กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ได้เข้าสืบสวนการทำข้อตกลงระหว่างบริษัทไอทีชั้นนำ 6 บริษัทได้แก่ กูเกิล, แอปเปิล, อโดบี, อินเทล, พิกซาร์, และ Intuit ที่ทำข้อตกลงกันไปมาว่าจะไม่ซื้อตัวพนักงานกันและกัน หลังการสอบสวนกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ได้ยื่นฟ้องต่อทั้งหกบริษัทว่าการทำข้อตกลงนี้เป็นการผูกขาด และวันนี้ทั้งหกบริษัทก็ยินยอมทำตามข้อเสนอของกระทรวงยุติธรรมเพื่อยุติคดีแล้ว
ข้อตกลงที่ทั้งหกบริษัททำร่วมกันนั้นเป็นข้อตกลงที่จะไม่ "เรียกตัว" (Cold calling) พนักงานจากบริษัทอื่นๆ ที่ไม่ได้ยื่นสมัครงาน แต่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ เพื่อให้เข้ามาทำงานกับบริษัทของตัวเอง
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ระบุว่าข้อตกลงเช่นนี้ไม่มีการกำหนดพื้นที่, หน้าที่ของงาน (เช่นว่าห้ามซื้อตัวไปทำงานแบบเดิม), กลุ่มสินค้าที่พนักงานทำงานอยู่, หรือช่วงเวลา ดังนั้นข้อตกลงเช่นนี้ได้ล้ำเส้นของข้อตกลงที่ทำได้อย่างเป็นธรรม และทำให้รบกวนต่อกระบวนการของตลาดที่จะเสนอค่าจ้างให้กับพนักงานอย่างเป็นธรรม
ข้อตกลงที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยื่นให้นี้เป็นข้อตกลงที่ค่อนข้างกว้างมาก โดยระบุว่าในห้าปีข้างหน้าทั้งหกบริษัทจะต้องไม่ทำข้อตกลงไม่เชื้อเชิญคนเข้าทำงาน ตั้งแต่การ เรียกตัว, รับสมัคร, หรือการกระทำอื่นใดทั้งหมดที่จะหยุดแย่งตัวพนักงานกันและกัน
Comments
อ่านแล้ว งง นิดๆ
นึกว่ามีผมงงคนเดียว เลยไม่กล้าโพส
คือไม่เรียกตัวพนง. ของบริษัทอื่นสินะ
ให้คนนอกมีฝืมือเข้าสินะ หรือยังไง?
นี่เป็นการสนับสนุนให้ค่าจ้างเพิ่ม กลไกตลาดแบบนี้จะทำให้ค่าตัวแพงโอเวอร์ไปเหมือนกัน แต่อย่างว่าทุกที่ก็ซื้อตัวกันทั้งนั้น
ถ้ารุนแรงมากๆ มันก็เป็นฟองสบู่ได้ เหมือนนักเตะระดับโลกซื้อขายกันจะร้อยล้านยูโรกันแล้ว
MS รอด
นั้นสิ รอดได้ไง
บริษัทเข้ารู้ไงครับ ถ้าเปิดโอกาสให้ดึงคนเก่งๆ กันไปมา สุดทัายแล้วค่าต้วมันจะสูงกันทั้งระบบ เหมือนกับระบบประมูล ที่ออกแบบมาให้ราคาสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แทนที่จะเป็นราคาที่พอรับได้
บริษัทนี้อาจเห็นคุณค่าพนักงานแค่นี้ ในขณะที่อีกบริษัทนึงอาจเห็นคุณค่าเป็น 2 เท่าก็ได้
ไม่รู้ว่าผมเข้าใจถูกหรือเปล่า
แปลว่าที่ผ่านมาบริษัทใหญ่เขาทำข้อตกลงนี้กัน เพื่อกดเงินเดือนพนักงานให้ไม่สูงจนเกินไปหรือเปล่าครับ
ขนาดนี้ไม่เรียกเป็นการกดค่าตัวหรอกครับมองอีกด้านมันก็คือการป้องกันการโก่งค่าตัวมากกว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเค้ามองผลประโยชน์ของส่วนบุคคลมากกว่าผลประโยชน์องค์กรน่ะครับ งานนี้น่าสงสัยเป็นแผนการเมืองของไมโครซอฟท์หรือไม่? เพราะไม่ได้เข้ากลุ่มกับเค้าหากอยู่เฉยๆ มีแต่จะโดนเพื่อนๆ รุมดึงพนักงานตัวเองออก? ในขณะที่เพื่อนๆแอบฮั้วเป็นพันธมิตรกันข้างหลัง?
ยังงงกับระบบ "ห้ามซื้อตัวไปทำงานแบบเดิม" คนเชียวชาญแบบนี้แล้วจะให้ไปทำอะไรต่อหรอถ้าไม่ให้ทำแบบเดิม หรือเราต้องเก่งเป็ดจึงจะรอด
^ สรุปคือศาลไม่ให้"มีข้อตกลงห้ามซื้อตัว"ครับ คือต้องเปิดให้มีการซื้อตัวกันได้ (จากที่อ่านจาก source เข้าใจว่าอย่างนี้นะครับ อ่านในข่าวแล้วงงนิดหน่อย)
อันนี้ต้องแยกกัน คือ Cold Call นี่เช่นว่า ผมรู้จักว่าคุณ mokin เป็นสุดยอดโปรแกรมเมอร์อยู่ไมโครซอฟท์ ผมอยู่กูเกิลวันดีคืนนี้โทรไปหาแล้วบอกว่าจะให้เงินเดือน 4 เท่าตัว
การซื้อตัวไปทำงานแบบเดิมนี่สามารถทำข้อห้ามได้ครับ ถูกกฏหมายสหรัฐ เช่นว่า ผมทำงานอยู่บนโครงการ Microsoft Office แล้วอีกวันลาออกไปทำงานบน iWork ให้แอปเปิลนี่คงไม่แฟร์ เลยมีการอนุญาตให้ทำสัญญาห้ามไปทำงานกับคู่แข่งโดยตรงได้ (กำหนดระยะเวลาเอาไว้) แต่อาจจะไปทำส่วนอื่นๆ เช่นถ้าผมทำ Office แล้วย้ายไปอยู่แอปเปิลนั่งทำ WebKit อย่างนีี้ไม่ว่ากัน
เมื่อก่อนตอนมี Cold Call บริษัทเหล่านี้ "ล้วงลูก" กันเองครับ สืบๆ ว่าใครมือดีๆ แล้วโทรหาพนักงานโดยไม่ต้องรอส่งใบสมัคร เสนอเงินเดือน, หุ้น, ฯลฯ ให้กันสนุกสนาน ตอนหลังเริ่มไม่ไหวเลยต้องทำสัญญาระหว่างบริษัทว่าห้ามโทรหากันเอง
ส่วนเรื่องว่าพนักงานจะร่อนใบสมัคร อันนั้นอีกเรื่องครับ จะติดแค่สัญญาห้ามทำงานกับคู่แข่งเท่านั้น
lewcpe.com, @wasonliw
ไม่มีไมโครซอฟท์