Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวานนี้ทางคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาตร์มหาวิทยาลัย Harvard ได้ลงมติให้งานวิจัยทั้งหมดของทางคณะต้องเปิดให้คนทั่วไปจากภายนอกเข้าถึงได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ และอนุญาตให้มีการทำสำเนาเพื่อแจกจ่ายโดยใครก็ได้ในโลกนี้ตราบใดก็ตามที่ยังไม่มีการทำกำไรจากตัวบทความ

ก่อนหน้านี้มีกองทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวนมาก ได้เริ่มใส่ข้อบังคับแบบเดียวกันนี้ให้กับผู้ขอรับทุนไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่การที่ทางคณะฯ มีข้อบังคับนี้จะทำให้นักวิจัยในสังกัดทั้งหมดต้องทำตามข้อบังคับนี้ไม่ว่าจะใช้ทุนจากแหล่งใดก็ตาม

งานนี้ผู้ที่เสียผลประโยชน์ก็คงไม่พ้นเหล่าสำนักพิมพ์ทั้งหลาย ที่เก็บค่าธรรมเนียมในการเข้าถึงงานวิจัยเหล่านี้ไว้สูงลิบ อย่างมหาวิทยาลัยในไทยเองก็ต้องจ่ายเงินกันปีละหลายสิบล้านบาทเพื่อเข้าถึงงานวิจัยเหล่านี้

เช่นเดียวกับเรื่อง Open Course Ware ที่ผมเคยพูดถึงไปแล้ว งานนี้ถ้ามีหน่วยงานไหนในบ้านเราดำเนินการกับแนวทางดีๆ อย่างนี้ก็ช่วยกันมาบอกต่อในนี้ด้วยนะครับ

ที่มา - ArsTechnica

Get latest news from Blognone

Comments

By: freeman
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 14 February 2008 - 12:53 #43368
freeman's picture

ซู้ดดด ยอดดดด

Stay Foolish

By: mnop
Android
on 14 February 2008 - 13:02 #43369

Havard -> Harvard ?

http://itshee.exteen.com/ -- whatever for life, love, death, and you know ... all that crap.

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 14 February 2008 - 14:32 #43378 Reply to:43369
lew's picture

แก้ไขแล้วครับ :)

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: toandthen
WriterMEconomics
on 14 February 2008 - 14:01 #43375
toandthen's picture

น่ายินดีมากครับ ทำแบบนี้ทุกคนโลกคงน่าอยู่ขึ้นเป็นกอง


@TonsTweetings

By: นายขโมย on 14 February 2008 - 14:31 #43377

น่าจะทำให้เกิดการพัฒนางานวิจัยต่อยอดขึ้นอีกเยอะนะครับ แต่สงสัยเรื่องการทำกำไรเนี่ยคงอาจจะมีปัญหาพอสมควร

By: tk719
iPhoneBlackberrySymbianIn Love
on 14 February 2008 - 18:18 #43383

น่าจะชื่อ คณะศิลปศาสตร์(หรืออักษรศาสตร์) และวิทยาศาสตร์มากกว่านะครับ

By: atheist
AndroidUbuntuWindows
on 15 February 2008 - 00:24 #43402 Reply to:43383

คิดเหมือนกันครับ

By: ABZee on 14 February 2008 - 18:33 #43384

สงสัยว่าจะมีบริษัทกล้าลงทุนวิจัยกับมหาวิทยาลัยลดลงหรือเปล่าเนี่ย

PoomK

By: bow_der_kleine
WriterAndroidUbuntu
on 14 February 2008 - 20:23 #43392 Reply to:43384
bow_der_kleine's picture

ผมเข้าใจว่าจะเปิดเผยเฉพาะงานวิจัยของคณะเท่านั้นครับ ส่วนงานวิจัยร่วมต้องขอความยินยอมกับบริษัทที่มาลงทุนอีกที

BioLawCom.De

By: p-joy on 14 February 2008 - 18:34 #43385

ECTI

สมาคมนี้ไงครับของไทย น่ายกย่องมาก ยิ่งอ่านประวัติที่อาจารย์สวัสดิ์เขียน
คุณอาจจะแอบน้ำตาไหลก็ได้

ใครอยู่เมืองไทยก็ช่วยกันสมัครสมาชิกกันหน่อย ถึงจะใช้อาสาสมัครแต่มัน
ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และเขาก็โปร่งใสกันมาก ๆ รายงานการ
ประชุมก็เผยแพร่ ที่สำคัญพวกเขาคำนึงถึงความสม่ำเสมอมาก ๆ นะ

By: pt on 14 February 2008 - 19:35 #43388

เรื่องกำไร อยู่ที่การมองมากกว่า อย่าง Redhat มันก็อยู่ของมันได้

การเปิดเผย น่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการนำไปทำธุรกิจ ทางมหาลัยจะได้เข้าไปเก็บค่าต๋ง

By: pinyotae on 14 February 2008 - 22:59 #43395

พูดถึงเรื่อง Open Course Ware ที่เคยมีการพูดถึงไว้ที่ http://www.blognone.com/node/5949

ก็อยากเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยว่าที่จริงเรามีการแปล MIT OCW มาเป็นภาษาไทยด้วยบางส่วนนะครับ
ลองไปเยี่ยมชมได้ที่ http://mit-ocw-thai.eng.chula.ac.th/ ถึงตอนนี้จะมีอยู่ไม่มาก แต่ผมก็คิดว่ามันเป็นการเริ่มต้นที่ดี และบางทีการรู้จักเลือกเอาของที่ดีและมีอยู่แล้วมาแปลหรือดัดแปลง ก็อาจจะเป็นทางออกที่ดีกว่าการสร้างใหม่เองก็ได้ครับ (ทำให้ผมนึกถึงซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไปเลย)

อ่อ น่าจะมีการจัดรวมลิงค์ไปเว็บดีๆ พวกนี้ก็ดีนะครับ หรือถ้าใครรู้จักที่ดีๆอื่นๆ ทั้งไทยและเทศก็มาบอกกันมั่งนะครับ ผมขอเริ่มจากบล็อกของคุณคนนี้ที่รวมลิงค์น่าสนใจต่างๆ เอาไว้
http://freescienceonline.blogspot.com/

มีวีดีโอของ Donald Knuth สอนเขียนบทความที่มีคณิตศาสตร์ด้วยนะครับ (ดูลิงค์ตรงกลางหน้าในหัวข้อ Mathematical Writing)
http://freescienceonline.blogspot.com/2006/06/more-mathematics-and-theoretical.html
ผมไปดูมาก็เลยรู้ว่าเค้ามีอารมณ์ขันพอสมควรเหมือนกันนะ

(ง่ะ โพสต์เค้าถามถึงหน่วยงานบ้านเรา แต่ผมพาออกนอกประเด็นไปนิดหน่อยแล้ว แต่ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์อยู่บ้าง)

By: DoubleHelix on 15 February 2008 - 10:43 #43420

เมืองไทยคงทำได้ยากกว่า เพราะระบบการตีพิมพ์วารสารทางวิชาการส่วนใหญ่เป็น peer review ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่จึงเก็บค่า "เข้าถึง" ข้อมูลแพง(มากๆ) ขณะที่ผู้เขียนบทความไม่เสียค่าใช้จ่าย ถ้าเปลี่ยนไปตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์ที่มีนโยบาย open access (อ่านฟรี) ก็จะเก็บจากผู้เขียนแทน เราก็ต้องเสียเงินอยู่ดี (แต่ส่วนใหญ่ไม่แพงมาก) หน่วยงานให้ทุนวิจัยในเมืองไทยต้องเปลี่ยนระบบใหม่ให้เงินเผื่อสำหรับตีพิมพ์ด้วย

หลายสำนักพิมพ์ยังไม่ยอมให้ผู้แต่งเผยแพร่งานด้วยตัวเอง แต่กรณีนี้เป็น Harvard เริ่มก่อนก็หวังว่าสถาบันอื่นๆจะขยับตาม ทำให้ในที่สุดสำนักพิมพ์ก็ต้องยอมปรับตัว (อย่าง Nature ให้เผยแพร่ได้เมื่อผ่านไป 6 เดือนหลังตีพิมพ์เท่านัั้นก็จะไม่รับผลงานจาก Harvard เนื่องจากนโยบายขัดกัน)

By: anu
Contributor
on 15 February 2008 - 11:01 #43421

http://www.ocwconsortium.org/index.php?option=com_content&task=view&id=12&Itemid=26

อันนี้รวม Open Course Ware จากทุกมหาวิทยาลัย..
เช่นเดิม มีเวียดนาม ไม่มีไทยแลนด์

By: anu
Contributor
on 15 February 2008 - 11:07 #43422 Reply to:43421

อ้อ เจอละ อันแปลของจุฬาฯ มีลิงค์อยู่ด้านล่างครับ