Tags:
Node Thumbnail

ปรากฎการณ์เว็บทั่วโลกร่วมกันต่อต้านร่างกฏหมายต่อต้าน Stop Online Piracy Act ตลอดวันนี้ เว็บที่เข้าร่วม เช่น Wikipedia, Scribd, Wired หรือ EFF บทความนี้จะแนะนำว่าทำไมหน่วยงานจำนวนมากในโลกจึงต่อต้านกฏหมายฉบับนี้ และเมืองไทยเองเพิกเฉยต่อกระบวนการเหล่านี้มาอย่างไรกันบ้าง เพื่อบางทีที่เรามองเหตุการณ์ในต่างประเทศแล้วเราอาจจะมองเห็นภาพที่สังคมอินเทอร์เน็ตต่อการเซ็นเซอร์

ที่มากฏหมาย

ในสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้ การบล็อคเว็บมีจำนวนไม่มากนัก และมักจำกัดอยู่เฉพาะคดีภาพอนาจารเด็ก เช่น ปฏิบัติการ Protect Our Children การดำเนินการทั้งหมดอาศัยการดำเนินคดีกับผู้จดทะเบียนโดเมน โดยหลังจากดำเนินคดีแล้ว จึงยื่นให้บริษัทผู้ให้บริการดำเนินการปิดโดเมนนั้นๆ ลงไป การดำเนินคดีแบบนี้จะมีผลกับทั้งโลก เพราะโดเมนนั้นๆ ถูกปิดลงไปจริงๆ

การปกป้องสิทธิในการแสดงความคิดเห็นอยู่ในรัฐธรรมนูญข้อแรกของสหรัฐฯ และได้รับการอ้างอิงค่อนข้างมาก ปรกติแล้วผู้ให้บริการมักไม่สามารถปิดกั้นข้อมูลได้ หากปิดก็มีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้อง

กฏหมาย SOPA ถูกออกแบบมาเพื่อให้เกิดการเซ็นเซอร์ได้ง่ายขึ้น ผู้ให้บริการทั้งด้านอินเทอร์เน็ต และด้านการเงินสามารถหยุดให้บริการกับเว็บใดเว็บหนึ่งได้โดยไม่แม้ตัวเองไม่ใช่บริการ "ต้นทาง" ที่ผู้กระทำความผิดมาซื้อบริการ หากแต่เป็นตัวกลางที่นำข้อมูลใดๆ ในโลกอินเทอร์เน็ตมาสู่ผู้ใช้

เช่นทุกวันนี้เวลาเราเชื่อมต่อสัญญาณ ADSL บริการที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ADSL (ที่เราเรียกว่า ISP) จะมีให้เสมอคือบริการ DNS ที่ใช้แปลงชื่อจากชื่อโดเมน เช่น www.blognone.com เป็นหมายเลขไอพี 203.150.228.223 ฐานข้อมูลนี้มีขนาดใหญ่ และมีการใช้งานสูงมาก ทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตถูกออกแบบให้ทุก ISP สามารถมีเซิร์ฟเวอร์ DNS ของตัวเองได้

แต่บางครั้งผู้ให้บริการจดทะเบียนโดเมนนั้นก็ไม่อยู่ในสหรัฐฯ ทำให้อำนาจศาลของสหรัฐฯ เองไม่สามารถดำเนินการใดๆ กับผู้ให้บริการจดโดเมนเหล่านั้นได้ ส่วน ISP ก็ปฎิเสธที่จะดำเนินการอื่นใดเนื่องจากกฏหมายไม่รับรองอำนาจเอาไว้

ลักษณะของกฏหมาย

กฏหมาย SOPA จึงถูกเสนอเข้ามาเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับ ISP ที่จะสามารถปิดกั้นโดเมนบางโดเมนผ่านทางบริการ DNS ของตัวเอง ตัว SOPA เองยังเพิ่มฐานความผิดขึ้นเป็นวงกว้าง มันกำหนดภาระหน้าที่ให้เว็บไซต์ต่างๆ ต้องถอดลิงก์จากเว็บที่ถูกขึ้นบัญชีว่าเป็นเว็บสนับสนุนการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา, บริการที่สร้างรายได้ใดๆ ไม่สามารถทำธุรกรรมกับเว็บเหล่านั้น, บริการทางการเงินต้องหยุดให้บริการ, และ ISP ต้องปิดกั้นเว็บ

นอกจากการกำหนดภาระให้กับหน่วยงานต่างๆ SOPA ยังเปิดให้หน่วยงานเหล่านี้สามารถพิจารณาปิดเว็บที่เข้าข่ายความผิดของ SOPA โดยที่ผู้เสียหายไม่ต้องดำเนินการทางกฏหมายกับเจ้าของเว็บไซต์เหล่านั้น

เว็บที่ SOPA มุ่งเอาผิดนั้นมีความหมายกว้างมาก คือ เว็บที่สร้างขึ้นหรือถูกใช้งานเพื่อ สนับสนุน, กระตุ้น, หรืออำนวยความสะดวกให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ การกำหนดความหมายในวงกว้างเช่นนี้แทบจะทำให้เว็บใดๆ ที่เปิดให้มีการโพสอย่างอิสระ หรือเว็บที่สร้างเนื้อหาจากผู้ใช้ทั้งหลาย สามารถเข้าข่ายความผิดของ SOPA ได้ในทันที รวมถึงเครื่องมือที่ใช้สำหรับการหลบเลี่ยงการบล็อคต่างๆ ก็อาจจะถูกฟ้องในฐานะเครื่องมือที่ช่วยทำผิดกฎหมายได้

ผลที่จะเกิดขึ้น

ผลกระทบที่ตามมาจาก SOPA นั้นจะทำให้ภาระต้นทุนของเว็บเกิดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากเพราะต้องคัดกรองลิงก์ไม่ให้ไปลิงก์ไปยังเว็บใดๆ ที่ SOPA กำหนด, รวมถึงต้องระวังไม่ให้เว็บของตนเองถูกใช้ในทางใดๆ ที่อาจจะเข้าข่ายความผิดของ SOPA เสียเอง

บริการด้านเทคนิคหลายอย่างอาจจะถูกทำให้เป็นบริการผิดกฏหมาย แม้แต่บริการพื้นฐานเช่น DNSSEC ที่ทั่วโลกกำลังอัพเกรด (1, 2) กลับกลายเป็นบริการผิดกฏหมายไป เพราะในบริการ DNSSEC เมื่อผู้ให้บริการขั้นต้นพยายามปลอมแปลงข้อมูลในการตอบ DNS ผู้ร้องขอ DNS จะร้องขอไปยังเซิร์ฟเวอร์ลำดับถัดๆ ไปโดยอัตโนมัติ จนกว่าจะได้ค่าที่ถูกต้อง ผู้ให้บริการรายใดที่ตอบ DNS ที่ถูกต้องจะกลายเป็นการอำนวยความสะดวกให้เกิดการหลีกเลี่ยงการบล็อคเว็บตามรายการของ SOPA ทันที

ในเชิงสังคมแล้ว SOPA ไม่ได้สร้างโครงสร้างการตรวจสอบอำนาจที่กฏหมายได้ให้ไว้แต่อย่างใด เจ้าของลิขสิทธิ์อาจจะสั่งการโดยตรงไปยังผู้ให้บริการใดๆ โดยไม่มีบันทึกอย่างเป็นทางการ จนกว่าผู้ให้บริการจะขัดขืนไม่ทำตามและเกิดเป็นคดี

ไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

ขณะที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับ SOPA น่าแปลกใจที่ประเทศไทยอยู่กับกฏหมายที่ให้อำนาจระดับใกล้เคียงกันมาแล้วหลายปี นับแต่ก่อนพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ประเทศไทยเริ่มบล็อคเว็บเช่น torproject.org ในช่วงเดือนเมษายน 2549 จนถึงการบล็อคเว็บใหญ่ๆ เช่น YouTube และ CNN.com ในช่วงการใช้ประกาศคปค. ฉบับที่ 5

ตัวพรบ.คอมพิวเตอร์เองมีการกำหนดแนวทางการบล็อคเอาไว้เป็นแนวกว้างโดยไม่กำหนดถึงกระบวนการในโลกความเป็นจริงแต่อย่างใด โดยกำหนดไว้เพียงว่าให้ "ระงับการทำให้แพร่หลาย" ตามมาตรา 20 ทำให้ไม่แน่ชัดว่าผู้ให้บริการต่างๆ มีความรับผิดชอบในระดับไหน เราจึงได้เห็นการบล็อคแบบแปลกๆ เช่นการบล็อกจาก URL หรือการบล็อคจาก IP ที่บางครั้งทำให้บริการจำนวนมากที่อยู่บนหมายเลขไอพีเดียวกันใช้งานไม่ได้ไปด้วย จนถึงความเป็นไปได้อื่นๆ เช่นการสร้างหน่วยงานโจมตีโต้ตอบเพื่อ "ระงับ" เว็บเหล่านั้น แนวทางของเว็บที่ถูกบล็อคได้นั้นถูกกำหนดไว้กว้างๆ คือ เว็บที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง, ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

แม้พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ นั้นจะมีมาตรา 10 ที่ห้ามไม่ให้มีการระงับการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ว่ามีความผิด แต่ในทางปฎิบัติแล้ว กระทรวงไอซีทีเสียเองกลับเลือกที่จะกดดันให้ด้วยการขอความร่วมมือให้ ISP ต่างๆ บล็อคและป้องกันเว็บไซต์ที่อาจผิดพรบ.คอมพิวเตอร์ฯ กระบวนการขอความร่วมมือเช่นนี้ทำให้ไม่มีการตรวจสอบว่าการปิดเว็บโดยไม่ผ่านกระบวนการนั้นมีเหตุผลเป็นเช่นใด และมีจำนวนมากน้อยเพียงใด การคานอำนาจและการตรวจสอบในทุกวันนี้จึงยังคงเป็นเรื่องต้องตั้งคำถามจากพรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับปัจจุบัน

ในแง่ของการลิงก์นายอนุดิษฐ์ นาครทรรพเองก็เคยให้ข่าวกับต่างประเทศว่าการกด Share/Like แม้จะเป็นชาวต่างชาติและกระทำในต่างประเทศก็จะถูกดำเนินคดีหากเดินทางเข้ามาในประเทศไทย รวมถึงการตีความว่าการเข้าไปยังเว็บที่ถูกบล็อคไว้ก็เป็น Unauthorized Access ที่มีความผิดตามมาตรา 7

ความตื่นตัวกับ SOPA ที่เป็นการต่อสู้กันระหว่างมวลชนกับสส. ที่กำลังผ่านร่างกฏหมาย อาจจะชวนให้ตั้งคำถามถึงการตระหนักรู้ในสิทธิประชาชนต่อกระบวนการทางกฏหมายว่าในประเทศประชาธิปไตยนั้นการผ่านกฏหมายที่มีผลกระทบเช่นนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และกดดันผ่านเสียงประชาชนไปยังเหล่าผู้แทนอย่างไร

ผลต่อจากนี้

เรื่องน่าสนใจคือทางด้านทำเนียบขาวได้ออกมาตอบข้อเรียกร้องของประชาชนผ่าน Whitehouse.gov แล้วว่าทางทำเนียบขาวไม่เห็นด้วยต่อการเข้าไปทำลายระบบ DNSSEC และการออกกฏหมายเพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ต้องมีทางออกที่ดีกว่านี้ หากทำเนียบขาวทำตามประกาศนี้จริง แม้ SOPA จะผ่านสภาขึ้นมาได้ ประธานาธิบดีก็มีสิทธิ์วีโต้กฏหมายให้ตกไปได้ทันที

พร้อมๆ กับการหยุดกฏหมาย SOPA (และ PIPA ที่มีเนื้อความคล้ายกัน) สส. อีกกลุ่มหนึ่งก็พยายามหาทางออกร่วมกันกับโลกอินเทอร์เน็ตด้วยการเสนอร่างกฏหมาย OPEN โดยตอนนี้ร่างกฏหมายนี้กำลังอยู่ระหว่างการฟังความคิดเห็นประชาชน เพื่อเสนอแก้ไขก่อนผลักดันเข้าสู่สภา

เว็บที่ต่อต้าน SOPA มาตลอดอย่างกูเกิลก็เริ่มเปิดรับลงชื่อเพื่อร่วมต่อต้าน SOPA แต่ก็ยังมีความไม่แน่ชัดของสภาผู้แทนของสหรัฐฯ ว่าจะเจรจากันได้หรือไม่จากข่าวว่าวิปเสียงข้างมากอาจจะคว่ำร่างกฏหมายนี้ทิ้ง

Get latest news from Blognone

Comments

By: taqman
Android
on 19 January 2012 - 01:33 #374913

ไทยก็น่าจะมีแบล็กเอาท์บ้างนะครับ

By: thegodth
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 20 January 2012 - 02:26 #375375 Reply to:374913

ผมว่าเมืองไทยคงยากนะ

อันนี้คือความรู้สึกของผมนะ เหมือนเขาจะมองว่า คนที่ใช้อินเทอร์เน็ทเล่นในเมืองไทยไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไร ถึงออกกฏหมายไปคนที่รู้เรื่องที่จะค้านก็คงมีแค่ไม่กี่คน ที่เหลือถ้าเขายังเปิดเว็บได้อยู่เขาก็ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอะไร ก็ยังเปิดเว็บเล่นได้อยู่ คนก็ยังเข้าไปดูได้ตามปกติจนกว่ามันจะถูกปิดเพราะกฏหมายนี่แหละ แล้วถึงถ้าปิดเว็บไปคนโวยวายมันก็คงแค่ในอินเทอร์เน็ต แล้วถ้าโวยวายจริงประท้วงจริง ผมก็ไม่เห็นว่าเขาจะฟังเสียงประชาชนเท่าไร ฉันจะปิด ฉันจะแบนใครจะทำไม? ก็เหมือนองค์กรบางแห่ง ปิดเว็บ คนโวยวายเยอะแยะ ผมไม่เห็นเขาจะสนใจคนที่โวยวายเท่าไรเลย

แต่ถ้าคนที่โวยวายเป็นใหญ่เป็นโต เผลอๆ เย็นวันนั้นใช้งานได้ทันที

By: kohsija
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 19 January 2012 - 01:45 #374915
kohsija's picture

ถ้าในไทยมีการเรียกร้องให้เลิก block เว็บมั่วๆ ก็จะไปร่วมลงชื่อด้วยคน

By: sachikogear
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 19 January 2012 - 01:47 #374917 Reply to:374915
sachikogear's picture

ผมก็อยากลงชื่อ แต่ในไทย ลงชื่อไปมันไม่มีประโยชน์เท่าไหร่ ไม่เหมือนในต่างประเทศน่ะสิครับ

By: shevchenko
AndroidWindows
on 19 January 2012 - 10:11 #374970 Reply to:374917
shevchenko's picture

ประเทศไทยต้องปิดถนนครับ ได้ผลชัวร์

By: devilblaze
iPhoneAndroidWindows
on 19 January 2012 - 14:34 #375080 Reply to:374970
devilblaze's picture

มันจะไม่ได้ผลแล้วครับ เพราะวิธีนี้กำลังถูกปิดตายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ เฮะๆ

By: raifa
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 21 January 2012 - 21:41 #375892 Reply to:375080

อันนี้จริงจังหรือพูดเล่นครับ

ถ้าจริงอยากขอข้อมูลไว้ใส่สมองบ้างครับ

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 19 January 2012 - 01:53 #374920 Reply to:374915
Perl's picture

ทำในบ้านเราอาจจะโดนเก็บเสียเองครับ XD

By: RobGThai
Android
on 19 January 2012 - 02:41 #374928 Reply to:374915

ลงกับกูเกิลไป ชื่อนามสกุลจริงแต่ใช้ Zipcode เพื่อนที่เมกา

By: nullzer0
AndroidUbuntu
on 19 January 2012 - 01:48 #374918
nullzer0's picture

ผิดฏหมาย => ผิดกฎหมาย

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 19 January 2012 - 02:14 #374924 Reply to:374918
hisoft's picture
  • การดำนเนินคดีกับ

นเนิน

  • ความตื่นตัวกับ SOPA ทีี่

ที่ สระอีซ้อนครับ

  • ประธานาธิปดี

ประธานาธิบดี

ของไทยนี่เล่นด้วยยากครับผมว่า - -"

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 19 January 2012 - 11:44 #375016 Reply to:374933
mr_tawan's picture

ผมถึงชอบพูดว่าการเปลี่ยนกฎหมายมันยาก ไปหาที่ ๆ ไม่มีกฎหมายใช้มันอาจจะง่ายกว่า (มาก) น่ะครับ (เพราะเห็นคนย้ายประเทศกันเป็นปรกติไปแล้วสมัยนี้)

ที่เขาประท้วงกฎหมาย SOPA/PIPA กันก็คงเพราะ ถ้ามันมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ การไปยกเลิกมันจะลำบากกว่าประท้วงมันตอนยังไม่บังคับใช้


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: iStyle
ContributoriPhoneAndroidSymbian
on 19 January 2012 - 01:54 #374922
iStyle's picture

หยุดใ้หบริการ ==> หยุดให้บริการ


May the Force Close be with you. || @nuttyi

By: doctorking
iPhoneWindows PhoneAndroid
on 19 January 2012 - 02:28 #374926

บ้านเรายังหาจุดกึ่งกลางระหว่าง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฏหมายกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ได้ครับ

ประมาณว่า "คนร่างไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ร่าง" ซะงั้น

By: ComSci-MFU
Windows PhoneAndroidWindows
on 19 January 2012 - 02:42 #374929
ComSci-MFU's picture

ถ้าในบ้านเราเหรอ? เว็บไหนประท้วงพรบ.คอมฯ นอกจากจะไม่รับฟังแล้วอาจจะโดนบล๊อกเว็บอีกต่างหาก

By: raifa
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 19 January 2012 - 09:17 #374953 Reply to:374929

+1

By: Sikachu
ContributoriPhoneIn Love
on 19 January 2012 - 07:33 #374944
Sikachu's picture

ใช่ครับ SOPA กะ PIPA นี่มีใน พรบ. คอมเรานี่แหละ
PIPA นี่ ... ที่เห็นกันจะๆ เลย บล็อกเว็บผ่าน DNS เหอๆๆๆ

ตอนนั้นเรื่องที่ พรบ. คอมจะเข้าสภา ผมก็จำได้ว่ามีคนพยายามต่อต้าน
ผมก็เป็นคนนึงที่ไม่เห็นด้วย แต่ทำไงได้ครับ เราโทรไปบอก สส. แบบประเทศเขาได้ไหม
แล้วจะมีใครฟังเราไหมเอ่ย?

ผมอิจฉาระบบ Representative บ้านเขานะครับ ดูตัวผู้แทนรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
รู้สึกเหมือนบ้านเรา ผู้แทนเหมือนเป็นตัวแทนของนายก ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนน่ะครับ


บล็อกของผม: http://sikachu.com

By: pittaya
WriterAndroidUbuntuIn Love
on 19 January 2012 - 07:58 #374945 Reply to:374944
pittaya's picture

ตอน พรบ.คอมฯ บ้านเรา นั่นผ่านโดย สนช.ที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารครับ ไม่มีความเชื่อมโยงอะไรกับประชาชนแม้แต่นิดเดียว


pittaya.com

By: takz1977
iPhoneUbuntu
on 19 January 2012 - 08:51 #374950 Reply to:374945
takz1977's picture

มีครับ ตอนคณะรัฐประหารออกมาประชาชนต้อนรับด้วยดอกไม้,พวงมาลัย,ไปถ่ายรูปคู่รถถัง จึงถือว่าประชาชนประชามติเห็นชอบทุกการกระทำของคณะฯ อะฮิๆๆ ^^

By: jane
AndroidUbuntu
on 19 January 2012 - 12:16 #375029 Reply to:374945
jane's picture

เนื้อหา พรบ.คอม50 แตกต่างจาก ร่างสมัย รบ.ทักษิน2 มากใหม?

By: Kazu
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 19 January 2012 - 14:37 #375083 Reply to:375029

ในสมัยทักษินเหมือนจะใช้อำนาจนอกกฏหมายในการบล๊อคนะ เพราะเอาเข้าจริงสมัยนั้น ict ไม่มีอำนาจอะไรในทางกฏหมายในการไปบล๊อคเว็บเลย เพราะยังไม่มีกฏหมายชัดเจนในเรื่องนี้ แล้วก็เลยมี พรบ คอม ออกมาลองรับการกระทำนอกกฏหมายนั้นให้มันมาอยู่ในกฏหมายในภายหลังนี้แหละ

By: mk
FounderAndroid
on 19 January 2012 - 19:01 #375229 Reply to:375029
mk's picture

มาตราที่เป็นข้อขัดแย้ง เช่น มาตรา 14 เรื่องความมั่นคง ถูกใส่เข้ามาในสมัย สนช. ครับ

By: Arugi
iPhoneWindows PhoneAndroid
on 21 January 2012 - 14:41 #375810 Reply to:374945

พูดถึง สนช แล้วเซ็งครับ ประเทศเราพวกขัดมันมีเยอะกว่าพวกพัฒนา

By: toooooooon
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 19 January 2012 - 10:34 #374986 Reply to:374944

ผลของกฏหมายที่บงคับใช้ มันตรงกันข้ามเลยครับ

เช่น บล๊อค ลิ้งค์ คนก็เริ่มสงสัย มีการส่งต่อผ่านทางอื่น...หรือแม้แต่ไม่ได้ดุแต่ก็มีการพูดคุยกันถึงเนื้อหาที่โดนบล๊อกไป...มีคำศัพท์แบบเลี่ยงๆ

ยิ่งบล๊อกยิ่งปิด คนยิ่งบ่น แม้แต่คนที่ไม่ปฏิปักษ์ เพราะโดนผลกระทบด้วย...

By: sutjvc
Windows
on 19 January 2012 - 08:40 #374947
sutjvc's picture

ผู้ให้บริการทั้งด้านอินเทอร์เน็ต และด้านการเงินสามารถหยุดให้บริการกับเว็บใดเว็บหนึ่งได้โดยไม่แม้ตัวเองไม่ใช่บริการ

ลองปรับใหม่ดูนะครับสำหรับประโยคนี้ "โดยไม่แม้ตัวเองไม่ใช่บริการ" อ่านแล้วมันแปลกๆ

บล็อก => บล็อค (เช่นการบล็อกจาก URL หรือการบล็อคจาก IP)

...........

กฎหมายยิ่งกว้างก็ยิ่งกระทบกันเป็นวงกว้าง หาคำจำกัดความแบบถูกต้องยากมาก

By: ballsaii
ContributorBlackberryUbuntu
on 19 January 2012 - 09:21 #374954

กฏหมายไทยบังคับใช้ได้ไม่เท่าเทียม

เหมือนประมาณว่า จะบังคับใช้ก็ต่อเมื่อเป็นศัตรูทางการเมือง

ส่วนพรรคพวกกันก็หาทางซิกแซก


บีเบี้ยวกับบีบึ้ง

By: kswisit
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 19 January 2012 - 09:27 #374956

ประเทศเราใครบ้างที่จะมี power พอที่จะทำแบบประเทศเขาได้ล่ะครับ

ปล. เนื้อหาน่าสนใจดีครับ แต่อ่านยากไปหน่อย ถ้าเรียบเรียงดีๆ กว่านี้ได้จะดีมาก


^
^
that's just my two cents.

By: Renesis
SymbianUbuntuWindows
on 19 January 2012 - 09:48 #374960
Renesis's picture

ขอบคุณสำหรับบทความครับ

By: deeplite
Android
on 19 January 2012 - 10:44 #374990
deeplite's picture

พ.ร.บ คอมพ์ มีคนในแวดวง it ไปช่วยร่างด้วยไม่ใช่เหรอครับ

By: rattananen
AndroidWindows
on 19 January 2012 - 10:45 #374991

ตอนนี้ประชาธิปไตยของประเทศเรามันเป็นแบบมาจากเสียงฝั่งที่มีพวกมาก ถ้าเสียงไม่พอก็ใช้เงินซื้อได้

มันต้องทำใจกันหน่อย

By: raifa
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 19 January 2012 - 10:47 #374994 Reply to:374991

นับได้ทั้งอดีตและปัจจุบันครับ

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 19 January 2012 - 10:51 #374997 Reply to:374991

แล้วฝั่งเสียข้างน้อยไม่ได้ใช้เงินซื้อหรือครับ?

ทำไมคุณถึงคิดเช่นนั้น?

นอกเรื่องไปละ กลับมาดีกว่า

พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ถูกร่างขึ้นสมัยทักษิณ แต่มาประกาศใช้ในยุครบ.ทหาร ที่มีสนช.ที่ถูกแต่งตั้งจากทหารเป็นผู้กลั่นกรอง และเพิ่มเติมบทลงโทษให้รุนแรงขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงความหมายให้คลุมเครือมากขึ้นกว่าร่างฯเดิม

นั่นคือพรบ.คอมพิวเตอร์ถูกประกาศในสมัยรบ.ทหาร ที่ประชาชนไม่มีสิทธิ์คัดค้านหรือแสดงความคิดเห็นใดๆเลยครับ(สนช.ถูกแต่งตั้งจากทหารโดยตรงทั้งหมด)

และมันถูกใช้เพื่อปิดเวบการเมืองฝ่ายตรงข้ามมาตลอด จนน่าเสียดายว่า เจตนารมณ์ดั้งเดิมของกฎหมายนี้คือการป้องกันอาชญากรรมบนอินเตอร์เนทแท้ๆ

By: SnowBEE
AndroidWindows
on 19 January 2012 - 12:45 #375036 Reply to:374997

แต่ พรบ. นี้ก็ยังคงอยู่ แม้จะมีรัฐบาลที่อยู่ตรงกันข้ามกันฝากฝั่งคณะรัฐประหารมาแล้วหลายสมัย

เพราะอะไรฯ ถึงยังอยู่

โอนหนี้หลายล้านๆทั้งที่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องใช้ปัญญาหาทางใช้หนี้กลับโอนไปให้ธปท.จัดการ สุดท้ายก็จะตกไปที่ประชาชน เรื่องนี้เค้ายังทำได้ง่ายๆเลยใช้เวลาแปปเดียว

"เจตนารมณ์ดั้งเดิมของกฎหมายนี้คือการป้องกันอาชญากรรมบนอินเตอร์เนทแท้ๆ" เค้าสามารถแก้ได้ครับ แต่ไม่แ้ก้

นักการเมื่อง(ทุกฝ่าย)ไม่ได้เข้าไปทำงานเพื่อประชาชนเลย อะไรที่เป็นฐานของอำนาจพวกเค้าคงไม่ทำลายทิ้งไปง่ายๆ

By: NightMare on 19 January 2012 - 12:52 #375039 Reply to:375036
NightMare's picture

หลายคนเขาไม่สนใจหรอกครับ เขาสนใจที่จะแก้กฏหมายฉบับนี้และความผิดเป็นของรัฐบาลเก่าที่ออกเท่่านั้น รัฐบาลเก่ากว่าที่เป็นคนร่างก็ไม่เกี่ยว รวมไปถึงรัฐบาลนี้มีอำนาจแก้ไขจะทำหรือไม่ก็ไม่เกี่ยวเช่นกัน ^^

By: mk
FounderAndroid
on 19 January 2012 - 19:04 #375230 Reply to:375036
mk's picture

เรื่องโอนหนี้นั่นใช้ พ.ร.ก. ครับ รัฐบาลสามารถออกได้เลย (แต่ตอนนี้ก็จะถูกฟ้องศาลรัฐธรรมนูญว่าออก พ.ร.ก. ในเรื่องนี้ได้จริงไหม)

ส่วนอันที่เราคุยอยู่นี้เป็น พ.ร.บ. กระบวนการออก/แก้ไขต้องผ่านสภาซึ่งกินเวลานานหลายปี

ส่วนเรื่องนักการเมืองไม่ทำงานเพื่อประชาชน ก็เพราะประชาชนอย่างเราๆ ไม่เคยไปบอกนักการเมืองให้แก้กฎหมายนี้ไงครับ

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 19 January 2012 - 20:02 #375252 Reply to:375036

เรื่องแก้กฎหมาย ได้ยินว่ามีการผลักดันอยู่ครับ แต่มันยังติดขัดร่วมกับเรื่องม.112 นั่นแหละ แต่ผมพูดถึง"ที่มา" ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก จริงอยู่ว่ารบ.หลังๆแก้ก็ได้ แต่ถ้าจะด่าเรื่องกฎหมายที่เขียนกันงี่เง่า ก็ต้องโทษที่คนออกกฎหมายแต่แรกนั่นแหละครับ ผมย้ำในประเด็นว่า เพราะคนออกไม่ใช่ตัวแทนจากประชาชน แต่ทหารสั่งมา ผลลัพธ์ฺก็ออกมามั่วๆแบบนี้ ก็ต้องด่าให้ถูกคนก่อนครับ

เรื่องหนี้(off topic มากไปหรือเปล่า?) ถ้าใครเกิดทัน ตอนนั้นหนี้ปรส.เกิดจากการที่รัฐเข้าไปค้ำประกันสถาบันการเงิน เพราะธปท.เอาเงินไปสู้เงินบาทจนหมดไปหลายแสนล้าน สุดท้ายล้มทั้งระบบ อย่าบอกนะว่้า ธปท.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ(รัฐล้วงลูกไม่ได้) จะไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย? ยังไม่นับเรื่องที่ผ่านมาไม่กี่ปี แบบช่วงรปห.ที่ธปท.สั่งกันเงินลงทุนเข้าประเทศ(อย่างกับจะัปิดประเทศ) ทำให้หุ้นตกทันที 300กว่าจุด สูญเสียไปสามแสนล้านบาท ไม่มีใครกล้าว่า(เพราะทหารครองเมืองอยู่)

หนี้มาเป็นสิบปี จ่ายดอกไป8แสนล้านจ่ายเงินต้นแค่ 300ล้าน ถ้าไม่ทำอะไรสักที ก็คงเป็นหนี้ไปทั้งชาติแล้วล่ะครับ มีเงินตรงไหนโยกมาจ่ายก่อนได้ หรือใครควรจะรับผิดชอบด้วย ก็ต้องมาถกเถียงกัน แต่ไม่ใช่ซุกไว้ใต้พรมแบบที่ผ่านมา

By: e_xplorer
iPhoneWindows PhoneAndroid
on 19 January 2012 - 23:54 #375317 Reply to:375252

เรื่องหนี้ ผมว่าดู เจาะข่าวตื้นล่าสุด แล้วจะเก็ทครับ ตรงกับที่คุณพูดครับ

By: NightMare on 20 January 2012 - 11:50 #375501 Reply to:375252
NightMare's picture

ขอไปศึกษาเพิ่มเติมก่อนนะครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาแบ่งกัน :)

By: Jonathan_Job
WriteriPhoneUbuntuWindows
on 19 January 2012 - 13:35 #375053 Reply to:374997
Jonathan_Job's picture

ถามเล่นๆครับ ในทางกลับกันแล้วคุณแน่ใจเหรอว่า ถ้าไม่ใช่รัฐบาลชุดนั้นแต่เป็นรัฐบาลชุดที่คุณเทิดทูนนักหนา คุณจะมั่นใจเหรอว่า ประชาชนจะมีสิทธิ์คัดค้านหรือแสดงความคิดเห็นได้จริงๆ? หรือแม้แต่รัฐบาลรับฟังไปแก้ไขจริงๆล่ะครับ?

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 19 January 2012 - 20:12 #375254 Reply to:375053

เราจะใช้อะไรวัดล่ะครับ?

ถ้าใช้มุมมองผมวัด การที่คุณด่ารบ.ที่มาจากการชนะเลือกตั้งได้อยู่ทุกวัน นั่นคือคุณมีสิทธิเสรีภาพกันเต็มที่แล้วไงครับ ลองนึกถึงตอนรบ.ทหารนะครับ มีพรก.ฉุกเฉินห้ามชุมนุมเกิน5คน ใน 45จังหวัด ห้ามออกมาปราศรัยโต้แย้งการร่างรธน.ใหม่ ใครออกมาโต้แย้งรบ.ทหารโดนจับเข้าคุกโดยอาศัยอำนาจพรก.ฉุกเฉิน

หรือเรื่องฉาวๆ แบบรันเวย์ร้าว พอมีเดลินิวส์เขียนข่าวแย้งว่า จริงๆมันไม่ได้ร้่าว คืนต่อมาโดนถล่ม M79 เข้าตึกเลย จนต้องเงียบไปสักพัก ใครจะกล้าหือ?

หรือจะสภานิติบัญญัติ สนช.ถูกแต่งตั้ง 100% โดยคัดเลือกจากคนที่ตบเท้าเข้าไปเสนอตัวหลังวันรปห.(ตอนนั้นคณะรปห.สั่งให้นักวิชาการเข้ามารายงานตัว เพื่อหยั่งเชิงอำนาจ) คุณคิดว่าคนไม่กี่คนคัดเลือกตัวแทน จะมีมุมมองที่กว้างขวางและเป็นกลางมากเท่าคนหลายสิบล้านหรือเปล่าครับ?

หรือจะเอาแบบเป็นทางการ ดัชนีเสรีภาพสื่อฯ อันนี้วัดโดยหน่วยงานตปท. เขาให้กึ่งเสรีภาพ และไม่มีเสรีภาพในช่วงรบ.ทหาร และรบ.ที่ตั้งในค่ายทหารครับ ส่วนรบ.ที่ชนะการเลือกตั้งนั้นได้ดัชนีดีกว่าทั้งนั้น

By: Kazu
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 19 January 2012 - 23:25 #375312 Reply to:375254

ถ้าจำไม่ผิด พรกฉุกเฉิน ร่างขึ้นมาในสมัยทักษิณ เอาไปใช้กับภาคใต้จนเกิดปัญหาเรื้อรังและตากใบ 200ศพ เพราะงั้นการโทษการใช้ พรกฉุกเฉินโดยทหารนั้น ก็ต้องโทษที่คนออกกฎหมายแต่แรก ตามที่คุณ Fourpoint พิมพ์ไว้ใน rep ก่อนซินะครับ สรุปร่างกฏหมายที่มาเป้นปัญหาตอนนี้ทั้งมดยกเว่น 112 มันร่างขึ้นมาสมัยทักษิณหมดเลย

By: mk
FounderAndroid
on 20 January 2012 - 00:05 #375320 Reply to:375312
mk's picture

ผมแนะนำว่า "อย่ามั่ว" ครับ การร่างขึ้นมาในสมัยทักษิณกับการออกในสมัยทักษิณ เป็นคนละเรื่องกัน อย่าเหมารวมครับ

By: Jonathan_Job
WriteriPhoneUbuntuWindows
on 20 January 2012 - 02:14 #375371 Reply to:375254
Jonathan_Job's picture

@Fourpoint

อืม ผมว่า logic คุณนี่แปลกดีนะครับ

  1. คุณตอบ reply ผมที่ผมถามถึง "รัฐบาลชุดที่คุณเคารพรัก" แต่คุณก็ตอบไปโจมตีรัฐบาลชุดตรงกันข้าม
  2. การที่ผม reply คุณกลับนี่ คือ ผมมีสิทธิเสรีภาพเต็มที่จากรัฐบาลสุดที่เลิฟของคุณแล้วเหรอครับ?
  3. ผมยังไม่ได้ด่ารัฐบาลชุดที่คุณเทิดทูนในนี้เลยนะครับ
By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 20 January 2012 - 09:36 #375423 Reply to:375371
  1. คุณรู้ได้อย่างไรว่า ผมเคารพรักรบ.ไหน?
  2. ผมเปรียบเทียบว่า ในสมัยรบ.ที่มาจากการเลือกตั้งนั้น มีสิทธิเสรีภาพ(โดยเฉพาะสื่อ)และการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน(ในแง่ของตัวแทนในการออกกฎหมาย)มากกว่ารบ.ทหารหรือรบ.ที่ไม่เคยชนะการเลือกตั้งครับ
  3. ก็กลับไปข้อ 1 ว่าคุณรู้ได้อย่างไรว่าผมเทิดทูนรบ.ไหน?

ถ้าจะพูดคุยด้วยเหตุผล ก็อย่าใช้เหตุผลวิบัติเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นรบ.ที่ผมชอบหรือไม่ชอบ ถ้าผิดผมก็วิจารณ์(จริงๆยังมีเคสดวงตาเซารอนอีก แต่ตอนนั้นยังไม่ใช้มากเท่า ICT ยุคหลังมีพรบ.คอมฯ เพราะมันมีโทษจำคุก 5ปีเพิ่มมาด้วย) สิ่งที่ผมพูดหลายอย่างเป็น fact หรือเป็นงานวิจัยจากองค์กรต่างชาติ ซึ่งบางอย่างอาจจะขัด"ความเชื่อ"ของคุณ ก็ต้องมาโต้แย้งกัน แต่ไม่ใช่มาคอย discredit ว่าผมชอบรบ.นู้นนี้ซึ่งมันไม่ได้มีผลต่อความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งที่ผมพูดเลย

หรือว่าถ้าผมบอกว่าชอบรบ.เดียวกับคุณ แล้วคคห.ผมจะดูมีเหตุผลขึ้นทันตา?

By: Arugi
iPhoneWindows PhoneAndroid
on 21 January 2012 - 14:52 #375815 Reply to:375423

+1

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 19 January 2012 - 11:23 #375007 Reply to:374991
lew's picture

มันมีประเทศประชาธิปไตยเสียงข้างน้อย???


lewcpe.com, @wasonliw

By: rattananen
AndroidWindows
on 19 January 2012 - 13:19 #375045 Reply to:375007

ผมหมายถึงตอนนี้ประเทศเทศเรามันแบ่งออกเป็นฝ่ายอย่างชัดเจน

โดยความเห็นจากฝั่งเดียวกันจะถูกเสมอ

และจะสนับสนุนแต่ฝั่งเดียวกันกับตัวเอง

ทำให้ฝ่ายไหนที่มีพวกมากกว่ามันถูกเสมอ แม้ว่าความจริงมันจะผิดก็ตาม

เหมือนกับ มีอยู่ 10 program คำตอบที่ถูกต้องเป็น 1
แต่มีอยู่ 9 program ให้คำตอบเป็น 0
มี program เดียวให้คำตอบเป็น 1
แบบนี้คนที่ไม่รู้คำตอบจริงๆ คิดว่าโปรแกรมที่ให้คำตอบเป็น 1 มันมี bug

By: NightMare on 19 January 2012 - 13:51 #375061 Reply to:375045
NightMare's picture

ไม่เกีียวกันครับ เสียงส่วนใหญ่คือพื้นฐานของประชาธิปไตย ถูกผิดไม่สำคัญ คุณไม่เืชื่อผมเหรอ :)

By: Kazu
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 19 January 2012 - 14:41 #375087 Reply to:375061

อันนี้คือกฏหมู่ครับ ไม่ใช้ประชาธิปไตย์ ประชาธิปไตย์มันต้องอยู่ภายใต้กฏหมาย ถึงเป้นเสียงส่วนใหญ่แต่ทำในสิ่งที่ผิด มันก็คือผิดครับ ไม่ใช้เพราะเป้นเสียงส่วนใหญ่เรื่องที่ผิดจะกลายเป็นถูก

By: xxxooo
Windows PhoneWindowsIn Love
on 19 January 2012 - 15:31 #375097 Reply to:375087

ถ้ากฏหมาย บอกว่า ข้าราชการ C8 ตบ ประชาชนตาดำๆได้

เท่ากับว่า ข้าราชการ คนนั้น เป็นฝ่ายถูกหรอครับ

ผมว่า จริงๆ คือ กฏหมาย อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และ รัฐธรรมนูญ อยู่ ภายใต้ ประชาธิปไตย จึงจะถูก กฏหมายต้องเป็นไปเพื่อ ส่วนรวม (ซึ่งก็คือ คนส่วนใหญ่ และคำว่า คนส่วนใหญ่ แต่ภายหลังโดน นำมาโยง + บิดเบือนกันเยอะ ) ไม่ใช่ หรอครับ

ตอนนี้ คนกลุ่มหนึ่งกำลังถูกบิดเบือนว่า คนส่วนใหญ่ กำลังทำเพื่อคนๆเดียว

แต่ความจริงคือ ในช่วงรัฐประหาร จน ถึงปัจจุบัน มีการออกกฏหมาย และ บังคับใช้แบบแปลกๆ เพื่อทำลายคนกลุ่มหนึ่ง

แล้วรัฐบาล กำลังแก้กฏหมาย เพื่อ ที่ถูกออกมาช่วงนั้น ให้กลับมาเป็นกฏหมาย ไม่ใช่เครื่องมือ ทำร้ายกลุ่มการเมือง (ซึ่งมีผลลัพธ์ ทางอ้อม กลุ่มที่โดนกลั่นแกล้ง นั้นกลับมามี สถานะ ก่อน การรัฐประหาร)กลับ โดนทำให้มองว่า เป็น การช่วยคนกลุ่มเดียว ซะอย่างงั้น

สรุป สั้นๆ เลยครับ สังคมจะธำรงอยู่ได้ เพราะคนส่วนใหญ่ ดี ครับ ไม่มีทางที่คนส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับกฏหมาย บ้าๆ เพราะ กฏระเบียบที่ออกมา ต้องอิง ผลประโยชน์ โดยรวมเป็นสำคัญ

By: e_xplorer
iPhoneWindows PhoneAndroid
on 20 January 2012 - 00:05 #375319 Reply to:375061

ต้องเคารพเสียงข้างน้อยด้วยครับ ปัญหาประเทศเราทุกวันนี้ไม่ใช่เราลืมเคารพเสียงข้างน้อยหรือผู้เห็นต่างหรอครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 20 January 2012 - 22:14 #375689 Reply to:375319
hisoft's picture

+1 คิดว่าถ้าน้ำมันโลกราคาพุ่งเกือบเท่าตัว รัฐบาลให้โหวตปล่อยค่าน้ำมันลอยตัวหรือพยุงราคาไว้ คิดว่าฝั่งไหนเป็นเสียงข้างมากล่ะครับ อะไรราว ๆ นี้ (ไม่นับเรื่องใครกำไรใครขาดทุนใครผูกขาด ฯลฯ นะครับ เอาแต่ประเด็นที่ผมว่า)

By: pittaya
WriterAndroidUbuntuIn Love
on 19 January 2012 - 13:53 #375063 Reply to:375045
pittaya's picture

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความเห็นไหนถูกความเห็นไหนผิดครับ? ผมเข้าใจว่าถ้าเป็นประเด็นสาธารณะที่มีผลกระทบกับคนจำนวนมาก ยังไงก็ไม่มีทางเอาใจคนทั้ง 100% ได้อยู่แล้ว มันก็ต้องตัดสินด้วยเสียงข้างมากครับ


pittaya.com

By: NightMare on 19 January 2012 - 13:59 #375066 Reply to:375063
NightMare's picture

ประเด็นมันอยู่ที่คือคำว่า เสียงส่วนใหญ่ ครับ และมีเหตุสมมุติฐานว่า ถ้า 1 ถูกแต่ 9 บอกว่าผิด ผลก็จะกลายเป็น 1 ผิด ไม่ได้บอกว่า จะรู้ได้อย่างไรว่า ถูกหรือผิด ประมาณนี้แลฯ ครับ

By: pittaya
WriterAndroidUbuntuIn Love
on 19 January 2012 - 14:08 #375071 Reply to:375066
pittaya's picture

ประเด็นผมคือที่ว่า 1 ถูก นั่นแหละครับ เราจะมั่นใจได้อย่างไร? มีเทวดาชี้นิ้วบอก?


pittaya.com

By: NightMare on 19 January 2012 - 14:13 #375075 Reply to:375071
NightMare's picture

ถ้า สมมุติฐานว่า 1 ถูกจริงๆ ครับ ท่านหลงประเด็นแล้วล่ะ ^^

By: lawender
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 19 January 2012 - 14:35 #375081 Reply to:375075

ถ้าสมมติแบบนั้น คุณพูดอะไรก็ถูกหมดล่ะครับ

เคยเรียนเรื่อง logic ใช่ไหมครับ

By: chayaninw
WriterMEconomicsAndroidIn Love
on 19 January 2012 - 14:44 #375085 Reply to:375075
chayaninw's picture

สมมติว่าทำวิจัยสักอย่าง significance 99% ผมก็นั่งถามได้เรื่อยๆ ครับว่า ถ้าจริงๆ มันเป็น 1% นั่นล่ะ

ถ้าในมุมปรัชญา เรื่องที่คุณพูดมาเป็นเหตุผลสำคัญมากที่เราไม่ยอมรับ censorship ครับ

By: fatro
ContributoriPhoneAndroid
on 19 January 2012 - 20:26 #375258 Reply to:375085
fatro's picture

+Like บรรทัดสุดท้าย

By: xxxooo
Windows PhoneWindowsIn Love
on 19 January 2012 - 15:26 #375105 Reply to:375066

ถ้ามัน ถูกต้องจริงๆ ทำไม คนส่วนใหญ่ ถึงไม่เห็นด้วยหล่ะครับ

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 19 January 2012 - 13:58 #375065 Reply to:375045
McKay's picture

คุณรู้ได้อย่างไรว่ามันผิด? แล้วถ้ามันผิดจริงแล้วคุณจะให้ทำอย่างไรหล่ะครับ?

เชื่อ program เดียวทั้งๆที่ไม่รู้ว่าคำตอบมันจะถูกหรือเปล่า แล้วไม่สนใจคำตอบของ 9 program ที่เหลือ? อีกอย่างคุณจะรู้ได้อย่างไรว่า 1 โปรแกรมที่คุณว่าถูกมันถูกจริงๆ? ผมว่ากรณีที่คุณยกตัวอย่างมามันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยนะครับ

อีกอย่าง เรื่องของสังคมมนุษย์ ไม่มีอะไรที่ถูกต้องแน่นอนครับ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องให้ประโยชน์แก่คนส่วนมากแทน (แต่ปัจจุบันเท่าที่รู้หลายๆอย่างเอื้อกับคนเพียง 1% นะ :))


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: NightMare on 19 January 2012 - 14:00 #375068 Reply to:375065
NightMare's picture

ถ้า สมมุติฐานว่า 1 ถูกจริงๆ ครับ ^^

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 19 January 2012 - 14:12 #375074 Reply to:375068
McKay's picture

ก็ปล่อยให้มันผิดไปละกันครับ เพราะคุณไม่มีทางรู้หรอกว่าอะไรถูกอะไรผิด

อีกอย่างสังคมมนุษย์มันไม่มีถูกผิด 100% นะครับ เกิดมีมนุษย์คนไหนคิดขึ้นว่าน่าจะฆ่ามนุษย์ทุกคนทิ้งซะเพื่อรักษาธรรมชาติและโลกไว้ มันก็ไม่ได้ผิดซะ 100% หรือถูก 100%

รวมถึงความรัก หรือแม้กระทั่งรากฐานของสังคมอย่างศาสนา มันก็ไม่มีอะไรที่ถูกต้อง 100% หรอกครับ


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: YF-01
AndroidUbuntu
on 19 January 2012 - 14:48 #375094 Reply to:375074

ผมแย้งอันนี้นะ คือถูกหรือผิดมันบอกได้(อาจจะไม่ร้อย แต่ส่วนใหญ่ก็บอกได้) ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับ "สมมติฐาน"

ถ้าเราตั้งสมมติฐานว่ามนุษย์เป็นตัวการทำลายธรรมชาติ พิสูจน์ได้ว่ามันจริงและมนุษย์ไม่มีแนวโน้มจะแก้ไขนิสัยนี้ได้ ดังนั้นทางเลือกที่จะปกป้องโลกโดยทำลายมนุษย์ให้หมดก็เป็นทางเลือกที่ดีอันนึงแน่นอน

แต่ถ้าโหวตการรักษาธรรมชาติอย่างถาวร มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่มีทางเลือกการทำลายตัวเอง นั่นเพราะมนุษย์ย่อมรักษา"ประโยชน์ของตัวเอง"เป็นที่ตั้งต่อให้รู้ว่ามันขัดกับทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหานั้นๆก็ตาม

อันนี้ว่ากันตามทฤษฎีเกมแบบงูๆปลาๆนะครับ ถ้าเห็นจุดบกพร่องช่วยแย้งด้วยจะขอบคุณมาก ^^

By: NightMare on 20 January 2012 - 11:33 #375490 Reply to:375074
NightMare's picture

ขอบคุณสำหรับคำตอบที่ดีครับ ที่จริงจะตอบตั้งแต่เมื่องวานแล้วล่ะ แต่เผอิญ reply หมด ^^
Edit ข้อความนี้มอบให้คุณ McKay นะครับ

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 19 January 2012 - 16:06 #375133 Reply to:375068
put4558350's picture

1 ก็ยังผิดครับ

เช่นการมีเนื้อหมูปนในอาหาร ซึ่งเราดูก็ว่าไม่ผิด แต่ไปปนในประเทศที่เป็นอิสลาม มันก็ผิด

คิดง่ายๆ

เอาไม้บรรทัดไปวัดอะไรสักอย่างคุณบอก 3 cm คนอื่นทั้งห้องบอก 5 cm คำตอบใดน่าเชื่อว่าถูกกว่ากัน


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: YF-01
AndroidUbuntu
on 19 January 2012 - 17:56 #375197 Reply to:375133

คิดง่ายๆแบบนี้ผิดแน่นอนครับ
สมัยก่อนศาสนจักรเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล ถ้านิโคลัส โคเปอร์นิคัสคิดแบบนี้ก็ไม่ได้ฝากชื่อไว้ในประวิติศาสตร์แล้ว

คำตอบที่น่าเชื่อถือไม่ได้มาจากคนหมู่มากครับ มันมาจากการพิสูจน์ ถ้าเอาแค่คนหมู่มากก็ลากไปนี่แย่แล้วละ

By: pittaya
WriterAndroidUbuntuIn Love
on 19 January 2012 - 18:43 #375219 Reply to:375197
pittaya's picture

สมัยโคเปอร์นิคัสน่ะ ศาสนจักรเป็นเสียงส่วนน้อยกุมอำนาจเบ็ดเสร็จนะครับ ใครนอกรีตขึ้นมาก็จับไปเผาไฟ ผมว่ามันเลวร้ายกว่าพวกมากลากไปอีกนะ


pittaya.com

By: YF-01
AndroidUbuntu
on 19 January 2012 - 19:04 #375231 Reply to:375219

คือจะสื่อว่าเรื่องที่คนส่วนใหญ่เชื่อไม่จำเป็นว่าจะเกิดจากการพิสูจน์แล้ว ยิ่งไม่จำเป็นต้องเป็นจริงครับ

ถามจริงๆ คุณคิดว่ามีคนซักเท่าไหร่จะลุกขึ้นมาตั้งคำถามว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลจริงรึเปล่า ต่อให้ศาสนจักรไม่จับไปเผาด้วยเอ้า

คนจำนวนน้อยที่เห็นต่างจากคนส่วนใหญ่ต่างหากที่ดิ้นรนจะพิสูจน์ ความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์นั้นค่อยเปลี่ยนความเชื่อของผู้ศึกษา พอจำนวนผู้ศึกษาดึงผู้เชื่อถือเกินจุดวิกฤติของสังคมมันก็จะกลายเป็นความเชื่อใหม่

ต่อให้เรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางนี่ก็เถอะ มีซักกี่คนที่ศึกษาจริงๆก่อนเชื่อ ยังไม่ต้องนับคนที่พิสูจน์จนมั่นใจเลย(แน่นอนไม่ต้องนับผมนะ ผมยังไม่เคยศึกษาเลย)

By: pittaya
WriterAndroidUbuntuIn Love
on 19 January 2012 - 19:45 #375247 Reply to:375231
pittaya's picture

ใช่ครับเสียงส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป เราถึงต้องการที่ยืนให้เสียงส่วนน้อย ให้มีเสรีภาพในการพูด ในการแสดงออก ในการท้าทายความเชื่อของคนส่วนใหญ่ โดยไม่โดนจับไปเผาไฟเสียก่อน

ในสังคมประชาธิปไตยน่ะ เถียงกันเข้าไปเถอะครับ อย่าไปกลัวว่ามันจะแตกแยก แต่ถึงเวลาต้องตัดสินอะไรที่เป็นเรื่องสาธารณะก็เคารพกติกากันหน่อย


pittaya.com

By: YF-01
AndroidUbuntu
on 19 January 2012 - 20:46 #375267 Reply to:375247

เหมือนประเด็นจะคลาดเคลื่อนกันนิดหน่อยแฮะ
ผมแย้งแค่เรื่องที่ควรจะวัดได้(อย่างความยาว)น่ะครับ กรณีเชิงการตัดสิ้นใจของสังคมไม่เกี่ยวนา

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 19 January 2012 - 21:19 #375264 Reply to:375231
put4558350's picture

มันถูกกตหมายของที่นั้นสมัยนั้นจนมีสิทธิจับคนไปเผาได้
ซึ่งก็ถูกจนกระทั่งคนส่วนใหญ่เชื่อว่ามันผิด

อ้อสมัยนั้นยังกับไม่ใช่ประชาธิปไตยนะครับ


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: massacre
AndroidUbuntu
on 19 January 2012 - 16:13 #375137 Reply to:375068

ทำไมไม่สมมติฐานว่าเพราะคนมันห่วย ดีแต่ปาก คนส่วนใหญ่เขาถึงไม่เลือก บ้างล่ะครับ ^^

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 19 January 2012 - 20:24 #375257 Reply to:375045

ผมว่าคุณต้องนิยาม คำว่า"ถูก" และ "ผิด" ก่อนนะครับ

อย่าไปสมมติ หรือเปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงทางธรรมชาติ เพราะอันนั้นพิสูจน์ได้ชัดเจน

ก่อนอื่น ลองทำความเข้าใจคำว่า"กฎหมาย"ก่อนนะครับ กฎหมายมีไว้เพื่ออะไร? กฎหมายมีไว้เพื่อความสงบสุขในสังคม ไม่ใช่เพื่อegoของคนเขียนกฎหมายอย่างเดียวนะครับ ฉะนั้น การ"ถูก"หรือ"ผิด"ในทางกฎหมายแล้ว เป็นสิ่งสัมพัทธ์(relative) ขึ้นอยู่กับสภาพบริบททางสังคม ไม่มีสิ่งถูกหรือผิดตายตัว

เอาง่ายๆไม่กี่ร้อยปีก่อน เรายังมีกฎหมายล่าแม่มด สงสัยใครว่าเป็นแม่มด ก็จับมาทรมาณ ถ้าเจ้าตัวพิสูจน์ไม่ได้ว่าไม่ได้เป็นแม่มด ก็ต้องเผาทั้งเป็น โดยไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานว่าเป็นแม่มดจริงๆ(คุ้นๆเหมือนคดีsms ไหม?)

แต่ในเวลาต่อมา ประชาชนส่วนใหญ่เขาก็ฉลาดขึ้น รู้ว่ากฎหมายกล่าวหามั่วๆแบบนั้น มันผิดหลักการ และทำให้สังคมไม่สงบสุขอย่างแท้จริง

เขาก็ปรับปรุงกฎหมายให้มันทันสมัยขึ้น ยกเลิืกข้อกำหมายเก่าๆไป คำถามคือ ถ้ามีบางคนยังบูชาตัวกฎหมายอย่างเดียว ยังยึดถือว่า การล่าแม่มดเป็นสิ่งที่"ถูก" อยู่ มันจะวุ่นวายไหม?

หรือแม้แต่EU ในปัจจุบัน หลายประเทศเก่าแก่้หลายพันปี กฎหมายบางข้อตรามาแล้วหลายร้อยปี แต่ไม่ได้ประกาศยกเลิก วันดีคืนดีมีคนยกข้อกฎหมายโบราณมาฟ้องร้องกัน เขาก็อาศัยการตีความ โดยเปรียบเทียบกับรธน.ปัจจุบัน สิทธิมนุษยชนสากล โดยจะไม่ลงโทษตามข้อกฎหมายโบราณอย่างเดียว แต่จะเทียบเคียงความผิดในปัจจุึบันครับ

นอกเรื่องไปไกล กลับมาเรื่องประชาธิปไตย เสียงข้างมากถูกเสมอไหม?

ไม่ได้ถูกเสมอไปครับ! แต่เราต้องจับประเด็นว่า เรากำลังพูดถึงอะไร? ถ้าพูดถึงการพิสูจน์ความจริงในธรรมชาติ อันนี้ไม่เกี่ยวกับเสียงข้างมาก แต่ถ้าพูดถึงสิทธิทางกฎหมายล่ะก็ อันนี้แหละต้องฟังเสียงข้างมาก เพราะเราเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน การตัดสินใจใดๆจึงต้องอ้างอิงเสียงส่วนใหญ่ หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงเท่ากัน ไม่ว่ายากดีมีจน เพราะมันคือสิทธิทางกฎหมายในฐานะพลเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตยครับ

และการตัดสินใจใดๆ ไม่มีใครรู้หรอกว่าผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร แต่เมื่อเสียงส่วนใหญ่ตัดสินใจแล้ว ก็ต้องยอมรับผลลัพธ์ร่วมกัน หากผลออกมาไม่ดี คนส่วนใหญ่เขาก็จะตัดสินใจใหม่ได้เอง เราไมไ่ด้อยู่สมัยโบราณที่จะคิดว่า คนอื่นโง่กว่าคุณได้เสมอไปแล้วนะครับ มันต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกันทั้งสังคม มันถึงจะเรียกได้ว่าการพัฒนา

By: Thaina
Windows
on 19 January 2012 - 22:57 #375304 Reply to:375257

ผมเห็นแย้งครับ ว่าจริงๆแล้ว ความถูกผิดทางกฏหมาย เป็นสิ่งสัมบูรณ์ ไม่ใช่สิ่งสัมพัทธ์

ปัญหาที่แท้จริงคือตลอดประวัติศาสตร์ เรายังหาคำตอบสมบูรณ์ไม่ได้ เราก็เลยพยายามเอาสิ่งสัมพัทธ์มาเขียนกฏหมายนี่แหละ

อย่างกฏหมายล่าแม่มด คือจริงๆแล้วเรายังไม่ได้คิดค้นหลักการสิทธิมนุษยชนออกมาได้ เราถึงเอาความคิดเรื่องแม่มดมามั่วนิ่มเป็นกฏหมาย เอาความน่าเชื่อถือของศาสนจักรมาเป็นกฏหมาย ไม่มีหลักการ มันถึงได้ผิด

กฏหมายที่เคยเขียนล้วนแต่มีช่องโหว่ทั้งนั้น เพราะเรายังหาคำตอบที่ถูกที่สุดไม่เจอ เราก็มั่วมาเรื่อยๆ และคงจะมั่วต่อไปอีกนาน แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง อย่างเราค่อยๆถอดออกมาทีละตัวได้แล้วว่า หลักการสิทธิมนุษยชน หลักนิติเศรษฐศาสตร์ เป็นหลักที่ยึดได้แล้วว่าใกล้เคียงสมบูรณ์

ก็ Take Limit กันไป อย่าให้ห่างไปจากหลักนี้ มันก็จะเข้าใกล้ความสมบูรณ์ได้

By: Kazu
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 19 January 2012 - 23:37 #375315 Reply to:375257

เรื่องข้อกฏหมายเราจะดูแค่เสียงข้างมากอย่างเดียวก็ไม่ได้นะผมว่า
ไม่งั้นรวมหัวกันซักครึ่งประเทศ ออกกฏหมายยกเว้นภาษีให้ตัวเองคนที่ลงชื่อ
หรือออกกฏหมายแจกเงินทำขวัญคนเป้นแผรถลอกจากการเป้นเสียงข้างมาก หลักแสนเป็นต้น

By: mk
FounderAndroid
on 20 January 2012 - 00:06 #375321 Reply to:375315
mk's picture

แนะนำให้ไปศึกษาหลักการพื้นฐานของการปกครองมาใหม่นะครับ ผมอ่านคอมเมนต์คุณแต่ละอันแล้วพบว่าคุณออกความเห็นโดยที่ไม่รู้เรื่องอะไรจริงๆ

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 20 January 2012 - 09:46 #375424 Reply to:375315

อันที่จริง มันมีกฎหมายว่าระหว่างหาเสียง ห้ามหาเสียงว่า"จะให้"เป็นรายบุคคลนะครับ แต่การหาเสียงว่าจะช่วยเหลือ"กลุ่ม"นั้นกลุ่มนี้นั้นยังไม่ผิดกฎหมาย

เพราะตามหลักการแล้ว ตัวแทนของประชาชน ก็คือตัวแทนของกลุ่มคนหนึ่งๆ เพราะใช้เสียงของคน"กลุ่ม"หนึ่งเลือกมา ก็คงไม่แปลกที่กลุ่มคนนั้นๆจะเลือกตัวแทนที่ช่วยเหลือกลุ่มตัวเองมากที่สุด(ไม่งั้นจะเลือกไปทำไม?) ตัวแทนของใครก็ต้องทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของคนกลุ่มนั้น และเมื่อคนเรามีหลายกลุ่ม มันก็ต้องประสานผลประโยชน์ให้ลงตัว เฉลี่ยการช่วยเหลือไปตามสัดส่วน หรือแม้แต่ให้มีผลกับทุกคนก็ได้เช่นกัน

ต้องเข้าใจนิยามของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก่อนนะครับ อยากจะยกตัวอย่างรธน.ของสหรัฐ ที่จะประกันสิทธิและผลประโยชน์ของพลเมืองไว้เป็นสำคัญ คนหนึ่งคนก็คือพลเมือง พลเมืองหลายคนรวมกันก็กลายเป็นกลุ่ม คนหลายๆกลุ่มรวมกันเป็นประเทศ การรักษาผลประโยชน์ของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่ม ก็คือการรักษาผลประโยชน์ของประเทศด้วยเช่นกัน

ตรงนี้แหละที่บ้านเรายังไม่ค่อยเข้าใจกัน คิดว่าการที่ตัวแทนทำเพื่อผลประโยชน์ของคนเลือกนั้นเป็นเรื่องผิด ทั้งๆที่จริงแล้วเป็นหน้าที่โดยตรงด้วยซ้ำ แต่สิ่งสำคัญคือการ balance ผลประโยชน์ ไม่ใช่ทุ่มฝ่ายเดียวจนไม่เห็นหัวอีกฝ่ายเลย มันก็จะมีความไม่พอใจในสังคม หรืออาจทำให้การเลือกตั้งครั้งหน้าผลไม่เหมือนเดิมก็ได้

อย่าลืมว่าไม่ว่้าจะมีนโยบายแบบใด มันก็มีคนได้ มีคนเสียทั้่งนั้น อย่างตัวอย่างภาษีที่คุณยกมา ถ้ารบ.ประกาศลดภาษีรายได้บุึคคลธรรมดา ชนชั้นกลางก็เฮ ได้ประโยชน์ แต่ชนชั้นล่างหรือชนชั้นสูงก็ไม่ได้ประโยชน์ ถามว่าเป็นการเลือกปฎิบัติไหม?

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 20 January 2012 - 10:30 #375444 Reply to:375315
put4558350's picture

จริงครับดูแค่เสียงข้างมากอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องดูว่าสามารถทำได้ด้วย

ให้คนทั้งประเทศโหวตให้พระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันตก มันก็ไม่ขึ้น จ้างคนมาบริหารประเทศ จ้างตำรวจทหาร ทำถนน โดยไม่มีเงินก็เป็นไปไม่ได้


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: qute on 19 January 2012 - 14:29 #375078 Reply to:375007

ถ้าผมหาเพื่อนได้มากกว่าจำนวนสมาชิกในเว็บ abc.com แล้วผมลงความเห็นว่าควรปิดไปซะ ถ้าคุณลิ่วเป็นเจ้าของเว็บคุณลิ่วจะปิดเว็บตามเสียงส่วนใหญ่หรือเปล่าครับ? :)

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 19 January 2012 - 14:49 #375096 Reply to:375078
lew's picture

การพูดอย่างนี้มันมองง่ายครับ ต้องถามว่าคนในนั้นมีส่วนอย่างไรกับการตัดสินใจ แต่ละเว็บก็ต่างกันไป ในกรณีนี้มันเป็นเอกชน อย่าง นึกสภาพว่าหุ้นกูเกิลนั้นมีสองประเภท หุ้นของ Sergrey/Page นั้นมีสิทธิในการโหวตสูงกว่าคนทั่วไปสิบเท่า องค์กรอื่นๆ ก็มีแนวทางการตัดสินใจแบบอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน โครงการโอเพนซอร์สหลายโครงการก็ประกาศชัดว่าเป็นเผด็จการ กระบวนการตัดสินใจเหล่านี้เกิดขึ้นแม้แต่ในประเทศประชาธิปไตย ไม่มีปัญหาอะไร

ส่วนกระบวนการตัดสินใจในองค์กรเป็นอย่างไร ก็เป็นไปตามนั้น

กรณีประเทศ ระบอบประชาธิปไตยถือว่ากฏหมายมันกระทบทุกคน และไม่มีใครอ้างความเป็นเจ้าของประเทศได้มากกว่าคนอื่นๆ มันจึงออกมาเป็น 1 เสียง 1 สิทธิ แต่ถึงขั้นนั้นเราก็ยังต้องการระบบตัวแทน

ประเทศบางประเทศไม่เป็นประชาธิปไตยก็มีกระบวนการของประเทศนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงข้างมากได้เหมือนกัน


lewcpe.com, @wasonliw

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 19 January 2012 - 15:05 #375098 Reply to:375078
McKay's picture

แหม แค่หาเพื่อน(นอกเว็บ)ได้มากกว่าจำนวนสมาชิกในเว็บ abc.com แล้วถือว่าตัวเองเป็นเสียงส่วนใหญ่เลยเหรอครับ? ขอโทษนะครับ นั่นมันทำให้คุณยิ่งกลายเป็นเสียงส่วนน้อยนะครับ เพราะการเปรียบเทียบเสียงส่วนใหญ่ เปรียบเทียบด้วยจำนวนคนภายในกลุ่มเดียวกันเสมอ ในกรณีนี้ถ้าคุณจะใช้บุคคลภายนอกเว็บ abc.com ด้วย ผมว่ามันก็ยังมีบุคคลภายนอกเว็บ abc.com อีกเป็นพันล้านคนนะครับ ^^

หรือถ้าเฉพาะผู้ใช้เน็ตไทยก็ 30 กว่าล้านนะครับ ^^ เพราะฉะน้น คุณควรหาเพื่อนให้ได้ 20 ล้านคนนะครับ

แต่เอาเข้าจริงๆ ผมว่าถึงจะเทียบกับแค่สมาชิกในเว็บ ผมว่าคุณลิ่วก็กล้านะ ^^


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: xxxooo
Windows PhoneWindowsIn Love
on 19 January 2012 - 15:19 #375101 Reply to:375078

เว็บ Blognone มีคุณ Lew กับ MK เป็น เจ้าของ เค้า 2 คน มีอำนาจเด็จขาด ในการที่จะทำอะไรก็ได้ ต่อให้ ยกพวก มา ล้านคน คุณก็ไม่มี สิทธิ์ แย้งครับ

ส่วนประเทศไทย ประชาชน ทุกคน คือ เจ้าของประเทศ ทุกคนมีอำนาจ เท่าๆกัน

แต่แบบนั้นมันยุ่งยาก จึงต้องมีระบบ สส เพื่อเป็นคนที่ คุณได้มอบอำนาจ การตัดสินใจ ของตัวคุณเอง ให้แก่เค้าไป ทำหน้าที่ใน สภาฯ

และมนุษย์นั้น ไม่ใช่พระเจ้า การที่คุณและคนอื่นๆจะตัดสินใจ ถูกต้อง หรือ ผิดพลาด มันก็เป็นเรื่องธรรมดา นี่ครับ เมือคุณให้อำนาจ เค้าแล้วคุณต้องยอมรับ แม้สุดท้าย คุณจะเป็นคนเดียวที่ตัดสินใจ ถูกต้องก็ตาม (เพราะตอนที่คุณตัดสินใจ ไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าคุณคือ คนที่ตัดสินใจถูกต้อง และ ควรเชื่อคุณ เพราะ ตอนที่ผมทำงาน ก็ต้องทำงานตามความเห็นที่ประชุมเป็นหลักครับ)

By: chayaninw
WriterMEconomicsAndroidIn Love
on 19 January 2012 - 15:46 #375112 Reply to:375078
chayaninw's picture

ถ้าเอาตาม analogy ของคุณ ในทางการเมือง ก็เหมือนคุณกำลังลากคนจีนมาช่วยกันโหวตว่า ไทยควรจะเป็นอาณานิคมของจีนไหม

By: xxxooo
Windows PhoneWindowsIn Love
on 20 January 2012 - 09:14 #375415 Reply to:375112

ถ้าคนจีนนั้น ได้สัญชาติ ไทย เราก็ต้องเคารพ ครับ

หรือประเทศนี้ คนไทยสัญชาติไทย สมควรได้สิทธิ โหวต 1 ต่อ คนจีน สัญชาติไทย 10 คน

By: mk
FounderAndroid
on 20 January 2012 - 10:05 #375431 Reply to:375415
mk's picture

ถ้าคนจีนนั้น ได้สัญชาติ ไทย เราก็ต้องเคารพ ครับ

อันนี้เรียกว่า "คนไทย" ครับ

By: chayaninw
WriterMEconomicsAndroidIn Love
on 20 January 2012 - 13:09 #375531 Reply to:375415
chayaninw's picture

ขออภัยที่ไม่เคลียร์ "จีน" ในที่นี้ ผมใช้กล่าวถึงประชากรของสาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) ครับ ไม่ใช่ในแง่ ethnicity

By: xxxooo
Windows PhoneWindowsIn Love
on 20 January 2012 - 14:26 #375549 Reply to:375531

งั้นต่อให้เค้า โหวต เป็นล้านก็ไม่มีสิทธิ์ เว้นแต่ เค้าจะใช้กำลัง มายึด

เพราะเค้าไม่มีสถานะ การเป็นเจ้าของประเทศครับ

By: chayaninw
WriterMEconomicsAndroidIn Love
on 21 January 2012 - 01:09 #375724 Reply to:375549
chayaninw's picture

นั่นคือสิ่งที่ผมตั้งใจจะสื่อ (ย้อนไปถึงความเห็นของคุณ qute) ครับ

By: gudgee
iPhoneAndroidWindows
on 22 January 2012 - 18:22 #375997 Reply to:375078
gudgee's picture

เอกชน ไม่ต้องเป็นประชาธิปไตยครับ เจ้าของเว็บก็ใช้อำนาจเด็ดขาด ไม่เห็นแปลก

ถ้าเว็บนั้นเอาเงินของประชาชนมาสร้าง นั่นก็อีกเรื่อง

By: xxxooo
Windows PhoneWindowsIn Love
on 19 January 2012 - 11:36 #375011 Reply to:374991

ผมว่าไม่จริงหรอกครับ

ผมเห็น เกือบทุกพรรค มี หัวคะแนน บางคนใช้เงินซื้อเสียงให้

ผมเจอมา 3 เรต คือ 300 600 1500

แจกทุกหมู่บ้าน ได้ทุกครอบครัว เหมือนกันแต่

คนที่จ่าย 1500 ได้ไม่ถึง 3000 คะแนน

ในขณะที่คนจ่าย 300 ได้เป็น สส

คนต่างจังหวัด เค้ามองว่า การที่ สส ให้เงิน เนี่ย คือ การแสดงน้ำใจ เหมือนใส่ซองไปงาน แต่คนที่เค้าจะลงคะแนน เสียงให้ ไม่ใช่ คนที่จ่ายหนักที่สุด ครับ (แต่ถ้าไม่จ่าย แทบจะเรียกว่า ไม่ได้แน่นอน)

อยากให้ลอง ลงไปสัมผัส เองบ้าง และจะได้มุม มองใหม่ + เหตุผล ที่ต้องจ่าย

อย่างการชุมนุมทางการเมือง ที่ผมเคยเห็นเป็นการจ่าย เพื่อ ช่วยค่าน้ำมันรถ หรือ ค่าข้าว มากกว่าจะจ่าย เพื่อทำให้เกิด อาชีพ ผู้ชุมนุมประท้วง

แต่ส่วนที่จ้างมาจริงๆก็มี เพราะคนไทย จะไม่ค่อยกล้าทำอะไน ถ้าไม่มีคน เริ่ม

ส่วนใหญ่ที่เห็น จะเป็น 2-3 แถวแรกๆ แต่แถวหลังจากนั้น จะไม่ใช่ (ซึ่งก็เป็น ทั้ง 2 สี หรือ หลากสี)

By: rattananen
AndroidWindows
on 19 January 2012 - 13:22 #375052 Reply to:375011

ตกลงคุณเห็นด้วยกับผมหรือไม่เห็นด้วยกับผมกันแน่ละครับนี่

ผมอ่านๆ ดูเหมือนคุณจะช่วยสนับสนุนความคิดผมนะนี่

By: rulaz07
ContributoriPhoneAndroidBlackberry
on 19 January 2012 - 14:37 #375082 Reply to:375052

เค้าบอกว่า มันซื้อกันทุกพรรคครับ ไม่ต้องห่วงว่าที่เค้าได้เสียงข้างมากเพราะซื้อเสียงหรอกครับ ไอ้พรรคที่ได้เสียงข้างน้อยอ่ะตัวดีเลย ถ้าผมบอกว่าไอ้พรรคที่แพ้น่ะ ซื้อเสียงเป็นล่ำเป็นสันกว่าอีก แต่ชาวบ้านไม่เลือกเค้าเอง คุณจะคิดว่าไงอ่ะครับ

By: raifa
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 19 January 2012 - 15:15 #375100 Reply to:375082

ความคิดคนเรามันเบี้ยวไปเยอะไงครับ

ไม่มีพ่อค้าคนไหนลงทุนแล้วยอมขาดทุนหรอกครับ

By: xxxooo
Windows PhoneWindowsIn Love
on 19 January 2012 - 15:23 #375104 Reply to:375052

ผมกำลังบอกว่า เงินเป็นแค่ส่วนหนึ่ง ในหลายๆ เหตุผล ของการได้เสียง สนับสนุน เท่านั้นครับ ไม่ใช่ ปัจจัยหลักที่ทำให้ นักการเมืองคนนั้น เป็น สส. เหมือนที่คุณพยายาม อธิบาย

By: raifa
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 19 January 2012 - 14:42 #375088 Reply to:375011

มันสรุปอย่างนั้นไม่ได้ครับ
พื้นที่ที่ผมอยู่นี่ พรรคที่ให้มากกว่าชนะไปครับ

ผมคิดว่าฝ่ายไหนการตลาดประชาสัมพันธ์ดีกว่า ฝ่ายนั้นมีโอกาสชนะมากกว่าครับ
ถึงแม้โปรโมชั่นแบบนั้นจะมีผลเสียแฝงไว้ และไม่ได้บอกห้อยไว้เป็นตัวเล็กๆแบบโฆษณาบริการหลายประเภทครับ

By: pittaya
WriterAndroidUbuntuIn Love
on 19 January 2012 - 16:06 #375132 Reply to:375088
pittaya's picture

เราถึงต้องมี กกต.ไว้ดูแลพวกนี้ไงครับ ทำหน้าที่ถูกใจบ้างไม่ถูกใจบ้างก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์กันไป


pittaya.com

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 20 January 2012 - 10:01 #375429 Reply to:375088

ประสบการณ์ตรงตอนอยู่บ้านนอก

ซื้อเสียงทุกพรรคจริงๆ ยกเว้นพรรคเล็กๆที่เป็นสีสัน แต่เขาจะเลือกจ่ายเฉพาะบางบ้าน ไม่ใช่ทุึกบ้าน(หัวคะแนนจะรู้ดีว่าบ้านไหนจ่ายแล้วจะเสียเรื่อง) บางคนเลยอาจไม่เจอบางพรรคมาซื้อเสียง และปกติเขาไม่้ให้พร้อมๆกันในบ้านเดียวนะครับ หัวคะแนนจะเป็นคนจัดการกระจายเอง คือถ้ารับฝ่ายนึงแล้ว อีกฝ่ายก็อาจจะมาเสนอหรือไม่เสนอ เพราะสุดท้่ายหัวคะแนนเขาต้องทำยอดคะแนน เลยต้องจ่ายเฉพาะที่มั่นใจว่าจะเลือกจริงๆ

และหลายๆอย่าง การจ่ายเงินก็ไม่ใช่การซื้อเสียงเสมอไป เช่นเงินจัดเลี้ยงปีใหม่ เงินช่วยงานบุญงานศพ เงินช่วยค่าเดินทางไปลงคะแนน ลองศึกษากฎหมายเลือกตั้งหลายๆประเทศ เขาอนุญาตเงินส่วนนี้ได้ด้วยซ้ำ เช่นเงินสนับสนุนค่าเดินทางมาเลือกตั้ง หรือเงินจัดเลี้ยงอาหารขอบคุณ แต่จะมีกำหนดเรทตายตัวไว้ ว่าไม่เกินเท่าไร ส่วนบ้านเราเงินพวกนี้เข้าข่ายซื้อเสียง เลยต้องเลี่ยงใช้เงินผ่านคนอื่นแืทน

แต่คนที่ได้จริงๆ คือคนที่มีฐานคะแนนดีอยู่ก่อนแล้ว เช่นลงพื้่นที่บ่อย หัวคะแนนดี ถ้าไม่มีส่วนนี้ ไม่มีทางได้แม้จะทุ่มเงินขนาดไหนครับ (อันนี้ยังไม่พูดถึงเรื่องพรรค ที่สมัยนี้มีเรื่องนโยบายพรรคและอุดมการณ์มีส่วนในการตัดสินใจเพิ่มขึ้นมาก)

ผมเลยมองว่า การซื้ือเสียงไม่ใช่สิ่งชี้ขาดในการเลือกตั้งครับ แต่เป็นแค่"แพะ"ในการกล่าวโทษเวลาตัวเองแพ้มากกว่า(ทั้งๆที่ตัวเองก็จ่ายเหมือนกัน)

By: btxxxx
AndroidWindows
on 20 January 2012 - 21:38 #375674 Reply to:375429

ตามนั้นเลยครับ และมันจะน่าเกลียดกว่านั้นมาก ที่ถ้าพรรคนึงถูกจับได้ว่าซื้อเสียงแล้วโดนเล่นชุดใหญ่ ขณะที่อีกพรรคโดนน้อยกว่ากันเยอะ

By: plyteam
iPhone
on 19 January 2012 - 11:18 #375006

9gag เอาอีกแล้ว

http://9gag.com/gag/1932218

By: KillerNay
iPhoneAndroidBlackberry
on 19 January 2012 - 11:37 #375012
KillerNay's picture

ก่อนที่จะ anti พรบ.คอมฯ ผมแนะนำให้ anti-SIPA ก่อนครับ

ถ้าใครเคยเข้าไปอ่านซองประมูลงาน SIPA 80% เป็นงานจัดสัมนา ราคา สองสามล้าน ทั้งนั้นเลย

ตอนแรกๆที่มาของ SIPA ก็ดูดี

พักหลังมานี่.......ที่หาแดก ชั้นดี นี่นา

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 19 January 2012 - 11:45 #375017 Reply to:375012
mr_tawan's picture

ผมเห็นด้วยแฮะ 55

เคยไปนั่งฟังคนที่ทำงานให้สมาคมที่สปอนเซอร์โดย SIPA แล้วปวดเฮด


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 19 January 2012 - 13:21 #375050 Reply to:375012

ไหนว่า สตง. ออกมาท้วงแล้วแต่ก็ยังเหมือนเดิมเหรอครับ?

By: NightMare on 19 January 2012 - 13:55 #375064 Reply to:375012
NightMare's picture

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ IT ในบ้านเรามันจะไม่เจริญ ไม่ใช่เพราะพรบ.คอมฯ แต่มันเพราะหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงมากกว่า ถ้าลำดับความสำคัญ ผมเห็นว่าแทนที่จะมุ่งประเด็นไปที่ พรบ.คอมฯ ณ ตอนนี้หันไปผลักดันแก้ไข SIPA ก่อนจะดีกว่าไหมครับ ^^

By: mk
FounderAndroid
on 19 January 2012 - 19:06 #375232 Reply to:375064
mk's picture

เริ่มจากรวบรวมหลักฐาน แล้วส่ง ปปช. ได้เลยครับ เริ่มต้นได้ที่เราเอง ไม่ต้องรอใคร

นั่งคอมเมนต์ในนี้ไป 100 อันก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นครับ (เปลือง database load ด้วยอีกต่างหาก)

By: NightMare on 20 January 2012 - 11:48 #375498 Reply to:375232
NightMare's picture

ถ้าผมบอกว่าผมไม่สนใจละครับคุณ mk ข้อความนี้ของผมแค่ชี้ว่าคุณ lew ควรจะทำอะไรมากกว่า แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าตัวผมเอง "ต้องการ" หรือ "สนใจ" จะทำนะครับ ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะครับ

By: mk
FounderAndroid
on 20 January 2012 - 14:27 #375550 Reply to:375498
mk's picture

นั่นก็เป็นเรื่องของคุณเองน่ะครับ ชีวิตใครชีวิตมัน

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 20 January 2012 - 16:19 #375591 Reply to:375498
lew's picture

คนอื่นทำที่อื่นอยู่ ตัวเองเที่ยวไปบอกว่าให้คนอื่นทำตามใจตัวเอง แต่ตัวเองกลับไม่ทำ

ชัดเจนดีครับ


lewcpe.com, @wasonliw

By: gudgee
iPhoneAndroidWindows
on 19 January 2012 - 14:05 #375069 Reply to:375012
gudgee's picture

SIPA หลุดไปไกลแล้ว ไม่เคยคิดจะหวังอะไรด้วยไปนานแล้วครับ

By: BG
Android
on 19 January 2012 - 13:33 #375054

แล้ว blognone จะมีท่าทีกับ SOPA ยังไงบ้างครับ?

By: Optimuz
iPhoneAndroidWindowsIn Love
on 19 January 2012 - 13:52 #375062 Reply to:375054

อยากรู้ด้วยครับ

By: raifa
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 19 January 2012 - 14:43 #375089 Reply to:375054

SOPA ไกลไป SIPA น่าจะใกล้กว่า

By: mk
FounderAndroid
on 19 January 2012 - 19:07 #375234 Reply to:375054
mk's picture

ผมว่าข่าวนี้มันก็ชัดเจนมากแล้วนะ

By: rapmanza
Symbian
on 19 January 2012 - 14:49 #375095
rapmanza's picture

นี้มันการสังหารหมู่ บนโลกออนไลน์ซินะ เพราะเท่าที่อ่านจากนอกมาด้วย เค้าว่า ส้อยยันDomain พอดีหละ ต่อไปก็เข้ายุคหินหละ

By: jack8855
iPhoneAndroidRed HatSymbian
on 19 January 2012 - 17:47 #375193
jack8855's picture

US เริ่มออกมาชูป้าย กันบนท้องถนนละครับ

By: keng-JA
iPhone
on 19 January 2012 - 23:46 #375316

เริ่มห่างไกลเรื่อง IT ขึ้นทุกวัน

sms อากง effect จริง ๆ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 20 January 2012 - 00:01 #375318 Reply to:375316
lew's picture

เอ้อ อ่านแล้วก็กดลิงก์ไปบ้างก็ได้นะครับ เป็น Blognone เก่าๆ ก็หลายอัน ที่เกี่ยวกับเว็บ "IT" เมืองนอกก็ไม่น้อย


lewcpe.com, @wasonliw

By: Thaina
Windows
on 20 January 2012 - 00:45 #375333 Reply to:375316

แล้ว SMS อากง กับเรื่องของ SOPA และ พรบ.คอม มันไม่ใช่ IT ตรงไหน ยังไง ล่ะครับ?

By: azx
iPhoneWindows
on 20 January 2012 - 05:13 #375393
azx's picture

megaupload โดนปิดไปแล้ว

By: Perl
ContributoriPhoneUbuntu
on 20 January 2012 - 08:32 #375402 Reply to:375393
Perl's picture

หา จริงเหรอ !

ผมชอบที่นี่มากที่สุดเลย Bandwidth แรงสุดๆ (รองลงมาก็ Mediafire)

By: l2aelba
iPhoneAndroid
on 20 January 2012 - 21:46 #375678
l2aelba's picture

คิดถึงว่าคนไทยคงทำแบบนี้ไม่ได้

By: นักโทษประหาร
Windows PhoneAndroidRed HatSUSE
on 21 January 2012 - 14:27 #375804
นักโทษประหาร's picture

อันนี้จริงครับประเทศไทยควรทำ องค์กร SIPA ให้ดีกว่านี้ ก่อนที่จะไปเรื่องอื่นจริงๆ

By: LazarusSP1
ContributoriPhone
on 21 January 2012 - 21:41 #375891

ถ้ากรณี SOPA มาในไทย ผมคิดว่าคนไทยจะพากันสนับสนุนครับ เพราะบริษัทที่สนับสนุนกฏหมายนี้ (เป็นกลุ่มพวกบริษัทค่ายเพลง ละครหนังทั้งหลาย) จะเอาดารามาโฆษณาให้สนับสนุนกฏหมายนี้อย่างจริงจัง และติ่งละครหลังข่าวก็จะเชื่ออย่างไม่น่าสงสัยครับ

By: raifa
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 21 January 2012 - 21:55 #375899 Reply to:375891

บางครั้งคนสนับสนุนหรือค้านบางคนยังไม่ได้อ่านหรือรู้รายละเอียดเลยครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 21 January 2012 - 23:48 #375916 Reply to:375899
hisoft's picture

ดูว่านโยบายมาจากใครก็หนุน/ค้านกันเรียบร้อยแล้วครับ - -"

By: gudgee
iPhoneAndroidWindows
on 22 January 2012 - 18:25 #375998 Reply to:375891
gudgee's picture

จริงแท้

By: ballsaii
ContributorBlackberryUbuntu
on 21 January 2012 - 23:24 #375911

การบังคับใช้กฏหมายในประเทศที่เจริญแล้ว กับ ประเทศกำลังพัฒนาต่างกัน


บีเบี้ยวกับบีบึ้ง