กูเกิลเปิดตัว DolphinGemma โมเดลภาษาขนาดใหญ่ตัวใหม่ ซึ่งจากชื่อก็พอเดากันได้ว่ามันคือโมเดลภาษาโลมา!
โลมาเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความฉลาดสูง มีภาษาของตัวเองที่สื่อสารระหว่างกันได้ แต่ก็เป็นความยากของมนุษย์ในการทำความเข้าใจภาษาของโลมา เมื่อมีเทคโนโลยีแบบ LLM เข้ามาช่วยเรียนรู้แพทเทิร์นของภาษาโลมา
DolphinGemma เป็นความร่วมมือของกูเกิลกับทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Georgia Tech และโครงการวิจัยโลมา Wild Dolphin Project (WDP) โดยใช้คลังเสียงและฟุตเตจวิดีโอของ WDP ที่สะสมมาตั้งแต่ปี 1985 ร่วมกับโมเดลฐานคือ Gemma ของกูเกิล ตัวโมเดล DolphinGemma ที่เทรนได้มีขนาด 400M พารามิเตอร์ ตอนเทรนใช้เทคนิค SoundStream ของกูเกิลมาแปลงคลื่นเสียงโลมาเป็น token
NVIDIA ร่วมกับสถาบันวิจัย Arc Institute ปล่อย AI ออกแบบ DNA ฝึกจาก DNA สิ่งมีชีวิตกว่าแสนสปีชีส์ เพื่อใช้ค้นหายีน และออกแบบยีนใหม่
รูปแบบการใช้งานทำได้หลากหลาย เช่น ทีมงานใส่ยีนของมะเร็งทรวงอก BRCA1 ให้ Evo 2 พบว่าโมเดลสามารถทำนายว่าเป็นมะเร็งแบบลุกลามหรือไม่ได้แม่นยำถึง 90% หรือการใช้งานอีกแบบหนึ่งคือการตรวจสอบผลข้างเคียงของยีนบำบัดว่ายีนที่แก้ไขไปนั้นมีผลกระทบต่อเซลล์ที่ต้องการเท่านั้นหรือไม่ โดย Evo 2 สามารถออกแบบยีนใหม่ได้ระดับแบคทีเรียง่ายๆ สักตัว
เพื่อความปลอดภัย ทีมวิจัยไม่ได้ฝึกโมเดลกับยีนของเชื้อโรคที่ติดต่อในมนุษย์ป้องกันการนำไปใช้สร้างอาวุธเชื้อโรค
ทีมวิจัยห้องปฎิบัติการ MRC Laboratory of Molecular Biology มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประกาศความสำเร็จในการทำแผนที่สมองแมลงวันทอง (Drosophila fruit fly) ครบทั้งสมอง รวม 140,000 นิวรอน การเชื่อมโยงไซแนปส์รวม 15 ล้านชุด สามารถระบุประเภทเซลล์สมองได้ 8,452 ประเภท จากเดิมที่จำแนกได้เพียง 3,643 ประเภทเท่านั้น
กระบวนการทำแผนที่สมองอาศัยการสไลซ์ตัวอย่างเป็นแผ่นๆ หนา 40 นาโนเมตรแล้วสแกนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จากนั้นใช้ปัญญาประดิษฐ์แยกส่วนของภาพว่าส่วนใดเป็นนิวรอนและเชื่อมต่อกับเซลล์ใดบ้าง จากนั้นยืนยันข้อมูลด้วยนักวิทยาศาสตร์ทั้งในทีมงานเองและนักวิทยาศาสตร์อาสาสมัคร โดยรวมใช้เวลายืนยันการเชื่อมต่อประมาณ 33 ปีทำงาน
คณะนักวิจัยด้านชีววิทยาจากประเทศจีน ค้นพบแมงมุมสายพันธุ์ใหม่ในมณฑลกวางสีของจีน โดยเป็นแมงมุมที่อาศัยอยู่ในถ้ำที่ไม่มีแสงสว่าง ทำให้ความสามารถในการมองเห็นหายไป และกลายเป็นแมงมุมพันธุ์ที่ไม่มีดวงตา
ความพิเศษของเรื่องนี้คือคณะผู้วิจัยตั้งชื่อแมงมุมสายพันธุ์นี้ว่า Otacilia khezu โดย Otacilia เป็นชื่อวงศ์ของแมงมุมลักษณะนี้ ส่วน Khezu มาจากชื่อมอนสเตอร์บินได้ตาบอดในเกมซีรีส์ Monster Hunter ซึ่งเรื่องนี้ถูกเขียนไว้ในเปเปอร์วิจัยอย่างชัดแจ้ง
ทีมวิจัยจาก Indiana University Bloomington รายงานถึงความสำเร็จในการสร้างหน่วยประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้เซลล์สมองจริงๆ มาทดแทนชิปเซมิคอนดักเตอร์ เรียกว่า Bainoware
ทีมวิจัยเลี้ยงกลุ่มเซลล์สมอง (brain organoid) แล้วไปวางบนแผงขั้วไฟฟ้า แล้วต่อขั้วไฟฟ้า จากนั้นแปลงข้อมูลอินพุตให้กลายเป็นการกระตุ้นไฟฟ้าเข้าไปยังเซลล์สมอง แล้วอ่านค่าจากการตอบสนองของเซลล์
นับเป็นเรื่องสะเทือนวงการการศึกษา เมื่อบทเรียนต่าง ๆ รวมถึงบทเรียนที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง “ตารางธาตุ” และ “ทฤษฎีวิวัฒนาการ” กลับถูกถอนจากหลักสูตรของนักเรียนในประเทศอินเดีย
ช่วงต้นปีนี้ สภาวิจัยและฝึกอบรมทางการศึกษาแห่งชาติ (NCERT) ซึ่งเป็นหน่วยงานสาธารณะที่พัฒนาหลักสูตรและตำราเรียนของโรงเรียนอินเดีย ได้ถอน “ตารางธาตุ” ออกจากบทเรียนของชั้นเรียนปีที่ 10 ซึ่งเป็นชั้นปีสุดท้ายที่บังคับเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจะมีเพียงนักเรียนส่วนน้อยที่เลือกเรียนวิชาเคมีในชั้นปีที่ 11 และ 12 เท่านั้นที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตารางธาตุ (โดยชั้นเรียนปีที่10-12 นั้นเทียบเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6ในไทย)
สำหรับผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสายงานสาธารณสุขรวมทั้งผู้ที่บริจาคเลือดอย่างสม่ำเสมอคงพึงเข้าใจเป็นอย่างดีว่าทุกวันนี้การบริหารคลังเลือดเพื่อใช้สำหรับการรักษาผู้ป่วยนั้นเป็นเรื่องสำคัญขนาดไหน ทุกวันนี้ยังคงมีความต้องการรับบริจาคเลือดอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากความต้องการใช้เลือดยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมาปริมาณเลือดสำรองนั้นล้วนมาจากการรับบริจาคทั้งหมด แต่ตอนนี้มีความเป็นไปได้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์ที่อาจมาช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนเลือดได้ นั่นคือการใช้ "เลือดสังเคราะห์"
ศาสตราจารย์ Ugur Sahin และ Ozlem Tureci ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท BioNTech ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโควิดให้กับ Pfizer เผยว่า ขณะนี้กำลังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่นำ mRNA มาใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งอาจจะรักษามะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ใหญ่ และเนื้องอกชนิดอื่น ๆ ได้ และน่าจะนำมาใช้กับผู้ป่วยได้ก่อนปี 2030
งานวิจัยใหม่จากญี่ปุ่นยืนยันสิ่งที่เจ้าของหมาหลายคนอาจนึกสงสัยมานานว่าเวลาพวกเขาไปทำงานนั้นน้องหมาที่บ้านคิดถึงพวกเขามากไหม และผลการทดลองวิจัยพบว่าน้องหมาก็คิดถึงเจ้าของเป็นเหมือนกัน และมันจะดีใจมากจริงๆ เวลาที่ได้กลับมาเจอกัน จนถึงขนาดหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขมากมายจนน้ำตาไหล
จุดเริ่มต้นของงานวิจัยนี้เริมมาจากตัวนักวิจัยเองซึ่งเลี้ยงหมาเอาไว้ เมื่อหนึ่งในหมา 2 ตัวของเขาคลอดลูกออกมาใหม่ เขาสังเกตมันแล้วพบว่าดวงตาของมันดูเหมือนมีน้ำตามากกว่าปกติ และเขารู้สึกว่ามันน่ารักยิ่งกว่าเคย นั่นทำให้เขารู้สึกสงสัยว่าปริมาณน้ำตาของน้องหมาสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนในร่างกายของหมาโดยเฉพาะฮอร์โมนออกซิโตซินซึ่งเรียกว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความรักหรือไม่
นักวิจัยสร้างกระจกตาเทียมด้วยคอลลาเจนจากหนังหมู นำมาทดลองปลูกถ่ายให้อาสาสมัคร 20 ราย ทำให้ผู้รับการปลูกถ่ายได้การมองเห็นกลับคืนมา
งานวิจัยนี้ประกอบไปด้วยสมาชิกทีมวิจัยจากหลายสถาบันใน 3 ประเทศ อันได้แก่สวีเดน, อิหร่าน และอินเดีย โดยมีการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาเทียมแล้วเฝ้าติดตามผลหลังการผ่าตัดนาน 2 ปี ก่อนมีการสรุปผลวิจัย
เชื่อว่าเกือบทุกคนรู้จักภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park ภาคแรกกันดี กับเรื่องราวการคืนชีพให้ไดโนเสาร์โดยอาศัยเทคนิคการตัดต่อพันธุกรรมเข้าช่วย ในตอนนั้นแนวคิดนี้ดูล้ำยุคไปมากจนหลายคนคงยากจะจินตนาการว่าจะมีใครพยายามทำสิ่งที่ใกล้เคียงกันให้เกิดขึ้นได้จริง
แต่ตอนนี้มีคนกลุ่มหนึ่งประกาศตัวด้วยเป้าหมายยิ่งใหญ่ที่จะคืนชีพให้สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วด้วยเทคโนโลยีด้านพันธุกรรมศาสตร์คล้ายคลึงกับสิ่งที่เห็นจากภาพยนตร์ พวกเขาคือ Colossal บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากสหรัฐอเมริกา และโครงการแรกคือการคืนชีพให้เสือแทสมาเนียที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
นักวิจัยจากญี่ปุ่นค้นพบว่าหมูสามารถรับเอาออกซิเจนเข้าทางรูทวารหนักได้แทนการหายใจตามปกติทางจมูกและปาก ซึ่งนี่อาจนำไปสู่แนวทางใหม่สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
ทีมนักวิจัยพบจาก Tokyo Medical and Dental University ได้ทำการทดลองอัดของเหลวที่มีส่วนผสมของออกซิเจนเข้าทางรูทวารหนักผ่านไปยังลำไส้ของหมู ทำให้มันสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้แม้ไม่มีการหายใจด้วยปอด กล่าวคือร่างกายของหมูสามารถรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านลำไส้
ซึ่งการวิจัยทดลองนี้มาจากการสังเกตธรรมชาติของปลาชนิดหนึ่ง ก่อนจะเริ่มทดลองกับสัตว์ขนาดเล็กอย่างหนู และมาสู่การทดลองกับหมูในงานวิจัยล่าสุด ซึ่งอนาคตก็เตรียมจะทำการทดลองกับร่างกายคนเป็นลำดับถัดไป
หนึ่งในโรคที่ทาสแมวรู้จักกันดีคือโรคไข้ขี้แมว หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือโรค Toxoplasmosis เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวที่มีชื่อว่า Toxoplasma gondii (T.gondii) ซึ่งนักวิจัยทำการทดลองและตั้งข้อสังเกตว่าเชื้อดังกล่าวอาจมีผลทำให้ร่างกายของผู้ติดเชื้อมีเสน่ห์ทางเพศเพิ่มมากขึ้น
โรค Toxoplasmosis นั้นพบได้มากในแมวก็จริง แต่ความจริงแล้วสัตว์ฟันแทะและมนุษย์ก็สามารถเป็นโรคนี้เมื่อติดเชื้อ T.gondii ได้เช่นกัน สำหรับคนที่ติดเชื้อนี้นอกเหนือจากอาการเจ็บป่วยอย่างต่อมน้ำเหลืองอักเสบ, ตัวร้อน, ปวดกล้ามเนื้อแล้ว แต่นอกเหนือไปจากนั้นนักวิจัยพบว่ามันยังมีผลทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในผู้ติดเชื้อที่เป็นเพศชายเพิ่มสูงขึ้นด้วย อีกทั้งยังพบว่าผู้ติดเชื้อไข้ขี้แมวยังมีลักษณะโครงหน้าที่มีความสมมาตรมากกว่าผู้ไม่ติดเชื้อ
Stanley Qi ผู้ช่วยศาสตรจารย์ด้านวิศวกรรมพันธุกรรมมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและทีมงาน นำเสนองานวิจัย CasMINI ระบบการตัดต่อพันธุกรรมที่ใช้โปรตีนสั้นกว่า CRISPR ลงครึ่งหนึ่ง เปิดทางให้ใช้เทคนิคนี้สร้างกระบวนการพันธุกรรมบำบัด (gene therapy) แบบใหม่ๆ
CRISPR เดิมนั้นใช้ยีน Cas9 หรือ Cas12 เป็นตัวตัดต่อพันธุกรรม โดยทั้งสองแบบมีความยาวโปรตีนประมาณ 1000-1500 กรดอมิโน แต่ CasMINI นั้นมีความยาว 529 กรดอมิโน
กระบวนการสร้าง CasMINI ตั้งต้นจากยีน Cas12f ที่พบในสัตว์เซลล์เดียว โดยมันมีความยาวเพียง 400-700 กรดอมิโนเท่านั้น แต่ไม่สามารถตัดต่อพันธุกรรมมนุษย์ได้ ทีมวิจัยปรับแต่งโปรตีนประมาณ 40 จุดเพื่อพยายามให้ใช้กับมนุษย์ได้ในที่สุด
เหตุโรคระบาด COVID-19 ทำให้คนจำนวนมากรู้จักเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่นเทคโนโลยีเชื้อตายที่เป็นเทคโนโลยีผลิตวัคซีนที่มีมายาวนาน และเหตุโรคระบาดครั้งนี้ก็มีวัคซีนเชื้อตายถึง 3 ตัว อีกเทคโนโลยีคือ mRNA ที่เพิ่งมีถูกใช้พัฒนาวัคซีนเพื่อใช้งานเป็นวงกว้างครั้งแรก
ในงาน TEDxBeaconStreet เมื่อปี 2013 Stéphane Bancel ผู้ก่อตั้งบริษัท Moderna ได้บรรยายถึงไว้ว่าทำไมเทคโนโลยี mRNA จึงเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ไม่หยุดแค่การสร้างวัคซีนต่อต้านไวรัสใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังมีโอกาสสร้างยาใหม่ๆ สู้โรคที่เราไม่เคยรักษาได้มาก่อน
Darren Pollock นักวิจัยด้านแมลง (กีฏวิทยา) จากมหาวิทยาลัย Eastern New Mexico University ในสหรัฐอเมริกา ค้นพบแมลงปีกแข็ง 3 สายพันธุ์ใหม่ในทวีปออสเตรเลีย เขาจึงตั้งชื่อแมลงทั้ง 3 สายพันธุ์นี้ว่า Articuno, Moltres, Zapdos (ชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการคือ Binburrum articuno, Binburrum moltres, Binburrum zapdos)
หากใครเป็นแฟนเกมหรือการ์ตูนซีรีส์โปเกมอนคงรู้จักชื่อทั้งสามกันดี เพราะเป็นชื่อโปเกมอนนกในตำนาน (legendary birds) ของโปเกมอนภาคแรกสุด (Red, Blue, Yellow) โดยเป็นตัวแทนของนกธาตุน้ำแข็ง สายฟ้า และไฟ ตามลำดับ
DeepMind เปิดตัวปัญญาประดิษฐ์ AlphaFold2 สำหรับการทำนายโครงสร้างการ "พับ" ของโปรตีน ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำนายกระบวนการทำงานของโปรตีนแต่ละตัวได้รวดเร็วขึ้นในราคาถูกลง เปิดทางการพัฒนายาให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ห้องวิจัยแห่งชาติ Oak Ridge National Laboratory (ORNL) ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ เป็นเจ้าของ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับหนึ่งของโลก Summit มาตั้งแต่ปี 2018 ล่าสุด ORNL ประกาศว่านำ Summit มาใช้วิเคราะห์สารประกอบของตัวยา (drug compound) เพื่อพัฒนาวัคซีนต่อต้านไวรัส SARS-CoV-2 ที่เป็นต้นเหตุของโรค COVID-19
นักวิจัยนำ Summit มารันซิมูเลเตอร์เพื่อทดสอบสารประกอบกว่า 8,000 ตัว คัดหาสารประกอบที่มีโอกาสไปเกาะกับหนาม (spike) ของไวรัสโคโรนา เพื่อไม่ให้ไวรัสไปติดเซลล์ ผลคือสามารถคัดหาสารประกอบ 77 ชนิด ที่จะนำไปคัดเลือกต่อในขั้นถัดไป
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย The University of Texas at Austin และ National Institutes of Health ประกาศความสำเร็จในการสร้าง "แผนผัง 3 มิติ" ที่ครอบคลุมบางส่วนของไวรัสโคโรนา COVID-19 ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของการสร้างวัคซีนเพื่อต่อสู้กับไวรัส
Jason McLellan หัวหน้าคณะนักวิจัย (คนซ้ายในภาพ) เคยศึกษาไวรัสโคโรนาตัวอื่นๆ (เช่น SARS-CoV และ MERS-CoV) อยู่ก่อนแล้ว และพัฒนาวิธีการล็อค "หนาม" (spike) ของไวรัสที่ยื่นออกมารอบตัว เพื่อให้วิเคราะห์ไวรัสได้ง่ายขึ้น เมื่อไวรัส COVID-19 ระบาด ทีมงานก็เริ่มลงมือทำงานทันที เพราะมั่นใจว่าความเชี่ยวชาญที่ผ่านมาจะช่วยให้สร้างผังไวรัสได้เร็ว
กูเกิลร่วมกับห้องวิจัย Janelia Research Campus ภายใต้สถาบัน Howard Hughes Medical Institute (HHMI) และนักวิจัยพันธมิตร ปล่อยข้อมูล "hemibrain" แผนที่การเชื่อมต่อนิวรอนในสมองแมลงวันแบบรายละเอียดสูง
ชุดข้อมูลนี้ได้จากภาพสามมิติครึ่งหนึ่งของสมองแมลงวัน ตรวจสอบแล้วว่าเป็นการเชื่อมต่อระหว่างนิวรอนประมาณ 25,000 นิวรอน รวมจุดเชื่อมต่อกว่า 25 ล้านชุด
หนึ่งในแนวคิดเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของยุคนิคมอวกาศในอนาคตคือเรื่องการรักษาอาการบาดเจ็บโดยอาศัยชิ้นส่วนอวัยวะที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และตอนนี้บริษัทผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ 3 มิติ 2 ราย ได้ร่วมมือกันพัฒนาเครื่องพิมพ์ดังกล่าวและเตรียมจะส่งไปให้นักบินอวกาศได้ใช้งานกันบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS)
บริษัทที่ว่านี้คือ Allevi ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องพิมพ์เนื้อเยื่อและชิ้นส่วนอวัยวะ และ Made in Space ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่มีการใช้งานอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติมาก่อนแล้ว
อินเดียประกาศให้ประชาชนระวังการแพร่ระบาดของไวรัสนิปาห์ (Nipah) หลังมีรายงานว่าเมืองโคษิโฆษ (Kozhikode) เมืองทางใต้ของอินเดียมีผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตแล้ว 10 ราย
ไวรัสนิปาห์ (Nipah henipavirus, Nipah virus, NiV) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1998 ในประเทศมาเลเซีย แต่มีการรายงานว่าระบาดสู่มนุษย์ที่ประเทศบังกลาเทศในปี ค.ศ. 2004 และพบว่าระบาดจากคนสู่คนครั้งแรกในประเทศอินเดียเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (22 พ.ค. 2018)
โรคหัวใจ หนึ่งในโรคที่พรากชีวิตมนุษย์ทั่วโลกรวมถึงประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศไทย โดย น.พ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้แถลงในปีพ.ศ. 2556 ไว้ว่า คนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจโดยเฉลี่ย 6 คน ในทุก 1 ชั่วโมง
องค์การอนามัยโลกได้ทำนายว่าภายในปีพ.ศ. 2573 จะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นสูงถึง 23 ล้านคน ซึ่งสาเหตุการป่วยโรคหัวใจในขณะนี้ เกือบ 100% เป็นผลมาจากโรคที่เกิดจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง และมีโรคเป็นตัวเร่งสำคัญ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และความอ้วน ซึ่งล้วนเป็นโรคที่มีผลต่อหลอดเลือดทั้งสิ้น
ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง หัวหน้าโครงการโรคมะเร็งในเด็ก และคณาจารย์แพทย์สาขาวิชาโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกับ ศ.ฟิลลิป เลอโบช (Philippe Leboulch) นักวิจัยจาก University of Paris และทีมแพทย์จากสหรัฐอเมริกา Harvard Medical School ได้ค้นพบวิธีการรักษาธาลัสซีเมียหรือโรคโลหิตจางโดยเปลี่ยนจากวิธีการถ่ายเลือดของผู้ป่วยเป็นการเข้าไปบำบัดที่ยีน โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากพ่อแม่ของผู้ป่วยนำมาทดลองรักษา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่ของวงการการรักษาโรคธาลัสซีเมียแล้วประสบความสำเร็จได้
เช้ามืดของวันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 1976 ณ มุมหนึ่งใน Rancho Cordova เมืองทางตะวันออกของ Sacramento รัฐ California ประเทศสหรัฐอเมริกา ในยามที่ผู้คนส่วนใหญ่กำลังหลับใหลและเตรียมที่จะตื่นออกไปทำงานอีกวันเฉกเช่นวันปกติที่ผ่านมา แต่สำหรับหญิงสาวคนหนึ่งแล้ว นั่นคือช่วงเวลาฝันร้ายของชีวิต เธอถูกชายแปลกหน้าบุกเข้ามาทำร้ายและข่มขืนถึงในบ้าน และนั่นคือจุดเริ่มต้นของตำนานอาชญากรที่สุดแสนน่าสะพรึง