บทความสั้นนะครับ จากข่าว "เหตุผลที่ทำไมสาย Thunderbolt ของแอปเปิลถึงแพง" ที่บอกว่าแพงเพราะว่าฝังชิป คำถามถัดมาก็คือ ทำไมถึงได้ฝังชิปลงไปในสายทำให้สายแพง ไม่ฝังไปในตัวเครื่องเสียให้จบ เรามาลองดูกันว่ามีความจำเป็นหรือประโยชน์อะไรที่ทำแบบนั้น
Thunderbolt หรือที่มีรหัสเรียกว่า Light Peak นั้นเป็นความร่วมมือของ Apple และ Intel โดยนอกเหนือจากจุดเด่นที่มักพูดถึงกันก็คือความเร็วในระดับ 10 Gbps นั้นมันยังรองรับสายได้ทั้งสายไฟฟ้าและสายใยแก้วนำแสง
อะไรที่ทำให้มันสามารถรองรับสายได้ทั้งสองแบบ? คำตอบก็คือการใช้ตัวแปลงสัญญาณ (transceiver, ตัวอย่างก็คือชิป GN2033 ที่พูดถึงกัน) ที่ปลายของสายสัญญาณแทนที่จะฝังไว้ในตัวเครื่อง ทีนี้ถ้าอยากจะใช้สายใยแก้วที่ส่งได้ระยะทางไกลกว่าก็ไม่ยากแล้ว เปลี่ยนตัวแปลงสัญญาณทั้งสองฝั่งก็เรียบร้อย ตัวเครื่องไม่ต้องแก้ไขอะไรเลย คนออกแบบฉลาดไหมครับ?
ลองนึกถึง Ethernet ที่มีช่องต่อแบบ AUI แล้วเราก็เปลี่ยนชนิดสายได้ด้วยการเปลี่ยน MAU ดูแล้วจะถึงบางอ้อทันที
แต่ถ้าใครถึงบางอ้อในทันที แปลว่ามีอายุแล้ว...
หมายเหตุ: ที่เขียนมานี่ผมสรุปเอาเองจากข้อมูลสั้นๆ ของ Intel นะครับ เค้าไม่ได้เขียนตรงๆ แบบนั้น โปรดอ่านด้วยความระมัดระวัง
Comments
กราบ เข้าใจแล้วครับ
เอ่อ...
โดยไอเดียผมก็ว่าดี เพราะเอาจริงๆมันคือ USB ที่สมบูรณ์แบบมาก
ถ้าให้พอร์ทสองฝั่งหน้าตาเหมือนกันแน่นอน กลวงๆ ตัวสายจะออกแบบยังไงก็ได้ เทคโนโลยีเปลี่ยนยังไงขอให้สายสองหัวหน้าตาเหมือนเดิม จะเปลี่ยน Protocol หรืออะไรก็ได้เพราะมันมีชิปของมัน
ปัญหาสำคัญก็อย่างที่หลายคนบอกคือ สุดท้าย สายมันเสียง่ายกว่า เปลี่ยนบ่อยกว่า สายราคาแพงมันจะทำให้คนนิยมได้รึเปล่า
แต่ไม่แน่ว่ายุคหน้า ผู้ผลิต H/W อาจบังคับ User ให้ใช้ตัวนี้
ที่พูดมาถูกมั้ยมันก็ถูก
แต่ผมเรียกอาการนี้ว่าแกล้งโง่ เพราะทำสายไฟเป็น standard ก็ได้
ถ้าเป็น version Optical ก็ค่อยใส่ chip เข้าไป
แต่ประเด็นคือ Apple ต้องการขายสายอะไรก็ตามในราคาหลักพัน ได้โดนไม่ขัดเขิญ แล้วไอ้เจ้า Thunderbolt นี่ก็เข้าทางพอดี
แต่เรื่อง Apple น่าจะได้เงินมากขึ้นจากการขายสายแบบนี้ ผมก็เชื่อว่าจริงนะ แต่ผมไม่คิดว่าเป็นเหตุผลหลักที่เค้าออกแบบให้เป็นแบบนี้ครับ เพราะเค้าแทบจะตั้งราคาขายของทุกอย่างได้โดยไม่ต้องสนอะไรอยู่แล้วครับ
ฮา แต่ก็จริงนะครับ แอปเปิ้ลจะขายสายอะไรหลักพันก็ได้อยู่แล้วไม่ต้องฝังชิปให้ยุ่งยาก
อย่าลืมว่า ไม่ใช่ว่าลากสายออกจาก cpu หรืออะไรก็แล้วแต่ มาต่อกับขั้ว mini displayport แล้วทีเหลือให้ chip ในสายจัดการ คอมพิวเตอร์เองมันก็ต้องมี Controller ของตัว thunderbolt นะครับ
Apple เลือกที่จะทำให้ controller จัดการส่วนนึงแล้วปล่อยออก port เลย กั๊กอีกนิดนึงไว้ให้มา process ที่ chip ในสายต่อ
แทนที่จะรวมทั้งหมดเข้าไปเป็น chip เดียวกันบน board เลยซึ่งเผลอๆต้นทุนแทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลย
แต่อย่างที่บอกการ design thunderbolt ให้มันจำเป็นต้องมี chip ในสาย ทำให้ Apple ขายสายแพงๆได้โดยไม่ขัดเขิญ ถึง Apple ก็ขายสายอื่นๆแพงอยู่แล้ว แต่มันก็มี feedback ด้านลบออกมาตลอด แต่ในเมือวิธีนี้แก้ภาพลักษณ์ได้ทำไมจะไม่ทำ
ขอขยายความ bullet สุดท้ายของผมหน่อยละกันนะครับ เรื่องที่บอกว่าใช้ Mini DisplayPort ของเดิมประเด็นของผมคือ
ความถี่สูงขนาดนั้น อะไรที่เคยเป็นฉนวนอาจจะกลายเป็นตัวนำ อะไรที่เคยกลายเป็นตัวนำอาจจะกลายเป็นสายอากาศได้ง่ายๆ ถ้าออกแบบไม่ดี (ยกตัวอย่างค่า C แฝงในสาย ที่ความถี่ต่ำๆ มันก็ไม่ค่อยมีผลอะไร แต่ที่ความถี่สูงมากๆ มันแทบจะทำตัวเหมือนลัดวงจรเลย)
อีกเรื่องก็คือ ผมว่า Apple เองคงไม่ได้ต้องการภาพลักษณ์ว่า "ขายของถูก" กระมังครับ :)
ผมมองว่าเป็นการควบคุม "ประสพการณ์การใช้งาน" ตามแบบ Apple ก็คือเป็นการกันไม่ให้ใช้อุปกรณ์เลียนแบบจาก 3rd party นะ เพื่อไม่ให้ Apple ต้องมานั่งตามซัพพอร์ทอุปกรณ์ห่วย ๆ ที่ไม่ได้มาตรฐาน
ผู้ผลิตชิพก็รับทรัพย์กันไป อิอิ
มีชิพอยู่ในสายจะได้ไม่หายไปไหน
แต่ถ้าสายมันคุณภาพห่วย ขาดในง่ายก็จบกัน..
ผมอ่านแล้วมันรู้สึกงี่เง่านิดนึงนะ ชิปราคาไล่เลี่ยกันกับ Xbee เนี่ยถ้าสายมันขาดขึ้นมาอย่างที่ว่ากันมันจะมีประโยชน์อะไร ตัว host chip ของมันก็ควรที่จะรองรับทองแดงได้อยู่แล้ว ตัวที่เป็นขั้วต่อในลักษณะนี้น่าจะเป็นตัวแปลงสัญญาณ fiber ในอนาคตมากกว่าซะด้วยซ้ำ