US Department of Justice
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ว่าทางกระทรวงจะเดินหน้าขอให้ผู้พิพากษาสั่งให้กูเกิลขายธุรกิจ Chrome ออกไป ในคดีที่ศาลตัดสินแล้วว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาด search engine
คดีนี้เพิ่งตัดสินในศาลชั้นต้นไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2024 ว่ากูเกิลมีความผิดจริง ซึ่งกระทรวงยุติธรรมในฐานะผู้ฟ้องจะต้องเสนอมาตรการเยียวยาตลาดเพื่อลดผลจากการผูกขาดของกูเกิลลง ซึ่งขึ้นกับผู้พิพากษาในคดีว่าจะรับข้อเสนอนี้หรือไม่ แต่กูเกิลประกาศแล้วว่าจะยื่นอุทธรณ์
ความคืบหน้าต่อจากคดีศาลสหรัฐตัดสิน Google มีพฤติกรรมผูกขาดบริการ Search Engine เมื่อเดือนสิงหาคม 2024
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice หรือ DoJ) ในฐานะผู้ยื่นฟ้อง ได้ยื่นแนวทางบรรเทา (remedies proposal) พฤติกรรมการผูกขาดต่อศาล ทั้งหมด 4 ข้อ
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ยื่นฟ้อง Visa ด้วยข้อหาผูกขาดเครือข่ายการชำระเงินของบัตรเดบิตในสหรัฐ
ในคำฟ้องของกระทรวงยุติธรรม ระบุว่าธุรกรรมบัตรเดบิต 60% ของสหรัฐอยู่บนเครือข่ายชำระเงินของ Visa สร้างรายได้จากค่าธรรมเนียมปีละ 7 พันล้านดอลลาร์ ความผิดของ Visa คือกีดกันคู่แข่งรายที่เล็กกว่า เช่น PayPal, Square ผ่านสัญญากับธนาคารและร้านค้า ถ้าคู่ค้าเหล่านี้ไปใช้เครือข่ายเดบิตหรือระบบชำระเงินรายอื่น ก็จะถูกลงโทษจาก Visa ด้วยค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น
กระทรวงยุติธรรม สรุปว่าพฤติกรรมของ Visa กีดกันการแข่งขัน และสร้างต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้ธนาคารหรือร้านค้า ซึ่งจะส่งต่อต้นทุนเหล่านี้มายังผู้บริโภคผ่านราคาสินค้าที่แพงขึ้น
NVIDIA ชี้แจงหลังมีรายงานข่าวว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ส่งหมายเรียก เพื่อทำการสอบสวนประเด็นผูกขาดในธุรกิจเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ โดย NVIDIA บอกว่าบริษัทได้สอบถามไปยังกระทรวงยุติธรรมฯ แล้ว แต่ไม่มีการแจ้งหมายเรียกแต่อย่างใด
ตัวแทนของ NVIDIA บอกว่าบริษัทยินดีที่จะตอบทุกคำถามกับหน่วยงานกำกับดูแลเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัท
ปัจจุบัน NVIDIA มีส่วนแบ่งตลาดในชิปประมวลผลปัญญาประดิษฐ์มากกว่า 80% ซึ่ง NVIDIA ชี้แจงเรื่องนี้ว่าลูกค้าเลือก NVIDIA เพราะประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสำหรับพวกเขา ในมุมลูกค้าเองพวกเขาก็สามารถเลือกใช้งานชิปประมวลผลใดก็ได้ที่ดีที่สุดสำหรับตน
Bloomberg รายงานว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ส่งหมายเรียก NVIDIA แจ้งการสอบสวนการผูกขาดในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ตามที่มีรายงานออกมาเมื่อเดือนที่แล้ว โดยมีบริษัทผู้ผลิตชิป AI รายอื่นได้รับหมายเรียกนี้เช่นกัน
ประเด็นที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐตั้งข้อสังเกตจนนำมาสู่การสอบสวน มีทั้งการออกแบบที่ทำให้ลูกค้าเปลี่ยนค่ายผู้ผลิตชิปสำหรับงาน AI ได้ยาก รวมทั้งประเด็นที่บริษัทคู่แข่งร้องเรียนว่า NVIDIA ใช้อำนาจเหนือตลาดคิดราคาอุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่แพงขึ้น หากใช้ชิปคู่แข่งในการประมวลผล
ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) ร่วมกับอัยการใน 38 รัฐ ฟ้องกูเกิลข้อหาผูกขาดบริการระบบค้นหา (Search) ซึ่งฟ้องไปตั้งแต่ปี 2020 โดยคำตัดสินคือกูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดจริง
ผู้พิพากษา Amit Mehta อธิบายในคำตัดสินว่ากูเกิลนั้นผูกขาดตลาดระบบค้นหาอยู่แล้ว และยังมีพฤติกรรมที่พยายามรักษาการผูกขาดตลาด ด้วยการทำข้อตกลงเอ็กซ์คลูซีฟกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนทั้ง Android และ iPhone, iPad ของแอปเปิล ซึ่งมองว่าเป็นพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขันและทำเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดระบบค้นหาต่อไป
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DoJ) ร่วมกับคณะกรรมการกำกับดูแลการค้าของสหรัฐ (FTC) ยื่นฟ้อง TikTok ต่อศาลกลางรัฐแคลิฟอร์เนีย ระบุว่าบริษัทละเมิดกฎหมายการปกป้องข้อมูลความเป็นส่วนตัวของเด็ก ซึ่งกฎหมายนี้กำหนดให้แพลตฟอร์มออนไลน์ ต้องไม่เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ใช้งานเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง รวมทั้งต้องลบข้อมูลทั้งหมดหากถูกร้องขอจากผู้ปกครอง
DoJ ยังอ้างถึงคำสั่งของ FTC ในปี 2019 ที่สั่งปรับเงิน TikTok ในประเด็นเดียวกันนี้ จึงมองว่าเป็นการทำความผิดซ้ำ โดยเอกสารอ้างคำร้องเรียนจากผู้ปกครองจำนวนมากที่พบปัญหานี้
กระทรวงยุติธรรมเริ่มการสอบสวน NVIDIA ฐานผูกขาดจาก 2 กรณี คือการซื้อ Run:ai สตาร์ทอัพรัน AI บน Kubernetes และการใช้อำนาจเหนือตลาดกีดกันลูกค้า ไม่ให้ซื้อสินค้าของคู่แข่ง
กรณีแรกรายงานโดย Politico อ้างอิงคนในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นการสืบสวนเรื่องการผูกขาดจากการซื้อกิจการตามปกติ
ส่วนกรณีที่สองรายงานโดย The Information หลังกระทรวงยุติธรรมได้รับคำร้องจากคู่แข่งของ NVIDIA ที่กล่าวหาว่า NVIDIA ใช้อำนาจเหนือตลาด คิดราคาอุปกรณ์เน็ตเวิร์คราคาแพง หากลูกค้าซื้อชิป AI จากคู่แข่ง
The New York Times อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง บอกว่าหน่วยงานของสหรัฐเตรียมทำการสอบสวนบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ในประเด็นการผูกขาดในอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์หรือ AI
โดยกระทรวงยุติธรรม (DoJ) จะรับผิดชอบในการสอบสวน NVIDIA ส่วนคณะกรรมการกำกับดูแลการค้าของสหรัฐ (FTC) จะตรวจสอบ OpenAI และไมโครซอฟท์
ไมโครซอฟท์นั้นอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนของ FTC ในเรื่องเกี่ยวกับ AI อยู่แล้ว จากการตั้งซีอีโอ Inflection AI เป็นหัวหน้าฝ่าย Microsoft AI ซึ่ง FTC บอกว่ารูปแบบดีลนี้เป็นการซื้อตัวซีอีโอและเทคโนโลยีสำคัญเข้ามา เพื่อหลบเลี่ยงการซื้อกิจการโดยตรงที่ต้องรายงานต่อหน่วยงานกำกับดูแล
จากข่าวใหญ่เมื่อปลายสัปดาห์ที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องแอปเปิล ว่ามีพฤติกรรมผูกขาดทางการค้านั้น อาจใช้เวลาในการสอบสวนและคงมีข้อมูลออกมาเพิ่มเติมเป็นระยะ อย่างไรก็ตามในสำนวนการฟ้องนั้น กระทรวงยุติธรรมสหรัฐระบุหลายประเด็นที่มองว่าแอปเปิลพยายามผูกขาดธุรกิจ บางประเด็นผู้อ่านก็อาจพยักหน้าเห็นด้วยได้ไม่ยาก แต่บางประเด็นก็อาจขมวดคิ้วสงสัยแทน
หัวข้อหนึ่งที่สื่อในอเมริกาหยิบมาตั้งคำถามว่าการฟ้องร้องนี้ เป็นการหยิบหลายเรื่องมาผสมกันเกินไป ก็คือการบอกว่า CarPlay ระบบเชื่อมต่อหน้าจอ iPhone กับหน้าจอรถยนต์ เป็นความพยายามของแอปเปิลในการผูกขาดระบบควบคุมของอุตสาหกรรมรถยนต์
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ร่วมด้วย 15 รัฐ และวอชิงตัน ดี.ซี. ยื่นฟ้องแอปเปิลต่อศาลกลางนิวเจอร์ซีย์ ข้อหามีพฤติกรรมผูกขาดทางการค้า ตามที่มีข่าวเมื่อวานนี้
Merrick B. Garland อัยการสูงสุดสหรัฐ กล่าวว่า iPhone เป็นธุรกิจที่แข็งแกร่งมากของแอปเปิล เป็นรายได้หลักของบริษัท ส่วนแบ่งเฉพาะในอเมริกามากกว่า 65% ด้วยราคาขายต่อเครื่องเฉลี่ยที่สูงกว่า 1,600 ดอลลาร์ สาเหตุหนึ่งเพราะบริษัทละเมิดกฎหมายผูกขาดทางการค้า ด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อทั้งลูกค้าและนักพัฒนา
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเตรียมยื่นฟ้องแอปเปิลอย่างเป็นทางการภายใน 1-2 วันนี้ ตามที่เคยมีรายงานออกมาก่อนหน้านี้ในประเด็นผูกขาดทางธุรกิจ
ในตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของสำนวน แต่คาดว่าเรื่องราวจะคล้ายกับกรณีที่เกิดขึ้นจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ว่าแอปเปิลจำกัดการเข้าถึงเนื่องจากเป็นระบบปิด ทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงประเด็นสำคัญที่เพิ่งมีการแก้ไขไปในกลุ่มสหภาพยุโรปคือ App Store
ตอนนี้กูเกิลกำลังเจอกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice หรือ DoJ) สั่งฟ้องข้อหาผูกขาดตลาด Search ในสหรัฐ กระบวนการไต่สวนยังอยู่ในชั้นศาล
ฝั่งกูเกิลได้ส่งเอกสารแก้ต่างต่อศาล เอกสารฉบับนี้ได้เปิดเผย "ข้อมูลใหม่" ว่าไมโครซอฟท์เคยเสนอขาย Bing ให้แอปเปิลในช่วงปลายปี 2018 แต่สุดท้ายแอปเปิลปฏิเสธข้อเสนอนี้
The New York Times รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายของการสอบสวนประเด็นผูกขาดทางการค้าของแอปเปิลแล้ว โดยน่าจะยื่นฟ้องร้องได้ภายในครึ่งแรกของปี 2024
ประเด็นหลักที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐใช้ในการฟ้องร้องแอปเปิลข้อหาผูกขาดทางธุรกิจ คือการออกแบบการทำงานที่เป็นระบบปิดของแอปเปิล เช่น Apple Watch เป็นสมาร์ทวอทช์ที่ทำงานได้ดีร่วมกับ iPhone มากกว่าการใช้สมาร์ทวอทช์อื่นหรือไม่ ไปจนถึงประเด็นร้อนล่าสุดอย่าง iMessage, ระบบการจ่ายเงิน Apple Pay, AirTag ทำงานได้ดีบน iPhone เมื่อเทียบกับแทร็กเกอร์อื่น, การปิดไม่ให้ใช้คลาวด์เกมมิ่ง เป็นต้น
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ยื่นฟ้องกูเกิลในข้อหาผูกขาดตลาดโฆษณาดิจิทัล (กลุ่ม display ad ไม่ใช่ search ad ที่เคยฟ้องแยกไปแล้วตั้งแต่ปี 2020 และคดียังอยู่ในชั้นศาล) จากการซื้อคู่แข่งและปรับเปลี่ยนวิธีการประมูลโฆษณาให้คู่แข่งเข้ามาสู้ไม่ได้
พฤติกรรมของกูเกิลที่ทำลายการแข่งขัน มีหลายอย่างประกอบกัน ได้แก่
แหล่งข่าวของ POLITICO และเอกสารระบุว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ (Department of Justice - DOJ) กำลังเตรียมสอบสวนเชิงลึกกรณีที่ Adobe ซื้อ Figma ด้วยมูลค่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ว่าเป็นการผูกขาดการค้าของฝั่งบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ออกแบบหรือไม่
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐยื่นฟ้อง Google ฐานละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดหลังจากมีรายงานว่าเตรียมยื่นฟ้องไปในเดือนสิงหาคม โดยบอกว่า Google ทำสัญญาจ่ายเงินหลายพันล้านเหรียญต่อปีให้บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่เพื่อให้ใช้กูเกิลเป็นบริการค้นหาเริ่มต้น ซึ่งกระทวงยุติธรรมมองว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด
Bloomberg รายงานอ้างอิงคนในว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) กำลังเตรียมยื่นฟ้อง Alphabet กรณี Google มีพฤติกรรมผูกขาดในตลาดโฆษณา หลังสืบพยานและเตรียมคดีมาหลายปี
รอบนี้ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดว่ากระทรวงยุติธรรมจะฟ้อง Alphabet/Google ในแง่มุมไหน ขณะที่การยื่นฟ้องอาจเร็วที่สุดในเดือนหน้า ที่ศาลใดศาลหนึ่งระหว่างศาลในวอชิงตัน ที่มีคดีผูกขาด Search ค้างอยู่ หรือศาลในนิวยอร์ก ที่อัยการสูงสุดของมลรัฐมียื่นคดีผูกขาดโฆษณา Google ไว้อยู่
เมื่อปี 2020 Google เคยถูกฟ้องผูกขาดโฆษณามาแล้วครั้งหนึ่งจากทนายความจาก 10 รัฐ
Wall Street Journal รายงานข่าวว่า กูเกิลกำลังเจรจากับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐเรื่องการผูกขาดตลาดโฆษณาออนไลน์ และกูเกิลเสนอทางเลือกให้ว่า จะแยกธุรกิจโฆษณาบางส่วนออกจากกูเกิล ตั้งเป็นอีกบริษัทที่สังกัดบริษัทแม่ Alphabet แทน
ธุรกิจโฆษณาของกูเกิลแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ฝั่งกูเกิลเป็นผู้ขายพื้นที่โฆษณา (กูเกิลเป็นเจ้าของพื้นที่เอง เช่น AdWords) และฝั่งกูเกิลเป็นผู้ซื้อพื้นที่โฆษณา (ลงโฆษณาในพื้นที่ของคนอื่น เช่น AdSense) โดยมีระบบประมูลโฆษณาของกูเกิลเป็นแกนกลาง การที่กูเกิลมีสถานะเป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย จึงมีผลประโยชน์ทับซ้อนและอาจใช้ข้อมูลตรงนี้กีดกันคู่แข่งได้ และเป็นสิ่งที่ให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเข้ามาสนใจกำกับดูแล
DOJ หรือกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ ออกประกาศฟ้องร้อง Xinjiang Jin หรือ Julien Jin ในข้อหาก่อกวนวิดีโอคอลที่จัดทำขึ้นเพื่อรำลึกเหตุการณ์สังหารหมู่หน้าจัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 ซึ่ง DOJ ไม่ได้ระบุว่าผู้ว่าจ้าง Jin คือใคร (ในเอกสารใช้คำว่า Company-1) แต่ Zoom ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ชัดเจนว่า ทางบริษัทคือผู้ว่าจ้าง Jin เอง
Zoom ระบุว่า Jin เป็นพนักงานที่มีหน้าที่ติดต่อประสานงานระหว่าง Zoom กับหน่วยงานด้านกฎหมายและข่าวกรองของจีน โดยการว่าจ้าง Jin มาเนื่องจากก่อนหน้านี้ Zoom ถูกบล็อคในประเทศจีน บริษัทจึงต้องร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศจีนเพื่อจัดการเซนเซอร์เนื้อหาที่รัฐบาลจีนไม่ต้องการ รวมถึงว่าจ้าง Jin เข้ามาเป็นผู้ติดต่อประสานงานระหว่าง Zoom กับรัฐบาลจีน
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) ร่วมกับอัยการใหญ่อีก 11 รัฐ ยื่นฟ้องกูเกิลข้อหาผูกขาดบริการค้นหาและโฆษณาบนระบบค้นหา (search advertising) อย่างเป็นทางการ
ประเด็นที่กระทรวงยุติธรรมชี้ว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาด คือการที่กูเกิลไปเซ็นสัญญาเอ็กซ์คลูซีฟกับบริษัทต่างๆ (เช่น เบราว์เซอร์ สมาร์ทโฟน และผู้ให้บริการโทรคมนาคมในสหรัฐ) เพื่อให้ตัวเองเป็นเครื่องมือค้นหาหลัก โดยจ่ายเงินจำนวนเป็นหลักพันล้านดอลลาร์ต่อปี และในสัญญาบางฉบับมีเงื่อนไขห้ามติดตั้งเครื่องมือค้นหาของคู่แข่ง ส่งผลให้ไม่มีบริษัทใดขึ้นมาแข่งขันกับกูเกิลได้เลย
ในบางกรณี เช่น ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ ยังเจอสัญญาบีบให้ติดตั้งแอพของกูเกิล (gapps) ทั้งชุด และต้องนำเสนอแอพของกูเกิลในตำแหน่งที่เด่นที่สุดด้วย
รัฐบาลสหรัฐนำโดยสำนักงานอัยการเขต Eastern District of Virginia ประกาศแจ้งความผิดต่อ Julian P. Assange ผู้ก่อตั้ง WikiLeaks ที่เพิ่งถูกจับกุมในอังกฤษ ในข้อหาร่วมกันบุกรุกระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลสหรัฐที่มีเอกสารลับ
เรื่องนี้คือเหตุการณ์ในปี 2010 ที่ Chelsea Manning หรือชื่อเดิม Bradley Manning นักวิเคราะห์ข่าวกรองของกองทัพสหรัฐ นำเอกสารโทรเลขของสถานทูตสหรัฐทั่วโลกมาเผยแพร่ผ่าน WikiLeaks ซึ่งตัวของ Manning ถูกจับ โดนลงโทษจำคุก ได้รับการลดโทษ และพ้นโทษ ถูกปล่อยตัวมาเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2017
เป็นความต่อเนื่องจากข่าวเก่า กรณีศาลชั้นต้นอนุมัติ กรณีแอปเปิลยอมความในคดีโก่งราคาอีบุ๊กแล้ว ที่สุดแล้วเมื่อปลายปี 2015 ศาลแขวงสั่งให้แอปเปิลคืนเงินให้แก่ลูกค้าสหรัฐผู้ที่ซื้อหนังสืออีบุ๊กในช่วง 1 เมษายน 2010 ถึง 21 พฤษภาคม 2012 โดยเข้าเป็นเครดิตกลับเข้าไปในสโตร์ ที่เราซื้อมาอันได้แก่ Amazon, Barnes & Noble Inc., Kobo และ Apple
แต่ละคนจะได้เดรดิตคืนมากบ้างน้อยบ้างตามจำนวนและประเภทของอีบุ๊กที่ซื้อไป แต่เครดิตที่ว่าจะไม่อยู่กับเราไปตลอด จะหมดอายุหนึ่งปี ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 24 เวลาเกือบเที่ยงคืนเวลาอเมริกา หรือเวลา 5 โมงเย็นของวันที่ 25 ตามเวลาบ้านเรา
ถ้ายังจำกันได้ Yahoo เคยถูกแฮ็กครั้งใหญ่ 2 ครั้งคือ ข้อมูลหลุด 500 ล้านบัญชีในปี 2014 (พบการแฮ็กครั้งนี้ก่อน) และ อีก 1,000 ล้านบัญชีในปี 2013
เมื่อคืนนี้ กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ เปิดเผยรายชื่อผู้กระทำผิดในเหตุการณ์แฮ็กปี 2014 (กรณีแรก) จำนวน 4 ราย ในจำนวนนี้ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของหน่วยข่าวกรองรัสเซีย (Federal Security Service หรือ FSB) 2 ราย, ชาวรัสเซีย 1 ราย และชาวแคนาดาเชื้อสายคาซัคสถานอีก 1 ราย โดยสองรายหลังได้รับการว่าจ้างจากเจ้าหน้าที่ข่าวกรอง 2 รายแรก ให้แฮ็กระบบของ Yahoo
กลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนกว่า 50 องค์กรรวมตัวกันเรียกร้องต่อกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ให้ช่วยพิจารณาขอบเขตของกฎหมายและสืบสวนหาข้อเท็จจริงในการนำเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าไปใช้งานอย่างไม่เหมาะสม หลังเทคโนโลยีนี้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายและมากเกินความจำเป็น จากภาครัฐ ทั้งตำรวจและ FBI
กลุ่มองค์กรเผยว่า ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่จำกัดการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้อย่างมีขอบเขตและเป็นธรรม โดยชี้ว่าเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าแทบถูกเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย และอาจนำไปสู่การใช้งานโดยอคติ ซึ่งกรณีนี้กระทรวงยุติธรรมกำลังสอบสวนองค์กรตรวจอยู่ด้วย