ศาลรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ได้พลิกคำวินิจฉัยของศาลรัฐแคลิฟอร์เนียที่ระบุว่าสัญญาอนุญาตแบบโอเพนซอร์สไม่สามารถใช้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้เนื่องจากตัวสัญญาอนุญาตมีความตั้งใจที่จะเผยแพร่ทรัพย์สินทางปัญญานั้นอยู่แล้ว
คดีตัวอย่างนี้เกิดจากนาย Jacobson ได้ยื่นฟ้องต่อนาย Mathew Katzer และ Kamind Associates ที่ได้ละเมิดสัญญาอนุญาตของซอฟต์แวร์ Decoder Pro ที่ใช้สัญญาอนุญาตแบบ Artistic License ที่บังคับให้มีการระบุความเปลี่ยนแปลงในเนื้องานเมื่อมีการแก้ไขและต้องให้เครดิตแก่ผู้พัฒนาคนแรก
งานนี้ผู้ฟ้องระบุว่าจำเลยนำซอฟต์แวร์ไปแปลงเป็นซอฟต์แวร์ชื่อว่า Decoder Commander Software โดยไม่ได้ให้ใครดิตหรือระบุความเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ
ศาลรัฐบาลกลางระบุว่าแม้จะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้งานเช่นซอฟต์แวร์ทั่วไป แต่การละเมิดลิขสิทธิของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สก็สร้างความเสียหายได้ และผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ต่างจากซอฟต์แวร์อื่นๆ
ที่มา - Information Week
Comments
ดีครับ ถึงจะเป็น open source หรือของฟรีก็ควรจะเคารพผู้พัฒนาด้วยการปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้งานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้ที่อุตส่าห์สร้างขึ้นมา
เห็นด้วยครับ ถึงแม้ว่าผู้พัฒนาจะได้เงินเลย แต่ถ้าคนอื่นๆ เอาความคิดของผู้คิดค้นคนแรกไปทำ โดยไม่ได้ขออนุญาติ จะทำให้ผู้พัฒนาเสียกำลังใจได้
ไม่ใช่ไม่ขออนุญาตครับ แต่กรณีนี้คือการเอาไปใช้โดยละเมิดเงื่อนไขในสิทธิอนุญาตที่กำหนดไว้เป็นแบบ Artistic License
ยังไงก็ควรเคารพ ผู้ที่คิดโปรแกรมหรือผู้ที่เรานำมาพัฒนาต่อด้วย
CMDEVHUB
เขียนเอามันส์ ลองเข้าไปดูความมันส์ได้ครับ
"ไม่ได้ให้ใครดิตหรือระบุความเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ"
ผมว่ามันควรเป็น "เครดิต" นะครับ
I need healing.