พรรคประชาธิปปัตย์จัดแถลงข่าวว่าทางพรรคจะทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงไอซีที ให้จัดการเว็บหมิ่นอย่างจริงจัง โดยต้องกำหนดกรอบเวลา, ประสานความร่วมมือกับเจ้าของเว็บในต่างประเทศ, ประสานผู้นำประเทศต่างๆ เรียกผู้ให้บริการมาเจรจา, และสุดท้ายคือการแบนทั้งเว็บ
พร้อมกันนี้พรรคประชาธิปัตย์ยังได้เปิดหน้า Facebook "Fight Bad Web" และเปิดอีเมล FightBadWeb@gmail.com เพื่อรับเรื่องร้องเรียนการทำความผิดตามพรบ. คอมฯ
คนที่ขึ้นแถลง ณ ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์คือ น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกุล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีไอซีทีในรัฐบาลที่แล้ว ผู้อ่าน Blognone อาจจะจำกันได้จากการออกแถลงการของเธอ ที่ระบุว่ารัฐบาลควรให้โอกาสกสท. ทำ 3G, ประชาธิปัตย์บล็อกเว็บถึง 25 เท่าของรัฐบาลพรรคพลังประชาชน, และบรอดแบนด์แห่งชาตินั้นสำเร็จแล้ว
หลังการแถลง น.ส.มัลลิกา ยังทวีตอีกสิบข้อความอธิบายการแถลง และขอให้การสื่อสารทำให้ครบถ้วนทั้งสิบข้อความ ผมได้คัดลอกทั้งสิบข้อความไว้ท้ายข่าวแล้ว
จุดสังเกตุในเรื่องนี้คือการที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ประชาชนที่พบเว็บหมิ่นแล้วแจ้งไปนังรัฐบาลแล้วไม่ได้รับการแก้ปัญหาทันท่วงที ให้แจ้งไปยังพรรคประชาธิปัตย์แทน น่าสนใจว่าการกระทำเช่นนี้จะทำได้หรือไม่ในทางกฏหมาย เพราะการส่งข้อความที่ผิดกฏหมายแม้จะส่งไปยังตัวบุคคลนั้นก็ผิดกฏหมายได้ เช่นคดีของนายอำพลที่หมายเลข IMEI เป็นหมายเลข IMEI ที่ใช้ส่งข้อความหมิ่นไปยังนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรณีนั้นนายสมเกียรติแจ้งดำเนินคดี แม้จะเป็นการส่งข้อความมายังเลขหมายของเขาโดยตรงจนคดีมีการพิพากษาจำคุก 20 ปีไปแล้ว การส่งอีเมลแจ้งไปยังพรรคประชาธิปัตย์นั้นไม่น่าจะได้รับการยกเว้นใดตามกฏหมาย เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
คำแถลง 10 ข้อของ น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกุล
Comments
กฏหมาย 112 มันเป็นกฏหมายที่ปกป้องตัวเองได้ด้วย คือใครจะวิจารณ์ 112 ก็อาจจะโดนใส่ความว่าทำผิด 112 ไปด้วย นี่คือข้อหนึ่ง
คุณไม่รู้เพราะมันไม่เป็นข่าว คนสนับสนุนมันก็ไม่ได้เพิ่มตูมเดียวเป็นร้อยๆพันๆ แต่มันเกิดจากการที่ต้องเคส มีเรื่องมีราวเป็นตัวอย่างขึ้นมาก่อน มันถึงจะทำให้คนเห็นด้วย
มันก็เหมือนที่ผมชอบอธิบายทุกอย่างด้วยการยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับอะไรบางอย่าง คนเรามันต้องเห็นภาพชัดๆ มันถึงจะเข้าใจได้ว่าอะไรบางอย่างมันมีข้อดีข้อเสียแอบซ่อยอยู่แค่ไหน
เรื่องทักษิณคือเรื่องนึงที่ปลุกกระแส เรื่องอากงก็อีกเรื่องนึงที่ปลุกกระแส ก่อนทักษิณก็มี ส.ศิวรักษ์ และคนทำสื่อต่างๆ ที่โดนจับเพราะกฏหมายนี้ มันค่อยๆแพร่ไป จำนวนมันค่อยๆมากขึ้น จากคนที่อยู่ๆไม่สนใจอะไร ก็จะกลับลำมาสนับสนุนถ้ามันมีเรื่องมากระทบตัวเองได้
แต่ถ้าอยู่ๆดีๆ ไม่มีเรื่องอะไร ไปถามคนไหนร้อยละเก้าสิบก็คงบอกว่า ก็มีไว้ไม่เป็นไร เพราะยังไม่กระทบถึงตัวเอง ก็เหมือนพวกคุณ คิดอะไรง่ายๆไปตามสามัญสำนึก ว่าคนโดนจับก็แค่พวกด่าในหลวงเสียหาย สมควรแล้ว แค่นั้น ซึ่งความจริงมันไม่ใช่ไง
กฏหมายมันก็เหมือนโปรแกรม ถ้าโปรแกรมมีบั๊ก ตอนเขียนโค้ดมันยังไม่รู้หรอก มันดูเมคเซนส์ไปหมด แต่พอรันบ่อยๆ มันถึงจะเริ่มรู้สึกว่ามีบั๊ก
และถ้าคนที่เขียนโปรแกรมมีอีโก้ไม่ยอมแก้ โยนให้เป็นความผิดของคนใช้ คนสั่งการ หรือพยายามสะกดจิตคนอื่นว่ามันไม่ต้องแก้ มันใช้ได้อยู่แล้ว บั๊กตัวนี้แหละคือฟีเจอร์ ตามปกติคือไล่ออกนะ
ถ้าไม่ชัวร์ ว่า อากง ผิดจริงรึเปล่า
แค่นี้ ก็เป็นคำวิจารณ์ ที่มากเกินพอแล้วหล่ะครับ
เพราะระบบ นิติรัฐ การที่ไม่สามารถฟันธงได้ 100% ว่าอากงผิดจริง = อากง คือ ผู้บริสุทธ์
ขอบคุณการเมืองไทย...ที่ทำให้เรามีความตื่นตัวกันมากขนาดนี้
เห็นชัดเลยว่าทุกคนมีความเห็น มีความคิด ส่วนตัวผมว่าถ้าคนที่มีความคิดความเห็นได้มีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าการเลือกตั้ง สส เข้าสภาล่ะก็ บ้านเราน่าจะหล่อได้อีก (ไม่กล้าพูดว่าชาติจะดีขึ้น)
หนุ่มๆ geek เมื่อมาเรื่องการบ้านการเมือง ก็ไม่เบานะครับนี่ อิอิ
อะไรเนี่ยอ่านไม่ไหว ขอผ่านดีกว่า
Google+ ยังมี
อ๊ะ! หรือนี่จะเป็นโอกาสของ Google?
มีสำนักงานในไทยแล้วด้วย จะประสานงานป้องกันอะไรก็น่าจะง่ายกว่า :D
YouTube ที่โดนพาดพิงด้วย นี่ก็ของ Google เหมือนกันนะครับ
เห็นเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับข่าวเลยแปะเอาไว้แล้วกันครับ
คำชี้แจง
สรุปแค่ขู่
คอมเม้นท์มี 2 หน้าแล้ว เพิ่งเคยเจอ = ="
ถ้าไม่มีข่าวนี้ นี่ไม่รู้มาก่อนเลยนะเนี่ย ว่า comment ใน BN มีกำหนดด้วยว่าหน้าละ 300 comment
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
Pages