Tags:
Node Thumbnail

หลายปีหลังมานี้บ้านเรามีการพูดถึงน้ำมันชีวภาพ (Biofuel) กันมาก นอกจากบ้านเราแล้วทั้งโลกโดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปก็ตื่นตัวในเรื่องนี้กันมากเช่นกัน แต่จากรายงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Leeds ระบุว่าหากเราใช้เทคโนโลยีในวันนี้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างจริงจัง ผลลัพธ์ที่ได้จะกลับกลายเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมลงไปยิ่งกว่าเดิม

งานวิจัยชี้ว่ากระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในปัจจุบันนั้นตลอดกระบวนการตั้งแต่การปลูกพืช การแปลงภาพให้กลายเป็นเชื่อเพลิง ไปจนถึงการใช้งานขั้นสุดท้ายนั้นจะให้ผลลัพธ์เป็นคาร์บอนจำนวนมากกว่าการใช้เชื้อเพลิงจากซากฟอสซิลในปัจจุบันระหว่างสองถึงเก้าเท่าตัว

กระบวนการนี้ยังไม่นับความเสียหายจากการทำลายพื้นที่ป่าเนื่องจากความต้องการพื้นที่เพาะปลูกที่มากขึ้น โดยในยุโรปที่มีแผนการจะผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อใช้งานร้อยละ 10 ในปี 2020 นั้นจะต้องมีการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกถึงร้อยละ 40 ทีเดียว

นักวิจัยในรายงานนี้ย้ำว่าแทนที่เราจะหาเชื้อเพลิงแหล่งใหม่ๆ เราควรเน้นไปที่การใช้พลังงานที่ปราศจากคาร์บอนมากกว่าเพื่อให้เกิดผลดีในระยะยาว

ที่มา - Guardian Unlimited

Get latest news from Blognone

Comments

By: ezy on 17 August 2007 - 12:02 #29465

พลังแสงอาทิตย์คือทางรอดรึเปล่าเนี่ย (แต่กลัวมลพิษจะเยอะเกินกว่าจะนำแสงอาทิตย์มาใช้แบบในภาพยนตร์)

By: polaromonas
ContributorWindows PhoneWindows
on 18 August 2007 - 16:46 #29602 Reply to:29465

อาจเป็นได้ครับถ้ากระบวนการสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ใช้พลังงานน้อยกว่านี้

By: demon69gt on 17 August 2007 - 12:55 #29470

ต้องดูก่อนครับว่าใครเป็นคนวิจัย ความเป็นกลางขนาดไหน จากงานวิจัยดูเหมือนว่าแสดงเพียงด้านเดียว ข้อมูลขาดหายไปเยอะ เช่น ผลกระทบของการนำเชื้อเพลิงจากซากฟอสซิลมาใช้เมื่อเทียบกับไบโอ แผ่นดินไหว โลกร้อน ส่วนหนึ่งมาจากการขุดน้ำมันขึ้นมาใช้ทั้งนั้น การปลูกป่าทดแทนเมื่อป่าหายไป ง่ายกว่าที่จะให้โลกหมักน้ำมันดิบเป็นไหนๆ

แต่ผมก็เห็นด้วยว่าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นสิ่งที่ดีที่สุด สะอาด ใช้ไม่มีวันหมด ส่วนพลังงานจากฟอสซิลใช้ให้น้อยแต่คุ้มค่าดีกว่า

By: audy
AndroidUbuntu
on 17 August 2007 - 13:10 #29474 Reply to:29470
audy's picture

คิดเหมือนกันเลยครับเรื่องงานวิจัย

ช่วงปีสองปีหลังมานี้ ผมไม่ค่อยเชื่อเรื่องงานวิจัยอะไร ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาลเลยครับ นอกเสียจากว่า จะได้เจอตัวคนที่ทำวิจัยนั้นแบบเป็นๆ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 17 August 2007 - 14:13 #29496 Reply to:29470
lew's picture

แผ่นดินไหวกับการใช้น้ำมันนี่มันเกี่ยวกับด้วยหรือครับ ผมไม่เคยรู้มาก่อน

โดยส่วนตัวแล้วผมมองว่างานวิจัยที่ผ่านระบบ Peer Review มาแล้ว แม้ไม่เป็นกลาง โดยอาจจะนำเสนอแง่เดียว แต่อย่างน้อยก็มีความน่าเชื่อถืออยู่ในตัวพอสมควร อย่างน้อยก็มีคนนำเสนอเป็นเรื่องเป็นราวไม่ใช่แบบ "เขาว่ามา" อะไรอย่างนั้น

การที่ไม่เชื่องานวิจัยว่าจะมีความไม่เป็นกลางนั้นทำได้ครับ และผมมองว่าเป็นเรื่องปรกติ ปัญหาคือเราน่าจะสนใจว่าการที่เขานำเสนอขึ้นมานี้มีอะไรไม่เป็นกลางและไม่น่าเชื่อถือบ้าง มากกว่าที่จะใช้อคติหรือความเชื่อเดิมที่เราเคยเชื่อมา ไปบอกว่างานของเขาไม่น่าเชื่อถือ (เพราะมันขัดกับความเชื่อของเรา)

ประเด็นการปลูกป่าทดแทน ในที่มาข่าวเขาพูดเป็นประเด็นการใช้ที่ดินมากกว่าครับ คือถ้าที่ดินถูกนำไปปลูกพืชแล้วก็เอาไปปลูกป่าพร้อมๆ กันไม่ได้อยู่ดี ------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: fortissimo on 20 August 2007 - 02:28 #29742 Reply to:29470

เซลล์แสงอาทิตย์เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์นะครับ โดยทั่วไปเซลล์แสงอาทิตย์มีอายุการใช้งานจำกัดเพียงไม่กี่ปี พอเสื่อมสภาพแล้วก็กลายเป็นขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้อีกอยู่ดีน่ะครับ

ว่าไปแล้ววิธีการแก้ปัญหาเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดก็คือการใช้ให้น้อยลงนั่นแหละมั้งครับ

By: chaow
Android
on 17 August 2007 - 15:05 #29501
chaow's picture

ถึงแม้ว่าจะปล่อย carbon ออกมาเป็นปริมาณมาก แต่ ระหว่างปลูก พืชก็ได้ดูด carbon ปริมาณมากเท่าๆกันมาทำเป็น ลำต้นอ่ะ

"เราควรเน้นไปที่การใช้พลังงานที่ปราศจากคาร์บอนมากกว่าเพื่อให้เกิดผลดีในระยะยาว" เห็นด้วยกับประโยคด้านบนครับ รอ Hydrogen (ที่เป็นไปได้ยากมักๆ)

By: veer
Windows PhoneUbuntu
on 17 August 2007 - 17:01 #29514
veer's picture

ผมไม่เคยสงสัยว่างานวิจัยที่อ่านเป็นกลางหรือเปล่า. ผมสงสัยว่าความเป็นกลางในงานวิจัยทำได้จริงๆเปล่าเปล่า. เรื่อง objectivity มั้ง อ่านแล้วก็งงๆ. ผมคิดว่าการตั้งคำถามว่างานวิจัยโน้นนี้น่าเชื่อถือแค่ไหนก็มีประโยชน์​ เราก็อาจจะได้ศึกษาเพิ่มเติมไปด้วย. แต่ถ้าบอกว่ามันไม่เป็นกลางหรอกแล้วก็ผ่านไปเฉยๆ อันนี้ก็อาจจะเป็นเรื่องเศร้า. --- http://openil.wordpress.com/

By: ABZee on 17 August 2007 - 19:13 #29527

ผมว่ามันสำคัญคือ ถ้าเอาอาหารไปทำเชื้อเพลิงแล้ว เราจะกินอะไรแทนอาหารเหล่านั้น หรือต้องมีโครงการพลังงาน(ให้คน)ทดแทน? -- My blog: poomk.blogspot.com

By: veer
Windows PhoneUbuntu
on 17 August 2007 - 19:44 #29530 Reply to:29527
veer's picture

เขาว่ากันว่าสบู่ดำกินแล้วท้องเสีย --- http://openil.wordpress.com/

By: Tux-Linux on 17 August 2007 - 20:38 #29533 Reply to:29530

เหมือนจะมีกรณีเด็กกินแล้วเก็บเสียชีวิตด้วย

By: kamthorn
ContributorAndroidUbuntu
on 17 August 2007 - 23:47 #29545 Reply to:29527

ถ้าจะปลุกพืชสำหรับผลิตเชื้อเพลิง ก็จะต้องเลือกปลูกไปเลย ไม่เกี่ยวกับส่วนที่ปลูกเพื่อนำมาทำเป็นอาหาร แต่ถ้าคิดว่าการปลูกพืชเพื่อผลิตเชื้อเพลิง อาจจะให้รายได้ดีกว่าปลูกพืชไว้กิน แล้วหันไปปลูกแต่พืชเชื้อเพลิงหมด ก็คงไม่เป็นอย่างนั้นหรอก มันจะมีสมดุลของมันเอง ประมาณสิ่งไหนขาด ราคาก็จะสูงขึ้น

--


--

By: Tux-Linux on 17 August 2007 - 20:39 #29534

เคยอ่านใน discovery มั้ง เขาพูดถึงเรื่องการใช้พลังงานจากพืชแทนน้ำมัน จะมีผลเสียต่อสุขภาพคน และจะทำให้คนป่วยเป็นโรงต่างๆ (เดาว่าเกี่ยวกับทางเดินหายใจ) มากกว่าน้ำมัน

By: veer
Windows PhoneUbuntu
on 17 August 2007 - 21:07 #29535 Reply to:29534
veer's picture

นักวิจัยไทยอาจจะหาท่าแก้ได้ก็ได้นะ :-). --- http://openil.wordpress.com/

By: chaow
Android
on 17 August 2007 - 23:13 #29539 Reply to:29534
chaow's picture

อยากรู้เหมือนกันว่า พอเผาน้ำมันพืช ในเครื่องยนต์แล้ว กับ น้ำมัน( Hydrocarbon) ผลที่่ได้จะออกมาเป็นเช่นไร (พวกของเสียต่างๆอ่ะ)

แต่ยังมีอีกแหล่งพลังงานหนึ่งที่มีมากพอ (ใครๆก็มี) ก็คือ มูลของมนุษย์เรา น่าจะเอามาเปลี่ยนเป็น มีเทน บ้างนะ (นอกจากจะเอาของหมูกับวัว และ อื่นๆ)

By: veer
Windows PhoneUbuntu
on 17 August 2007 - 23:34 #29542 Reply to:29539
veer's picture

ใช้เทคนิคเดียวกันได้มั้ง? --- http://openil.wordpress.com/

By: kamthorn
ContributorAndroidUbuntu
on 17 August 2007 - 23:40 #29543

เห็นด้วยเป็นที่สุด

การทำเกษตร ก็เป็นวิธีการทำลายธรรมชาติระยะยาวอย่างหนึ่ง (ใช้น้ำมาก ทำให้ดินเสื่อม สารเคมี การลดพื้นที่ป่าธรรมชาติ ทำลายความหลากหลายของระบบนิเวศน์ เป็นต้น) ยิ่งถ้าเอามาใช้ผลิตเชื้อเพลิง จะต้องใช้ที่ดินในการทำเกษตรมากขึ้นกว่านี้หลายเท่า

พลังงานที่ไม่ใช่ carbon เท่านั้น ที่ควรใช้ เช่น พลังลม พลังแสงอาทิตย์ ที่จริงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่น่ากังวลเรื่องการกำจัดกาก

ยังไงก็ตาม "ป่าธรรมชาติ" คือวิธีเก็บกัก carbon ให้อยู่ในรูปของแข็งได้ดี และยาวนานที่สุด

--


--

By: Tux-Linux on 18 August 2007 - 00:59 #29556 Reply to:29543

การปลูกพืชคือการกักเก็บคาร์บอน การแปลรูปพืชเป็นการปลดปล่อยคาร์บอนที่ถูกกักเก็บ

By: bitworld
AndroidSymbianUbuntuWindows
on 18 August 2007 - 08:44 #29571
bitworld's picture

- -" เฮ้อ เทคโนโลยีย่อมมีผลกระทบไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ ... วันนั้นดูเทคโนโลยีเครื่องยนต์ไฮโดรเจน เจ๋งสุดก็คงจะปล่อยน้ำออกมาในท้ายสุดของกระบวนการ แทนที่จะเป็นคาร์บอน แต่ข้อเสียก็คือต้นทุนแยกก๊าซที่แพงอยู่ในตอนนี้ ...

ยังไงเสียก็ดี พลังงานทดแทนอื่นๆ ที่จะนำมาใช้คงไม่สามารถทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอซซิลหรือทางเลือกใหม่อย่าง Biofule ในเร็วๆ นี้แน่ๆ

ไม่รู้จะยังไงนะ แต่อยากให้มีโรงไฟฟ้านิวเคลีย์สักโรงในบ้านเรา การกำจัดกากถ้ารัดกุมพอก็ไม่น่าจะมีปัญหา (ว่าแต่ระบบราชการไทยมันน่าเชื่อถือพอหรือเปล่าเหอะ กลัวปัญหาอื่นมาทำให้มันเสียมากกว่า) มันยังดีกว่าการสร้างเขื่อนหรือการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงอยู่ในตอนนี้

ป.ล...ลดการใช้งานส่วนตัว หันไปใช้ขนส่งมวลชนกันดีกว่า... ส่วนเรื่องการขนส่งสินค้าก็คงต้องรอเทคโนโลยีอื่นกันต่อไป

By: iaee
ContributorWindows PhoneAndroidUbuntu
on 18 August 2007 - 15:06 #29596
iaee's picture

ผมเคยเห็นในเมืองไทย มีรถวิ่งทดสอบเขาใช้ "น้ำ" ครับจะถ่ายรูปก้อถ่ายไม่ทัน รถยี่ห้อโตโยต้ารุ่นเก่าๆหน่อย corona มัง มีสติกเกอร์ติดไว้ว่า water engine <ไม่แน่ใจ> ถ้าจำไม่ผิดนะครับผ่านมา3-4ปีแล้ว เคยมีข่าว มาเลเซียได้จดสิทธิบัตร เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำไว้แล้วด้วย แต่จนถึงวันนี้ก้อยังไม่เห็นอะไรคืบหน้าเลยครับ

[เรื่อง signature เป็นภาพนี่ผมเตือนครั้งเดียวนะครับ ต่อไปคงต้อง block account กัน - lew]

By: polaromonas
ContributorWindows PhoneWindows
on 18 August 2007 - 16:45 #29601

ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตครับ การศึกษาในรูปแบบนี้จะใช้วิธีที่เรียกว่า Life Cycle Assessment ดูการใช้พลังงานและวัตถุดิบในการผลิต รวมถึงการปลดปล่อยก๊าซต่างๆทั้งระบบ โดยทั่วไปแล้วในอดีต เป็นอย่างที่เค้าว่าครับว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้นั้นมีค่ามากกว่าการใช้น้ำมันแบบทั่วๆไป แต่ว่ากระบวนการผลิตที่เปลี่ยนไปรวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ก็ส่งผลนะครับ ไทยเราใช้มันสำปะหลังในการผลิตเอทานอลซึ่งจากงานวิจัยของ JGSEE ก็พบว่าการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพก็จะยังส่งผลดีกว่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากฟอสซิลครับ ยิ่งไปดูของบราซิลนี่จะรู้เลยว่าเยี่ยมมาก อีกหน่อยเราจะสามารถผลิตเอทานอลจากพวกหญ้า เปลือกไม้ กากผลไม้ ซึ่งก็น่าจะส่งผลให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกลดลงได้อีก ก็ต้องคอยติดตามไปล่ะครับ

By: lew
FounderJusci&#039;s WriterMEconomicsAndroid
on 18 August 2007 - 16:49 #29603 Reply to:29601
lew's picture

+1 Informative

ไม่แน่ใจว่าสะดวกรึเปล่า แต่สงสัยว่าแล้วทางยุโรปเค้าใช้พืชอะไรในการผลิตหรือครับ? ------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: polaromonas
ContributorWindows PhoneWindows
on 19 August 2007 - 20:29 #29727 Reply to:29603

ไบโอดีเซลเค้าใช้ต้น rape น่ะครับ (อยู่วงศ์เดียวกับกะหล่ำ) และก็มีไม่น้อยที่ซื้อน้ำมันปาล์มจากมาเลย์ไปทำ (บ้านมันหนาวน่ะ ต้องเข้าใจ -_-') เอทานอลรู้สึกเค้าจะใช้พวก wheat (ข้าวสาลี) น่ะครับ แต่ก็มีการใช้ feedstock อื่นๆด้วย ที่บอกมาเป็นแค่หลักๆน่ะครับ

By: chaow
Android
on 20 August 2007 - 01:11 #29737 Reply to:29727
chaow's picture

ว่าแต่บ้านเราเอาเหล้าขาว ไปทำเป็นเชื้อเพลิงดีไหมคับ โครงการ เทเหล้า เข้าพรรษา อะไรประมาณนี้ Chaow

By: chaow
Android
on 20 August 2007 - 01:12 #29738 Reply to:29601
chaow's picture

ได้ยินมาว่า บราซิลนี่ส่งออก ethanal เป็นอันดับสองของโลกด้วย และได้ยินมาอีกว่า บราซิลนั้น รถยนต์สามารถเติม ethanal 100 percent ด้วยอ่ะครับ

กำโพสผิดที่แฮะ