Tags:
Node Thumbnail

โครงการวิจัยของอินเทลในเรื่องของชิปรุ่นใหม่สำหรับทำวิจัยที่อาศัยสถาปัตยกรรม Tile Computing นั้นเคยเปิดตัวออกมาตั้งแต่ปี 2007 ในชื่อ Terascale แล้วหายตัวไปจากสารระบบ แต่วันนี้มันกลับมาแล้วในชื่อ SCC หรือ Single-chip Cloud Computer

SCC เป็นชิปที่ประกอบไปด้วยคอร์ x86 จำนวน 48 คอร์ แบ่งออกเป็น 24 ชุดประมวลผล แต่ละชุดเป็นสองคอร์มีแคชในตัวเอง และตัวหาเส้นทางข้อมูล (router) อีกหนึ่งชุด และชุดประมวลผล 6 ชุดจะรวมกันเพื่อใช้ตัวควบคุมหน่วยความจำร่วมกัน ทำให้ SCC มีตัวควบคุมหน่วยความจำ 4 ชุดอิสระจากกัน

การใช้พลังงานสามารถปรับเปลียนไปมาจาก 25W ไปถึง 125W ได้ตามการเปิดปิดชุดประมวลผล การเขียนซอฟต์แวร์ใช้ลินุกซ์รุ่นพิเศษจากอินเทล และซอฟต์แวร์ที่รันบนแต่ละคอร์ต้องสื่อสารกันผ่านช่องทางเฉพาะเช่น MPI

ไม่มีขาย แต่พันธมิตรของอินเทลทั้งอุตสาหกรรมและภาคการศึกษาไปขอร่วมโครงการวิจัยได้

ที่มา - SCC, Intel, Research@Intel

Get latest news from Blognone

Comments

By: adente
ContributorSUSESymbianWindows
on 3 December 2009 - 02:51 #141108
adente's picture

"จุดเริ่มต้นของสกายเน็ท"

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 3 December 2009 - 15:47 #141242 Reply to:141108
Perl's picture

5555+

By: GuBaRaK
iPhoneUbuntuWindows
on 3 December 2009 - 03:48 #141109
GuBaRaK's picture

สุดยอดมากครับ อีกหน่อยมันคงเล็กกว่านี้ จนอยู่แทนนาฬิกาข้อมือเราได้แหงๆเลย

By: Fzo
ContributorAndroid
on 4 December 2009 - 15:19 #141112
Fzo's picture

This video has been removed by the user.

**เอ้า แก้แล้วหรือครับ ดูได้แล้วครับ (4/12/2552)


WE ARE THE 99%

By: balahama on 3 December 2009 - 06:58 #141114

WoW มันชักจะเข้าใกล้ Eagle eye เข้าไปทุกทีแล้ว ^^

By: lancaster
Contributor
on 3 December 2009 - 09:24 #141131

อยากเล่นแฮะ

By: Not on 3 December 2009 - 17:01 #141269

ถ้าคนไม่รู้มาดู คงจะคิดว่า Intel เป็นบริษัทจากอินเดียแน่นอน

By: magicbank on 3 December 2009 - 17:33 #141281 Reply to:141269

นั้นสิน่ะ

By: zotix
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 3 December 2009 - 23:37 #141342

AMD ตายแน่

By: gotobanana
iPhoneAndroidBlackberrySymbian
on 9 February 2010 - 09:14 #155799
gotobanana's picture

พูดไปพูดมา flash drive kington หาย
AMD ก็อาจมี project เจ๋งๆเหมือนกันน่ะ