Tags:
Node Thumbnail

นักวัจัยชาวฝรั่งเศส Albert Fert และชาวเยอรมัน Peter Grünberg ควัารางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากเทคโนโลยีที่มีื่อว่า Giant Magnetoresistance หรือ GMR ซึ่งแตกแขนงมาจากนาโนเทคโนโลยี โดยสามารถนำมาประยุกต์เพื่อเพิ่มความจุของฮาร์ดดิสก์โดยที่ฮาร์ดดิสก์มีขนาดที่เล็กลง (อ่านประกอบ) หรือ พัฒนาเซ็นเซอร์แม่เหล็กหลายรูปแบบ

ที่มา - Engadget.com, Wikipedia.com, Nobelprize.org, Pcguide.com

หมายเหตุ ขออภัยที่ไม่สามารถอธิบาย GMR ได้อย่างละเอียด หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม คลิก หากมีใครสามารถอธิบายเรื่องนี้ได้ช่วยอธิบายต่อทีครับ

Get latest news from Blognone

Comments

By: mp3wizard
iPhone
on 10 October 2007 - 13:48 #33105

อ่านแล้วนึกถึงการทดลองที่หมุนวัตถุด้วยความเร็วสูง จนสามารถต้านทานแรงดึงดูดของโลกได้

เลย link ไปถึงหลุมปริศนา ทีเกิดตามทุ่งหญ้าต่างๆ ที่หลายๆ คนสันนิษฐานว่าเกิดจาก UFO ซึ่งหญ้าเหล่านั้นหักเรียบเป็นวังวนคล้ายถูกทับด้วยวัตถุที่มีการหมุนขนาดใหญ่

By: thep
Writer
on 10 October 2007 - 15:43 #33115

s/ฝรั่งเศษ/ฝรั่งเศส/

By: phys_pucca on 10 October 2007 - 15:55 #33117

เอ่อ คือว่าแปลผิดนะครับ ผิดแบบรุนแรงมาก

Giant Magnetoresistance มันไม่ใช่ แรงต้านทานของสนามแม่เหล็ก นะครับ
คนละเรื่องกันเลย ระวังเยาวชนที่มาอ่านจะเข้าในผิดกันไปใหญ่ แต่ผู้เขียนก็บอกไว้แล้ว ว่าไม่สามารถอธิบายได้ละเอียด

Giant Magnetoresistance เป็นปรากฎการณ์ที่สารมีการเปลี่ยนความต้านทานไฟฟ้าอย่างมหาศาลเมื่ออยู่ภายใต้สนามแม่เหล็ก ครับ (ไม่เกี่ยวกับแรงต้านของสนามแม่เหล็ก) โดยปรากฏการณ์ Magnetoresistance มีการค้นพบมานานแล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงความต้านทานไฟฟ้านั้นเกิดขึ้นไม่มาก เลยนำไปใช้ประโยชน์ยังไม่ได้
หลังจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ทั้งสองท่านที่ได้รับรางวัลโนเบลในครั้งนี้ ได้ค้นพบวัสดุที่เมื่อได้รับสนามแม่เหล็กจากภายนอกแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานไฟฟ้าอย่างมาก (ก็เลยมีคำว่า Giant มานำหน้า)

ด้วยสมบัตินี้เองจึงมีผู้นำสมบัติดังกล่าวไปทำ Harddisk โดยที่ความต้านทานไฟฟ้าที่บันทึกไว้ จะถูกอ่านออกมาเป็นรหัส 0 หรือ 1 แล้วเขากล่าวไว้ว่า GMR นี่เป็น nanotechnology ตัวแรกๆที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้จริงครับ

ใครสนใจไปอ่านจากเอกสารคู่รางวัลโนเบลได้นะครับ
http://nobelprize.org/nobel_prizes/physics/laureates/2007/press.html

ส่วนนักวิจัยไทยเก่งๆ ที่ทำเรื่องนี้อยู่ก็มี
ดร.ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ครับ
http://webhost.wu.ac.th/magnetism/

หวังว่าคงกระจ่างนะครับ
ช่วยๆกันแบ่งปันความรู้

By: molek
WriteriPhoneWindows Phone
on 10 October 2007 - 15:59 #33118 Reply to:33117
molek's picture

ผมเห็นหนังสือพิมพ์แปลเช่นนั้น ก็เลยแปลตามนั้นครับ ขอบคุณในคำชี้แจงครับ นำมาจากตามนี้ครับ http://www.thairath.co.th/news.php?section=international&content=64055 -------------------------------------------------------------------------- Please go to My site at molecularck.wordpress.com


http://www.digimolek.com

By: phys_pucca on 10 October 2007 - 16:05 #33119

หนังสือพิมพ์เป็นวรรณกรรมอันรีบเร่งครับ ไปเชื่อมากไม่ได้ เขาต้องการลงช่าวของเขาให้เร็วที่สุด ตอนเรียนที่โรงเรียนคุณครูก็สอนบอกว่าอย่าเชื่อหนังสือพิมพ์ในทันที ต้องหาข้อมูลมาประกอบครับ

ผมว่าลอง e-mail ไปเชิญอาจารย์ท่านที่ผมบอกมาเขียนให้ก็ดีนะครับ
เพราะว่าเว็บนี้เด็กๆ หรือผู้ใหญ่อ่านมาก ควรนำเสนออะไรที่มันถูกๆ

เป็นข้อเสนอของผมเฉยๆนะครับ :)

By: molek
WriteriPhoneWindows Phone
on 10 October 2007 - 16:22 #33123 Reply to:33119
molek's picture

ผมลองค้นดูแล้วพบว่ายังไม่มีคำไทยที่ให้ความหมายปรากฏการณ์นี้โดยตรง ผมเลยแก้ไขให้เหลือแต่ภาษาอังกฤษอย่างเดียวแล้วครับ -------------------------------------------------------------------------- Please go to My site at molecularck.wordpress.com


http://www.digimolek.com

By: mk
FounderAndroid
on 10 October 2007 - 17:03 #33128 Reply to:33119
mk's picture

ปัญหาคือไม่รู้จักกับอาจารย์เหล่านี้ครับ ถ้าคุณ phys_pucca สามารถเชิญมาได้ก็จะดีกับผู้อ่านมากๆ

By: phys_pucca on 10 October 2007 - 16:39 #33126

ครับผม :)

By: zda98
Windows Phone
on 10 October 2007 - 20:26 #33145

เห็นใน manager.co.th มาครับ
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000119955

By: phys_pucca on 10 October 2007 - 21:15 #33151

ขอบคุณครับ
manager เขียนได้ดีทีเดียวครับ มีไปถามจากนักวิทยาศาสตร์จริงๆด้วย

By: ABZee on 11 October 2007 - 04:37 #33181

ได้ความรู้ทั้งจากข่าวและจากคอมเมนต์

PoomK

By: kamthorn
ContributorAndroidUbuntu
on 11 October 2007 - 19:26 #33239

อ่อ เข้าใจละ ฮาร์ดดิสก์ในยุค 7-8 ปีที่ผ่านมา ล้วนแต่ใช้เทคนิค GMR ทั้งนั้นเลย ถึงได้มีความจุสูงๆ กัน

--


--