Blue Gene เป็นชื่อโครงการพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของ IBM ซึ่งที่ผ่านมาก็มี "สถาปัตยกรรม" ซูเปอร์คอมออกมาแล้วหลายรุ่น เช่น รุ่นแรก Blue Gene/L ที่เคยโค่น Earth Simulator เป็นคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก, รุ่นสอง Blue Gene/P ที่ใช้กับซูเปอร์คอมที่เร็วที่สุดในยุโรป
ตอนนี้ IBM กำลังพัฒนาสถาปัตยกรรมรุ่นที่สาม Blue Gene/Q ซึ่งจะใช้ในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชื่อ Sequoia ที่มีพลังประมวลผลสูงถึง 20 PetaFLOPS (แชมป์ปัจจุบัน K Computer ของฟูจิตสึ อยู่ที่ 8.1 PetaFLOPS)
ในงานสัมมนาวิชาการด้านหน่วยประมวลผล Hot Chips เมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา วิศวกรของ IBM ได้เผยรายละเอียดซีพียูของ Blue Gene/Q ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ (โดยอิงอยู่บนสถาปัตยกรรม Power ของ IBM) ที่น่าสนใจคือมันมีจำนวนคอร์แปลกๆ ที่ 18 คอร์
คอร์
ซีพียูของ Blue Gene/Q จะประกอบด้วย "คอร์" ย่อยๆ ตามแนวทางการออกแบบซีพียูสมัยใหม่ โดย "คอร์" ที่ว่าจะใช้สถาปัตยกรรม Power A2 ที่ IBM สร้างขึ้นมาสำหรับอุปกรณ์เครือข่าย
คอร์ Power A2 ใช้ชุดคำสั่งแบบ 64 บิต หนึ่งคอร์มี 4 เธร็ด และแคช L1 จำนวน 32KB (แบ่งครึ่งสำหรับ data/instruction) ทำงานที่ 1.6GHz
ประเด็นที่น่าสนใจอีกอันคือ IBM เลือกจะลดความเร็วสัญญาณนาฬิกา และพลังไฟฟ้าลงที่ 0.8V เพื่อประหยัดพลังงาน ข้อเสียคือประสิทธิภาพต่อคอร์ลดลง ข้อดีคือการจ่ายไฟสม่ำเสมอกว่าเดิม และการซิงก์การทำงานของคอร์ทั้งหมดของระบบ (จำนวน 1.57 ล้านคอร์) ง่ายขึ้น ประหยัดไฟมากขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านกันตามลิงก์นะครับ คงลงลึกแค่นี้
ซีพียู
ส่วนตัวซีพียูจะนำคอร์ Power A2 จำนวน 18 คอร์มารวมกัน โดยแบ่งงานกันดังนี้
นอกจากคอร์ทั้ง 18 แล้ว ในซีพียูยังมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่น แคช L2, memory controller โดยทุกอย่างเชื่อมกันผ่าน crossbar (xbar switch) ดูรูปประกอบกันได้ตามลิงก์
การประกอบซีพียู
อันนี้เป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจ หลังจากได้ซีพียูมา 1 ตัวแล้ว มันจะถูกรวมกับแรม DDR3 16GB เป็น "compute card" หนึ่งแผ่น จากนั้นจะเอา compute card จำนวน 32 ชุดรวมเป็น "node card" หนึ่งอัน (ขนาดเทียบได้กับเซิร์ฟเวอร์ 1U อันนี้ผมกะขนาดด้วยสายตาคร่าวๆ)
หนึ่งตู้แร็คจะใช้ node card รวม 32 ชุด และส่วนของ I/O อีกต่างหาก จากนั้นจึงจะนำแร็คไปรวมกันเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ต่อไป (ภาพประกอบตามลิงก์)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
ตอนนี้มีลูกค้าของ IBM เตรียมจะใช้ Blue Gene/Q สองราย ได้แก่
ที่มา - The Register
Comments
"•1 คอร์สุดท้ายมีทิ้งไว้เฉยๆ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องอัตราความสำเร็จในการผลิต (yield rate) อธิบายง่ายๆ ว่าผลิตชิป 17 คอร์ให้ใช้ได้ 100% มันยาก ผลิตชิป 18 คอร์ที่เสียตัวนึงแล้วเหลือให้ใช้ 17 คอร์นั้นง่ายกว่ามาก"
ผมอ่านแล้วงงครับ ตรงนี้ = =
ประมาณว่าผลิตของที่สมบูรณ์ 100 % มันยากครับ เลยผลิตให้เกินไป 1 คอร์ ถึงเสียไป 1 คอร์ก็ไม่เป็นไร
เช่นถ้าเราผลิต 17 คอร์ แล้วต้องการใช้ทั้ง 17 คอร์เนี่ย ของเสียก็มีตั้งแต่ เสีย 1 คอร์จนถึงเสีย 17 คอร์เลย
แต่ถ้าเราผลิตเผื่อไว้ เป็น 18 คอร์ ของเสียคืออันที่เสียตั้งแต่ 2 คอร์ขึ้นไป
อ้อ ขอบคุณครับ เข้าใจแล้ว
เออเข้าใจคิด ในเมื่อ 17 คอร์มาไม่เต็ม ก็ทำ 18 มันซะเลย ถึงมาไม่เต็ม แต่ก็ได้ตั้ง 17 คอร์ :P
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
น่าจะเป็น 32 compute card = 1 node card รึเปล่าครับ (พิจารณาจากรูป)
แก้แล้วครับ
งั้นทำ 20 cores เลย ใช้ทำงาน 18 cores เหลือไว้ 2 cores
คาดว่าเขาคงมีจุด Optimize นะครับ
SPICYDOG's Blog
ก็คล้าย ๆ HDD ที่ผลิตมาที่ความจุเดียว แต่อันไหน QC ความจุสูงสุดไม่ผ่านก็ไปขายเป็นรุ่นความจุต่ำ แล้ว block พื้นที่เสียไว้
จะรู้ได้ไงว่าคอร์ไหนเสียหว่า ถ้ามันเกิดเสียจริงๆ
ผลิตเสร็จแล้วมีกระบวนการทดสอบครับ
เหมือน CPU AMD ที่มีบางรุ่นเปิด Core เพิ่มได้ แสดงว่าเป็นผลผลิตจากการผลิตรุ่นที่ Core เยอะกว่า แล้วก็เทสไม่ผ่านเลยปิดบาง Core ลดลงมาขายเป็นรุ่นต่ำ
(เช่น Phenom II x4 955 กับ Phenom II x2 555)
อินเทลกำลังโหมโฆษณา 8 คอร์ เจอไอบีเอ็มเข้าไปโม้ไม่ออก
คนละตลาดกันกระมังครับ
อันนี้ Mainframe, Super Computer ที่ IBM เป็นเต้ยมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
ส่วน 8 Core ที่ Intel, AMD กำลังซัดกันอยู่ที่ตลาด Consumer, Server ทั่วไปนะครับ
ทศกัณฐ์ยังมีแค่ 10 คอ เอง LOL
ทศกัณฐ์มี 1 คอ 10 เธรด(หน้า)
จริงๆแล้ว ทศ แปลว่า 10 กัณฑ์ แปลว่า คอ ครับ
ไปดูดีไซจ์ทศกัณฑ์ต้นแบบแล้วจะหลอน
สงสัยจะได้เห็นการเปิดหัวกันอีก
จริง ๆ วิธีปิดไปคอร์นึงนี้ก็ใช้ใน IBM Cell ด้วยนะ (แต่รายนี้มี 8 คอร์ ปิดไปหนึ่ง)
แนวคิดการผลิตคล้ายๆ AMD แต่คงจะไม่มีการเปิดหัวได้แบบ AMD
oxygen2.me, panithi's blog
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
18 คอร์ 18 คอมเม้น
เดี๋ยวมีข่าวเปิด core แบบ AMD!!!! 555+
/me เพ้อฝัน