ปัญหาสำคัญมากอันหนึ่งของโครงการ Mono (.NET เวอร์ชันโอเพนซอร์ส) คือไมโครซอฟท์ถือครองสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใน .NET Framework อยู่หลายชิ้น และไม่มีอะไรรับประกันว่าในอนาคตไมโครซอฟท์จะไม่ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ (เช่น ฟ้องบริษัทที่นำ Mono ไปใช้งานว่าละเมิดสิทธิบัตรของ .NET)
ไมโครซอฟท์เคยสัญญาว่าจะไม่ดำเนินการในเรื่องนี้ แต่นั่นก็เป็นแค่สัญญาลมปาก (ยกเว้นสัญญาที่เคยตกลงกับ Novell แต่นั่นก็คุ้มครองแค่ Novell) ล่าสุดไม่เป็นแค่ลมปากแล้ว
โครงการ Community Promise ของไมโครซอฟท์คือการอนุญาตให้ใครก็ได้ สามารถพัฒนา แจกจ่าย ขาย หาประโยชน์ ดัดแปลงเทคโนโลยีตามสเปกของไมโครซอฟท์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ต้องขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร (แนวคิดคล้ายๆ กับ Creative Commons) ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ได้นำเทคโนโลยีบางตัวเข้าร่วมโครงการ Community Promise บ้างแล้ว เช่น สเปกของ XPS และ VBA ส่วนล่าสุดนั้นไมโครซอฟท์จะดันเทคโนโลยีอีกสองตัวเข้ามาเพิ่ม ได้แก่ C# และ CLI (Common Language Infrastructure)
ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของไมโครซอฟท์จะคล้ายๆ กับข่าว Adobe เปิดสเปก Flash เตรียมรุกตลาดมือถือ ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกันคือเพิ่มจำนวนผู้ใช้เทคโนโลยีของตัวเอง โดยลดข้อจำกัดลง
โครงการที่ได้รับประโยชน์เต็มๆ จากคำประกาศของไมโครซอฟท์คือ Mono อย่างไรก็ตาม โครงการ Mono มีส่วนประกอบอีกหลายอย่างนอกเหนือไปจาก C# และ CLI (ซึ่งหลายๆ อย่างก็ยังติดสิทธิบัตรของไมโครซอฟท์ เช่น ASP.NET หรือ ADO.NET) ทาง Miguel De Icaza หัวหน้าโครงการ Mono ได้แสดงความยินดีกับคำประกาศของไมโครซอฟท์ผ่านบล็อกของเขา และระบุว่า Mono จะแยกตัวเองเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ปลอดภัยจากปัญหาทางกฎหมายแน่ๆ (ได้แก่ C#/CLI) และส่วนประกอบอื่นๆ ที่ยังมีความเสี่ยงทางกฎหมาย (เช่น ASP.NET/ADO.NET/Win.Forms) การแยกเป็นสองส่วนนี้จะทำให้ดิสโทรที่กังวลเรื่องกฎหมายอย่าง Debian สะดวกมากขึ้นในการรวม Mono ลงในดิสโทร (รวมแต่ก้อนแรกก้อนเดียวพอ)
Comments
ความฝัน Write once, Run anywhere ในแบบ .net คงไม่ไกลเกินเอื้อมแล้วสินะครับ
แล้วทำไมไมโครซอฟท์ไม่ทำ .NET ของ Linux เลยหว่า ?
ผมว่าอาจจะเป็นการตัดรายได้ตัวเองครับ
เพราะส่วนตัวผม ถ้ารัน visual studio กับ windows live messenger บน linux ได้ ผมก็ไม่ใช้ windows แล้วครับ (เพราะผมไม่ชอบโปรแกรม messenger ของ linux เท่าไหร่ - -")
ที่จริงทำแค่ Library .NET สำหรับลีนุกซ์ก็ได้นี่นา แล้วที่เหลือก็โยนให้ชุมชนไปทำกันเองตามประสาลูกเมียน้อย
บน Ubuntu ผมใช้ Emesene (เดาว่าคงออกเสียงว่า เอ็ม เอส เอ็น - -") นะ หน้าตาออกจะ MSN for Linux จริงๆ (ไม่ค่อยชอบ Pidgin กับ aMSN)
ถ้าเป็นแบบนั้นก็แสดงว่า .Net จะรันจากที่ไหนก็ได้จริงๆ จนอาจจะทำให้ลูกค้าที่ยังยึดติดกับ Windows อยู่ย้ายไป Linux มากขึ้นครับ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อ Microsoft แน่ๆ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมอ่าน อี เม เซ เน่
My Experiences : Pexeriences
ผมอ่าน เอม เอส เอน
onedd.net
onedd.net
ผมด้วย ต้องลากเสียงยาวๆด้วยนะ
เอมม เอสส เอนนนน
ต้อง เอม เมส เซน ครับ จะได้เสียงเหมือนกันเลย
ก็ดีครับ จะได้ใช้ผลิตภัณฑ์จาก Mono อย่างสบายใจซักที (ตอนนี้ Banshee และ Tom Boy)
My Experiences : Pexeriences
ในส่วนที่จะ Apply Community Promise เห็นว่าจะเป็น ECMA 334 กับ ECMA 335 ซึ่งในตัวมาตรฐานหลังมันจะรวมในส่วน mscorlib, System และ System.Xml แต่ก็อย่างในเนื้อข่าวบอกว่าไม่ได้รวมไปถึง ASP.NET, ADO.NET, System.Data, Winforms ซึ่งเท่าที่รู้ไม่มี App ตัวไหนใน GNOME ที่ใช้ library ที่เป็นข้อยกเว้นนี่เลย ก็เป็นเรื่องน่ายินดี นับว่าการประกาศและแสดงท่าทีที่ชัดเจนของ Microsoft ครั้งนี้ ก็ช่วยปลดชนวนที่เป็นเรื่องถกเถียงกันอยู่พอสมควร
เสียดายยังไม่รวม Windows.Form
ผมคิดว่าการออกมาทำแบบนี้จะไม่เป็นการตัดรายได้ของ Microsoft นะ
เดาว่า ลึกๆแล้วอาจจะมีแผนขาย Microsoft Office และแพคเกจอื่นๆ ลง Linux กับ Mac โดยไม่ต้องจัดทีมพัฒนาแยกกัน และไม่ต้องยุ่งยากในการแยกไฟล์ ทำให้ User ตัดสินใจใช้สินค้าของ MS ง่ายขึ้น
รวมทั้งการทำเทคโนโลยีเซิร์ฟเวอร์ในอนาคต ที่อาจจะมีการเชื่อมต่อกันระหว่างแบบแนบแน่น เพื่อให้ Windows Server ขายได้มากขึ้นในฐานะ Server ที่รองรับ .Net ได้มีประสิทธิภาพที่สุด
หรือบางที ผมก็รู้สึกว่า ไมโครซอฟท์กำลังดำเนินแผนอื่น ที่จะไม่เกี่ยวข้องกับ OS ผมรู้สึกว่าตอนนี้ เทคโนโลยี OS ค่อนข้างตีบตัน สิ่งที่พัฒนาได้มีแต่ Interface ที่สวยงามขึ้น และใช้ง่ายขึ้น อย่างมากก็ระบบจัดการที่ฉลาดขึ้น
Microsoft อาจจะมีแผนทิ้ง PC OS ไปทำอย่างอื่นก็ได้
keep eyes on Dublin and Silverlight