาไว้ต่อ HDTV กันบ้างแล้ว
DisplayPort ที่ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงร่างสเปก ก็เปรียบได้กับ HDMI ในโลกคอมพิวเตอร์แทนที่จะเป็นโลก HiFi/AV