โปรแกรม E.P. Speak & Listen ใช้สำหรับช่วยในการหัดฟังและออกเสียงคำในภาษาอังกฤษ มีการทำงานสองอย่างคือ (1) การแปลงข้อความเป็นเสียงพูด และ (2) แปลงเสียงพูดเป็นข้อความ โดยอาศัยความสามารถในการออกเสียงและรู้จำเสียงของแอนดรอยด์รุ่น 2.2 ขึ้นไป
ยกตัวอย่างเราอยากออกเสียงคำว่า "test" ถ้าเราพอรู้อยู่แล้วว่าคำนี้ออกเสียงอย่างไร เราก็กดที่ปุ่ม Listen (หมายความว่าโปรแกรมเป็นฝ่ายฟัง) เมื่อเราพูดเสร็จโปรแกรมจะแสดงคำที่คิดว่าเราพูดออกมา เรียงตามลำดับความใกล้เคียง เช่น ออกมาเป็น "test, tests, text, teste, testing" เราสามารถกดที่แต่ละคำเพื่อฟังว่าแต่ละคำออกเสียงอย่างไรเพื่อเปรียบเทียบได้อีกด้วย
ในช่วงนี้มีกระแสพูดคุยเกี่ยวกับ Exynos 5 Octa กันมาก ตัว Exynos 5 Octa นั้นเป็น SoC (system on a chip) ในรูปแบบ big.LITTLE ที่มีคอร์ของ Cortex-A15 และ Cortex-A7 อยู่ภายในอย่างละสี่คอร์ เรื่องหนึ่งที่ถกเถียงกัน (หรืออาจจะเข้าใจไปในทางเดียวกันโดยมิได้นัดหมาย) ก็คือคอร์ทั้งแปดของหน่วยประมวลผลแบบ big.LITTLE นั้นสามารถใช้งานได้ทีละสี่คอร์หรือว่าได้ทั้งแปดคอร์กันแน่?
ถ้าใครใจร้อนขอสรุปตรงนี้ว่าในทางฮาร์ดแวร์นั้นทั้งแปดคอร์สามารถทำงานได้พร้อมกันทั้งหมด แต่...
ปัญหาในขณะนี้คือระบบปฏิบัติการยังอาจจะไม่สามารถดึงประสิทธิภาพทั้งด้านความเร็วในการประมวลผลและการประหยัดพลังงานออกมาพร้อมๆ กันได้อย่างเต็มที่
บทความสั้นนะครับ จากข่าว "เหตุผลที่ทำไมสาย Thunderbolt ของแอปเปิลถึงแพง" ที่บอกว่าแพงเพราะว่าฝังชิป คำถามถัดมาก็คือ ทำไมถึงได้ฝังชิปลงไปในสายทำให้สายแพง ไม่ฝังไปในตัวเครื่องเสียให้จบ เรามาลองดูกันว่ามีความจำเป็นหรือประโยชน์อะไรที่ทำแบบนั้น
Thunderbolt หรือที่มีรหัสเรียกว่า Light Peak นั้นเป็นความร่วมมือของ Apple และ Intel โดยนอกเหนือจากจุดเด่นที่มักพูดถึงกันก็คือความเร็วในระดับ 10 Gbps นั้นมันยังรองรับสายได้ทั้งสายไฟฟ้าและสายใยแก้วนำแสง
คุณ Fabrice Bellard ได้ทดลองสร้าง PC emulator ขึ้นมาโดยใช้ JavaScript ล้วนๆ (ต้องรองรับ W3C Typed Arrays) โดยสามารถจำลองการทำงานได้ใกล้เคียงกับ 486 ที่ไม่มี FPU แต่ว่ามี MMU ที่สมบูรณ์เพื่อจะเล่น Linux ได้
บรรยายไปก็ไม่เท่าเห็นของจริง ไปลองเล่นกันเลยดีกว่า (ใช้ได้กับ Firefox 4 และ Chrome 11)
เค้าเตรียมไฟล์ hello.c และโปรแกรม tcc สำหรับคอมไฟล์โปรแกรมไว้ด้วย พร้อมกับโปรแกรม vi และ qemacs สำหรับใช้แก้ไขไฟล์
น่าลองเอามาใช้ประกอบเว็บสอน Linux เบื้องต้น หรือหัดเขียนโปรแกรมจริงๆ
APNIC ประกาศว่าวันนี้ (15 เมษายน พ.ศ.2554) APNIC เหลือ IPv4 ขนาด /8 ช่วงสุดท้ายแล้ว ซึ่งทำให้เข้าสู่ช่วงที่สามของการหมดลงของ IPv4 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งนโยบายสำหรับการแจกจ่าย IPv4 ในช่วงที่สามนี้คือ
ชื่อของผลิตภัณฑ์หลายๆ ตัวของแอปเปิลนั้นจะขึ้นต้นด้วยตัวไอเล็ก ("i") เช่น iPad, iPod หรือ iOS แต่ยังมีอีกสิ่งที่หลายๆ คนอาจจะไม่ทันได้สังเกตนั่นก็คือบริการ iForgot ของแอปเปิล
การเข้าถึงบริการของแอปเปิลนั้นจะผูกเข้ากับ "Apple ID" ซึ่งถ้าเกิดเราลืมรหัสผ่านขึ้นมาเราก็จะต้องใช้บริการรีเซตรหัสผ่านในหน้าเว็บ iforgot.apple.com
ดูเผินๆ ก็ไม่น่าจะมีอะไรพิเศษที่จะใช้คำว่า iforgot มาเป็นชื่อเครื่อง แต่ถ้าลองดูดีๆ จะพบว่าแอปเปิลนั้น "แอบเน้น" คำว่า iForgot แบบเนียนๆ เอาไว้
ลองกดเข้าไปดูนะครับ
ออราเคิลออกประกาศ Security Alert for CVE-2010-4476 พร้อมโปรแกรมแก้ไขบัก
ซึ่งเป็นบักในส่วนการแปลงข้อความตัวอักษรเลขฐาน 10 ไปเป็นเลขฐาน 2 จำนวนจริงแบบความละเอียดสองเท่า (double-precision binary floating-point) ที่เมื่อเจอเลข 2.2250738585072012e-308 จะวนติดอยู่ในลูปและไม่สามารถทำงานคำสั่งถัดไปได้
บักนี้ร้ายขนาดไหน? ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็ทำให้โปรแกรมอย่าง "javac" ค้างได้ รายละเอียดลองอ่าน "Java Hangs When Converting 2.2250738585072012e-308" ดู
ในขณะที่ IPv6 กำลังเข้ามาเราน่าจะเรียนรู้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ของ IPv6 กันเสียหน่อย ไม่อย่างนั้นอาจจะมีคนทำเสื้อมาล้อเลียนเราได้ว่า "I hacked ::1"
เริ่มต้นด้วยการเขียนแอดเดรส IPv6 แบบเต็มๆ นั้นเราแบ่งเลข IPv6 ซึ่งมี 128 บิตออกเป็น 8 ชุด ชุดละ 16 บิต แล้วเขียนแต่ละชุดในรูปของเลขฐาน 16 คั่นแต่ละชุดจากกันด้วยเครื่องหมายโคลอน เช่น
0010000000000001 0000110110111000 0000000000000010 0000000000000011 0000000000000100 0000000000000101 0000000000000110 0000000000000111
เราจะเขียนได้เป็น
2001:db8:2:3:4:5:6:7
วันนี้ลองพยายามจัดกลุ่มของช่วงไอพีที่ APNIC จัดสรรให้แก่ประเทศไทยดูทำให้พอรู้คร่าวๆ ว่าใครถือไอพีอยู่เท่าไหร่บ้าง ต้องออกตัวก่อนว่าข้อมูลนี้ใช้อ้างอิงไม่ได้เพราะเป็นการจัดด้วยมือ โอกาสพลาดสูง ถือว่าเล่าสู่กันฟังนะครับ
ผู้ครอบครอง IPv4 อันดับหนึ่งของไทยคือ True ที่มีไอพีอยู่ประมาณ 1.36 ล้านไอพี (รวมทั้งกลุ่มนะครับ ไม่ว่าจะ Dial-up, ADSL, Mobile) ตามมาติดๆ ด้วย TOT ที่มี 1.02 ล้านไอพี อันดับสามได้แก่ Tripple T มี 786,944 ไอพี ซึ่งในกลุ่มเหล่านี้มีไอพีหลายช่วงมาก เช่น True มีอยู่ถึง 42 ช่วงด้วยกัน
ลำดับถัดลงมาเป็น AIS มี 428,032 ไอพี TTT Maxnet มี 419,840 ไอพี และ CAT 299,008 ไอพี
เราลองมาดูกันว่าในโค้งสุดท้ายก่อนที่ IPv4 จะถูกจัดสรรไปจนหมดนั้น แต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้รับการจัดสรร IPv4 กันไปประเทศละเท่าไหร่
จากข้อมูลของเมื่อวานนี้ (1 ก.พ. 54) APNIC ซึ่งเป็นนายทะเบียนของภูมิภาคนี้ได้จัดสรรไอพีไปแล้วทั้งหมด 17,610 ช่วง คิดเป็น 769,631,744 ไอพี โดยขนาดที่จัดสรรในแต่ละช่วงมีตั้งแต่ /24 (256 ไอพี) ไปจนถึง /8 (16,777,216 ไอพี) แน่นอนว่าประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอย่างจีนได้ครองตำแหน่งประเทศที่ได้รับการจัดสรร IPv4 ไปมากที่สุดถึงประมาณ 293 ล้านไอพีใน 1,875 ช่วง คิดเป็น 38% ของไอพีที่ได้รับการจัดสรรในภูมิภาคนี้เลยทีเดียว