ถ้า Ubuntu เป็นคน ตอนนี้ก็คงจะเป็นเพียงเด็กตัวเล็กๆ คนหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าใครได้เฝ้าดูการเติบโตของเขาแล้วก็คงจะแปลกใจในความเปลี่ยนแปลงไปไม่น้อย
มาวันนี้ผมอยากชวนทุกคนย้อนอดีตไปด้วยกันซักหน่อยครับ
Mark Shuttleworth คือบุคคลหนึ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญในประวัติศาสตร์ Ubuntu โดยช่วงชีวิตก่อนหน้านี้ เขาได้มีส่วนร่วมในโครงการ Debian และต่อมาในปี 2004 เขาได้ก่อตั้ง Canonical ขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างลินุกซ์ทางเลือกใหม่ที่ต่อยอดมาจาก Debian
คำว่า Ubuntu นั้นเป็นภาษาแอฟริกันโบราณ ซึ่งมีความหมายว่า "humanity towards others" หรือ "ความกรุณาต่อผู้อื่น"
ใน Ubuntu รุ่นแรกๆ จะมีความพิเศษคือจะมีคลิปที่กล่าวถึงปรัชญา Ubuntu โดยท่าน Nelson Mandela อยู่ด้วย (ในรุ่นใหม่ๆ ไม่ปรากฏ) และเพื่อเป็นการระลึกถึง ผมจึงขอนำเสนอไว้ด้านล่างครับ
หลายคนคงทราบกันดีว่าชื่อรุ่นของ Ubuntu จะเรียงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ ยกเว้นในสองเวอร์ชันแรก ดังนั้นเราจึงมีชื่อรุ่นที่ขึ้นต้นด้วย H สองรุ่นคือ Ubuntu 5.04 (Hoary Hedgehog) และ Ubuntu 8.04 LTS (Hardy Heron)
มีรุ่นแรกอย่างเป็นทางการคือ Ubuntu 4.10 (Warty Warthog) ได้ออกสู่สายตาชาวโลกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2004 ซึ่งมีหน้าตาแบบนี้
เพราะ Ubuntu ถูกสร้างมาเพื่อ "ทุกคน" ดังนั้นความง่ายจึงเป็นสิ่งสำคัญ และการจะเปลี่ยนมุมมองของผู้ใช้งานทั่วไปต่อแพลตฟอร์มลินุกซ์ก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเช่นกัน ซึ่งในรุ่นนี้มีฟีเจอร์หลักๆ ได้แก่
เราจะเห็นว่าในรุ่นแรกจะเน้นตอบโจทย์ในเรื่องของความง่าย ทั้งในการติดตั้งและในการใช้งาน ลินุกซ์มีความเป็น GUI มากขึ้น (แม้จะตัด CLI ไม่ขาดก็ตามที) ซึ่งก็เป็นสิ่งที่พัฒนาเรื่อยมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน
ถ้าใครได้สัมผัส Ubuntu มาอย่างต่อเนื่องก็จะเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ถูกใจบ้างไม่ถูกใจบ้าง ก็เป็นธรรมดาครับในการเติบโตของเด็กคนหนึ่ง แต่ยังไงเมื่อเรารับเลี้ยงน้องเขามาแล้ว เราจับน้องเขามา "ทำหล่อ" กันทุกคนไม่ใช่หรือ?
ที่มา - Wikipedia, Ubuntu Mailing Lists, H-Online, OMG! Ubuntu!
Comments
น่าจะได้แล้วนะครับ...ส่วนตัวผมมีข้อสงสัยนึงคือ บ่อยครั้งที่ผมจะเขียนในรูปบทความ แล้วแหล่งอ้างอิงและลิงค์ต่างๆ ก็ค่อนข้างมากกว่าข่าวทั่วไป แต่ผมไม่อยากใส่ไปในตัวข่าวเยอะอะครับ (รู้สึกมันฟ้าๆ เยอะ..ดูลายตา) ผมควรที่จะใส่ไว้ที่ตัวข่าวเลย หรือเป็นอ้างอิงด้านล่างดี หรือมีหลักเกณฑ์อย่างไร คุณ nuntawat หรือ writer ท่านอื่นๆ มีข้อคิดเห็นอย่างไรบ้าง ก็ช่วยบอกนะครับ จะได้นำไปปรับในการเขียนครั้งต่อๆ ไป
อีกประการหนึ่ง ผมอยากถามเรื่องภาษา ว่าภาษาที่ใช้ควรอยู่ในระดับไหนอะครับ กึ่งทางการ หรือทางการ หรืออะไร เพราะผมเองก็ติดที่จะใส่ภาษาของตัวเองลงไปบ้าง ทุกท่านเห็นว่าอย่างไรครับ
ปล. ขอบคุณคุณ nuntawat และอีกหลายๆ ท่านมากๆ นะครับ ที่ใจดีสละเวลามาบอกข้อผิดพลาดบ่อยๆ ผมเองก็ผิดบ่อยๆ เหมือนกัน 555 ...สัญญาว่าครั้งหน้าจะเป็นเด็กดี :>
ภาษาตัวเองครับ แต่ต้องถูกต้องตามหลักภาษา และไม่ใช้คำซ้ำซ้อน/ฟุ่มเฟือยครับ
ส่วนแหล่งอ้างอิง ถ้าสามารถทำให้มันเป็นส่วนนึงของเนื้อข่าวได้ก็จะดีกว่าครับ (สำหรับผม) ถ้าคิดว่าไม่ชอบก็ใช้ประมาณ
(1, 2, 3)
HTML ย่อมาจาก HyperText Markup Language ครับ ส่วน HTTP ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol
คำสำคัญอยู่ที่คำว่า HyperText ซึ่งอธิบายง่ายๆ ว่ามันคือ Text (ข้อความ) ที่มันสามารถอ้างอิงไปยังข้อความอื่นได้โดยตรง โดยในที่นี้มันคือแนวคิดของ link หรือชื่อเดิม hyperlink ที่เราคุ้นเคย
แนวคิด HyperText มีมานานแล้ว ก่อน HTML ด้วยซ้ำ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ Help ของวินโดวส์ ซึ่งมันจะกดข้ามไปข้ามมาระหว่างหน้าได้ ต่างจากแนวคิดแบบเดิมที่เป็น "เพจ" แบบหนังสือ ต้องเปิดไปตามลำดับ (sequential)
ทีนี้กลับมาที่คำถามครับ แนวคิดเรื่อง footnote/reference สำหรับการอ้างอิงนั้นเกิดขึ้นมาสำหรับหนังสือกระดาษ เพราะมันไม่สามารถอธิบายในข้อความได้ และต้องบอกจุดสังเกต (เช่น เลขหน้าหรือเลขที่อ้างอิง) เพื่อให้คนที่สนใจ "ข้อความขยาย" สามารถไปตามอ่านต่อได้ถูก (ซึ่งจะตามอ่านที่ท้ายเล่ม หรืออ่านที่หนังสือเล่มอื่น ก็แล้วแต่)
แต่พอเป็นกรณีของเว็บที่เป็น hypertext ตัวข้อความสามารถเชื่อมไปยังเพจที่อธิบายตัวมันได้โดยตรง (ผ่าน "เบราว์เซอร์") ก็สามารถใส่ลิงก์ไปที่ข้อความได้เลยครับ คนอ่านที่สนใจคำขยายเหล่านั้นจะคลิกลิงก์เพื่อตามอ่านกันเอง
ส่วนประเด็นเรื่องสีฟ้าเยอะหรือไม่เยอะ ก็เป็นการคัดเลือกเฉพาะลิงก์สำคัญๆ เท่าที่จำเป็น แล้วล่ะครับ
" ซึ่งในรุ่นนี้มีเจอร์หลักๆ "<-- แปลกๆน่ะครับ
ปล.ปวดใจกับ "คอมพิวเตอร์วางตัก" -
HBD จ้าาา
WE ARE THE 99%
HBD UBUNTU :D
HBD ครับ ใช้มาตั้งแต่ 7.04 ลำบากมาก ต้อง format ทุกๆ 6 เดือน 555
เหรอครับ ของผมไม่ถึงเดือนก็จัดละ ถ้ารุ่น server ก็นานหน่อยเพราะไม่ได้ไปซนอะไรกะมัน เหอ เหอ
ใช้มาตั้งแต่ตอนไหนไม่รู้ แต่ลบทิ้งภายใน 7 วันหลังติดตั้งทุกทีเลย
เริ่มใช้ตั้งแต่ 7.04 เหมือนกันครับ แต่ลงแบบ WUBI คู่กับวินโดวส์ หกเดือนเปลี่ยนครั้ง ^_^
ก่อนหน้านี้เคยลองแบบ Wubi ตั้งแต่เป็นสีส้ม ๆ (น่าจะ 8.04)
ความสามารถด้านมัลติมีเดียไม่ค่อยน่าประทับใจเลย
จนต้องหนีไปใช้ Linux Mint แทน
เพิ่งมาเริ่มใช้งานจริงจังก็ 11.10 นี่แหละค่ะ
เพราะใช้มือถือ Nokia ต่อเป็น bluetooth modem ได้แล้ว
จะต่อเน็ต + เข้าเว็บ + โหลดโปรแกรม + codec ไว้เล่นไฟล์มีเดียต่าง ๆ ก็สะดวกขึ้นเยอะ
(ใช้แทน Linux Mint ได้เลย)
ที่สำคัญคือเครื่องที่ไม่ค่อยแรงเช่น Netbook Atom รุ่นเก่า single-core
แค่โปรแกรม Totem ก็สามารถเล่นไฟล์ H.264 ระดับ 720p ได้สบาย ๆ
(แต่ต้องโหลด codec มาเพิ่มก่อน)
นาน ๆ ครั้งอาจมีกระตุกบ้างก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้แต่ถ้า VLC นี่ไม่มีกระตุกเลย
ยกเว้นพวก codec ใหม่ล่าสุดอย่าง H.264/AVC High 10 Profile (Hi10P) ที่ตอนนี้ยังเล่นไม่ได้
แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่าประทับใจค่ะ ^^
HBD ฮาว์ฟ~~~~~ฟ
HBD Ubuntu
เมื่อตอนเด็กกว่านี้ก็พอทำหล่อได้อยู่หรอก แต่หลัง ๆ แต่งไปไม่หล่อ แถมน้องยังเอาแต่ร้องงอแงบ่อยด้วยนี่สิ พี่ทำอะไรผิดไป T-T
Jusci - Google Plus - Twitter
ที่มาของคำว่า Ubuntu ครับ http://gapangman.exteen.com/20090518/entry
/me เผ่นแน่บ!
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
Poontah! เลยดีกว่าครับ (เสริชดูกันเอง เด็กๆไม่แนะนำให้ดู)
OS หลักของผมเลย ใช้มาตั้งแต่ 6.10 ตอนนี้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างจริงจัง เกือบ 100% ยกเว้น graphic design พยายามแล้ว แต่ก็ยังไม่สำเร็จ
แต่ก็ไม่ค่อยกล้าเชียร์ให้คนอื่นใช้ คิดถึงตอนที่หักดิบมาใช้ Ubuntu เห็นความเหนื่อยของตนเองแล้ว ไม่ยากคิดถึงผู้ใช้ทั่วไปเลยว่าจะขนาดไหน แม้ปัจจุบันจะใช้งานง่ายมากแล้วก็ตาม
พออ่านดูแล้ว คอมพิวเตอร์วางตัก มันก็รื่นหูดีนะ
ผมก็ชอบนะ เข้าใจง่าย พูดกับใคร ใครก็เข้าใจ
Ton-Or