หลังติดพันธนาการเครื่องเมนเฟรมมายาวนานตลาด New York Stock Exchange ก็เริ่มกระบวนการย้ายโปรแกรมทั้งหมดไปสู่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ IBM AIX และ ลินุกซ์
สำหรับเหตุผลในการย้ายครั้งนี้ก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากราคาค่าบำรุงรักษาที่นับวันเมนเฟรมนั้นจะแพงเอาๆ ขณะที่ลินุกซ์ และยูนิกซ์แบบอื่นๆ นั้นแข่งกันถูกจนเทียบกันไม่ติด แถมความเร็วยังเหนือกว่า
งานนี้นับเป็นหนึ่งในงาน migrate ระดับชาติ ที่ต้องพอร์ตโปรแกรมในภาษา JCL และ COBOL ไปยังคลัสเตอร์ลินุกซ์ งานนี้บริษัทที่ได้งานไปคือ Clearity Solution Inc. ผู้เชี่ยวชาญด้านการ migrate ระบบโดยเฉพาะ โดยบริษัทจะใช้โปรแกรมที่อ่านโค้ดสำหรับรันบนเมนเฟรมแล้วคอมไพล์ใหม่เป็นโค้ดสำหรับลินุกซ์อีกครั้งเพื่อรันต่อไป
การพอร์ตโปรแกรมบางส่วนเริ่มไปแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา และจนวันนี้ยังไม่มีทีท่าว่าตลาด NYSE จะดับ :P
ปล. ผมเคยใส่เสื้อยี่ห้อ AIX สีฟ้าแล้วโดนทักว่าทำงานอยู่ IBM ไปหลายครั้งเหมือนกัน ดันเป็นเสื้อตัวโปรดด้วย
ที่มา - SearchDataCenter
Comments
ไม่มีบอกรึครับว่า Linux ตัวไหน
ไม่บอกครับ อันนี้ในข่าวระบุเลยว่าไม่บอก ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
หลังติดพันธนาการเครื่องเมนเฟรมมายาวนานตลาด New York Stock Exchange ก็เริ่มกระบวนการย้ายโปรแกรมทั้งหมดไปสู่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ IBM AIX และ ลินุกซ์
สำหรับเหตุผลในการย้ายครั้งนี้ก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากราคาค่าบำรุงรักษาท ี่นับวันเมนเฟรมนั้นจะแพงเอาๆ ขณะที่ลินุกซ์ และยูนิกซ์แบบอื่นๆ นั้นแข่งกันถูกจนเทียบกันไม่ติด แถมความเร็วยังเหนือกว่า --------------------------------------- 1. mainframe ไม่ใช่ server เหรอ 2. AIX & Linux เป็น software แต่ mainframe เป็น hardware + software ทำไมถึงเทียบกันโดยตรงได้ ? 3. Linux ลงบน mainframe ไม่ได้เหรอ
1. mainframe ไม่ใช่ server เหรอ - ผมว่ามันก็เป็น server แหละ(ตัวให้บริการ) แต่คงแตกต่างกันที่ hardware และ software
2. AIX & Linux เป็น software แต่ mainframe เป็น hardware + software ทำไมถึงเทียบกันโดยตรงได้ ? - เพราะว่า Linux นั้นสามารถรันได้บนหลายสถาปัตยกรรม ซึ่งอาจจะนำหลายๆแบบมาช่วยกันประมวลผลได้ แต่ mainframe นั้น hardware และ software นั้นมันมาด้วยกันซึ่งเวลาซ่อมแซม(ค่าแรง+ค่าของ)นั้นคงแพงกว่าเพราะไม่ค่อยมีคนใช้ ส่วน AIX นั้นผมคิดว่าทาง NYSE แต่เดิมก็ใช้บริการของ IBM มาแต่ก่อนก็ไม่แปลกที่ IBM จะเสนอ AIX ที่ใช้ได้บน CPU Power แล้วจะได้ราคาถูก
3. Linux ลงบน mainframe ไม่ได้เหรอ - ผมว่ามันไม่ได้นะ เพราะการเขียน instruction มันไม่เหมือนกันนะครับ แล้วแต่ละค่ายก็ใช้การคำนวนไม่เหมือนกัน อย่าง NEC ก็มีของเขา IBM ก็เช่นกัน ซึ่งถ้าจะเอา Linux ไปใช้คงต้องเขียนอะไรใหม่อีกไม่น้อย
ถามคนที่เคยเล่น mainframe เคยเห็น OS ที่ชื่อ Himalaya ไหมครับ มี Database ที่ชื่อ None Stop SQL ด้วย เคยเห็นตอนเริ่มทำงานใหม่ๆ ใครเคยเห็นรุ่นอื่นมั่ง
ทำไมเขาถึงไม่ไปรอใช้ vista หรือว่าการ migrate ข้ามไป vista มันยากกว่า
การทำงานระดับนั้นที่ต้องการความรวดเร็วสูง ถูกต้องแม่นยำมาก และรองรับงานหนักมหาศาล (รองรับการประมวลผล คำสั่งซื้อขายหุ้นของตลาดหุ้น NYSE ที่มีมูลค่ารวม 17 ล้านล้านเหรียญ ต้องทำงานจับคู่คำสั่งซื้อขาย ระดับ 1.6 พันล้านๆคำสั่งต่อวัน หรือ ราวๆ 6 หมื่นคำสั่งซื้อขายที่จับคู่สำเร็จต่อวินาที) ซึ่งงานขนาดนั้น แค่โครงสร้างของเมมโมรี ขนาดบน PC ธรรมดา Windows 32 bit ที่ Vista หรือ Windows มีอยู่ไม่มีทางรองรับได้ แน่นอนครับ และแม้แต่การจับคู่ที่ผิดพลาดแม้แต่นิดเดียวก็เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เงินทองตั้งหลายอยู่ นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่เครื่องระดับ PC ธรรมดา ไม่มีทางรองรับได้ และไม่มีแม้แต่ความเชื่อมั่นด้วย ถ้ามีการประกาศออกไปว่าใช้ Wintel และ Vista เป็นโครงสร้างพื้นฐาน
vista นะครับ มิใช่ Longhorn Server !!! มันก็เลยไม่เหมาะสมเท่า Linux ------------------- meddlesome.tech.blog
ด้านล่างเป็นความเห็นจากประสบการณ์ของผมนะครับ สำหรับทา่นใดที่เห็นด้วย หรือว่าผมขาดตกบกพร่องตรงส่วนไหนก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย แล้วก็อย่าลืมมาเสริมในส่วนที่ผมยังบกพร่องให้ด้วยนะครับ ถือว่าเป็นวิทยาทานสำหรับผมและคนอื่นๆ ที่เข้ามาอ่านในบอร์ด 1. mainframe ไม่ใช่ server เหรอ -อย่างแรก คุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้หลายระดับตั้งแต่ desktop ไปจนถึง super computer เครื่อง mainframe มันก็คือ server แต่เป็น server ขนาดใหญ่(ทั้งขนาดและการใช้งาน)ซึ่งมี processor สำหรับประมวลผลขั้นสูงซึ่งต่างจากคำว่า (desktop)server ที่ขนาดของมันก็เท่ากับ case ของเครื่อง desktop ทั่ว ๆ ไปนี่เอง server แบบนี้เป็น server สำหรับองค์กรขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้การประมวลผลมากนัก หรือไม่มากเท่า mainframe (ที่มองเห็นมากก็คือ บรรดา web server มักจะใช้แบบนี้เพราะราคาถูกกว่า,ตรงตามวัตถุประสงค์และงา่ยต่อการดูแลคุณลอง search ใน google ดูก็ได้ คำว่า mainframe แล้วเลือกดูรูป คุณจะเห็นว่าขนาดของ mainframe ใหญ่พอๆ กับห้องๆ หนึ่งเลยทีเดียว นั่นเป็นเพราะสถาปัตยกรรมภายในที่ออกแบบมาเพื่อให้ระบบเสถียรภาพมากที่สุด 2. AIX & Linux เป็น software แต่ mainframe เป็น hardware + software ทำไมถึงเทียบกันโดยตรงได้ ? -ข้อนี้ไม่มีความเห็นครับ
3. Linux ลงบน mainframe ไม่ได้เหรอ - ข้อนี้คุณก็ต้องเข้าใจก่อนว่า linux ถูกพัฒนามาจากระบบ Unix ซึ่งรันอยู่บนเครื่อง mainframe โดยพัฒนาให้สามารถรันบนเครื่อง desktop ทั่วไปได้ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ linux เป็นระบบปฏิบัติการของ desktop server ซึ่งการพัฒนานี้ จะต้องทำการออกแบบส่วนติดต่อระหว่างตัว software กับ hardware ใหม่ทั้งหมด เพราะว่าสถาปัตยกรรมภายใน ไม่เหมือนกัน ดังนั้นผมสามารถตอบได้เลยว่า linux ไม่สามารถรันบน mainframe ได้อย่างแน่นอน ซึ่ง(ถ้าจะรันจริง ๆก็สามารถทำได้ แต่ก็ต้องพัฒนาส่วนของ kernel ขึ้นมาใหม่ แต่ ก็สู้เอา Unix มารันเลยไม่ดีกว่าหรือ)
ขอเสริมก็แล้วกันครับ จากประสบการณ์ที่ทำงานบนเมนเฟรม 5 ปี (นานมาแล้ว)
1. ก็ตามที่คุณ eTop ตอบนั่นแหละครับ mainframe จะเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะ คือต่างยี่ห้อก็ต่างฮาร์ดแวร์ใช้ OS เฉพาะตัวไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ยกเว้นพวกที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน ความใหญ่สมัยก่อนก็ประมาณนั้นแหละครับ ต้องสร้างห้องเย็นให้อยู่ ควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น จิปาถะ แต่ปัจจุบันก็จะเล็กลงมากอาจจะลองเอาตู้เย็นขนาด 5 คิววางเรียงกันสองตู้ หรือสามตู้ ประมาณนี้ก็ได้ครับ
2. ที่เปรียบเทียบเข้าใจว่าเปรียบเทียบในแง่ของค่าใช้จ่าย ความคุ้มค่าคุ้มทุนมากกว่าครับ ซึ่งผมก็เห็นด้วย เำพราะจะหาคนมาทำ mainframe ยากครับ ส่วนมากก็ต้องปั้นขึ้นมาเอง ส่งไปอบรมหลายๆ เดือน ลงทุนสูงกว่าจะสร้างคนได้ แล้วการผูกติดกับ mainframe ก็หมายความว่าคุณไม่มีทางเลือกอื่น ต้องซื้อเซอร์วิส อัพเกรดทุกอย่างจากเจ้าเดียว ราคาถึงแพงมากๆ ค่าใช้จ่ายในการในการบำรุงรักษาสูงหน่วยงานที่ใช้ mainframe ส่วนมากจะเป็นสถาบันการเงิน เพราะต้องการเสถียรภาพที่สูงที่สุด แถมถ้าลงทุน 100 ล้าน สำหรับเครื่อง production คุณต้องมีอีก 1 ชุดเป็น backup หรือ mirror ด้วย
3. Linux ลงบน mainframe ได้แน่นอนครับ อย่างที่หลายๆ ท่านให้ข้อมูลไว้ แม้แต่ของ Slackware ก็มีโปรเจ็กที่พอร์ต Linux ไปลงบน mainframe ของ IBM เข้าใจว่าตั้งแต่ปี 2001 http://www.slack390.org/ http://www-03.ibm.com/systems/z/os/
4. สิ่งที่ผมสนใจคือเมื่อพอร์ต COBOL จาก mainframe ไปลง Linux ก็น่าสนใจเหมือนกันว่าเขาจะทำยังไงต่อ เช่น Linux ตัวไหน, ภาษายังคงเป็น COBOL หรือเปล่า, Database ตัวไหน หรือสถาปัตยกรรมอื่นๆ ถึงจะรองรับการทำงานของระบบใหญ่ขนาดนี้ได้ น่าสนใจมากๆ ครับ ...
ในไทย ก็มี linux run อยู่บน mainframe นะ ผมไม่ได้ยุ่งกับส่วน mainframe แต่พัฒนา web app ที่ run บนนั้น ตัว linux ที่ใช้ ก็คือ suse enterprise 8 run อยู่บน os ที่ชื่อ z/VM
ถ่้าเห็นคำว่า VM ก็เดาได้เลยว่า เป็น virtual machine แต่ที่น่าต่างกันกับพวก vmware ก็คือ vm บน z/VM มันโคตรเก่งเลย (หมายถึงจัดสรรทรัพยากรได้ดีมาก)
เคยวัด benchmark linux ที่อยู่บน z/VM พวกค่าที่ CPU ไม่มีค่าไหนดูดีเลย (เทียบกับ powerpc บน AIX) แต่พอ run งานจริง มันกลับทำงานได้ดีมากเลย ซึ่งคุยกับคน IBM เขาก็บอกว่า context switching มันเจ๋ง
เสริม : สิ่งที่แพงสำหรับ mainframe ไม่ใช่มีแค่ เครื่อง + software + support มีเรื่องค่าตัวผู้เชี่ยวชาญด้วย
บริษัทฯ ผมเคยร่วมงานกับผู้เชี่ยวขาญคนหนึ่ง แกคิดค่าเหนื่อยแค่ 4 ล้านเอง ระยะเวลาก็ไม่นาน ระยะเวลาที่งานหนักๆจะอยู่แค่ 4 เดือน
คงหมายถึงโค้ดสำหรับระบบปฏิบัติการที่ใช้อยู่กันบน Mainframe เครื่องเก่า... ไปคอมไฟล์ใหม่ใน Linux บน x86 มากกว่า
Linux ลงบน Mainframe ได้แน่นอนครับ... ยูนิกส์แบบอื่นๆ ลง Mainframe ได้ก็มี และที่เปลี่ยนก็คือเปลี่ยนจากระบบปฏิบัติการอะไรไม่รู้บน Mainframe ไปเป็น Linux บนสถาปัตยกรรม x86 แทน เพราะฉะนั้นประโยคนี้ฟังดูไม่สื่อนะครับ
Linux รันบน Mainframe ได้แน่นอนครับ อย่างน้อยก็มี RatHat แหละhttp://www.redhat.com/rhel/server/mainframe/ สำหรับบาง Distro รันได้บน Super Computer ด้วยซ้ำ
แต่ที่ทาง NYSE ไม่รู้ว่ารัน Linux ตัวไหนบน Platform อะไร แต่เค้าคงไม่เอา Linux ไปรันบนเครื่อง Mainframe ที่เค้ากำลังใช้งานอยู่แน่ ๆ นอกจากมันจะเก่าแล้ว Linux อาจจะไม่ได้ถูกพัฒนาให้ support Mainframe สมัยเก่า ๆ ก็เป็นได้ ที่สำคัณระบบเค้าจะ down นานไม่ได้ด้วย
----- หนึ่งในคนไทยผู้หลงไหล Linux
กระทู้นี้อ่านคอมเมนต์แล้ว ขอยอมรับว่าคนเขียนข่าว ใบ้กินครับ -_-" ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
เอื๊อก ลืมดูชื่อคนเขียน. . .
ไม่เป็นไรครับ วิจารณ์ได้เสมอ
แต่งานนี้ผมอ่านแล้วไม่รู้จะแก้ยังไงดีเหมือนกันครับ ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
Mainframe/Minicomp. ==> เหมือน IBM PC เครื่องหนึ่ง แต่ต่อจอกับคีย์บอร์ด หลายๆ ชุด ให้ผู้ใช้หลายๆ คน ทำงานได้พร้อมๆ กัน (สมัยก่อนนานมาแล้วใน มหา'ลัยที่ผมเคยเรียนใกล้ MBK มี IBM S/370 สีฟ้า ตอนหลังเปลี่ยนเป็นสีแดง Amdahl (ถ้าสะกดไม่ผิด) ผมจำไม่ได้แล้วว่ามี memory เท่าไร แต่ไม่มากครับ ถ้าเทียบกับเครื่อง PC ปัจจุบันที่มีกัน 1GB - 2GB กินพื้นที่ไม่ใช่แค่ห้องนะครับ หลายๆ ห้องติดๆ กันเลย เปิดแอร์เย็นมากๆ) users จะพิมพ์โปรแกรมบนจอ/คีย์บอร์ด (ก่อนหน้าผมแค่สองรุ่น ยังต้องใช้การ์ดครับ ผมไม่ทัีน) บางทีพิมพ์ๆ อยู่ มันก็ต้องรอเครื่องให้กับมาถึงตาเรา พิมพ์โปรแกรมเสร็จต้องสั่ง Submit ไป run ที่ CPU แล้วก็จะได้ผลลัพท์ออกมาทางกระดาษ ซึ่งจะต้องมารอรับทีหลัง แล้วค่อยกลับมาแก้โปรแกรมต่อ ต่อมาทางภาคมีเครื่อง mini ใช้ (ที่จริงมี IBM PC/Compatible อยู่ ครับ 4.77MHz 640KB FDD 5.25" 360KB จอขาวดำ) เป็น Digital VAX11/750 UNIX System (ถ้าจำไม่ผิด HDD 512MB!!!) ระบบคล้ายๆ กับ MF นั่นเอง แต่คราวนี้สามารถพิมพ์โปรแกรมเสร็จ สั่ง run ได้จาก terminal ได้เลย ...
ปัจจุบันระบบส่วนมากคือเป็น Application Server/File Server มากกว่า คือ Client จะมีความสามารถในการประมวลผลด้วย (จะ Thick หรือ Thin) ก็ตาม แต่เมื่อก่อน Mainframe/Mini จะเป็น Dumb Terminal ครับ ระบบ linux พัฒนาจาก Unix ซึ่งรองรับความสามารถในการทำหลายๆ หน้าจออยู่แล้ว จึงทำเหมือน เป็น Mini/Mainframe ได้ด้วย ดังนั้นจะเห็นว่าในขณะที่เรามีหน้าจอ GNOME หรือ KDE อยู่เรายังสามารถเปิด TTY1, TTY2, ... ขึ้นมาใช้ใน text mode ได้ด้วย (ที่จริง Win2KServer ก็มี Terminal Service นะครับ)
Mainframe/Mini/PC ทุกอย่าง เป็น Hardware ครับ ต้องมี OS หรือ Software ในการทำงาน Mainframe ของ IBM ก็มีได้หลาย OS นะครับ (ที่ มหา'ลัยที่เคยเรียน ก็ใช้ MUSIC ของ เป็น Virtual Machine จัุดการหลายๆ ระบบพร้อมๆ กัน คล้าย VMWare)ดังนั้น ถ้ามีคน Port Linux ไปยัง Mainframe มันย่อมวิ่งได้ครับ
จาก the Old Boy