การแก้ Wikipedia ก่อนหน้านี้ต้องศึกษาภาษา markup ในรูปแบบของวิกิกันมาก่อน แต่นับตั้งแต่เมื่วานนี้ Wikipedia จะเปิดตัวแก้ไขที่ชื้่อว่า VisualEditor ให้กับผู้ใช้ทุกคนแล้ว
ทาง Wikimedia หน่วยงานผู้ดูแล Wikipedia พัฒนา VisualEditor นี้มาหลายเดือนแล้ว และสมาชิกที่สมัครโครงการทดสอบก็ใช้งานกันมานานแล้วเช่นกัน แต่การเปิดตัวนี้จะเป็นการใช้งานจริงกับผู้ใช้ทุกคนโดยไม่ต้องเปิดออปชั่นเพิ่มเติมอีกต่อไป
ซัพพอร์ตทุกเบราว์เซอร์ ยกเว้น Internet Explorer ครับ
ที่มา - Wikimedia Blog
Dokuwiki เป็นวิกิอีกตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยมในบ้านเรา ซึ่งใช้งานง่ายมากๆ และติดอันดับ 1 วิกิที่ได้รับความสนใจมากที่สุดของ Wikimatrix และเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 52 ที่ผ่านมา คุณ Andreas Gohr ได้ปล่อย RC2009-12-02 เพื่อเตรียมออกรุ่นใหม่รหัส "Mulled Wine" ในเร็วๆนี้ และมีรายการปรับปรุงน่าสนใจมากมายดังนี้
ด้วยเหตุที่เป็นสารานุกรมเสรีที่ใครๆ ก็มีสิทธิในการแก้ไข ทำให้ Wikipedia นั้นได้รับการถกเถียงในด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลเป็นอย่างมาก (ใครนึกภาพไม่ออกว่ามันแก้ง่ายยังไงลองดูวิดีโอขำขันอันนี้) ล่าสุด Wikipedia นั้นเตรียมที่จะออกทดสอบระบบใหม่ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลแล้วครับ
หลังจากที่ประกาศโครงการ Medpedia (ข่าวเก่า) สารานุกรมทางการแพทย์ ตอนนี้เว็บของโครงการเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งผมหวังว่าจะใช้ Medpedia เป็นแหล่งอ้างอิงที่ดีกว่า Wikipedia ได้
ณ เวลาที่ผมเขียนข่าวมีสมาชิกแล้ว 781 คน บทความเท่าที่ดูคร่าวๆ (ไม่รู้จะนับอย่างไรดี) ก็ครอบคลุมเนื้อหาทั้งพื้นฐานและขั้นสูง รายละเอียดของโรคที่ค่อนข้างมาก และรายละเอียดของยาแทบจะคลุมทุกกลุ่ม แต่ไม่มีเนื้อหาทางด้านโภชนาการครับ :x
ที่มา Medpedia ผ่าน email subscription
มีรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มของวิกิพีเดียในช่วงหกปีที่ผ่านมาถึงสภาวะการมีส่วนร่วมกันของวิกิพีเดียพบว่าการมีส่วนร่วมกันเขียนบทความของวิกิพีเดียกำลังลดลงไปถึงร้อยละ 20 นับแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยปริมาณการแก้ไขบทความขึ้นสูงสุดในช่วงต้นปี 2007 นั้นอยู่ที่ระดับ 160,000 ครั้งต่อวัน แต่ในช่วงเดือนที่ผ่านมานั้นอยู่ที่ 130,000 ครั้งต่อวันเท่านั้น ส่วนปริมาณการสมัครสมาชิกใหม่นั้นก็ลดลงเช่นกันโดยจากกว่าหมื่นคนต่อวัน ตอนนี้มีการสมัครสมาชิกอยู่ที่เจ็ดพันกว่าคนต่อวัน เท่านั้น
ประเทศนิวซีแลนด์กำลังจะแก้ พ.ร.บ. ตำรวจ (Police Act) ใหม่ เนื่องจากฉบับเก่าใช้มาตั้งแต่ปี 1958 และล้าสมัยไปมาก ที่แปลกจนเป็นข่าวคือทางตำรวจนิวซีแลนด์เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับการร่างกฎหมายนี้ผ่านทาง Wiki
Hamish McCardle ผู้ดูแลโครงการนี้ให้สัมภาษณ์ว่า นี่จะเป็นอีกก้าวสำคัญของประชาธิปไตย ซึ่งประชาชนมีส่วนร่วมได้โดยตรง เพราะเมื่อพูดถึงภารกิจของตำรวจแล้ว ผู้คนทั่วไปตามท้องถนนต่างถือว่าเป็นลูกค้าของตำรวจด้วยกันทั้งสิ้น และพวกเขาเหล่านั้นควรจะมีสิทธิ์บอกว่าต้องการตำรวจแบบไหน
นอกจากประชากรในประเทศแล้ว นิวซีแลนด์ยังมองไปถึงผู้สนใจจากต่างประเทศ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายและงานด้านนี้อีกมาก การที่คนกลุ่มนี้สนใจยิ่งช่วยพัฒนากฎหมายฉบับนี้ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
เกือบหนึ่งปีพอดีที่กูเกิลเข้าซื้อ Jotspot บริการวิกิรายบุคคล ไปโดยไม่มีการออกบริการใหม่ออกมาให้เราได้เห็น แต่ล่าสุดทาง Google Blogoscoped ได้เริ่มเห็นเค้าลางของการเปิดบริการใหม่นี้แล้วด้วยความผิดพลาดของทางกูเกิลหลายครั้ง
ทาง Google Blogoscoped รายงานว่ามีการพบหน้า login เข้าไปใช้งานบริการใหม่ที่น่าจะชื่อว่า Google Wiki โดยเชื่อว่าจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในสัปดาห์ที่จะถึงนี้
กูเกิลได้แสดงแนวทางไว้ค่อนข้างชัดแต่แรกว่าบริการของ Jotspot นั้นจะถูกทำไปรวมกับ Google Apps แต่ยังไม่เห็นแนวทางที่ชัดเจนในเรื่องนี้แต่อย่างใด
ที่มา - Google Blogoscoped
ข้อถกเถียงในเรื่องของความน่าเชื่อถือของ Wikipedia ถูกยกขึ้นมาพูดกันหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลังมานี้ โดยเฉพาะเมื่อมีการอ้างอิงข้อมูลไปใช้ในงานจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และมีข่าวการปลอมข้อมูลไปใส่ไว้โดยไม่ได้รับการตรวจสอบอยู่เป็นระยะ
นักวิจัยที่UCSC จึงเสนอทางออกใหม่ที่จะให้ชุมชนใน Wikipedia สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อความที่ถูกแก้ไขได้เร็วขึ้น โดยการเพิ่มแถบสีแสดงความน่าเชื่อถือของแต่ละข้อความเอาไว้
ในขณะที่ Wikia ได้แต่ให้ข่าวเรื่องเสิร์ชเอ็นจิน ที่ผู้ใช้สามารถแก้ไขผลการค้นหาได้ ทาง WikiSeek ได้ก้าวไปก่อนอีกขั้น หลังจากที่ออกเสิร์ชเอ็นจิน ที่ค้นหาข้อมูลจากวิกิพีเดีย และลิงค์ที่ออกไปจากวิกิพีเดียมาแสดง เมื่อตอนเดือนมกราคม
โดยตอนนี้ Wikiseek ได้เพิ่มความสามารถอีกอย่างคือ สามารถแก้ไขบทความจากวิกิพีเดีย ที่แสดงในหน้าผลการค้นหาได้เลย ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็คือการใส่ลิ้งค์แก้ไขบทความเท่านั้น ถ้าแนวคิดของเสิร์ชเอ็นจินที่ผู้ใช้สามารถแก้ไขผลการค้นหาได้ มีแค่นี้ ก็คงยากที่จะต่อกรกับกูเกิลได้ เพราะผลการค้นหายังไม่ค่อยจะถูกต้องเท่าไหร่เลย
บริษัท Wikia ของ Jimmy Wales ผู้ก่อตั้ง Wikipedia (Wikia ให้บริการโฮสต์ Wiki แบบกลุ่ม อย่างงาน YouFest ก็ใช้ Wikia) ได้เผยแผนการพัฒนาเสิร์ชเอนจินที่อนุญาตให้ผู้ใช้แก้ไขผลการค้นหาได้ถ้าไม่ถูกใจ
Gil Penchina ซีอีโอของ Wikia บอกว่าเสิร์ชเอนจินตัวนี้ยังไม่มีกำหนดทำตลาด แต่มีเป้าหมายจะชิงส่วนแบ่ง 5% ของตลาดเสิร์ชมูลค่า 7 พันล้านเหรียญ โดยหารายได้จากโฆษณาเช่นเดียวกับรายอื่น
ผมคิดว่ารูปแบบคงออกมาคล้ายๆ Open Directory Project ผสมกับลิงก์ภายนอกที่อยู่ในด้านล่างสุดของ Wikipedia แต่ละหน้า
ที่มา - Inside Bay Area
กลุ่มนักศึกษาของ De Montfort University ในเมืองเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ได้ร่วมมือกับสำนักพิมพ์ Penguin Books สร้างนิยายเรื่องแรกของโลก ที่เกิดจากการช่วยกันเขียนภายใต้แนวคิดของวิกิ คือทุกคนในโลกมีสิทธิ์ แก้ไข เพิ่มเติมเนื้อเรื่อง หรือคอมเม้นท์ได้ โดยทำผ่านเว็บ http://www.amillionpenguins.com ได้จนถึงสิ้นเดือนนี้ จากที่เข้าไปดูล่าสุดนี่ เขียนกันไปถึงบทที่ 18 แล้ว แถมมีการข้ามบทด้วย
ที่มา - TechNewsWorld
ยักษ์ใหญ่ Google ยังคงใช้กลยุทธขยายบริการโดยการซื้อคู่แข่งระดับแนวหน้าแล้วรวมมาเป็นของตนเอง ล่าสุด Google ได้ซื้อ JotSpot เรียบร้อยแล้ว JotSpot เป็นบริการด้านการสร้างและแก้ไขข้อมูลออนไลน์ ซึ่งมีทั้งสเปรดชีต ปฏิทิน เอกสารข้อความ และอัลบั้มรูป ซึ่งมีกลไกการทำงานแบบ wiki ได้ ของดีก็ย่อมมีค่าบริการเป็นธรรมดา ยกเว้น Google ซึ่งซื้อ JotSpot มาและตั้งใจว่าจะยกเลิกการเก็บค่าบริการตามเคยเหมือนกับการซื้อครั้งถัดๆ มา
นิตรสาร fortune รายงานว่า นักเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศแทนซาเนียใช้วิกิช่วยร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แนวคิดคือให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมสร้างเอกสารที่มีอำนาจเพื่อบีบให้ผู้มีอำนาจทางการเมืองต้องตอบสนอง
บางทีประเทศไทยเราก็น่าจะเอาวิกิมาใช้ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองบ้างเนอะ
อ่านบทความเต็มได้ที่นี่