โครงการสแกนหนังสือของกูเกิลแม้จะสร้างประเด็นทางกฏหมายอย่างต่อเนื่อง แต่เห็นได้ชัดว่ากูเกิลไม่มีแนวคิดจะลดหรือหยุดการขยายโครงการนี้แม้แต่น้อย ล่าสุดกูเกิลก็ได้สิทธิในการเป็นผู้สแกนหนังสือจำนวนสี่แสนเล่มของหอสมุดแห่งชาติออสเตรีย (Austrians National Library หรือ Österreichische Nationalbibliothek)
หอสมุดแห่งชาติออสเตรียก่อตั้งมาตั้งแต่ยุคกลาง โดยมีหนังสือที่เก่าแก่ที่สุดคือพระคัมภีร์พระกิตติคุณ (Holy Gospels) ฉบับตีพิมพ์ในปี 1368 หอสมุดแห่งนี้เป็นหนึ่งในห้าแห่งที่รวบรวมหนังสือในศตวรรษที่ 16 ถึง 19 ไว้มากที่สุดในโลก
กูเกิลจะจ่ายค่าใช้จ่ายในการสแกนหนังสือทั้งหมด ส่วนทางหอสมุดจะจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมหนังสือ, การจัดเก็บข้อมูล, และค่าเผยแพร่ข้อมูลทั้งหมดสู่สาธารณะ โดยข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการสแกนนี้จะเปิดให้ผู้สนใจรายอื่นๆ เข้าใช้งานได้ ไม่ใช่เพียงกูเกิลเพียงรายเดียว
การสแกนหนังสือให้อยู่ในรูปดิจิตอลนี้นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับห้องสมุดระดับนี้ เผื่อกรณีสุดวิสัยที่หนังสือทรงคุณค่าเสียหายไป แต่ค่าใช้จ่ายในการสแกนนี้ก็มากกว่า 30 ล้านดอลลาร์ซึ่งห้องสมุดไม่มีความสามารถในการหาทุนระดับนี้มาได้ด้วยตัวเอง
ที่มา - PhysOrg
Comments
ห้องสมุดม.ไทย น่าจะทำบ้าง
ของไทยน่าทำ เดี๋ยวมีผู้ก่อการร้ายไปเผาอีก หมดกันพอดี
แสกนเป็น PDF ...แต่เป็นรูป
เป็นการอนุรักษ์ที่ดีนะครับ :)
คนไทยอ่านหนังสือปีละไม่เกิน 8 บรรทัด
ข้อมูลเก่าไปไหม ย้ำกันเหลือเกิน
ตอนนี้เหลือ 6
ตอนนี้เหลือ 6 ?
เศร้าใจจริงๆ
เหลือแค่นั้นจริงๆ เหรอครับ
หนังสือพาดหัวเดียวยังเยอะกว่าเลยนะครับ
I need healing.
หนักกว่า 8 อีก -0-
อ่านเว็บและอ่านเมลแทน!
เดียวนี้เขาอ่าน E-book แร้ว ยอดอ่านหนังสือเลยยิ่งตก ฮาๆๆ
30 ล้านดอลล่าห์นี่ ขนหน้าแข้ง Google ยังไม่ร่วงเลยมั้ง
I will change the world, to the better day.
มองในแง่ผู้ใช้งานแล้วมันเยี่ยมสุด ๆ ไปเลย :)
ถ้ามองจากเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือคงเป็นอีกมุมนึงฮ่า ๆ
สแกนแล้วน่าจะเป็น OCR + ชัดๆ หน่อย จะชอบมากเลย อิอิ
แสกนเก็บไว้ดีแล้วครับ เดี๋ยวก็เหมือน The book of Eli.
ถ้าดูตามนี้ โครงการนี้ไม่น่ามีปัญหามาก เพราะหนังสือส่วนใหญ่ไม่น่ามีลิขสิทธิ์อยู่แล้ว