เนื่องจากทางตัวแทนได้เข้าพบและยื่นจดหมายรวมถึงรายชื่อให้กับรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นขอปิดการลงชื่อนะครับ
คุณเทพได้ร่างจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT ซึ่งกดเข้าไปดูได้ข้างใน การเข้าชื่อในจดหมายฉบับนี้ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลของแต่ละท่านไม่มีบังคับนะครับ ช่วงนี้ผมจะเปิดให้คนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก Blognone สามารถคอมเมนต์ได้ด้วย ดังนั้นถ้าอ่านมาถึงตรงนี้และอยากลงชื่อก็ไม่ต้องสมัครสมาชิก เขียนในคอมเมนต์ได้ทันที
วันที่ปิดรับการลงชื่อจะประกาศอีกที หลังจากนั้นตัวแทนจะรวบรวมแล้วทำการยื่นจดหมายไปยังรัฐมนตรี ถ้าเห็นว่าจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้มีประโยชน์ ก็ช่วยกันประชาสัมพันธ์ต่อด้วยครับ - mk
ปรกติบทความใน Blognone สามารถนำไปโพสที่อื่นได้อยู่แล้ว แต่จดหมายฉบับนี้ขอเป็นกรณีพิเศษ ถ้าท่านเล่นเว็บบอร์ดใดที่เกี่ยวกับไอที และคิดว่าจดหมายฉบับนี้มีประโยชน์ให้ช่วยกันเผยแพร่ด้วยการนำไปโพสและลิงก์กลับมาเพื่อให้คนมาลงชื่อกันได้ที่นี่ด้วยครับ - LewCPE
เพื่อความสะดวกในการคัดแยกชื่อ ขอความกรุณาแสดงความคิดเห็นนอกเหนือจากการลงชื่อ ในฟอรั่มครับ
English translation for this open letter by Daengbo
คนสนใจเยอะมาก เชิญชวนมาเจอหน้ากัน แลกเปลี่ยความเห็นในงาน
TLUG
เรียน ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เรื่อง ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
ตามที่ท่านได้แถลงนโยบายการทำงานของกระทรวงฯ ภายใต้การกำกับดูแลของท่าน และหนังสือพิมพ์ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับการให้เหตุผลของท่าน ที่จะไม่สนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สนั้น พวกเรา ซึ่งเป็นผู้ใช้และผู้พัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในประเทศไทย แม้จะไม่ขัดข้องหากท่านเห็นว่าควรใช้งบประมาณของประเทศไปสนับสนุนสิ่งที่ท่านเห็นว่าสำคัญกว่า แต่ก็เห็นว่า เหตุผลที่ท่านให้นั้น ไม่ตรงกับความเป็นจริงตามประสบการณ์ของเรา และเป็นการสร้างความเข้าใจผิดต่อสาธารณชนเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส อันจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของพวกเรา ที่ยังพยายามเตรียมการสำหรับสิ่งดีๆ สำหรับประเทศด้วยการพึ่งตนเอง แทนการรอคอยงบประมาณจากภาครัฐ จึงขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริง โดยอ้างถึงรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับวันพุธที่ 15 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งมีข้อความบางส่วนดังนี้:
On the subject of open source software, he said the current government plan was a case of the blind leading the blind, as neither the people who are in charge nor the people in industry seem to know the dangers of open source software.
"With open source, there is no intellectual property. Anyone can use it and all your ideas become public domain. If nobody can make money from it, there will be no development and open source software quickly becomes outdated," he said.
Apart from Linux, he claimed that most open source software is often abandoned and not developed, and leads to a lot of low-quality software with lots of bugs.
"As a programmer, if I can write good code, why should I give it away? Thailand can do good source code without open source," he said.
ขอแยกประเด็นชี้แจงเป็นข้อๆ ดังนี้:
- การทำงานที่ผ่านมา ไม่ใช่การทำงานโดยไม่รู้ทิศทาง เราได้ศึกษาเงื่อนไขต่างๆ ของการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สเป็นอย่างดีแล้ว ทั้งในข้อกฎหมาย วิธีการในทางปฏิบัติ ผลลัพธ์ในแง่ผลงาน และผลทางเศรษฐกิจ เราได้เล็งเห็นผลดีต่อประเทศ ดังจะชี้แจงต่อไป จึงได้พยายามทำงานอย่างต่อเนื่องในภาคประชาชน เพื่อเสริมแรงกับโครงการของภาครัฐ
- เป็นความเข้าใจผิด ที่ว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สปราศจากทรัพย์สินทางปัญญา และกลายเป็น public domain เพราะโดยข้อกฎหมายแล้ว ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทุกชิ้นมีเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมายทุกประการ แต่เป็นความสมัครใจของเจ้าของลิขสิทธิ์เอง ที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นกระทำการพิเศษเพิ่มเติม ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต (license) ซึ่งเป็นการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของเจ้าของและผู้ใช้ ที่จะสามารถแก้ไขแจกจ่ายซอฟต์แวร์ หากผู้ใดละเมิดเงื่อนไขของสัญญาอนุญาต ก็จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่โครงการโอเพนซอร์สต่างๆ ให้ความสำคัญมาก และพยายามตรวจตราไม่ให้มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ใด
- ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสามารถทำเงินได้ เพราะสัญญาอนุญาตของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สคุ้มครองสิทธิ์นั้น ตราบใดที่การขายนั้น ไม่ได้ละเมิดเงื่อนไข ดังจะเห็นการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในฮาร์ดแวร์ต่างๆ เช่น router, อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย, โทรศัพท์มือถือ, PDA เนื่องจากการมีซอร์สโค้ดทำให้สามารถดัดแปลงซอฟต์แวร์ให้เข้ากับฮาร์ดแวร์โดยอิสระ หรือจะเป็นการขาย service เช่น การวางระบบ หรือ integrate เป็น solution ซึ่งการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สช่วยประหยัดต้นทุนและมีความยืดหยุ่นต่อการปรับแต่ง เป็นต้น ซึ่งการขายดังกล่าว ตราบใดที่ผู้ขายยังรักษาสิทธิ์ผู้ใช้ครบเต็มตามที่ตนได้มากับตัวซอฟต์แวร์ ก็ไม่ผิดแต่ประการใด และในต่างประเทศ ผู้ขายเหล่านี้ได้แบ่งส่วนกำไรจากการขาย เพื่อส่งคืนให้กับนักพัฒนาในรูปการ sponsor หรือการบริจาค หรือแม้กระทั่งจ้างนักพัฒนาให้ทำ feature พิเศษเพิ่มเติมให้ หรือจ้างเป็นพนักงานเสียเลย ทั้งหมดนี้ จึงเป็นเหตุผลที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สจำนวนมากยังไม่หยุดการพัฒนาจนทุกวันนี้ และในประเทศไทย ก็มีการทำเช่นนั้นบ้างเป็นบางโอกาส แต่ยังไม่แพร่หลายนัก เนื่องจากแนวคิดโอเพนซอร์สยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่ถ้าแนวคิดดังกล่าวได้รับการสนับสนุน ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดในประเทศไทยมากขึ้นได้เช่นกัน
- เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ทั้งหลายทั่วไป ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สก็ต้องผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติที่จะอยู่รอด ดังนั้น หากมีผู้ใช้เพียงพอ ซอฟต์แวร์ย่อมมีการปรับปรุงอยู่เสมอ ไม่ถูกทิ้งให้ล้าสมัย เพราะกระบวนการโอเพนซอร์ส เน้นที่การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และผู้พัฒนา โดยอยู่ในระดับที่ลึกกว่าซอฟต์แวร์ proprietary ทั่วไป เนื่องจากผู้ใช้สามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดได้ ซึ่งในจำนวนนี้ย่อมมีบางส่วนที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติม และส่งการปรับปรุงกลับมาที่แหล่งต้นฉบับได้ เท่ากับว่ามีโอกาสได้ผู้ร่วมพัฒนามากกว่าซอฟต์แวร์ proprietary เสียอีก ซึ่งนอกเหนือจากลินุกซ์เคอร์เนลที่ได้ผ่านประสบการณ์นี้ จนมีอัตราการพัฒนาที่สูงแล้ว ก็ยังมีโครงการอื่นๆ อีก เช่น Firefox (WWW browser), Apache (WWW server), Squid (HTTP proxy), MySQL (Database), PostgreSQL (Database), PHP (WWW programming), Mambo (CMS), Drupal (CMS), GNOME (desktop environment), KDE (desktop environment), X.org (GUI window system) ฯลฯ ซึ่งจากการติดตามความเปลี่ยนแปลง ซอฟต์แวร์เหล่านี้ต่างมีการปรับรุ่นอย่างสม่ำเสมอ ออกจะถี่กว่าระบบ proprietary ชั้นนำเสียด้วยซ้ำไป
- มีเหตุผลมากมาย ที่ทำไมผู้ที่เขียนโค้ดที่ดีจึงอยากให้โค้ดแก่ผู้อื่นเปล่าๆ (ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต) หากไม่นับเหตุผลของความรักสังคมมนุษย์ที่ต้องการเผื่อแผ่ หรือเพื่อความพอใจส่วนตัวแล้ว ก็ยังมีเหตุผลของภาคธุรกิจ เช่น
- กรณี Netscape ที่เคยเสียส่วนแบ่งตลาด WWW browser ให้แก่ Internet Explorer ของ Microsoft ก็ตัดสินใจสู้ด้วยการเปิดซอร์ส WWW browser สู่สาธารณะ โดยตั้งเป็นโครงการ Mozilla และได้รับความช่วยเหลือจากนักพัฒนาในอินเทอร์เน็ตในการปรับปรุงความสามารถมากมาย จนได้เป็น Firefox ซึ่งเป็น WWW browser ที่เริ่มชิงส่วนแบ่งตลาดกลับคืนมาจาก Internet Explorer มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในการร่วมมือระหว่าง Mozilla กับนักพัฒนาภายนอก ต่างก็ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
- ภาคธุรกิจที่นำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมาใช้ โดยมีการปรับปรุงเพิ่มเติม ย่อมมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นทุกครั้งที่ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ออกมา โดยต้อง patch ซอร์สโค้ดใหม่ทุกครั้งไป ย่อมคิดถึงวิธีที่สะดวก ทั้งยังได้ประชาสัมพันธ์บริษัทไปในตัว ด้วยการพยายามส่ง patch เข้าที่แหล่งต้นน้ำ และบอกแก่ลูกค้า ว่าทางบริษัทได้ช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์ต้นน้ำอย่างไรบ้าง และถือเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ในการปรับรุ่นไปในตัว เพราะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องรอปรับรุ่นจากหลายแหล่ง
- แม้ในภาคการศึกษาและวิจัยพัฒนา การเผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปซอร์สโค้ด ก็ย่อมส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดซึ่งกันและกัน แทนที่จะทำได้เพียงอ่านบทความ แล้วเขียนโค้ดตามก่อนจะพัฒนาเพิ่ม ก็สามารถนำซอร์สโค้ดมาพัฒนาต่อยอดได้ทันที ทำให้อัตราการพัฒนาของงานวิจัยแบบร่วมมือกันสูงขึ้น
ทั้งหมดนี้ สาเหตุก็คือ กำแพงทางกฎหมายที่เคยขัดขวางการทำงานต่อยอดกันของมนุษยชาติ ได้ถูกจัดแจงเสียใหม่ ให้สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ โดยไม่ขัดกับกฎหมาย และด้วยความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น ทั้งนี้ วงการโอเพนซอร์สยังคงมีธรรมเนียมการให้เครดิตเจ้าของผลงานตามสมควรในรูปแบบต่างๆ ด้วย
นอกจากนี้ หากคำนึงถึงผลทางเศรษฐกิจที่จะเกิดกับประเทศ สิ่งที่พวกเราเล็งเห็นว่าจะได้จากโอเพนซอร์สคือ:
- การลดปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากซอฟต์แวร์ต่างประเทศมีราคาแพง การจะลดอัตราการละเมิดโดยจ่ายเงินซื้อทั้งหมด แม้เฉพาะซอฟต์แวร์ที่จำเป็น จะทำให้เงินไหลออกนอกประเทศเป็นจำนวนมหาศาล การเตรียมทางเลือกใหม่เพื่อลดปัญหานี้ เช่นการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ย่อมเป็นทางเลือกที่ดี ทั้งนี้ คุณภาพของซอฟต์แวร์เหล่านี้ก็ไม่ได้ด้อย ด้วยสาเหตุที่ได้กล่าวไปแล้ว
- ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันในประเทศ กลไกโอเพนซอร์ส เอื้อต่อการทำงานร่วมกันดังกล่าวมาแล้ว จึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่จะทำให้คนไทยร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีได้เร็วขึ้น เป็นการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ที่การแก้ปัญหาแต่ละครั้งมักมีค่าใช้จ่ายสูงในหลายกรณี
- พัฒนาศักยภาพนักพัฒนาไทย ซอร์สโค้ดส่วนใหญ่ที่เป็นโอเพนซอร์ส จะเป็นซอร์สโค้ดที่มีคุณภาพ ผ่านการออกแบบมาอย่างดี ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุเรื่องชื่อเสียงของผู้สร้างที่ต้องระวังก่อนปล่อยสู่สาธารณะ หรือด้วยความจำเป็นที่ต้องออกแบบโครงสร้างอย่างดีไว้เผื่อการทำงานร่วมกันของคนหมู่มาก รวมไปถึงการบริหารโครงการขนาดใหญ่ การเข้ามีส่วนร่วมของนักพัฒนาไทย (ซึ่งขณะนี้มีบ้างพอสมควรแล้ว) นอกจากจะทำให้ต่างชาติรู้จักนักพัฒนาไทยแล้ว ยังเป็นโอกาสที่นักพัฒนาเองจะได้เรียนรู้เทคนิควิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่เข้มข้นกว่าที่ใช้กันในองค์กรเสียอีก
เรื่องรายได้ของนักพัฒนาที่ท่านเป็นห่วงนั้น เราซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ย่อมเป็นห่วงไม่น้อยกว่าท่าน แต่เราเชื่อว่าเมื่อโอเพนซอร์สมีการเติบโต ย่อมเกิดช่องทางของความอยู่รอดอย่างที่เกิดในต่างประเทศเองเป็นธรรมชาติ ปัญหาจึงคล้ายไก่กับไข่เสียมาก คือเราจะรอดูผลที่เกิดขึ้นก่อน แล้วจึงส่งเสริม หรือเราจะส่งเสริมก่อน แล้วรอดูผล
พวกเราเลือกอย่างหลัง เพราะได้เล็งถึงผลในเบื้องปลายไว้แล้ว จึงยังไม่หยุดทำงาน ไม่ว่าท่าทีของภาครัฐจะเป็นเช่นไร เพียงแต่หวังว่า แม้จะไม่สนับสนุน ก็ไม่ควรเกิดการรบกวนการทำงาน อย่างที่ได้เกิดขึ้นในข่าว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ,
Comments
สมโชค คล้ายทอง ผู้ใช้งานซอร์ฟแวร์โอเพนซอร์ส
Supunnee Trisila Programmer
มันผู้ใดมีอคติต่อ Open Source มันผู้นั้นย่อมมีวิสัยทัศน์ที่ล้าหลัง ขอสนันสนุนคนไทยใจนักคิดทั้งหลายขอรับ...
นายพงษ์ศักดิ์ หอมดี General Manager & Developer บริษัท ชินด์เลอร์จำกัด และเจ้าของเว็บไซต์ CMSsociety.com
เห็นดีด้วยครับ
จิรพงษ์ ศุภเสาวภาคย์
Ubuntu 6.10, Kubuntu 6.10
วสันต์ ฉันท์ชวลิต หัวใจ open source แต่กำเนิด
ภัควดี วีระภาสพงษ์
นายจักรพงษ์ ศรีประสม นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และเป็นผู้ใช้งานโอเพ่นซอร์ส เห็นด้วยกับข้อความข้างต้น
Fully support for Open Source
นายรชฏนวี จุลเจือวงค์
นาย บูรพา ตันเจริญ
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
พิศาล สุขขี นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วีณา ว่องไววิทย์
นาย วรภัทร ศศิบุตร นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ขอสนับสนุนซอร์ฟแวร์โอเพนซอร์สค่ะ
นายปิตุพงศ์ ยาวิราช Senior IT Security Cousultant
ผู้พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยทางเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ Snort's rule developer.
นายสุเชาว์ จิระประพจน์
หัสไชย ภูริพันธุ์ภิญโญ ลงชื่อด้วยคนครับ
นส.กัลยารัตณ์ สกุณา ผู้พัฒนา Opensource และจัดวางระบบ Opensource ให้กับองค์กรต่างๆ ที่ต้องการลดการสั่งซื้อซอฟต์แวร์ต่างประเทศ เราเชื่อว่า Opensource เป็นแนวทางตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาตนเอง ตอนนี้เลยสงสัยการทำงานของ รมต ท่านนี้ ว่าท่านได้ฟังพระราชดำรัส หรือไม่
ชัชวาล สังคีตตระการ ผู้ใช้งานและผู้ร่วมพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
knight2000 ผู้ใช้งานและพัฒนาโอเพนซอร์ส ตระกูล Nuke
นายศรัณย์ สิ่งชูวงศ์ ผู้ใช้งานโอเพนซอร์ส
นายธีระพล ม่วงยัง นักพัฒนาซอฟต์แวร์บริษัทเอกชน ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในการพัฒนา
นายสุธี สุดประเสริฐ นักศึกษา ผู้ใช้งานโอเพนซอร์ส
วิศวกรระดับ 8 หน่วยงานของรัฐ(รัฐวิสาหกิจ) เห็นด้วยกับจดหมายเปิดผนึกครับ
นาย สมิทธ์ สาลิฟา หัวหน้าแผนก IT กองการเงิน บริษัท วัชรพล จำกัด ผู้ใช้งาน software open source หลายตัว ประหยัดเงินในการซื้อ software หลายล้านบาท - freeBSD - M0n0Wall - NeoOffice - PHP/MYSQL
มองเห็นว่า โอเพ่นซอร์สเป็นโปรแกรมที่ก่อประโยชน์มากมาย ทำให้สังคมแห่งการเรียนรู้ เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมซอฟแวร์ ดังนั้นรัฐบาลน่าจะสนับสนุน
ขอลงชื่อเพื่อร่วมสนับสนุนและเห็นชอบกับข้อความในจดหมายเปิดผนึกข้างต้นฉบับนี้ทุกประการ
นายรักษารัตน์ ขนานขาว ผู้ใช้งานซอฟแวร์โอเพนซอร์ส, นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พนักงานบริษัทผู้ใช้งานซอร์ฟแวร์โอเพนซอร์ส
สัมพันธ์ ระรื่นรมย์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส บริษัทโอเพนซอร์สดิเวลอปเมนต์
นายนพรัตน์ ทรงธรรมวัฒน์ ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพนซอร์ส
นายธนกร วราวิทยาวุฒิ ครู ผู้ใช้ และศึกษา Open Source สพท.ชบ.2
นายศาตนนท์ เปี่ยมไธสง ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพนซอร์ส
ผู้ใช้งาน Open Source
สุธา อาภานุพงศ์
Ph.D. Candidate Orbital Systems Laboratory Department of Aerospace Engineering Sciences University of Colorado at Boulder
เศรษฐกิจพอเพียง คำตอบสุดท้ายคือโอเพ่นซอร์สครับ นายเนติ ณ นคร
นายมิ่ง ขาวปลื้ม ครู คศ.1 โรงเรียนทวีธาภิเศก
ผู้ใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ในการพัฒนางานสอนหนังสือ (moodle) และใช้สร้างเว็บไซต์สถานศึกษา (PHP Nuke)
ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส, หน่วยงานไม่มีงบประมาณมากพอที่จะสนับสนุน, ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สให้บริการแก่ผู้มารับบริการ(ผู้ป่วย) มากว่าสามปีแล้ว, ....... ขอขอบคุณ... ทีมผู้พัฒนาฯโปรแกรม HospitalOS ณ ที่นี้ด้วยครับ โรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา
ข้อดีของโอเพ่นซอร์ส -ลดการละเมิดลิขสิทธิ์ -ลดค่าใช้จ่าย -พัฒนาความสามารถของคนในชาติ ฯลฯ ผมก็นักศึกษาคนหนึ่งครับ
นายฮานาฟี มาหะมุ, กราฟิกดีไซเนอร์ http://www.asia-ms.com
ใช้ LINUX SERVER ,PHPNUKEและMAMBO และใช้งา้น open source ในการประกอบอาชีพ ครับท่านรัฐมนตรี
สนับสนุน opensource ครับ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
เภสัชกร ดุรงค์ฤทธิ์ ตรีภาค เภสัชกร, โปรแกรมเมอร์ และผู้ดูแลระบบสารสนเทศ โรงพยาบาลแพร่
นายพีรวิชญ์ พวงแก้ว นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ ผู้ใช้ซอร์ฟแวร์โอเพ่นซอร์ส รวมถึงใช้โปรแกรมโอเพ่นซอร์สในการทำโปรเจ็ค
นายอัทศักดิ์ วงศ์กิตตะ เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ GMM Digital Domain Co,. Ltd.
นายชิตพงษ์ วุทธานันท์, ผู้ใช้งานซอร์ฟแวร์ Open Source และ Webmaster TOSDN
นายวีระยุทธ์ เพริดพราว
นาย สุชาติ พรมมี วิศวกรโรงงาน
,วิศวกร,ผู้เห็นความสำคัญของการพัฒนา OpenSource อย่างมาก
นายณัฐวุิฒิ มณีเกษร นักเรียนและผู้ใช้ Opensource
Implementer
Phawinpon Chotwanvirat Undergrad student. Dept of Biology, Mahidol University. OpenSource User
ขอสนับสนุนข้อความในจดหมายเปิดผนึกข้างต้นฉบับนี้ทุกประการ
นายวงศ์ยศ เกิดศรี
นิสิตปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณรงฤทธิ์ อุประ open sources advocate
นายพูลลาภ วีระธนาบุตร ใช้ซอฟต์แวร์เสรี, มีทางเลือก, ประเทืองปัญญา, พึ่งพาตนเอง.
Open Source เป็นแหล่งเรียนรู้และวิถีทางหนึ่งในการศึกษาการพัฒนาซอฟท์แวร์ระดับเยาวชนที่กำลังเตรียมความพร้อมเข้าสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษา สมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับการสนับสนุนและส่งเสริม
นายวัชราวุฒิ หน่อแก้ว นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
[ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์รหัสเปิด]
ด.ช. ณัฐพล พัฒนาวิจิตร เว็บมาสเตอร์ ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์และสคริปโอเพ่นซอร์ส
ชาญวิทย์ หวานเสร็จ Webmaster http://www.cmsthaicenter.com Thai OpenSource
สุธิพัฒน์ สีมาวงษ์ นักศึกษา วิศวะ คอม
เห็นด้วยครับ สมควรยื่นชี้แจงและแจ้งสื่่อมวลชนด้วย ให้เป็นโอกาสสำคัญที่จะให้ประเทศไทย ได้เข้าใจเรื่องนี้ ว่ามันอะไรคือกันแน่ มันควรหรือไ่ม่ควร จะได้รู้กันไปเลย...ส่วนผมเห็นด้วยว่าต้องมี oss ในประเทศไทยต่อไปครับ อะไรที่พึ่งตนเองได้ควร (ต้อง) ทำ ถ้าไม่มีจริงๆ ค่อยซื้อต่างชาติ
ผู้ใช้งานโอเพ่นซอร์สซอฟต์ www.nokkronghuajuck.com
ดร. อโณทัย โภคาธิกรณ์ นักเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
นาย กันตธร ตาดทอง นักศึกษาและผู้นำโอเพ่นซอฟต์มาใช้งานด้านการศึกษาและงานวิจัย
เห็นด้วยครับ ลงชื่อ บรรพต แสงซื่อ
ชัยวิทย์ พงษ์เจริญชัย Senior System Engineer
ใช้ Open Source มาแล้ว 10 ปี โดยเริ่มตั้งแต่สมัยเรียนป.ตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
นส. มนชนก ขำศิริ นักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และผู้ใช้งานซอร์ฟแวร์โอเพนซอร์ส
นาย อัศวิน คำภูแสน นักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ม.ขอนแก่น ผู้ใช้งานซอร์ฟแวร์โอเพนซอร์ส
นาย กฤษณพัตร สายมังคละ หัวหน้าฝ่ายออกแบบสถาปัตย์ ผู้ดูแลเว็บ "เรือนคะฉิ่น","ตรีเจริญเอ็นจิเนียริ่ง" และ "สรรค์สร้าง พร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟ็ค ดีไซน์" ขอสนับสนุนการศึกษา ,การพัฒนาและการใช้งาน Open Source
นายสุเมธ มั่นคง บรรณาธิการวารสารฉบับหนึ่ง ในต่างประเทศ นำ Software Opensource มาประยุกต์ใช้ในบริษัทฯ และ ลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนา Software ในบริษัทฯ นับล้านบาท
ผู้ใช้งาน Opensource อีกคน เช่น Linux MySql Firefox Apache ฯลฯ ซึ่งถ้าจะให้ไปใช้ของลิขสิทธ์ จะมีราคาแพงมาก ซึ่งจะเป็นผลเสียกับนักพัฒนาโปรแกรม และจะเป็นผลเสียกับประเทศอย่างมาก จึงขอร่วมลงนามด้วยคนครับ
Open source user.
ปรเมศวร์ มินศิริ
อยู่ได้ทุกวันนี้ด้วย OpenSource
Server ใช้ Linux Web Server = Apache Database = MySQL โปรแกรมภาษา PHP
ไม่ได้ใช้่เพราะมัน "ฟรี" แต่เพราะมัน "ดี" จริงๆ
เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม :-)
นาย วุฒิพงศ์ วงศ์สกุลเดช
โปรแกรมเมอร์ บ.สนุก ซอฟท์แวร์ จำกัด ผู้ดูแล Thai Game Developer Exchange (http://www.thaigamedevx.com)
นายธวัชชัย อุ่นคำ สนับสนุน Open Source
ผู้ใช้งานและสนับสนุน OPEN SOURCE Forking หรือการพัฒนาแบบคู่ขนานหลายช่องทาง เป็นปรากฎการณ์ธรรมดาของเทคโนโลยี โดยเฉพาะยิ่ง open source แล้วทำให้เราเห็นปรากฎการณ์ชัดเจน ถ้าไม่เข้าใจอาจมองว่าไร้ทิศทาง แต่ความที่ดูเหมือนว่าไร้ทิศทางนี่แหละครับ "วิถีการพัฒนา" ทางที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลในการช่วยเหลือและสนับสนุนเทคโนโลยี ก็คือการเปิดโอกาส ให้มีความหลากหลายในการพัฒนาให้มากที่สุด รัฐนั้นไม่เหมาะที่จะเป็นคนชี้ทางในการพัฒนาด้วยเหตุผลหลัก 3 ประการ - รัฐไม่มีข้อมูลดีพอเท่าผู้ประกอบการในตลาด - เวลาคนของรัฐบาลจะตัดสินใจอะไร ก็ไม่มีแรงจูงใจที่ดีเพื่อประสิทธิภาพเท่าผู้ประกอบการ - คนของรัฐบาลไม่มีความรับผิดชอบโดยตรงต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นหาก ตัดสินใจอะไรผิดๆลงไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
เกษตรกร ผู้ใช้งานและสนับสนุน OPEN SOURCE
สนับสนุน พลังของ open source
ผมมีความเห็นว่า รัฐบาลหมายถึงรัฐมนตรีฯ ที่รับผิดชอบ ควรเป็นบุคคลที่เห็นภาพล่วงหน้าที่ชัดเจนกว่าคนอื่น เป็นผู้นำหรือสนับสนุนในการสร้างแนวโน้มและกระแส หรือ แนวทางการพัฒนาใหม่ๆ ที่จะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ และสร้างความได้เปรียบการแข่งขัน
ไม่ควรที่แค่จะมองตามหรือแค่ติดตามผล หรือกระแสการเปลี่ยนแปลงที่ประเทศอื่นๆ (โลก) สร้างขึ้น ซึ่งจะเป็นผู้ตามที่ดี หรือผู้ตามที่มีความสามารถ ... แค่นั้น
ไม่ควรแค่เกาะกระแสได้ทัน น่าที่จะเป็นผู้อยู่ในกลุ่มผู้สร้างกระแสให้ได้
เห็นด้วยจึงของลงลายชื่อ
ผู้ใช้งาน OpenSource ในชีวิตประจำวันในหน่วยงานราชการ ช่วยประหยัดงบประมาณของทางราชการ การซื้อ Software License หลายล้านบาท
ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สและหนึ่งในผู้พัฒนาโปรแกรม OpenSource ERP ของ ไทย
นายอัศวิน ศรีวงศ์ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (sipa) สาขาเชียงใหม่
เห็นด้วยกับข้อความในจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ (16 พ.ย. 2549) ทุกประการ เหตุผลสำคัญที่สุดคือ เรื่องของการสร้างสินค้าของไทยเอง ขายไม่ได้ อย่างน้อยก็คงไม่ต้องซื้อต่างชาติอีกต่อไป แต่เชื่อว่าหากได้รับการสนับสนุนที่ดี ก็นำรายได้เข้าประเทศได้ไม่น้อยทีเดียว
นายศรตม์ ดิษฐปาน
ผู้ใช้งานโอเพ่นซอร์ส เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานชีวิตประจำวัน และได้รับ ผลประโยชน์จากการใช้งานโอเพ่นซอร์ส ช่วยลดต้นทุนให้กับลูกค้าที่ผมได้พัฒนาโปรแกรมให้
ใช้ Linux ประกอบอาชีพ ใช้ OpenOffice.org และอื่น ๆ เพื่อจะได้ไม่ถูกตราหน้าว่า ไร้อารยะ ศึกษาและพยายามศึกษา(เนื่องจากยังโง่อยู่) ใช้้และพยายามใช้(เนื่องจากอยากฉลาดและไม่เป็นเบี้ยงล่างใคร) Open Source อยู่
เป็นผู้ใช้งานโอเพ่นซอร์ส เพื่องานทางธรุกิจ และการศึกษา
ผู้พัฒนาและผู้ใช้งานโปรแกรม Open source
นายจักกริช สงฆ์เจริญ
นางสาวจอมขวัญ วิจิตต์พันธ์ นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นาย สมหมาย จันจาด กรรมการผู้จัดการ บ. ไอทีสลอท จำกัด system engineer บ. ตลาดดอทคอม จำกัด ผู้หาเลี้ยงลูก และภรรยา ด้วย opensource
นายนิเวศน์ ตั้งธนไพศาล
พนักงานบริษัท เอกชน
ผมเป็นคนหนึ่งที่ใช้อยู่ครับ ใช้ง่ายสะดวกรวดเร็ว เรียนรู้ง่าย รมว.ก็งี้แหละครับคลุมกระทรวงไฮเทน แต่ตัวเองโลเทคอะครับเอาคนแก่มาทำงานก็เงี้ย พวกนี้ถือว่าเก่งเอาแต่ความคิดของตนเองเป็นที่ตั้ง ประเทศคงจะเจริญละครับ
นางสาว สุวารินทร์ พลอยศรี
นาย ทศพล มูลอ้าย
โปรแกรมเมอร์อิสระ
นางสาวรัตนาภรณ์ ศรีธิ
นักศึกษาจบใหม่
นายเทพฤทธิ์ อินสา Software Engineer
นับแต่บรรพกาล มนุษย์ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการก่อไฟ การสร้างท่วงจังหวะทำนองดนตรี วงล้อที่กลายมาเป็นล้อเกวียน และพัฒนาจนเป็นพาหนะอย่างรถยนต์ในที่สุด กระทั่งเรื่องราวปรัชญาและวรรณคดีต่างๆ ไม่มียุคใดสมัยใด ที่มนุษย์จะเห็นแก่ตัว จำกัดปัญญาของตนไว้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวถึงเพียงนี้ Opensource เป็นวิถีวิเศษแห่งมนุษยชาติในอันที่จะรู้จักลดอัตตาของตัวเองเพื่อที่จะได้รู้จักที่จะแบ่งปันแก่กันและกันในฐานะเพื่อมนุษย์ร่วมโลก คนที่รู้จัก เอามะม่วงมากินกับข้าวเหนียวคนแรก ก็ไม่เคยไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์ทางปัญญา ผึ้งที่รู้จักทำนำก้อนดินเล็กๆมาสานต่อกันจนเป็นรังผึ้งสามารถเก็บความหอมหวานของน้ำผึ้งก็ไม่เคยเรียกเก็บค่าปัญญาของตน ซอฟท์แวร์สาธารณะต่างหากที่จะช่วยให้มนุษย์ยังคงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ที่มีปัญญาเหนือจากสัตว์อื่นๆทั้งปวงในโลกนี้ Opensource และนักพัฒนา OpenSource จงเจริญ พงศ์อมร สุขสมจิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทิงเกอร์ แอนด์ดูเออร์( อินเตอร์เนชั่นแนล )จำกัด
นายศุภประภัทร์ น้อยพันธ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม
นายนิติพันธุ์ วิทยผดุง นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ใช้งานโอเพนซอร์ส สมาชิก Prince of Songkla University Opensource and Freeware club
นาย ณัฐพล หนูฤทธิ นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใช้งานโอเพนซอร์ส เป็นส่วนหนึ่งในการทำชิ้นงาน วิทยานิพนธ์
นายอัศวิน เชาวนกฤษณกุล โปรแกรมเมอร์, วิศวกรคอมพิวเตอร์
นายศักดา พิมพ์สวัสดิ์ พนักงาน บมจ.กสท โทรคมนาคม ผู้ใช้งานโอเพนซอร์ส
สนับสนุนการใช้Open sourceครับ
เดินหน้าต่อไป ตัวตายดีกว่าชาติตาย
ธนเทพ จันทเดช พนักงานมหาวิทยาลัย ขอสนับสนุน โอเพนซอร์ส
Open Source เป็นทางออกสำหรับประเทศไทยครับ น.อ.ม.ล.ประกิตติ เกษมสันต์ สถาปนิก / กรมช่างโยธาทหารอากาศ
I agree with this open mail to ICT Minister.
Open source software is very useful to another people to development in the future, it makes the varies ideas, such like that drawing the picture. The final of sofeware may have benefit to each job not in sameway to all. This is very high potential of open source. And sometime it is free cost not like the "COMMERCIAL SOFTWARE" that you must always pay!!!
นายเชาวลิด สืบแสงอินทร์ System Engineer
ผมเคยอยู่องค์การของรัฐฯ และรู้สึกเสียดายเงินทุกครั้งที่องค์กรต้องซื้อ software แพง ๆ มาแล้วใช้งานไม่ค่อยได้ 3-4 ปีก็เปลี่ยน software ทีนึง โดยไม่ได้รู้สึกถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมหาศาล ทั้ง ๆ ที่บุคลากรก็มีอยู่แต่ไม่คิดจะพัฒนาระบบของตนเองขึ้นมา มัวแต่ไปพึ่ง software แพง ๆ และประกอบกับปัญหาความเข้ากันไม่ได้ของ software ในค่าย ต่าง ๆ ทำให้ระบบงานมีความยุ่งยากซับซ้อนเข้าไปอีก
หลายครั้งที่พยายามพัฒนาขึ้นมา ก็ถูกยกเลิกไปโดยเอาซอฟแวร์แพง ๆ ที่ซื้อมาใช้งานแทน อ้างความสามารถต่าง ๆ นานา ที่ได้ใช้บ้าง ไม่ได้ใช้บ้าง และผมว่านี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การพัฒนา software ของคนไทยไม่มากเท่าที่ควร เรามัวคิดแต่ว่าฝรั่งเก่งกว่าเรา
open source เป็นอีกทางออกที่ทำให้คนไทยเกิดการพัฒนา และต่อยอด เพื่อการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งาน อย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ เพียงพอกับความต้องการของระบบงานแต่ละองค์กร สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงท่าน แต่เรื่องแบบนี้คนที่ไม่เคยนำมาใช้คงนึกภาพไม่ออก และผมคิดว่าท่านรัฐมนตรีคงเป็นหนึ่งในนั้น.. ผมว่าท่านไม่ผิด...แต่ท่านคงไม่รู้ และหวังว่าจดหมายเปิดผนึกของน้องเทพคงมีประโยชน์ในการปรับความเข้าใจให้บ้างไม่มากก็น้อย ขอสนับสนุนครับ..
นายธนัฐ อภิวงค์ วิศวกรเครื่องฝึกบินจำลอง
IT staff , Department of primary industries and mines.
เห็นด้วยกับขอความในจดหมายเปิดนึกฉบับนี้อย่างยิ่งครับ
นายเศรษฐกิจ ประสานพานิช นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
นายเศรษฐกิจ ประสานพาินิช นักศึกษาคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งาน Open Source Developer Programmer
นาย ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ บริษัท TARAD Dot Com จำกัด
Pawoot.com
นิธิพัฒน์ ยูวะสนธิ นักศึกษามหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ษษิษ วิทยาเวโรจน์ Freelance web developer / graphic designer อดีตนศ.สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ขอสนับสนุนเสรีภาพ และศักยภาพของคนไทย ไม่ให้หยุดอยู่กับที่เพราะผู้ใหญ่ไร้วิสัยทัศน์
ชัชวาล วัชรมโนธรรม
นายวิศรุต จารึกศิลป์ พนักงานบริษัทเอกชน ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายพรมเดช วิรัมย์ ผู้ใช้ Software Open source
ณัฐวัฒน์ ปาลกะวงษ์ ณ อยุธยา
นักพัฒนาซอฟต์แวร์บริษัทเอกชน, ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
ขอคารวะ.... เพื่อเห็นแก่มนุษยชาติและปวงชนชาวไทย ขอคารวะให้แก่ชุมชน Opensource ... การแบ่งปัน การเสียสละที่งดงาม ที่ยากยิ่งจะหาได้จาก ผู้ที่สถาปนาตัวเองว่าเป็น "ผู้เจริญแล้ว" ทั้งๆ ที่หลายๆ.. สิ่งหลายๆ อย่าง..มันช่างขัดแย้งและ ตรงข้ามกับความงดงามดังกล่าวเสียเหลือเกิน มนุษย์พยายามขีดวงล้อมตัวเองให้แคบลงทุกวัน ด้วยพันธนาการต่างๆ มากมาย.. มาปลดปล่อยมันไปเสีย.. Opensource เป็นชุมชน เป็นแหล่ง..ของท่านผู้มืดบอด... จงเลือกปลดปล่อยมันเสียเถิด แล้วท่านจะรับรู้ว่าโลกมันยังมีิ่่สิ่ิงงดงามและน่าอยู่ขึ้นกว่าเดิม.. ที่นี่...ที่ที่มิใช่ที่ไกลโพ้นจนมิอาจไปถึง และมิใช่ในความฝัน... แต่เป็นโลกแห่งความเป็นจริง..ของเรา..ของเรา...... ............................... นายธิติสรรค์ กุลดำรงวิวัฒน์
ผู้ใช้ open source ตั้งแต่ก่อนเข้ามหาลัย ณ ปัจจุบันอยู่บริษัทเอกชนที่พัฒนาโปรดัก โดยใช้ open source และอนาคตก็จะเป็นผู้ใช้และผู้พัฒนา open source ต่อไป
นายบุรชัย พิมพะกร IT Security Consultant
...........................................
ชัชชัย หวังวิวัฒนา นักศึกษา สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
เห็นด้วยกับข้อความในจดหมายทุกประการถึงแม้ตอนนี้จะใช้ของเถื่อนอยู่ก็ตาม ผมทำงานอยู่ที่รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งที่มีนโยบายนำ opensource มาใช้งานแต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะระดับผู้ใช้งานและผู้บริหารบางท่านที่ใช้งานไม่ยอมรับในตัว Software (openoffece) ยังกลับไปใช้ของเดิมที่ขโมยใช้อยู่ และมีนโยบายให้ใช้ของเถื่อนต่อไป ผมในฐานะผู้ดูแลระบบเล็กๆภายในกองก็จำเป็นต้องทำตามคำสั่งแม้อยากจะใช้ของที่ถูกกฏหมายก็ตาม ยิ่งอ่านความเห็นของ รมต. ICT ยิ่งเศร้าใจ ต่อไปก็คงใช้นโยบายซื้อให้ถูกกฎหมายถูกเครื่อง ไม่รู้เหรอครับว่าค่า Software นี้มันแพงกว่า Hardware เป็นไหนๆ แค่ M$ office ก็ 20,000 เข้าำไปแล้ว มี computer 1000 เครื่องก็คิดเป็นเงินเท่าไหร่แล้ว ถ้าเราไม่สนับสนุน opensource แล้วเมื่อไหร่เราจะยืนบนขาของเราเองได้ ตามนโยบายเศรษฐกิจเพียงพอของรัฐบาลที่ประกาศเอาไว้ User คนหนึ่ง
สุวิช บัวสาย ผู้ใช้งาน opensource (openoffice, the Gimp, Xnview, 7-zip, Ubuntu 6.04..sometime)
ธนา ปัญญ่า
นายสุขุม นิตยานุภาพ ผู้ดูแลระบบเครือข่าย และพัฒนาเว็บไซท์ด้วยโอเพนซอร์ส
เห็นด้วย
นายวิจักขณ์ จำรูญศิริ นักศึกษาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการสนับสนุนและพัฒนาอย่างจริงจัง ก็จะทำให้ Opensource ประสบความสำเร็จ และพัตนาให้คนหันมาใช่ในวงกว้างก็จะเกิดประโยชน์มากกว่า
ปรัชญาของโอเพิ่นซอส คือเสรีภาพ ไม่ใช่การผูกขาด ควบคุมค้ากำไรเกินควร ขณะเดียวกันก็เคารพสิทธิ์ของผู้สร้างงาน รู้สึกอายที่คนระดับนี้มีความไม่เข้าใจหรื่เข้าใจหรือแกล้งไม่เข้าใจ
นายชัดสกร พิกุลทอง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 29 จังหวัดศรีสะเกษ ใช้ซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส ในโรงเรียนทำให้การบริหารเครือข่าย เวปไซต์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๊ณัฐวุฒิ สุดยรรยง
นายแพทย์ ไพบูลย์ จิตติวาณิชย์ รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
นักศึกษา
อภิรักษ์ เจริญสวัสดิ์
ผมเองเป็นคนนึงที่ใช้ Mambo และเป็น Opensource ตัวนึง มีประโยชน์และจำเป็นต่อชีวิตและการทำงานของผมมาก
ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส และผู้พัฒนา สำนักงานเกษตรอำเภอเนินมะปราง ขอสนับสนุนการใช้งานโอเพ่นซอร์ส
เรวัต ทัศนีศรีวงศ์ โปรแกรมเมอร์ สนับสนุน Opensource เหมือนกันครับ แม้ว่าผมจะชอบและถนัดพัฒนาด้วยซอฟท์แวร์ของไมโครซอฟท์ก็ตาม แต่หากพิจารณาถึงอนาคตและภาพรวมแล้ว แนวโน้มของ Opensource มีอัตราการขยายตัวที่รวดเร็วกว่า ดีกว่า และไม่ผูกมัดด้วยครับ
นายณัฐ กาญจนศิริ ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายปรัชญา ศรีสันติสุข นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
พนักงานรัฐวิสาหกิจ นักพัฒนาโปรแกรมบน MCU Computer Admin
เอกสิทธิ์ บัณฑิตพานิชชา
โปรแกรมเมอร์ และ วิศวกร
พนักงาน บ.เอกชน
ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส และพัฒนาระบบ
นายขจร เจียรนัยพานิชย์ Software Enginer บริษัท Reuters Software Thailand ที่ใช้ open source ในการพัฒนา software ระดับโลก และขายต่างประเทศจนถึงทุกวันนี้
นายศักดิ์ชัย แสงคุณธรรม
นายโกวิทย์ ตังคะพิภพ
นายจักรพันธ์ สุขเพ็ง โปรแกรมมิ่ง,เว็บมาสเตอร์ www.sw.co.th
ผู้ใช้ซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายรัตนชัย สมบัติศรีสมบุญ ผู้ประกอบวิชาชีพโดยพึ่งพาซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นาย อภินันท์ อินทร์ไชยา เจ้าหน้าที่บริการการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
เห็นด้วยทุกประการ
ปิยะ แสนคติ Developer ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในการทำงาน และเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ
ร่วมสนับสนุนค่ะ
ฐาปกรณ์ ผดุงมาตรวรกุล (พวกบ้า opensource อย่าเข้าใจผิดนะครับ)
ผู้ประกอบการธุรกิจคอมพิวเตอร์, โปรแกรมเมอร์
เห็นด้วยทุกประการกับจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ครับ
พุทธพร คณีกุล System Engineer ผู้ใช้งาน Software Open Source
ทั้งใช้ ทั้งพัฒนา และจะอยู่้กับโอเพนซอร์สไปจนตาย
user คนหนึ่งผู้ใช้งาน Software Open Source
ขอบอก
อะไรที่ ไมโครซอฟ ทำได้ ลีนุกทำได้ดีกว่าทั้งสิ้นและได้ทำมาก่อนแล้ว
ตัวอย่าง ดูได้ที่
http://158.108.200.199/olpcDEMO.mpg
นายกตัญญู อุบาลี สนับสนุนและเห็นด้วยครับ
นายวีรวัฒน์ มะเสนา อาจารย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กำลังศึกษาต่อ PhD IT University of South Australia, Australia
"ศึกษา Open Source ใช้ Open Source และสอนนิสิตให้ใช้งาน Open Source"
โอเพ่นซอร์ส มีประโยชน์ มีข้อดี มากกว่าข้อเสีย หากนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนจะช่วยพัฒนาแนวความคิดเรื่องศาสตร์ของคอมพิวเตอร์ให้กับเด็กไทยได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้
ชัยวัฒน์ ภูมิประเทศ ของเค้าดีจริงๆนะครับ ของฟรีมีจริงในโลก คือโอเพ่นซอร์ส
บัณฑิต ดวงชาทม,นักศึกษา,ผู้ใช้Linux ถ้ามีคนใช้opensourceกันหมด งบที่จะออกจากประเทศจะลดลง เอาที่จะออกมาลงทุนสร้างนักพัฒนาopensourceจะดีกว่า อนาคตข้างหน้าจะได้ตัดค่าsoftwareเมืองนอก
ขอสนับสนุน OpenSource SW ครับ (สนับสนุนทั้ง OpenSource & Commercial ทั้งคู่มีข้อดีข้อเสีย เลือกใช้ให้เหมาะสม และก็ต้องอยู่คู่กันเพื่อความสมดุลครับ)
คุณพ่อสอนหลักเศรษฐกิจพอเพียง และให้รู้จักพึ่งพาตนเองตามในหลวง แต่ผมก็ยังใช้วินโดว์ได้ดีไม่แพ้เพื่อน เพราะ ร.ร. มีสอนอย่างเดียว คำสอนจากพ่อไม่ทำให้ความรู้ด้านอื่นๆของผม หดหายไป แต่เสริมให้รู้จริงยิ่งขึ้น
ไม่รู้ว่าทำไมต้องมาขัดขวางความอยากรู้ของผม
ขอให้ผู้เกี่ยวข้องช่วยตอบด้วย
จาก ด.ช. ลินนุกซ์ ฟ้ารุ่งสาง ร.ร. สาธิต ม.ก.
ผู้ใช้/พัฒนาซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายฉัตรพงษ์ ด้วงบุ้ง วิศวกรระบบ,เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Faculty of computer sicence Print of songkla university ,Phuket campus
นายคุณากร กุตัน นักศึกษาโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ผู้ใช้งาน Software Open Source และสนับสนุนการใช้งาน Software Open Source ขอลงชื่อแสดงความเห็นชอบกับจดหมายเปิดผนึกข้างต้นทุกประการ
ศุภรัชต์ เสถียรทิพย์ ผู้ใช้งาน
นาย วิชัย โคบาล java programmer/unix administrator
ลลิดา รัตนศรีทัย อดีตผู้สื่อข่าวสายไอที ผู้ซึ่งเคยมีประสบการณ์ติดตาม ศึกษา และทำความรู้จัก Opensource software จากทั้งฝ่ายผู้ใช้และผู้พัฒนาอย่างใกล้ชิด
ผู้ใช้งาน และพัฒนา software ที่เห็นว่า opensource มีประโยชน์
ลงชื่อด้วยครับ โอเพ่นซอร์สเปิดโอกาสให้ผมได้ใช้ซ๊อฟท์แวร์ใหม่ ๆ ที่ใช้เทคโนโลยี่ล่าสุดอยู่เสมอ การพัฒนาต่อยอดด้วยระบบโอเพ่นซอร์ส ช่วยให้ผู้ใช้อย่างผมได้ความรู้ใหม่ ๆ และสามารถนำมาดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์กับงานได้หลากหลายมาก
อยากให้ภาครัฐมองเห็นความสำคัญและมองเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมนักพัฒนาชาวไทยด้วยครับ
ธีรัชพจน์ บุณยศานติ
MD บริษัท คอลเลคทีฟคอมพิวเตอร์ ซิสเ้ต็ม เมนเนจเม้นท์ จำกัด
นายวุฒิพงษ์ ทองตัน จังหวัดขอนแก่น เจ้าของร้านคอมพิวเตอร์ และ Internet Cafe ที่ใช้ระบบ Linux เป็นระบบปฏิบัติการหลัก ขอสนับสนุนข้อความในจดหมายของคุณเทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์ ทุกประการครับ
นาย วุฒิชัย อัมพรอร่ามเวทย์
ผู้ใช้ OpenSource Software
Hui's BLOG
ร่วมแสดงพลังทางความคิด ตามระบอบประชาธิปไตยด้วยคนละกัน แม้ไม่คาดหวังผลที่ตามมา ว่าบุคคลระดับรัฐมนโทของประเทศกำลังพัฒนา จะมาสนใจอะไรกับชนกลุ่มน้อย ที่ไม่อาจสร้างผลประโยชน์ให้กับตน!!! คำว่าพึ่งพาตนเองทางเทคโนโลยี ก็ยังคงเป็นเพียงคำสวยๆไว้เขียนอวดกัน
นาย ศิริชัย ธีรภัทรสกุล : Web Programmer
ขอร่วมสนับสนุน ซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
เป็นเจ้าของร้านอินเตอร์เน็ทเล็กๆ ฝั่งธนบุรี ที่ปัจจุบันใช้โปรแกรม opensource (officetle และ pladao)สอนและแนะนำให้เด็กนักเรียน, นักศึกษา ที่มาใช้บริการที่ร้าน ได้ใช้ทำรายงานส่งครู, อาจารย์ (มาหลายปีแล้ว).... ขอบคุณโลกของ opensource และคณะทีมงาน opensource ของไทยทุกท่าน
นายธนรัตน์ ตุลาผล ผู้ได้ประโยชน์จาก งาน opensource
ขอลงชื่อเพื่อร่วมสนับสนุนและเห็นชอบกับข้อความในจดหมายเปิดผนึกข้างต้นฉบับนี้
นายกฤษพงษ์ สุบันนารถ
พนักงานสนับสนุนภารกิจหลักด้านวิชาการ (สาธารณสุข) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น
ผู้ใช้งานโอเพ่นซอส ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านระบาดวิทยา การป้องกันควบคุมโรค เห็นชอบกับข้อความในจดหมาย
พลากร จิรโสภณ เวบมาสเตอร์ไฟลามทุ่ง
นางสาวฤทัยทิพย์ จันทร์สระแก้ว
ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส นักศึกษาปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ รามคำแหง
เทพรัตน์ ตันติกัลยาภรณ์ ผู้ใช้และพัฒนา Opensource
นายสัมฤทธิ์ สวยสะอาด
นักเรียนในสังกัด สัมนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส และศึกษาการพัฒนาซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สเป็นงานอดิเรก
นายธรรมนิต สุขสมบูรณ์ นักศึกษา/ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายเกียรติศักดิ์ ไชยสมบูรณ์ นักศีกษาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ปริญญาโท ม.จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
นาย กิจจาศักดิ์ ตริยานนท์ นักดนตรี ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส โดยเฉพาะสำหรับการทดลองและำการวิจัยในด้าน ดนตรี และ ศิลปะ บันเทิง ในรูปแบบต่างๆ
นายทองแดง ยวงหิรัญ ผู้ใช้
SUT เราใช้ซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
นายฐิติพงษ์ ศตสังวัตสร์
นายนริศ มณีขาว ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส, เว็บไซท์เพื่อชีวิต สังคม และธรรมชาติ ไม่แสวงหากำไร
ชื่มชมและชื่นชอบโอเพ่นซอร์ส ขอบคุณผู้พัฒนาทุกท่านอย่างจริงใจ
นาย เศรษฐกิจ ประสานพานิช
นักศึกษาคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เห็นด้วยตามจดหมายนี้ เพื่อเอกราชของชาติไทย ผมว่าน่าจะบังคับให้ภาครัฐหรือทุกหน่วยงานที่ใช้เงินของประชาชนให้ใช้ Open Source กันให้หมด คนไทยเป็นคนมีฝีมือในทุกสิ่ง ภูมิปัญญาที่กำลังจะหายไปหมดจากประเทศไทยเพราะเราไม่สนับสนุนกัน ผมเคยคิดนะว่าถ้าเอาคนทำปืนเถื่อนขายมาทำปืนขายให้ต่างประเทศจะรวยแค่ไหน ร้านอาหารไทยในต่างประเทศก็มีแต่อินเดีย เวียดนามเป็นเจ้าของ ทั้งที่ใช้ชื่อร้านอาหารไทย
นายภาณุ ตั้งพูลผล Software Engineer, Opensource user
นายภูวดล จันทร์เที่ยง www.chiangraimedia.com
open source user.
ธาระบุตร วรรณบุษปวิช
General User: ศึกษาและใช้งานด้วยตัวเอง, พยายามทดสอบและค้นหา Software เพื่อทดแทนการใช้ Proprietary ตามความเหมาะสม (ที่สำเร็จแล้วคือ OpenOffice)
น.ส.จันทร์นิภา รัตโนชัยกุล นักพัฒนาเว็บไชต์บริษัทเอกชน, ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เเละ ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานชีวิตประจำวัน ได้เห็นถึงผลประโยชน์จากการใช้งานโอเพ่นซอร์สเป็นอย่างมาก
ศราวุธ ภิรมย์ฤทธิ์ Opensource user
นาย ระพีพันธ์ เทวรักษ์พิทักษ์ นศ.ไอที
cent os
ผมอยากขอร้องให้ท่านรัฐมนตรีกลับลำมาสนับสนุนโอเพ่นซอร์สครับ ผมใช้งาน Ubuntu Linux, OpenOffice.org, Scilab, Xcircuit, ShowPhoto, KolourPaint, Opera / Firfox browsers ใช้ซอฟท์แวร์เหล่านี้ทั้งในเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน ได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้อง "โกง" เอาของที่เขาทำขายมาแอบใช้ ขอเรียนเชิญท่านรัฐมนตรีลองใช้ดูแล้วจะติดใจครับ
Supawan Huarakkit Admin IT I'm agree with message in the letter
Opensource User
นายเสกสรร พลตรี ผู้ใช้และพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ Opensource
ผู้ใช้งานซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์ส
สมาชิกฟรีแวร์และโอเพนซอร์ส ฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นายจักริน ชวชาติ, นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หน่วยพัฒนาสื่อการเรียนรู้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครนิทร์
นางสาวมาตาปีย์ เพชรมณี
Pages