แนวคิดเรื่องคอมพิวเตอร์สวมใส่ได้เป็นแนวคิดที่มีกันมานานแล้ว แต่ที่ผ่านมามักเป็นการนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กไปฝังไว้ในส่วนต่างๆ ของเสื้อผ้ากันเสียมาก แต่ในอนาคตอันใกล้ เนื้อผ้าที่เราใส่อาจจะเป็นวงจรคอมพิวเตอร์จริงๆ เมื่อกลุ่มนักวิจัยชาวเบลเยียมได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถสร้างวงจรไฟฟ้าที่มีความต้านทานต่ำและยังสามารถยืดหยุ่นได้กว่าเท่าตัว
ทีมนักวิจัยกลุ่มนี้มาจาก ศูนย์ Interuniversity Microelectronics และมหาวิทยาลัย Ghent ในประเทศเบลเยียมประกอบด้วย Dominique Brosteaux, Fabrice Axisa, Eva De Leersnyder, Frederick Bossuyt, Mario Gonzalez, และ Jan Vanfleteren (ชื่ออ่านยากทุกคน) ได้ร่วมกันตีพิมพ์บทความชื่อว่า Design and Fabrication of Elastic Interconnections for Stretchable Electronic Circuits ลงในวารสาร IEEE Electron Device Letters เล่มล่าสุดแสดงความสำเร็จครั้งนี้ และทางกลุ่มนักวิจัยได้สาธิตความสำเร็จด้วยการสร้างเครื่องวัดไข้แบบยืดหยุ่น โดยสามารถยืดเข้าแนบกับผิวคนไข้ได้
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยร่วมของสามโครงการใหญ่ที่รัฐบาลเบลเยียมให้การสนับสนุนคือ โครงการ BioFlex ที่เน้นการทำวงจรอิเลกทรอนิกส์ที่อยู่ร่วมกับอวัยวะสิ่งมีชีวิตได้, โครงการ STELLA ที่สร้างอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์แบบยืดหยุ่น, และโครงการ SWEET ที่เน้นสร้างวงจรที่ซักและยืดหยุ่นเหมือนผ้าทั่วไป
ข่าวต่อไปแอปเปิลเปิดตัว iShirt
ที่มา - PhysOrg, IEEE (ต้องเข้าจากมหาวิทยาลัย)
Comments
ข่าวต่อไปแอปเปิลเปิดตัว iShirt <<< เกือบเชื่อแล้วนะ
มีละฮา
ผมละเชื่อไปแล้ว เลยตั้งหน้าตั้งรออ่านข่าวต่อไป
http://www.digimolek.com
แล้วอากาศจะทะลุผ่านมันได้มั้ย หรือว่าจะรู้สึกเหมือนเอาถุงพลาสติกมาทำเสื้อผ้า?
อ่านแล้วก็นึกถึงที่ตัวเองเคยคิดว่าน่าจะมีการคิดค้นพวกอุปกรณ์เล็กๆที่ติดตั้งไว้ในเสื้อผ้า เพื่อที่จะเป็นการเปิดแอร์ให้กับตัวเราเองเวลาที่ร้อนมากๆ