NVIDIA เปิดซอร์สโค้ดส่วนเร่งความเร็วจีพียูของเอนจินฟิสิกส์ PhysX ต่อสาธารณะ ใช้ไลเซนส์แบบ BSD-3
เดิมทีตัวเอนจิน PhysX เป็นโอเพนซอร์สมาตั้งแต่ปี 2018 ตอน PhysX เวอร์ชัน 4.0 แต่เฉพาะตัวเอนจินหลักและ SDK เท่านั้น ส่วนการเร่งความเร็วด้วยจีพียูไม่ได้โอเพนซอร์สด้วย มีเฉพาะไบนารีแจกจ่าย การเปลี่ยนแปลงรอบนี้คือ NVIDIA เปิดซอร์สโค้ดส่วนจีพียูออกมาเลย จึงไม่ได้แจกจ่ายไฟล์ไบนารีให้อีก
นอกจากนี้ NVIDIA ยังเปิดซอร์ส GPU compute shader ของ Flow SDK ซึ่งเป็นไลบรารีสำหรับรันซิมูเลเตอร์ของไหล (fluid simulator) ออกมาพร้อมกันด้วย
Digital Foundry เซกชั่นสายเทคนิคของเว็บเกม Eurogamer ออกรายงานยืนยันปัญหาเกมกระตุก (stutter) เมื่อเปิดใช้ฟีเจอร์ variable refresh rate (VRR) ของ PS5 และ PS5 Pro แต่ปัญหานี้กลับไม่เกิดบนคอนโซลคู่แข่ง Xbox
Digital Foundry บอกว่าได้รับแจ้งปัญหานี้จากเหล่าเกมเมอร์มาหลายเดือนแล้ว จึงค่อยๆ ทดสอบและสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ว่าปัญหาเกิดขึ้นจริง และเกิดขึ้นได้กับหน้าจอทุกรุ่นที่รองรับ VRR
Minecraft โชว์ฟีเจอร์อัพเกรดกราฟิก Vibrant Visuals ที่เพิ่มแสงเงา แสงสะท้อนน้ำ แสงทะลุหน้าต่าง-ต้นไม้ เมฆและหมอกควัน ให้ภาพดูสวยงามสมจริงยิ่งขึ้น (แนะนำให้ดูคลิปจะเห็นภาพชัดเจนขึ้น)
Minecraft เคยพยายามทำฟีเจอร์แบบนี้ในปี 2017 ใช้ชื่อว่า Super Duper แต่สุดท้ายยกเลิกไปในปี 2019 โดยบอกว่าติดข้อจำกัดทางเทคนิคที่ซับซ้อนเกินไป ไอเดียนี้ยังอยู่และกลับมาอีกครั้งกับ Vibrant Visuals ในรอบนี้ ทีมงานบอกว่าการทำฟีเจอร์นี้ต้องใช้เวลาค้นคว้าวิจัยอยู่นาน ปรับโค้ดเบื้องหลังจำนวนมากเพื่อให้พร้อมกับการอัพเกรดกราฟิกครั้งนี้
เมื่อปี 2023 NVIDIA เปิดตัวโครงการ Half-Life 2 RTX ซึ่งเป็นการม็อดเกม Half-Life 2 ด้วยเครื่องมือ NVIDIA Remix จนเหมือนเป็นเกมใหม่
หลังเวลาผ่านมาเกือบ 2 ปี ในที่สุดโครงการ Half-Life 2 RTX อยู่ในสถานะที่พร้อมให้เล่นแล้ว ตอนนี้ตัวม็อดมีหน้าเพจบน Steam และจะเปิดให้ดาวน์โหลดในวันที่ 18 มีนาคม 2025 (ผู้เล่นจะต้องมีเกม Half-Life 2 ตัวเต็มก่อนติดตั้งม็อด)
กูเกิลประกาศใช้ Vulkan เป็น official graphic API หลักของระบบปฏิบัติการ Android แทน OpenEL GS ที่ใช้มายาวนาน ใน Android 16 เป็นต้นไป กูเกิลจะเรนเดอร์ทุกอย่างด้วย Vulkan ทั้งหมดแล้ว
ระบบปฏิบัติการ Android รองรับ Vulkan มาตั้งแต่ Android 7.0 Nougat ในปี 2016 และรองรับทั้ง Vulkan กับ OpenGL ES มาโดยตลอด ข้อดีของ Vulkan คือเป็น API ที่ใหม่กว่า รองรับฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่าง ray tracing และให้ประสิทธิภาพดีกว่า
AMD เปิดเผยว่าเทคนิค FSR 4 ที่เริ่มใช้กับ Radeon RX 9000 ซึ่งทำผลการรีวิวออกมาได้ดี เป็นการพัฒนาโมเดล AI ที่ใช้อัพสเกลภาพร่วมกับโซนี่
ข่าวนี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก เพราะ AMD ก็ร่วมกับโซนี่พัฒนาเทคนิค PSSR (PlayStation Spectral Super Resolution Upscaling) ที่ใช้ใน PS5 Pro มาก่อน และเริ่มใช้งานกับเกมบน PS5 Pro ที่รองรับไปตั้งแต่ช่วงปลายปี 2024 (สังเกตว่าในคลิปโปรโมท FSR 4 ก็มีแต่เกมโซนี่บนพีซี)
ระบบเดสก์ท็อป KDE Plasma ออกเวอร์ชัน 6.3 ซึ่งถือเป็นโอกาสครบรอบ 1 ปีหลัง KDE Plasma ออกเวอร์ชัน 6.0
การเปลี่ยนแปลงสำคัญใน KDE Plasma 6.3 ได้แก่
โลกเกมมิ่งในยุคหลังขับเคลื่อนด้วยเทคนิค upscaling และ frame generation โดยผู้ผลิตจีพียูแต่ละค่ายมีโซลูชันแตกต่างกันไป เช่น NVIDIA DLSS และ AMD FSR
ค่ายอินเทลเองมี XeSS เทคนิค upscaling ที่ใช้กับจีพียูตระกูล Arc/Xe แม้อาจไม่ได้รับความสนใจเท่ากับ DLSS แต่ก็ยังอัพเดตมาเรื่อยๆ ตอนนี้อินเทลประกาศว่ามีเกมที่รองรับ XeSS มากกว่า 150 เกมแล้ว ตัวอย่างเช่น Fortnite, Naraka, Like a Dragon, Forza Horizon 5, STALKER 2 เป็นต้น (รายชื่อทั้งหมดบนเว็บอินเทล) แม้ตัวเลขยังห่างไกลกับฝั่ง NVIDIA ที่มีมากกว่า 700 เกม แต่เป็นสัญญาณอันดีว่าอินเทลยังร่วมงานกับนักพัฒนาเกมอัพเตดให้ต่อเนื่อง
ไมโครซอฟท์ประกาศแผนการเพิ่มฟีเจอร์ให้ DirectX รองรับฟีเจอร์ Neural Rendering หรือการใช้ AI ช่วยประมวลผลการเรนเดอร์ภาพ ที่กำลังนิยมในจีพียูยุคหลังๆ
หลังจาก NVIDIA เพิ่มหน่วยประมวลผล tensor core เข้ามา เราเห็นการใช้ AI ช่วยประมวลผลภาพ เช่น อัพสเกลภาพให้ละเอียดขึ้น หรือสร้างเฟรมจาก AI เพื่อเพิ่มเฟรมเรตโดยไม่ต้องประมวลผลผ่าน pipeline ปกติของจีพียู แต่ที่ผ่านมาเทคนิคของแต่ละค่ายอาจต่างคนต่างทำ
Valve อัพเกรดความสามารถให้ Proton ซอฟต์แวร์ compatibility layer สำหรับเล่นเกมวินโดวส์บนลินุกซ์ ซึ่งใช้งานทั้งบน Steam for Linux และ Steam Deck
ฟีเจอร์ใหม่คือรองรับเทคโนโลยีฝั่ง NVIDIA อย่าง DLSS 3 Frame Generation และ NVIDIA Optical Flow API ที่ใช้คำนวณความเปลี่ยนแปลงของพิกเซลในแต่ละเฟรม ช่วยให้จับการเคลื่อนไหวของวัตถุบนวิดีโอได้ดีขึ้น
เกมเด่นของค่าย EA ในไตรมาสที่ผ่านมาคือ เกมอเมริกันฟุตบอล EA SPORTS College Football 25 ที่มีผู้เล่นมากกว่า 5 ล้านคน โดยปัจจัยที่ทำให้เกมนี้โด่งดัง มีทั้งการเป็นเกมในซีรีส์ College Football ที่คัมแบ็คภาคแรกในรอบ 11 ปี (ภาคสุดท้ายคือ NCAA Football 14 ออกปี 2013) รวมถึงการได้สิทธิในหน้าตานักกีฬา ทีมอเมริกันฟุตบอล และสนามแข่งจำนวน 134 สนาม ตรงตามสนามจริงๆ ส่งผลให้แฟนๆ กีฬาเข้ามาเล่นทีมที่ตัวเองเชียร์กันได้ถ้วนหน้า ไม่ว่าเชียร์ทีมไหน
AMD มีเทคนิคการสร้างเฟรมเพื่อเพิ่มเฟรมเรตชื่อ AMD Fluid Motion Frames (AFMF) (เป็นคนละอย่างกับ FSR ที่มีเรื่องอัพสเกลความละเอียดภาพด้วย โดย AFMF เพิ่มเฟรมอย่างเดียวไม่ขยายภาพ แต่ก็เกี่ยวเนื่องกัน) ล่าสุดออก AFMF 2 ที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นแล้ว
ความสามารถที่เพิ่มเข้ามาใน AFMF 2 คือลด latency ที่เกิดจากการสร้างเฟรมลงได้เฉลี่ย 28% (ทดสอบกับ Cyberpunk 2077 ความละเอียด 4K) และสามารถใช้ร่วมกับเทคนิค Anti-Lag 2 ของจีพียู Radeon ได้ด้วย
หลายคนแถวนี้น่าจะเคยเห็น The Sphere อาคารรูปโดมทรงกลมขนาดใหญ่ในเมืองลาสเวกัส ซึ่งมีจอภาพ LED ทั้งด้านนอกและด้านใน กินพื้นที่จอรวมกัน 750,000 ตารางฟุต
NVIDIA มีบล็อกอธิบายเบื้องหลังการแสดงผลภาพบนหน้าจอใหญ่ขนาดนี้ ว่าใช้จีพียู NVIDIA RTX A6000 (เปิดตัวปี 2020 สถาปัตยกรรม Ampere) จำนวน 150 ตัวช่วยกันเรนเดอร์หน้าจอความละเอียด 16x16K ด้านใน และหน้าจอด้านนอกที่มีไฟ LED ทั้งหมด 1.2 ล้านดวง ถือเป็นหน้าจอ LED ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
Arm เปิดตัวเทคนิคการอัพสเกลภาพของตัวเองชื่อว่า Accuracy Super Resolution ตัวย่อ Arm ASR โดยพัฒนาต่อมาจาก AMD FSR 2 ที่เปิดเป็นโอเพนซอร์สอยู่แล้ว
Arm บอกว่าเทคนิคอัพสเกลภาพแบ่งได้ 2 วิธีใหญ่ๆ คือ spatial ที่เรียบง่ายกว่า เพราะใช้ภาพจากเฟรมเดียวกันมาคำนวณการอัพสเกล ประหยัดพลังการคำนวณมากกว่า แต่มีข้อเสียคือภาพที่ได้อาจเบลอ แนวทางนี้ใช้ใน FSR 1 ส่วนอีกวิธีคือ temporal ที่ซับซ้อนกว่า ใช้ภาพจากหลายเฟรมมาช่วยคำนวณ เปลืองพลังประมวลผลมากกว่า แต่ได้คุณภาพผลลัพธ์ดีกว่า และหากใช้เทคนิคนี้ร่วมกับข้อมูลจากเอนจินเกม จะช่วยให้ผลลัพธ์ดีขึ้น แนวทางนี้ใช้กับ FSR 2
ช่อง Digital Foundry ที่เชี่ยวชาญเรื่องกราฟิกของวิดีโอเกม วิเคราะห์เหตุผลที่เกมบน PS5 กลับให้ภาพออกมาดีกว่า Xbox Series X แม้ว่าสมรรถนะทางเทคนิคของ Xbox Series X เหนือกว่า โดยใช้ข้อมูลจากการพูดคุยกับนักพัฒนาเกมหลายรายเป็นเวลาหลายปี
Digital Foundry สรุปว่าเหตุผลที่น่าจะเป็นไปได้ มี 2 ข้อประกอบกัน
AMD ออก FidelityFX Super Resolution (FSR) เวอร์ชัน 3.1 อัพเกรดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก FSR 3.0 ที่ออกเมื่อปลายปี 2023 แก้ปัญหาเรื่องคุณภาพของภาพ และเทคนิคการสร้างเฟรมให้ใช้ร่วมกับเทคนิคอื่นได้ดีขึ้น (FSR ใช้ได้กับทั้ง Radeon 5000 ขึ้นไป และ GeForce RTX 20 ขึ้นไปอยู่แล้ว)
ไมโครซอฟท์เปิดให้ใช้งาน DirectSR API กลางของ OS สำหรับการอัพสเกลภาพ Super Resolution (SR) ที่ใช้กับจีพียูได้ทุกค่าย ทั้ง AMD FidelityFX Super Resolution (FSR), Intel XeSS, and NVIDIA DLSS Super Resolution
การมาถึงของ DirectSR ทำให้นักพัฒนาเกมสาย DirectX ทำงานง่ายขึ้น เพราะเขียนเกมให้รองรับ DirectSR อย่างเดียวพอ แล้ว DirectSR จะไปคุยกับจีพียูแต่ละค่ายให้เอง ผลลัพธ์ที่ได้คือเราคงได้เห็นเกมที่รองรับการทำอัพสเกลภาพกันเยอะขึ้น เพราะทำได้ง่ายขึ้นมาก
ในเบื้องต้น DirectSR รองรับ AMD FidelityFX Super Resolution (FSR) 2.2 มาพร้อมในตัว ส่วนอีก 2 ค่ายรองรับที่ระดับไดรเวอร์แล้วเช่นกัน
กูเกิลออกไลบรารีสำหรับบันทึกไฟล์ภาพเป็น JPEG ตัวใหม่ชื่อ Jpegli มีอัตราการบีบอัดภาพดีกว่าเดิม 35% เมื่อเทียบกับไลบรารี libjpeg62 ตัวที่ใช้งานกันแพร่หลายในปัจจุบัน
Jpegli ถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ใช้เทคนิคใหม่ๆ ในการเข้ารหัส/ถอดรหัส (encode/decode) ไฟล์ JPEG โดยยังคงความเข้ากันได้กับมาตรฐาน JPEG ของเดิม และถึงแม้ทำงานบีบอัดได้ดีขึ้น ไฟล์ภาพขนาดเล็กลง แต่ก็ยังความเร็วในการบีบอัด-คลายการบีบอัด ได้ระดับเดียวกับ libjpeg-turbo และ MozJPG
Chrome for Windows รองรับฟีเจอร์จัดการความคมชัดของฟอนต์ Windows ClearType Text Tuner ซึ่งจะส่งผลให้ Chrome เรนเดอร์ฟอนต์ได้คมชัดกว่าเดิม
เดิมที Chromium เรียกใช้เอนจินแสดงผลกราฟิก 2D ชื่อ Skia ของกูเกิลเอง มีระบบจัดการความคมชัดของข้อความ แต่ใช้วิธี hard code ค่าตามระบบปฏิบัติการ ผู้ใช้ไม่สามารถแก้ไขปรับแต่งค่าเองภายหลังได้ ส่งผลให้ในบางอุปกรณ์อาจมีปัญหาเรื่องการแสดงผลฟอนต์บ้าง
ส่วน Windows นั้นมีฟีเจอร์ชื่อ ClearType Text Tuner ให้ผู้ใช้ปรับแต่งความคมชัดของฟอนต์ตามที่เห็นบนหน้าจอ และแอพพลิเคชันต่างๆ สามารถเรียกใช้ค่าเหล่านี้ได้อัตโนมัติ (หากแสดงผลข้อความด้วย DirectWrite)
ไมโครซอฟท์เปิดตัว DirectSR เป็น API ใหม่ในตระกูล DirectX ช่วยใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ของจีพียูทำ Super Resolution (SR) หรือการขยายสเกลภาพให้ละเอียดขึ้น
เราเห็นฟีเจอร์จำพวก NVIDIA DLSS Super Resolution, AMD FidelityFX Super Resolution, Intel XeSS ออกสู่ตลาดกันมาสักระยะ การออก API ตัวนี้จะช่วยให้นักพัฒนาเกมทำงานง่ายขึ้น เพราะเขียนเกมให้รองรับ DirectSR อย่างเดียวพอ แล้ว DirectSR ไปคุยต่อกับจีพียูแต่ละค่ายให้เอง
ผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ @PhantomOfEarth โพสต์ภาพของฟีเจอร์ใหม่ใน Windows 11 Insider 24H2 ที่ยังไม่เปิดตัว ชื่อว่า Automatic Super Resolution หรือชื่อย่อ Auto SR โดยเป็นตัวเลือกอยู่ในหน้า Settings > System > Display > Graphics
คำอธิบายฟีเจอร์นี้ระบุว่าเป็นการใช้ AI ช่วยปรับแต่งรายละเอียดของภาพ โดยสามารถใช้ได้ทั้งแอพและเกม และสามารถตั้งค่าเปิดใช้ได้กับแอพเป็นรายตัวด้วย
NVIDIA เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ RTX Video HDR ให้การ์ดจอตระกูล RTX โดยใช้ Tensor Core ช่วยอัพเกรดวิดีโอจาก SDR เป็น HDR ให้อัตโนมัติ
ฟีเจอร์นี้ยังสามารถใช้ร่วมกับ NVIDIA Video Super Resolution ที่ใช้จีพียูช่วยอัพสเกลวิดีโอให้ความละเอียดสูงขึ้น แปลว่าเราสามารถแปลงวิดีโอความละเอียดต่ำ เป็นวิดีโอความละเอียดสูง + HDR ได้พร้อมกันในทีเดียว
การใช้งานจำเป็นต้องมีการ์ดจอตระกูล RTX และจอภาพที่รองรับ HDR10 จากนั้นอัพเดตไดรเวอร์รอบเดือนมกราคม 2024, เปิดใช้ฟีเจอร์ Windows HDR แล้วเข้าไปตั้งค่า RTX Video Enhancement ใน NVIDIA Control Panel
ที่มา - NVIDIA
NVIDIA มีเครื่องมือม็อดเกมเก่าที่ระดับรันไทม์ชื่อ NVIDIA RTX Remix เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2022 ใช้ม็อดเกม Portal และ Half-Life 2 ยกระดับกราฟิกใหม่ให้เป็นยุค RTX
RTX Remix ถูกโอเพนซอร์สในปี 2023 และล่าสุดออกเวอร์ชัน 0.4 นับเป็น Open Beta พร้อมให้คนทั่วไปทดสอบกันแล้ว
การทำงานของ RTX Remix คือปรับแก้ไปป์ไลน์กราฟิกของเกมเก่าๆ ที่เป็น DirectX 8 และ 9 เปิดให้นำโมเดล เท็กซ์เจอร์ ระบบแสงของยุคใหม่ๆ เข้าไปใส่ในตัวเกมเดิม โดยเพิ่ม GUI และเครื่องมืออำนวยความสะดวกที่ NVIDIA พัฒนาเพิ่มเข้ามาให้ม็อดเดอร์ทำงานง่ายขึ้น
เราเห็นค่าย NVIDIA มีฟีเจอร์ Video Super Resolution ช่วยอัพสเกลวิดีโอ โดยใช้ได้กับทั้งการชมวิดีโอผ่านเบราว์เซอร์ และผ่าน VLC กันไปแล้ว
ล่าสุดมีข่าวว่าฝั่งของค่าย AMD กำลังพัฒนาฟีเจอร์แบบเดียวกันในชื่อ FidelityFX Super Resolution โดยโชว์การใช้จีพียูอัพสเกลภาพจาก 720p เป็น 1440p แล้วภาพไม่แตกด้วย
AMD เริ่มโชว์ฟีเจอร์นี้ในงาน CES 2024 โดยบอกว่ากำลังร่วมมือกับ VLC พัฒนาแอพให้รองรับฟีเจอร์นี้ ซึ่งจะออกภายในไตรมาส 1/2024
NVIDIA โชว์ความคืบหน้าของโปรเจค Half-Life 2 RTX ที่เปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคม 2023 โดยเป็นการนำเกม Half-Life 2 มาม็อดกราฟิกใหม่ ปั้นโมเดลใหม่ โดยผ่านเอนจิน NVIDIA Remix ที่ม็อดกันตอนเรนเดอร์ภาพโดยไม่ต้องไปยุ่งกับเกมเพลย์เดิม
เวลาผ่านไปหลายเดือน NVIDIA กลับมาพร้อมเทรลเลอร์ใหม่ Ravenholm ที่นอกจากมีการปั้นโมเดลใหม่ๆ แล้ว ยังพัฒนาให้เกมรองรับเทคนิค DLSS 3.5 ทำ ray reconstruction เพื่อความสมจริงที่มากขึ้นของระบบแสงในเกมด้วย
Half-Life 2 RTX จะเปิดให้ทดสอบแบบ Open Beta วันที่ 22 มกราคมนี้