บทความสั้นนะครับ จากข่าว "เหตุผลที่ทำไมสาย Thunderbolt ของแอปเปิลถึงแพง" ที่บอกว่าแพงเพราะว่าฝังชิป คำถามถัดมาก็คือ ทำไมถึงได้ฝังชิปลงไปในสายทำให้สายแพง ไม่ฝังไปในตัวเครื่องเสียให้จบ เรามาลองดูกันว่ามีความจำเป็นหรือประโยชน์อะไรที่ทำแบบนั้น
Thunderbolt หรือที่มีรหัสเรียกว่า Light Peak นั้นเป็นความร่วมมือของ Apple และ Intel โดยนอกเหนือจากจุดเด่นที่มักพูดถึงกันก็คือความเร็วในระดับ 10 Gbps นั้นมันยังรองรับสายได้ทั้งสายไฟฟ้าและสายใยแก้วนำแสง
โซนี่ได้เปิดตัวโน้ตบุ๊ก VAIO Z ออกมาแล้วกับสื่อทางฝั่งยุโรป เป็นโน้ตบุ๊กขนาดหน้าจอ 13.1 นิ้ว มีความหนา 16.65 มิลลิเมตร และหนักเพียง 1.18 กิโลกรัม (รวมน้ำหนักแบตเตอรี่แล้ว) ซึ่งสเปคคร่าวๆ มีดังต่อไปนี้
แต่สิ่งที่น่าสนใจ ไม่ได้มีเพียงเท่านี้
หลังจากที่มีข่าวลือออกมามากมาย แอปเปิลก็ได้วางขาย MacBook Pro ตัวใหม่หลังจากงานเปิดตัว Light Peak ของอินเทลจริง โดยได้นำเทคโนโลยี Light Peak ใส่ลงไปบนคอมพิวเตอร์พกพาตระกูล MacBook Pro ของตัวเอง ภายใต้ชื่อ Thunderbolt โดยตัวพอร์ตนั้นได้ถูกนำมาใช้ร่วมกับพอร์ต Mini DisplayPort โดยแอปเปิลอ้างว่าพอร์ตดังกล่าวมความเร็วสูงสุดที่ 10 Gbps และสามารถนำไปต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ถึง 6 ชิ้นผ่าน Hub
หลังจากที่ทาง Apple และ Intel ได้เปิดตัวพอร์ต Thunderbolt ลงใน MacBook Pro รุ่นใหม่ หลายคนอาจจะมีคำถามว่าใส่พอร์ตมาแล้วจะเอาพอร์ตมาใช้กับอะไร ทาง Promise ผู้ผลิตอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจึงได้เปิดตัว DAS (Direct Attached Storage) รุ่น Pegasus ที่เชื่อมต่อผ่านพอร์ต Thunderbolt สำหรับเครื่องแมคโดยเฉพาะเป็นเจ้าแรก
โดยจุดเด่นคราว ๆ มีดังนี้
เว็บ Mac4Ever ได้เข้าไปพบกับภาพหลุดของกล่องและตัวเครื่อง MacBook Pro 13" ใหม่ พบว่าแอปเปิลได้เพิ่มพอร์ต I/O ใหม่ภายใต้ชื่อ Thunderbolt ซึ่งน่าจะเป็น Light Peak ตามที่ได้รายงานไว้ก่อนหน้านี้
หากมาดูกันที่ด้านข้างของเครื่อง จะพบว่าพอร์ต Thunderbolt นั้นเข้ามาแทนที่ Mini DisplayPort นอกจากนี้ยังมีการเพิ่ม SDXC Card Reader และการเปลี่ยนชื่อกล้อง Built-in iSight Camera มาเป็น FaceTime HD Camera แทนอีกด้วย ในส่วนของ Trackpad ดูเหมือนว่ายังไม่มีการเปลี่ยนขนาดให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมแต่อย่างใด
UPDATE: เว็บ MacRumors ออกมาคอนเฟิร์มว่าสเปคนี้เป็นสเปคจริงของ MacBook Pro 13" รุ่นต่ำสุดครับ
CNet รายงานว่าอินเทลได้เตรียมตัวที่เปิดตัว Light Peak ในวันพฤหัสบดีที่ 24 ที่จะถึงนี้ ซึ่งบังเอิญตรงกับวันที่มีข่าวลือออกมาก่อนหน้านี้ว่าจะเป็นวันเปิดตัว MacBook Pro รุ่นใหม่
นอกจากนี้เว็บ MacGeneration จากประเทศฝรั่งเศสได้รายงานว่ามีสเปคของ MacBook Pro ใหม่ โดยพอสรุปได้คร่าว ๆ ตามนี้:
Cnet รายงานว่าแอปเปิลในเร็ว ๆ นี้จะโชว์ตัวพอร์ตเชื่อมต่อความเร็วสูง Light Peak บนอุปกรณ์ของตัวเองแล้ว ซึ่งตรงกับข้อมูลก่อนหน้าที่อินเทลเคยให้มานั้นคือสินค้าที่มาพร้อมกับ Light Peak จะเร่ิมเข้าสู่ตลาดในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยคาดว่าแอปเปิลจะเลือกทีจะทำการตลาดพอร์ต Light Peak ภายใต้ชื่อทางการตลาดของตัวเอง
การส่งข้อมูลผ่าน Light Peak จะมีความเร็วอยู่ที่ประมาณ 10 Gbps ซึ่งเร็วกว่า USB 3 ที่มีความเร็วอยู่ที่ 3.2 Gbps เท่านั้น เปรียบเทียบง่าย ๆ Light Peak สามารถส่งข้อมูลบนแผ่นบลูเรย์ดิสก์ทั้งหมดได้ภายใน 30 วินาที
อินเทลประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาที่งาน CES ว่า Light Peak พร้อมแล้ว แต่สิ่งเดียวที่ควรทราบคือในช่วงแรก ๆ จะใช้ทองแดงแทนที่การใช้สายไฟเบอร์ใยแก้วนำแสง โดย Perlmutter ตัวแทนจากอินเทลได้อ้างว่าไฟเบอร์ใยแก้วมีปัญหาเรื่องราคา
นอกจากนี้แล้ว Perlmutter ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่เราอาจจะได้เห็น Light Peak ถูกนำมาใช้กันทั่ว ๆ ไป แม้ว่าก่อนหน้านี้อินเทลได้บอกไว้ว่า Light Peak จะเข้าสู่ตลาดทั่วไปในช่วงท้าย ๆ ของปี 2010 หรือช่วงต้นปีนี้
ย้ำอีกครั้งว่าเป็นแค่ "ข่าวลือ" โดยมีต้นทางมาจากเว็บไซต์ Three Guys and a Podcast
สรุปข้อมูลก็คือ แอปเปิลจะเปิดตัวโน้ตบุ๊กตัวท็อป MacBook Pro รุ่นใหม่ในเดือนเมษายนปีหน้า พร้อมกับ Final Cut Pro รุ่นใหม่ ตามข่าวบอกว่า MacBook Pro จะไม่เพียงอัพสเปกเหมือนปกติ แต่จะนำเทคโนโลยีจาก MacBook Air ตัวใหม่เข้ามาใส่อีกหลายอย่าง เช่น เปลี่ยนมาใช้ SSD แทนฮาร์ดดิสก์ (ความจุสูงสุด 512GB), ตัดไดร์ฟดีวีดีออกไป และอาจจะใช้การเชื่อมต่อแบบ Light Peak ที่พัฒนาร่วมกับอินเทล
ในข่าวเดียวกันยังบอกว่า iPad 2 จะเปิดตัวเดือนมกราคมปีหน้า
รายงานจาก CNET เปิดเผยว่าเราอาจได้เห็นเทคโนโลยี Light Peak ซึ่งเกิดจากการร่วมกันพัฒนาระหว่างแอปเปิลและอินเทลเร็วกว่าที่เราคาดการณ์กันไว้ ในรายงานนี้กล่าวว่าอินเทลอาจเปิดตัวเทคโนโลยีนี้ภายในครึ่งแรกของปี 2011 และมีแนวโน้มสูงว่าจะเป็นเดือนแรก ๆ ของปีอีกด้วย
จากที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่านอกจากเป็นผู้สนับสนุนหลักแล้ว แอปเปิลยังมีส่วนอย่างมากในการพัฒนาเทคโนโลยี Light Peak จึงเป็นไปได้สูงหากแอปเปิลจะเป็นผู้ผลิตรายแรกที่รองรับการเชื่อมต่อ Light Peak
ทางเว็บไซต์ AppleInsider ได้มีการนำเสนอบทความ Why Apple is betting on Light Peak with Intel: a love story ซึ่งเป็นบทความที่วิเคราะห์ถึงเหตุผลที่แอปเปิลกับอินเทลยอมจับมือกันเพื่อช่วยพัฒนา Light Peak ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนอินเทลจะเป็นคนลงทุนลงแรงมากกว่าเพื่อตามใจแอปเปิล รวมถึงย้อนอดีตถึงพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ที่แอปเปิลและอินเทลเคยพยายามทำร่วมกันหรือแยกกันอย่าง FireWire, USB และ DVI ไปจนถึงการย้ายค่ายจาก PowerPC มายัง Intel ของแอปเปิล โดยสรุปสาระสำคัญได้ประมาณนี้ครับ
Engadget (Exclusive) รายงานว่าจากงาน IDF ที่ผ่านมาที่อินเทลได้นำเสนอ Light Peak สายต่อยุคต่อไปที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ด้วยความเร็วที่ 10Gbps ทำให้มันอาจจะเป็นสายต่อที่ใช้ต่ออุปกรณ์ทุกชนิดได้ตั้งแต่การเชื่อมต่อจอภาพไปจนถึงใช้แทนสาย LAN ได้
ในวันที่อินเทลได้ทำการโชว์ Light Peak เป็นครั้งแรกนั้น อินเทลได้ทดลองต่อมอนิเตอร์ที่มีความละเอียดสูงกว่า HD และเชื่อมต่อกับ SSD RAID ด้วยสายเพียงสายเดียว แต่ที่น่าแปลกคือทำไมเครื่องคอมที่นำมาใช้ทดสอบ Light Peak กลับเป็นเครื่อง Hackintosh