มีประเด็นเล็ก ๆ จากที่ Geoffrey Hinton หนึ่งในสองนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2024 จากงานวิจัยด้าน Machine Learning ซึ่งที่ผ่านมาเขาให้ความสำคัญเรื่องอันตรายจาก AI มาก จนเลือกลาออกจากกูเกิลเพื่อให้มีอิสระในการวิจารณ์
Hinton กล่าวในโอกาสที่รับรางวัลโนเบล ในงานแถลงข่าวของ University of Toronto โดยตอนหนึ่งเขาบอกว่า "ผมเป็นคนที่โชคดี เพราะมีลูกศิษย์ที่ฉลาดจำนวนมาก ฉลาดมากกว่าผมด้วย พวกเขาออกไปทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำในสิ่งที่ดี ที่ผมภาคภูมิใจเป็นพิเศษก็คือลูกศิษย์คนหนึ่งของผมได้ไล่ Sam Altman ออกด้วย"
กรรมการโนเบลสาขาเคมีให้รางวัลปี 2024 แก่ David Baker ผู้บุกเบิกการออกแบบโปรตีน และ Demis Hassabis ร่วมกับ John Jumper จาก DeepMind ในฐานะผู้พัฒนา AlphaFold2 ที่สามารถทำนายโครงสร้างโปรตีนถึง 200 ล้านรูปแบบสำเร็จด้วยความแม่นยำสูง
งานของ DeepMind ครั้งนี้ถือเป็นงานใหม่มากที่ได้รับรางวัลโนเบล เพราะงานเพิ่งเผยแพร่เพียง 4 ปีเท่านั้น เทียบกับงานอื่นๆ ที่มักต้องรอการพิสูจน์ความสำคัญกันยาวนานนับสิบปี
แม้จะมีผู้ได้รับรางวัล 3 คนในปีนี้ แต่ David Baker นั้นได้รับรางวัลครึ่งหนึ่ง ส่วน Demis Hassabis และ John Jumper ได้คนละ 1/4
ที่มา - Nobel Prize
Geoffrey Hinton และ John Hopfield เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2024 จากผลงานวิจัยด้าน machine learning
John Hopfield ปัจจุบันอายุ 91 ปีแล้ว เขาจบปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์จาก Cornell University และเป็นผู้บุกเบิกงานวิจัยด้าน neural network และคิดค้น Hopfield network เครือข่ายนิวรอนแบบชั้นเดียว ที่นิวรอนแต่ละตัวเชื่อมกับนิวรอนตัวอื่น
รางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ประจำปี 2023 ประกาศมอบรางวัลให้กับ Katalin Karikó และ Drew Weissman สองนักวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาเทคโนโลยี mRNA ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาวัคซีนโควิด 19
ทั้งนี้เทคโนโลยี mRNA ได้ถูกทดลองมาระยะหนึ่งก่อน จนกระทั่งถูกนำมาใช้ในวงกว้างครั้งแรกเพื่อป้องกันการระบาดของโควิด 19 ซึ่งปัจจุบัน mRNA ถูกนำมาใช้ศึกษาวิจัยป้องกันโรคอื่นด้วยรวมทั้งมะเร็ง
mRNA ย่อมาจาก Messenger Ribonucleic Acid เป็นวิธีการใหม่ในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค จากเดิมการพัฒนาวัคซีนจะใช้ไวรัสหรือแบคทีเรียตาย ขณะที่วิธีการ mRNA ใช้การกระตุ้นให้ยีนในร่างกายสร้างโปรตีนที่ยับยั้งไวรัส ทำให้ปลดล็อกกุญแจสำคัญในการพัฒนาวัคซีนได้รวดเร็วมากขึ้น
สมาคมวิทยาศาสตร์สวีเดน (The Royal Swedish Academy of Sciences) ประกาศรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2019 เป็นรางวัลร่วมของนักวิทยาศาสตร์ 3 รายจากการพัฒนาแบตเตอรีลิเธียมไอออน (Li-on)
แบตเตอรีลีเธียมไอออนเริ่มจากข้อเสนอของ M. Stanley Whittingham นักวิทยาศาสตร์อังกฤษขณะทำงานในบริษัท Exxon เมื่อช่วงปี 1970 แต่ใช้ขั้วไฟฟ้าเป็นไทเทเนียมและลิเธียมที่มีราคาแพงมาก จากนั้นกลุ่มของ John Goodenough สามารถสร้างแบตเตอรีจริงที่มีความต่างศักย์ 4V ในปี 1979 และ Akira Yoshino พัฒนาการใช้วัสดุคาร์บอนมาสร้างเซลล์แบตเตอรี ทำให้ตัวแบตเตอรีมีความปลอดภัยขึ้นอย่างมากในปี 1985
ในที่สุดโครงการ dtac&Telenor Youth Summit 2014 งานประกวดแนวคิดอินเทอร์เน็ตเสรีเพื่อชิงรางวัลไปร่วมงานประกาศรางวัลโนเบลสันติภาพ ณ กรุงออสโล นอร์เวย์ ซึ่งตอนนี้ได้สองผู้ชนะของโครงการแล้ว
dtac ร่วมกับกลุ่มธุรกิจเทเลนอร์จัดโครงการ dtac&Telenor Youth Summit 2014 เชิญชวนวัยรุ่นที่มีความสนใจในอินเทอร์เน็ต เสนอไอเดียว่า จะใช้สมาร์ทโฟน และอินเทอร์เน็ตมาสร้างอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยได้อย่างไร เพื่อชิงรางวัลการเข้าร่วมงานประกาศรางวัลโนเบลสันติภาพ ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์วันที่ 9-11 ธันวาคมนี้
ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ จะต้องมีอายุระหว่าง 18-25 ปี ใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างต่อเนื่อง สื่อสารภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว และส่งไอเดียเป็นวิดีโอความยาว 60-90 วินาที (ต้องมีผู้สมัครอยู่ในวิดีโอด้วย)
Baard Vegar Solhjell และ Snorre Valen สองนักการเมืองชาวนอร์เวย์ได้ร่วมเสนอชื่อ Edward Snowden สำหรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2014 นี้ โดยกล่าวว่าการกระทำของ Snowden ที่เปิดโปงโครงการต่างๆ นั้นได้สนับสนุนให้เกิดความมีเสถียรภาพและมั่นคง อีกทั้งทำให้โลกนี้สงบสุขด้วย
จากการเสนอชื่อนั้นจะทำให้ Snowden จะเป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกพิจารณาจากคณะกรรมการรางวัลโนเบลในสาขาสันติภาพต่อไป โดยในตอนนี้นาย Snowden ยังเคยถูกโหวตเป็น Guardian Person of the Year 2013 ไปแล้วด้วย
ที่มา - The Guardian
ตามวาระที่รางวัล Nobel กำลังจะประกาศในช่วงนี้ (จริงๆ แล้วของการแพทย์ประกาศแล้วนะครับ) รางวัล Ig Nobel หรือ Nobel สำหรับงานวิจัยที่(ดูเหมือน)น่าขำ ก็ได้ประกาศออกมาแล้วครับ
นักวิจัยชาวเยอรมัน Gerhard Ertl ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีไป จากผลงานวิจัยเรื่อง ปฏิกิริยาของสารเคมีต่อพื้นผิวของแข็ง ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมว่า มลพิษทำลายชั้นโอโซนอย่างไร
โดยงานของนักวิจัยท่านนี้จะเป็นการนำให้คนมาสนใจการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งทำให้ไม่ก่อเกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
ที่มา - CNN.com, Nytimes.com
นักวัจัยชาวฝรั่งเศส Albert Fert และชาวเยอรมัน Peter Grünberg ควัารางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากเทคโนโลยีที่มีื่อว่า Giant Magnetoresistance หรือ GMR ซึ่งแตกแขนงมาจากนาโนเทคโนโลยี โดยสามารถนำมาประยุกต์เพื่อเพิ่มความจุของฮาร์ดดิสก์โดยที่ฮาร์ดดิสก์มีขนาดที่เล็กลง (อ่านประกอบ) หรือ พัฒนาเซ็นเซอร์แม่เหล็กหลายรูปแบบ