Mac mini ใหม่ชิป M4 ในรุ่นบนที่เป็นชิป M4 Pro นั้น รองรับการเชื่อมต่อ Thunderbolt 5 ที่ถ่ายโอนข้อมูลได้ความเร็วสูงสุดถึง 120 Gb/s แอปเปิลเลยมีขายสายเชื่อมต่อเพิ่มเติม
อินเทลเปิดตัวมาตรฐานการเชื่อมต่อ Thunderbolt 5 ซึ่งเป็นรุ่นถัดจาก Thunderbolt 4 ที่เปิดตัวเมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยอินเทลบอกว่าแบนด์วิธในการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นสูงสุด 3 เท่าจาก Thunderbolt 4
แบนด์วิธในการส่งข้อมูลปกติจะอยู่ที่ 80 Gbps ตามที่เคยให้ข้อมูลก่อนหน้านี้ แต่สามารถใช้การส่งข้อมูลแบบ Bandwidth Boost ที่เพิ่มขาส่งข้อมูลเป็น 120 Gbps เหมาะกับงานของสายครีเอเตอร์ เกมเมอร์ และมืออาชีพที่เน้นงานแสดงผลประสิทธิภาพสูงสุด รองรับการแสดงผลระดับ 8K หลายหน้าจอ
ไมโครซอฟท์เปิดตัวอุปกรณ์เสริม Surface Thunderbolt 4 Dock ซึ่งนับเป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อ Dock รุ่นที่สามของตระกูล Surface Dock ต่อจาก Surface Dock 2 ที่เปิดตัวในปี 2020
Surface Thunderbolt 4 Dock มีขนาดเล็กลงกว่า Surface Dock 2, จุดเด่นสำคัญคือรองรับการเชื่อมต่อ USB4/Thunderbolt 4 ตามชื่อสินค้า อัตราการส่งข้อมูลสูงสุด 40 Gbps, สามารถต่อจอมอนิเตอร์ 4K 60Hz ได้สองตัวพร้อมกัน
พอร์ตที่มีมาให้คือ USB-C x3, USB-A x3, 3.5mm audio, 2.5G Ethernet, security lock โดยตัดพอร์ตชาร์จเฉพาะของ Surface เดิมออกไป และมีฟีเจอร์ระดับองค์กรอย่าง Firmware Update through Windows Update, Wake on LAN from Modern Standby, MAC Address Passthrough
อินเทลโชว์ต้นแบบของอินเทอร์เฟซ Thunderbolt เวอร์ชันใหม่ (ยังไม่ระบุเลขว่าเป็น Thunderbolt 5 หรือเป็น Thunderbolt 4.x แต่ใช้คำว่า Next-Generation Thunderbolt แทน) โดยจะอยู่บนอินเทอร์เฟซตามสเปกของ USB 4.0 v2 ที่ออกมาตรฐานเมื่อเดือนกันยายน 2022
หลายคนอาจมีภาพจำว่า Thunderbolt ในอดีตวางตัวเป็นคู่แข่งกับ USB โดยตรง แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไป ทิศทางของ Thunderbolt เริ่มหลอมรวมจนเกือบเหมือนกับ USB แล้ว โดยเฉพาะ Thunderbolt 4 ที่เป็นซูเปอร์เซ็ตของ USB 4.0
USB Promoter Group เปิดมาตรฐาน USB4 2.0 โดยปรับปรุงสถาปัตยกรรม physical layer ทำให้รองรับอัตราการส่งข้อมูลเพิ่มจาก 40Gbps เป็น 80Gbps โดยใช้สายเส้นเดิมที่รองรับ USB4 อยู่แล้ว
แบนวิดท์ที่เพิ่มเขึ้นเป็นระดับ physical เท่านั้น โปรโตคอลที่มารันบนสายจะทำแบนวิดท์ได้ต่างกันไป สำหรับ USB 3.2 สามารถส่งข้อมูลเกิน 20Gbps บนมาตรฐานใหม่นี้ โปรโตคอลอื่นๆ เช่น PCI Express หรือ DisplayPort ก็อาจจะทำแบนวิดท์ได้สูงกว่านี้
มาตรฐานนี้ยังคงใช้งานกับมาตรฐานก่อนหน้า USB4 1.0, Thunderbolt 3 ได้ต่อไป
ที่มา - BusinessWire
อินเทลเปิดตัวสเปกของ Thunderbolt 4 ที่ทิ้งช่วงจาก Thunderbolt 3 ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2015 เป็นเวลา 5 ปี
ก่อนหน้านี้หลายคนอาจคุ้นเคยว่าพอร์ต USB กับ Thunderbolt เป็นคู่แข่งกันโดยตรง แต่ช่วงหลังๆ มาตรฐานสองค่ายเริ่มควบรวมกัน ตั้งแต่ Thunderbolt 3 ที่เปลี่ยนมาใช้พอร์ต USB-C และล่าสุดคือ USB 4 ที่พัฒนาขึ้นจากสเปกของ Thunderbolt 3 อีกที
พอมี Thunderbolt 4 เข้ามาอีกตัว เลยชวนสับสนว่าความต่างของ Thunderbolt 3, 4, USB 4 คืออะไรกันแน่
หลังการประกาศเปลี่ยนจากชิป Intel มาเป็น Apple Silicon ที่ออกแบบเอง ใน MacBook รุ่นหน้า หนึ่งในคำถามที่หลายคนอาจสงสัยคือ MacBook จะยังคงรองรับมาตรฐาน Thunderbolt ที่ตัวเองมีส่วนช่วยออกแบบและพัฒนาร่วมกับ Intel อยู่หรือไม่ ซึ่งล่าสุดแอปเปิลออกมายืนยันแล้วว่ายังรองรับอยู่เช่นเดิม
แม้โฆษกแอปเปิลจะออกมายืนยันข้อมูลดังกล่าว ทว่าอุปกรณ์ Developt Transition Kit ที่ใช้ชิป Apple Silicon ที่แอปเปิลให้นักพัฒนายืมก่อนหน้านี้ กลับไม่มีพอร์ท Thunderbolt มีแค่ USB-C ธรรมดาเท่านั้น
ที่มา - The Verge
USB Promoter Group กลุ่มผู้พัฒนามาตรฐาน USB เปิดตัว USB 4 รองรับการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 40 Gbps เพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก USB 3.2 ที่แบนด์วิดท์สูงสุด 20 Gbps
เทคโนโลยีของ USB 4 พัฒนาต่อยอดจาก Thunderbolt ของอินเทล โดยอินเทลระบุว่าต้องการเปิดสเปกของ Thunderbolt ให้ทุกคนเข้าถึงได้ (เท่ากับว่าต่อจากนี้ไป ไม่น่าจะมี Thunderbolt 4 อีกแล้ว เพราะรวมมาเป็น USB 4 เลย แต่อินเทลก็ยังไม่ยืนยันเรื่องนี้)
USB 4 ยังรักษาความเข้ากันได้ย้อนหลังกับเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบันคือ USB 3.2, USB 2.0 และ Thunderbolt 3 และสามารถใช้ร่วมกับพอร์ต-สาย USB Type-C ที่มีอยู่แล้วได้ แต่การจะส่งข้อมูลที่ระดับ 40 Gbps ต้องเป็นสายที่ผ่านการรับรองด้วย
นักวิจัยกลุ่มหนึ่ง นำโดย Theo Markettos นักวิจัยด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประกาศเปิดเผยช่องโหว่ความปลอดภัย "Thunderclap" ที่งานประชุมวิชาการระบบความปลอดภัยของเครือข่ายและการประมวลผลแบบกระจายตัว (Network and Distributed Systems Security Symposium) ที่เมือง San Diego มลรัฐแคลิฟอร์เนีย อย่างเป็นทางการ
หลังจากแอปเปิลยืนยันวันเริ่มจำหน่าย iMac Pro ในอเมริกาเป็น 14 ธันวาคม 2017 ส่วนประเทศไทยระบุว่าจะเริ่มจำหน่ายเร็วๆ นี้ ล่าสุดในเว็บไซต์แอปเปิลประเทศไทย ได้มีการอัพเดตราคาเริ่มต้นของ iMac Pro แล้ว โดยอยู่ที่ 172,900 บาท ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกปรับแต่งได้และจะมีราคาเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้แอปเปิลยังเริ่มวางจำหน่ายสาย Thunderbolt 3 (USB-C) ของตนเอง เพื่อใช้สำหรับ iMac Pro ด้วย โดยสายความยาว 0.8 เมตรนี้ราคา 1,500 บาท ซึ่งสำหรับประเทศไทยก็เริ่มวางจำหน่ายแล้ว
ที่มา: Apple Insider
อินเทลเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยี Thunderbolt 3 (สองเวอร์ชันแรกพัฒนาร่วมกับแอปเปิล เวอร์ชันสามอินเทลทำเดี่ยว) และผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีนี้ผ่านพอร์ต USB-C จำเป็นต้องจ่ายค่าไลเซนส์ให้กับอินเทลเสมอ
ล่าสุดอินเทลประกาศเลิกเก็บค่าไลเซนส์ Thunderbolt 3 แล้ว และจะเปิดเผยสเปกของ Thunderbolt 3 ต่ออุตสาหกรรมไอที เพื่อขยายการใช้งานให้มากขึ้น
นอกจากนี้ อินเทลยังประกาศว่าจะผนวก Thunderbolt 3 เข้ามาในซีพียูตัวต่อๆ ไปในอนาคตด้วย แต่ก็ยังไม่เผยรายละเอียดว่าจะเป็นอย่างไรและเกิดขึ้นเมื่อใด
นอกจาก ThinkPad รุ่นใหม่ของปี 2017 ทาง Lenovo ยังเปิดตัวอุปกรณ์เสริมชุดใหม่สำหรับ ThinkPad มาพร้อมกัน
อุปกรณ์ที่น่าสนใจคือ ThinkPad Dock รุ่นใหม่ที่รองรับพอร์ต USB-C เรียบร้อยแล้ว โดย Dock แยกเป็น 2 รุ่นย่อยคือรุ่นท็อปที่รองรับการเชื่อมต่อแบบ Thunderbolt 3 (อัตราส่งข้อมูล 40 Gbps) และรุ่นปกติที่สำหรับโน้ตบุ๊กที่มีพอร์ต USB-C แต่ไม่รองรับ Thunderbolt 3
หลังจากปรากฏเป็นข่าวแทรกๆ อยู่กับแล็ปท็อป Razer Blade, Blade Stealth และเทคโนโลยี XConnect ของ AMD ล่าสุดกล่องต่อการ์ดจอแยก Razer Core ก็มีข้อมูลออกมาอย่างเป็นทางการสักที
สิ่งนี้ทำอะไรได้หลายอย่างนอกจากจะไว้เพิ่มประสิทธิภาพระบบกราฟิกให้พีซีที่ต่ออยู่ผ่านพอร์ต Thunderbolt 3 (ในหน้าตาแบบ USB-C) สรุปได้ดังนี้ครับ
AMD เปิดตัวเทคโนโลยีการ์ดจอแยก ที่แยกจากตัวเครื่องหลักอย่างเป็นทางการในชื่อ XConnect สำหรับแล็ปท็อปและเครื่องแบบทูอินวัน มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้
เมื่อไม่นานมานี้ เคยมีนักวิจัยด้านความปลอดภัย Trammell Hudson สร้างต้นแบบมัลแวร์ชื่อ Thunderstrike ที่กระจายตัวผ่านเฟิร์มแวร์พอร์ต Thunderbolt เมื่อนำไปเสียบกับเครื่องแมค (หรือพีซีที่มี Thunderbolt) จะแพร่กระจายไปได้เรื่อยๆ ทั้งบนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เสริม
หลุดสเปคของ Thunderbolt 3 มาตั้งแต่ปีก่อน วันนี้อินเทลปล่อยรายละเอียดของ Thunderbolt 3 อย่างเป็นทางการแล้ว
ความเปลี่ยนแปลงอย่างแรกสุดคืออินเทอร์เฟซของพอร์ต Thunderbolt 3 จะปรับไปใช้พอร์ตเชื่อมต่อแบบ USB Type-C แต่ให้ความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุด 40Gbps (เฉพาะโหมด Thunderbolt) เหนือกว่า USB 3.1 พอสมควร และรองรับหน้าจอความละเอียดระดับ 4K สองหน้าจอพร้อมกัน จ่ายไฟได้สูงสุด 100 วัตต์ (15 วัตต์สำหรับจ่ายไฟให้อุปกรณ์ต่อพ่วง) และรองรับการใช้งานร่วมกับพอร์ต USB, DisplayPort และ Thunderbolt รุ่นเดิม
อินเทลระบุว่าจะเริ่มมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ Thunderbolt 3 ออกมาภายในสิ้นปีนี้
ให้หลังจากการเปิดตัว Thunderbolt 2 มาตรฐานการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูงซึ่งทำได้มากถึง 20Gbps ไปไม่ถึงปี ก็ดูเหมือนว่าอินเทลกำลังพัฒนา Thunderbolt รุ่นไปต่อไปที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นเป็นเท่าตัวอยู่ในแผนแล้ว
เบาะแสที่ว่ามาจากภาพสเปคของ Thunderbolt รุ่นใหม่รหัส Alpine Ridge ที่คาดว่าจะออกมาพร้อมๆ กับซีพียูรหัส Skylake (หลัง Broadwell ที่ยังไม่ออกอีกที) โดยสเปคสำคัญของ Thunderbolt รุ่นใหม่ (ขอเรียก Thunderbolt 3 ไปก่อน) คือเพิ่มความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล เป็นเท่าตัวไปอยู่ที่ 40Gbps รองรับ PCI-e 3.0 และลดการใช้พลังงานลงครึ่งนึง
ด้วยความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล ที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว Thunderbolt 3 จึงจะรองรับการต่อหน้าจอ 4K สองจอพร้อมกัน
พอร์ต Thunderbolt ตอนนี้รองรับเฉพาะอุปกรณ์ต่อพ่วงเช่นกล้องวิดีโอและฮาร์ดดิสก์ภายนอกเป็นหลัก แต่ในเร็วๆ นี้จะเริ่มใช้เชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตระดับ 10 กิกะบิตต่อวินาทีได้แล้ว
อินเทลระบุวว่าไดร์เวอร์สำหรับ OS X นั้นพร้อมอยู่แล้ว ส่วนไดร์เวอร์สำหรับวินโดวส์กำลังพัฒนา ถ้าพอร์ตออกมาภายหลัง เครื่องที่มีพอร์ต Thunderbolt ตอนนี้ (ซึ่งส่วนมากเป็นเครื่องแมค) ก็จะมีทางเลือกเชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตระดับ 10 กิกะบิตต่อวินาที
หลังอินเทลเปิดตัวพอร์ต Thunderbolt 2 ตอนนี้ก็เริ่มมีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ขายเมนบอร์ดที่รองรับ Thunderbolt 2 กันแล้ว
เมนบอร์ดรายแรกที่ผ่านการรับรองจากอินเทลคือ ASUS ที่เปิดตัวบอร์ด Z87-Deluxe/Quad สเปกคร่าวๆ ได้แก่
ตอนนี้ยังไม่เผยวันวางขายและราคาครับ
ที่มา - AnandTech
เมื่อตอนงาน CES 2012 เอเซอร์ได้เปิดตัว Aspire S5 ซึ่งเป็นโน้ตบุ๊คตัวแรกที่ใส่พอร์ต Thunderbolt เข้ามาเป็นครั้งแรกของผลิตภัณฑ์สาย Windows (Blognone ลองจับ) แต่ล่าสุดมีข่าวออกมาว่าเอเซอร์ได้แอบเอาพอร์ต Thunderbolt ออกไปจาก Aspire S5 และแทนที่ด้วย USB 3.0 แล้วครับ
ทั้งนี้ CNet รายงานเพิ่มเติมว่า เอเซอร์เป็นคนตัดสินใจเอา Thunderbolt ออกเอง โดยให้เหตุผลว่า Thunderbolt ยังเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับ USB 3.0 และยังรองรับอุปกรณ์ได้น้อยกว่า USB 3.0 อย่างมากครับ
Intel ประกาศเปิดตัว Thunderbolt 2 สร้างมาตรฐานใหม่ในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูง รองรับการใช้งานเพื่อรับ-ส่งข้อมูลจำนวนมากอย่างไฟล์วิดีโอ 4K ได้ดี
Thunderbolt รุ่นเดิมเป็นผลงานที่ Intel ร่วมพัฒนาขึ้นมากับ Apple ตั้งแต่ปี 2011 ซึ่งเป็นมาตรฐานการรับ-ส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10Gbps ซึ่งเหนือกว่ามาตรฐาน USB-3 แบบทิ้งห่าง โดยมุ่งเน้นเพื่องานเฉพาะทาง เช่น การตัดต่อวิดีโอ เป็นหลัก และจากจุดนั้น Thunderbolt ก็ได้กลายเป็นฟีเจอร์มาตรฐานของผลิตภัณฑ์จาก Apple มาโดยตลอด ส่วนผู้ผลิตอุปกรณ์รายอื่นก็มีการนำเทคโนโลยี Thunderbolt ไปใช้กันบ้างเช่นเดียวกัน
Intel ประกาศความเร็วของพอร์ต Thunderbolt รุ่นถัดไปว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า จากเดิมที่ 10 Gbps เป็น 20 Gbps โดยความเร็วที่เพิ่มขึ้นนี้จะสามารถทำให้ผู้ใช้สตรีมวิดีโอขนาด 4K ได้อย่างไม่มีปัญหา, รองรับ DisplayPort 1.2 เมื่อเชื่อมต่อกับจอระบบ DisplayPort, จัดการกับพลังงานได้ดีขึ้น และยังช่วยลดต้นทุนของผู้ผลิตอุปกรณ์อีกด้วย
Thunderbolt รุ่นที่กล่าวถึงนี้น่าจะเริ่มผลิตในช่วงหลังของปีนี้ครับ
ว่าแต่ อุปกรณ์ก็ยังแพงอยู่แบบนี้จะมีคนใช้สักกี่คนล่ะเนี่ย?
ก่อนงาน CES 2013 ที่จะจัดขึ้นในสัปดาห์หน้า Corning ก็ชิงเปิดตัวสาย Thunderbolt ที่ยาวเป็นพิเศษ ตั้งแต่ 10, 20 ไปจนถึง 30 เมตร แต่ยังคงประสิทธิภาพการส่งข้อมูลที่ 10Gbps ตามมาตรฐาน Thunderbolt ส่วนราคาและวันวางจำหน่ายยังไม่เปิดเผย แต่คาดว่าน่าจะเป็นในไตรมาสนี้
เคล็ดลับของการทำสายให้ยาวขนาดนี้และยังคงรักษามาตรฐานการส่งข้อมูลของ Thunderbolt ได้ คือ Corning เปลี่ยนวัสดุในสายส่งจากทองแดงเป็นไฟเบอร์ออปติกส์
Corning ยังกล่าวอีกด้วยว่ามีแผนเปิดตัวสาย USB 3 ที่ยาวเป็นพิเศษเช่นกัน
นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของ Thunderbolt ในปีนี้ก็เป็นได้
ในโอกาสเดียวกับที่อินเทลเปิดตัว Ivy Bridge รุ่นดูอัลคอร์สำหรับโน้ตบุ๊ก บริษัทก็ปรับสเปกขั้นต่ำของโน้ตบุ๊กที่จะติดแบรนด์ ultrabook เพิ่มจากของเดิมด้วย
เดิมทีมาตรฐานขั้นต่ำ (baseline) ของ ultrabook รุ่นที่ขายอยู่ในปัจจุบันมี 4 ข้อ คือ ออกแบบสวยงามบางเฉียบ, ปลุกให้ตื่นเร็วกว่า 7 วินาที, แบตเตอรี่ใช้ได้อย่างน้อย 5 ชั่วโมง, มีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยของฮาร์ดแวร์ (security ready)