ใครบอก feed ยังไม่ตายต้องคิดใหม่แล้วครับ เว็บอ่าน feed ที่เป็นที่นิยมที่สุดอย่าง Google Reader ได้ประกาศปิดตัวในวันที่ 1 สิงหาคม 2556 ไปแล้วเปิดให้สมาชิด download ข้อมูลเก็บกลับไปเป็น JSON ได้
สิ่งที่ตามมาคือบุคคลตกยุคอย่างผมต้องหาอะไรทดแทนเช่น Google Currents (google ตั้งใจไล่ใช่ไหมเนี่ย), Pulse หรือ Flipboard
จากผู้ช่วยเหลือกว่าพันคน และเวลาผ่านไปเกือบ 3 ปี (รุ่น 6.0 ออกวันที่ 13 เดือนกุมภาพันธ์ 2551) ในที่สุด Drupal ก็ออกรุ่น 7.0 ได้ในวันที่ 5 มากราคม 2554
โดยรับรองว่ารุ่น 7.0 นี้ได้มีการทดสอบดีกว่ารุ่น 6.0 แน่นอน โดยมีแผนที่จะทดสอบกว่า 28,000 รายการ และมีเว็บไซต์กว่าพันไซต์ที่ทดสอบโดยใช้งานจริงอยู่ ซึ่งถ้าถึงกำหนดแล้วยังผ่านชุดทดสอบไม่หมด ก็ยกยอดการแก้ไขไปรุ่น 7.1 แทน ยกเว้นเจอปัญหาที่ร้ายแรงก็อาจจะชลอการออก 7.0 ออกไป
ส่วนแผนการเฉลิมฉลองจะจัดในวันที่ 7 มกราคม 2554 มีประเทศเข้าร่วมการฉลองกว่า 50 ประเทศ และที่แน่นอน ปราศจากประเทศไทย งานที่ใกล้ที่สุดคือเวียดนาม
ที่มา : Dries Buytaert
BlindElephant เป็นซอฟต์แวร์ command-line โอเพนซอร์สสำหรับดูรายละเอียดเว็บอื่น ๆ ว่าใช้ระบบจัดการเนื้อหาตัวใดและรุ่นไหน และได้มีการทดสอบเรียกใช้งานกับคอมพิวเตอร์แม่ข่ายล้านกว่าตัว ดังผลที่ปรากฏในรายงาน Web Application Fingerprinting and Vulnerability Inferencing และจากการที่เรารู้ว่าใช้ระบบจัดการเนื้อหาตัวใดและใช้รุ่นไหน แล้วถ้าผู้ดูแลระบบไม่มีการปรับปรุงตัวซอฟต์แวร์ไปใช้รุ่นที่ปลอดภัย จะทำให้สามารถสามารถเจาะระบบเข้าไปอย่างไม่ยาก
การนำไปใช้งาน
บล็อก
การจัดการงานเอกสาร
E-Commerce
Forum
ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และการดูแลรักษาระบบ
Caching - สำหรับเก็บหน้าเว็บที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก
ทำหน้าเว็บแบบคงตัว - ไว้สำหรับหน้าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น about
Permission
การจัดทำเว็บไซต์ทั่วไป
การติดตั้ง
การเรียนรู้ในการใช้งาน
เวลาผ่านไป โลกของ CMS ก็เปลี่ยนตาม หลังจากเขียนเกี่ยวกับหัวข้อนี้ครั้งแรกในปี 2007 ซึ่งตอนนั้นยังเป็นโลกของ Mambo และ Joomla! กาลเวลาผ่านไป 3 ปี Mambo ตายไปและปัจจุบันกลายเป็นโลกของ Joomla!, Drupal และ Wordpress ซึ่งทั้ง 3 ต่างได้รับรางวัล Best CMS Award ของสำนักพิมพ์ Packt แต่แน่ล่ะเมื่อมีตัวเลือกมากขึ้น สำหรับมือใหม่ก็คงยากในการตัดสินใจเลือกใช้ (มือเก่าคงไม่เปลี่ยนง่าย ๆ ด้วยหลายเหตุผล เช่น เคยมือ ง่ายในการดูแลรักษา)
และตัวเลือกที่นำมาเปรียบเทียบในบทความนี้ แน่นอน ต้องตามใจผู้เขียน ดังนั้นผมจึงขอนำเฉพาะ CMS ยอดนิยมมาเปรียบเทียบ Joomla!, Drupal, Wordpress และขอเพิ่ม TYPO3 อีก 1 ตัวเช่นเดิม ส่วน CMS อื่นที่พอเป็นที่นิยมในไทยก็ขอกล่าวคร่าว ๆ คือ
ในวันที่ 13 พศจิกายน 2552 ทางสำนักพิมพ์ Packt ได้ประกาศรางวัลสำหรับโอเพนซอร์ส CMS รางวัลสุดท้ายซึ่งคือรางวัล Overall โดย MODx และ SilverStripe ได้รางวัลที่ 2 ทั้งคู่ซึ่งมีผลดังนี้
1. WordPress ได้เงิน 4,000 เหรียญสหรัฐ
2. MODx ได้เงิน 2,000 เหรียญสหรัฐ
2. SilverStripe ได้เงิน 2,000 เหรียญสหรัฐ
จากผลที่ออกมาไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใดที่ WordPress จะเป็นผู้ชนะ แต่ที่น่าประหลาดใจคือ ทั้ง Plone และ DotNetNuke ซึ่งอยู่ในรายชื่อผู้เข้าชิง ไม่สามารถเบียดเข้ามาติด 1 ใน 3 ได้ ฤาอาจจะกล่าวได้ว่าโลกของ CMS ต้องเป็น PHP เท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ในวันที่ 12 พศจิกายน 2552 ทางสำนักพิมพ์ Packt ได้ประกาศรางวัลสำหรับโอเพนซอร์ส CMS เพิ่มอีก 1 รางวัล คือ Hall of Fame ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับผู้ที่เคยชนะในรางวัล Best Overall มาก่อน ซึ่งมีผลดังนี้
รางวัลนี้ทำให้ Drupal รับเงินไปเหนาะ ๆ 6,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งปีก่อน ๆ เอาเงินไปซื้อเครื่องแม่ข่ายใหม่ ไม่ทราบปีนี้จะนำไปใช้ในส่วนไหน และยังมีรางวัลย่อยของผู้ที่อยู่ในรายชื่อ Hall of Fame คือ
Drupal Award ซึ่งมี 2 รางวัลคือ
ในวันที่ 11 พศจิกายน 2552 ทางสำนักพิมพ์ Packt ได้ประกาศรางวัลสำหรับโอเพนซอร์ส CMS เพิ่มอีก 1 รางวัล คือ Most Promising Open Source CMS ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับน้องใหม่โดย Pixie และ Pligg ได้รางวัลที่ 2 ทั้งคู่ รายชื่อทั้งหมดมีดังนี้คือ
1. ImpressCMS ได้เงิน 2,000 เหรียญสหรัฐ ImpressCMS นี้ได้รางวัลที่ 3 ในหัวข้อเดียวกันนี้ในปีที่แล้ว ImpressCMS ได้แยกตัวออกมาจาก XOOPS ในปลายปี 2550 แม้จะไม่ประสบความสำเร็จดังเช่น Joomla! แต่ก็นับเป็น PHP CMS ที่น่าสนใจอีกตัว
หลังจากสำนักพิมพ์ Packt จัด Open Source CMS Award มาได้ 4 ปี (เริ่มปี 2549) ก็เริ่มรู้ตัวว่ารางวัล Best Overall ไม่ว่าจัดกี่ปีคงไม่หนี Joomla! หรือ Drupal ไปได้ เลยออกกฏใหม่ว่าว่าผู้ที่เคยได้รางวัลนี้ จะอดได้รางวัลนี้อีกต่อไป ซึ่ง Joomla! (2549) และ Drupal (2550, 2551) อดได้เงินก้อนใหญ่อย่างแน่นอน โดยจะจัดเข้าสู่ Hall of Fame โดยจะมีการโหวตสำหรับ Theme กับ Extention สำหรับ Joomla! และ Theme กับ Module สำหรับ Drupal
ในวันที่ 9 พศจิกายนนี้ ผล Best Other Open Source CMS ได้ถูกประกาศออกมา โดย
จากข่าวสมาคม GSM ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลเอเชีย โมบายล์ แล้ว บริษัทจากไทยมีชื่อเข้าชิง AMA 2008 นี้ในหัวข้อ Best Mobile Money Service ดังนี้
Packtpub Award สำหรับ CMS โอเพนซอร์ส ปี 2008 ได้แก่ (แท่น แท้น)
เป็นการป้องกันตำแหน่งได้สำเร็จของ Drupal โครงการโอเพนซอร์สนี้ถือกำเนิดในปี 2001 โดย Dries Buytaert Drupal ได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีคนดาวน์โหลด 1.5 ล้านครั้งใน 12 เดือน ตัวอย่างบางส่วนของผู้ใช้ในบริษัทยักษ์ใหญ่เช่น Warner Brothers Music, MTV UK, และ the New York Observer (หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่)
Packtpub Award สำหรับโอเพนซอร์ส CMS ดาวรุ่งปี 2008 ได้แก่
Packtpub Award สำหรับ CMS ที่เขียนในภาษา PHP ปี 2008 ได้แก่
Packtpub Award สำหรับ CMS ที่เขียนในภาษาอื่นที่ไม่ใช่ PHP ปี 2008 ได้แก่
หลังที่ผมเขียน ศึกจ้าว CMS เวลาผ่านไป CMS แต่ละตัวก็มีการปรับตัวเพื่อสู้ศึกในโลกของ CMS ที่มีการแข่งขันสูง ผมขอเสนอแนวทางการพัฒนาของ 4 CMS หลัก (เหตุผลที่เลือก 4 ตัวนี้กรุณาอ่านบทความตามลิงก์บทความเก่า)
รางวัล CMS Award '07 จัดโดยโรงพิมพ์ Packt ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับ CMS รายใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเปิดให้มีการโหวตเป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อคัดเลือกผู้เข้ารอบ 5 ตัวสุดท้าย แล้วให้คณะกรรมการคัดเลือกผู้ชนะ และรายชื่อผู้ชนะรางวัล CMS Award '07 คือ
2007 Overall Open Source Content Management System Award ซึ่งเป็นรางวัลที่ใหญ่ที่สุด สำหรับ CMS ที่ดีที่สุด ได้แก่
หมัดเก้า การใช้งานร่วมกับภาษาไทย
เนื่องจากปัจจุบัน CMS ทั้ง 4 ตัวนี้ต่างเลิกสนับสนุนตระกูล ASCII ไปสนับสนุน Unicode ดังนั้นจึงมีปัญหากับภาษาไทยน้อย ยกเว้นเป็นผู้ใช้เก่า โดยเฉพาะผู้ใช้ Mambo ซึ่งในการปรับปรุงให้เป็นรุ่นใหม่แต่ละครั้งช่างยากเย็น เพราะนโยบายที่ประกาศออกบางครั้งไม่เป็นอย่างที่บอก แต่เนื่องจากปัญหากับภาษาไทยนั้นเป็นปัญหาค้างจากผู้ใช้เก่า ดังนั้นเราจึงสามารถมุ่งความสนใจไปสู่ส่วนภาษาไทยของผู้ดูแลและส่วนแสดงผล
หมัดเจ็ด การบริโภคทรัพยากร
"พลังอำนาจอันยิ่งใหญ่จะมาพร้อมกับความรับผิดชอบมหาศาล" ประโยคนี้จะนำมาใช้กับ CMS "ความสามารถอันยิ่งใหญ่จะมาพร้อมกับการบริโภคทรัพยากรมหาศาล" ได้เช่นเดียวกันหรือไม่ ลองติดตามดูครับ
Drupal ตัวโปรแกรมมีขนาดเล็ก การจัดการ cache ดีเยี่ยม เมื่อเทียบกับ CMS อื่นถือได้ว่าบริโภคทรัพยากรน้อยจริง ๆ
Joomla! และ Mambo ใน version ปัจจุบันนี้ความแตกต่างของ 2 ตัวนี้น้อยมาก คือทั้งสองตัวขนาดไฟล์ใหญ่ และบริโภคทรัพยากรมากพอ ๆ กัน
หมัดห้า ผลที่ได้
จากความสามารถที่หลากหลายของ CMS ทำให้เราสามารถนำ CMS ไปใช้ในรูปแบบต่าง ๆ กันได้มากมาย เราลองมาดูว่า CMS แต่ละตัวเมื่อนำไปใช้งานในลักษณะต่าง ๆ แล้ว จะมีผลที่ได้ออกมาอย่างไร
Blog
หมัดสาม การนำไปใช้งาน
หมัดแรก ชุมชนนักพัฒนา เป็นที่แน่นอนว่า อนาคตของ CMS ย่อมขึ้นอยู่กับชุมชนนักพัฒนา เพราะคุณคงไม่มานั่งเขียนเองหรอก (ถ้าคิดจะเขียนเองคงไม่มาใช้ CMS หรอก) และคุณอาจจะดูปริมาณการใช้งาน CMS แต่ละตัวคร่าว ๆ ได้ดังนี้
ในปัจจุบัน การจัดทำเว็บไซต์ที่เริ่มจากศูนย์ ตั้งแต่หน้าตาเว็บ การติดต่อฐานข้อมูล ระบบสมาชิก ฯลฯ คงไม่ใช่ความคิดที่ดีสักเท่าไหร่ ดังนั้นการจัดหาเครื่องมือในการคงจะเป็นความคิดที่ดีกว่า และตัวช่วยที่ดีคือ CMS (Content Management System) การเลือก CMS ที่เหมาะสมจะช่วยให้งานสำเร็จลงอย่างง่ายดาย และมีประสิทธิภาพ