ข่าวใหญ่ที่สุดข่าวหนึ่งในวงการคอมพิวเตอร์ช่วงนี้ คือ การที่บริษัทกูเกิลส่งเบราว์เซอร์ใหม่เรียกว่า Google Chrome ออกมาลงสนามแข่งกับเบราว์เซอร์ของบริษัทต่างๆ เช่น Internet Explorer ของไมโครซอฟท์, Safari ของแอปเปิล ทำไมกูเกิลต้องออกเบราว์เซอร์ของตัวเองด้วย ในเมื่อกูเกิลเองก็ร่วมสนับสนุนจิ้งจอกไฟ Firefox อยู่เต็มเหนี่ยวแล้ว คำตอบ คือ Chrome เป็นอาวุธใหม่ที่กูเกิลปล่อยออกมาแสดงแสนยานุภาพในมหาสงครามยึดโลกอินเทอร์เน็ตครับ
ในขณะนี้ สถาปัตยกรรมของการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะการมาถึงของสถาปัตยกรรมการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) ซึ่งทำให้องค์การสามารถสร้างระบบขนาดใหญ่ที่ขยายตัวให้รับคนเป็นล้านๆ ที่เข้ามาใช้พลังการประมวลผลหรือเก็บข้อมูลได้ ตัวอย่างเช่น Google Search, Google Maps, YouTube, Facebook, MSN Spaces ดังนั้นโครงสร้างระบบไอทีสมัยใหม่จะประกอบด้วย
การใช้งานและพัฒนาโปรแกรมในสภาพแวดล้อมด้านไอทีแบบนี้นั้นจะมีสองโมเดลหลัก คือ SaaS (Software as a Service) และ Software+Services การทำงานแบบ SaaS นั้นเน้นระบบที่การบริการรวมศูนย์อยู่บนกลุ่มเมฆ ข้อดี คือ ผู้ใช้ไม่ต้องดูแลรักษาระบบเนี่องจากผู้ให้บริการต้องดูแลข้อมูลให้ถูกต้อง เข้าถึงได้ มีเสถียรภาพและปลอดภัยตลอด นอกจากนั้นการเข้าถึงบริการทำผ่านเบราว์เซอร์อย่างเดียว ทำให้สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่มีสมรรถนะไม่สูง โทรศัพท์มือถือ หรือ MID (Mobile Internet Device) ได้ดี ข้อเสีย คืองานที่ใช้ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ที่ซับซ้อน การประมวลผลภาพและเสียง การเล่นเกมส์จะทำไม่ได้ดี การทำงานแบบนี้จะมองระบบเป็น Infrastructure Centric ครับ แน่นอน ผู้ให้บริการบน อินเทอร์เน็ตกลุ่มใหญ่ เช่น กูเกิล, ไอบีเอ็ม จะสนับสนุนแนวทางนี้
สำหรับการทำงานแบบ Software + Services นั้นจะตรงกันข้าม โดยจะมองเป็น Client Centric คือมองว่าระบบคอมพิวเตอร์ของเรามีซอฟต์แวร์ บริการบนอินเทอร์เน็ตเข้ามาสร้างคุณค่าเพิ่มให้ซอฟต์แวร์ เช่น การพิมพ์งานสามารถดึงคลิปอาร์ทมาจากอินเทอร์เน็ตได้ง่ายๆ มีข้อดี คือการตอบสนองดี ใช้งานมัลติมีเดียดี เป็นโมเดลแบบเดิมที่เราคุ้นกันดี และมีไมโครซอฟท์หนุนหลังอย่างเข้มแข็ง
มหาสงครามยึดโลกอินเทอร์เน็ตและผู้ใช้ทั่วโลกนั้นขึ้นกับใครผลักดันโมเดลการประมวลผลที่ตนได้เปรียบให้เป็นมาตรฐานครับ
แน่นอนว่าทางกูเกิลที่ีหนุน SaaS อยู่นั้นต้องการถือเทคโนโลยีให้ครบวงจร การพึ่ง Internet Explorer นั้นเสี่ยงมากกับการที่ถูกไมโครซอฟท์ ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ และสร้างปัญหาให้ ส่วนการพึ่ง Firefox นั้น ในระยะสั้นก็จะดี แต่ระยะยาวทางกูเกิล ไม่สามารถควบคุมความเห็นของประชาคมได้ร้อยเปอร์เซ็น ทำให้บางความสามารถที่กูเกิล ต้องการมากอาจไม่ได้รับการพัฒนาเต็มที่ ในขณะที่บางอย่างที่ไม่ต้องการอาจจะรุดหน้าไปเร็วกว่า นอกจากนั้นถ้าอ่านการ์ตูนเรื่อง Chrome จะพบว่า ปัญหาหนึ่ง ที่กูเกิล เน้น คือการปรับสมรรถนะของ JavaScript engine ให้แกร่งจนรองรับการสร้างโปรแกรมประยุกต์ขนาดใหญ่ได้ดีกว่าเก่ามาก ซึ่งตรงนี้ต้องกูเกิลลงไปทำเองเลย อันที่จริงแล้วกูเกิลได้ใช้วิธีปล่อย Google Gears ออกมาก่อน ทำให้เราสามารถปรับเบราว์เซอร์ทุกตัวให้รองรับการทำงานตามที่โปรแกรม Google ในอนาคตต้องการได้ ขอให้จับตาดูครับ เพราะ Gears น่าจะสำคัญกับ กูเกิล พอๆกับ .NET สำคัญกับ ไมโครซอฟท์
ความท้าทายที่กูเกิลต้องเผชิญ คือ ทำอย่างไรผู้ใช้จึงจะมาใช้ Chrome มากกว่า IE ครับ
ตอบได้ว่า ยากครับ ข้อได้เปรียบ คือ ไมโครซอฟท์นั้นคุมระบบปฎิบัติการ Windows ที่ครองโลกอยู่แล้วได้ติดตั้ง IE มาเลย ทำให้ผู้ใช้สมัครเล่นและผู้ใช้ตามองค์กรซึ่งไม่ได้ใช้งานหนักมากไม่ติดตั้งเบราว์เซอร์ใหม่และใช้ IE กันหมด อันมีผลให้โปรแกรมประยุกต์แบบเวบส่วนใหญ่ทำงานกับ IE ได้ดี นอกจากนั้นในองค์กรขนาดใหญ่มีคอมพิวเตอร์หลายพันหลายหมื่นเครื่อง
การที่จะต้องมาติดตั้งและบำรุงรักษาเบราว์เซอร์ใหม่จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควร ถ้าให้วิจารณ์แล้วทางสู้ที่เป็นไปได้ คือ
สถานการณ์การแข่งขันกันครองยึดโลกอินเทอร์เน็ต แรง เร็ว ดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ ทางไมโครซอฟท์คงเตรียมตอบโต้ไว้เหมือนกัน ต้องคอยติดตามนะครับว่า จะมีอะไรใหม่ๆออกมาให้ตื่นตาตื่นใจบ้าง
Comments
หัวข้อข่าวดุเดือดมาก เขียนข่าวได้เร้าใจดี
พีดีเอ ซ่า ดอทคอม ทำสิ่งที่คุณถืออยู่ให้มีค่ามากยิ่งขึ้น
นึกถึง "มหาสงครามวันพิพากษา"
Oakyman.com
ต่อไปอาจจะมีการเพิ่มศักยภาพในการ search บน google ที่สูงขึ้น เมื่อใช้งานกับ chorme (แล้วหลอกล่อด้วยการติดตั้ง browser ที่ง่ายขึ้น) เช่น การแสดงผลการค้นหาที่นำ ajax มาช่วย ทั้งการค้นหาด้วย ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอ
Google App ใช้งาน Office ฟรีๆ ใกล้เคียง MS Office บน Chorme เท่านั้น (ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ software ด้วย) ลองนึกภาพดูถ้าเราสามารถทำ presentation ได้แบบ online แล้วสามารถแสดงผลแบบ full screen ได้สมบูรณ์แบบ และมีการใส่ transition ที่ง่ายเหมือน Keynote บน Mac OSX มันจะน่าใช้งานขนาดไหน (ได้กลุ่มผู้ใช้ที่เป็นนักศึกษาไปเต็มๆ)
Google มีหมากให้เลือกเดินมากมายจริงๆ กับการปลุกกระแส browser ตัวนี้ (หมากที่ Apple ไม่มีทางเดินตามได้ซะด้วย)
ถ้าจะให้ใช้ Google App สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับต้นๆ คือ
ยังไงผมก็ว่ามันยังเป็นแนวคิดที่ดีสำหรับบุคคลทั่วไป แต่ยังไม่ใช่คำตอบที่ดีขององค์กรที่ยังไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง
ผมเคยนำเสนอการใช้ Opensource เช่น Firefox, Thunder bird ใช้ในองค์กร กับพนักงานทั่วไปไม่มีปัญหาครับเขาพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง แต่กับผู้บริหารดื้อมากครับ เขาจะไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงใดๆ ยิ่งอายุมากก็ยิ่งดื้อไม่รู้เป็นไง
ทำเป็น thin-client เลยครับ ใช้พวก slashTop นี่สิบวินาทีได้ browser มาแล้ว เปิดเว็บ ไร้ไวรัสแน่ๆ
เรื่องเน็ตนี่ผมเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ กูเกิลคงวางตลาดตัว Appliance เหมือนกับ Google Mini Search ครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
Load Balance ไม่ดีกว่าเหรอครับ เดือนละ 40K ผมว่าไปเช่าสาย 2M สัก 10 เส้น ISP ละ 2 เส้น ยังเหลือเงินต่อเดือนอีกเยอะเลยนี่ครับ แถมไม่ต้องกลัวว่า ISP ไหนจะล่มด้วย ถ้ากันเหนียวอีกนิด เอาคนละ Package ไปเลย บางอันอาจออกนอกเร็ว บางอันในประเทศเร็ว
CMDEVHUB
เขียนเอามันส์ ลองเข้าไปดูความมันส์ได้ครับ
ผมเห็นด้วยกับประเด็นว่า Gears สำคัญกับกูเกิลมาก
Gears = HTML on steroids (เพิ่มองค์ประกอบพวก local storage เข้ามา, ทำงานกับเดสก์ท็อปได้ดีขึ้น)
มันก็คือ AIR - Flash ดีๆ นี่เอง
จุดที่น่าสนใจคือกูเกิลจะแก้จุดอ่อนของ Gears เรื่องกราฟฟิกแบบเวกเตอร์ และการเล่นวิดีโออย่างไร ซึ่งทางออกน่าจะเป็น SVG + <canvas> และ >video> ซึ่งจะมาใน HTML 5 แต่ก็ต้องใช้เวลาอีกระยะกว่ามาตรฐานจะออก และคนจะเริ่มปรับใช้กัน
ปัญหาอีกข้อคือปัจจุบันยังมีแอพพลิเคชันที่ใช้ Gears น้อยมากๆ รวมถึงของกูเกิลเองด้วย การยัดมาให้ใน Chrome น่าจะช่วยเพิ่มอัตราการใช้งานให้มากขึ้น
ขอแค่ Gmail Gcal Gdocs เท่านั้นเอง
next version ...
- ต้องทำการร่วมกะ Flash และ Air ได้เป็นอย่างดี (แยก Threads ด้วยนะ อย่าลืมๆๆ)
- แก้ปัญหาภาษาไทย
แค่ชื่อนี่ก็สุดๆ โดนเต็มๆ กูเกิ้ลโครม
ชื่อหัวข่าว อย่างกับชื่อภาพยนตร์แบบภาษาไทย มหาสงครามวันสิ้นโลกระเบิดภูเขาเผากระท่อมตบจูบๆฯลฯ (ล้อเล่น)
แต่เนื้อหาวิเคราะห์ดีครับ
+1
"มหาสงครามวันสิ้นโลกระเบิดภูเขาเผากระท่อมตบจูบๆ"
+10000 ครับ
เขียนเอามันจะตั้งชื่อกร่อยๆ ก็กระไรอยู่นะครับ ผมว่าศึกนี้สำคัญ ใครชนะจะได้ครองโลก
อันนี้ไม่ได้มาจากการอ่านข่าวนะครับมาจากของจริง เมื่อปีที่แล้วผมรับเชิญไปบรรยายในงาน ASIA OSS 2007 เมื่อเดือนพฤศจิกายน และได้พบกับ คุณ Kannan Pashupathy ที่ท่านดำรงตำแหน่ง Director, International Engineering Operations Google Inc. ซึ่งมาบรรยายในงานช่นกัน ผมได้นั่งติดกับท่านและทานอาหารเย็นด้วยกัน ท่านก็บอกว่า ทางกูเกิลนั้นมองโมเดลการคำนวณที่ไม่ต้องการระบบปฎิบัติการที่ทำงานมากนักแต่เน้นการใช้เบราว์เซอร์นหลัก ตอนนั้นยังบอกว่าเบราว์เซอร์ที่มีกันยังไม่เก่งพอที่จะทำให้โมเดลที่ต้องการทำงานได้เต็มที่ แนวคิดของกูเกิลคือ สร้าง Paradigm Shift ในการประมวลผลและครอบครองโลกไอทีเลยครับ
สิ่งหนึ่งที่น่าทึ่ง คือ โมเดลการบริหารงานของกูเกิลเองครับที่สามารถรั้งคนเก่งไว้ได้ กูเกิลบริหารแบบแบนราบมากไม่ค่อยจัดองค์กรเป็นระดับเหมือนใคร ไว้ผมหาข้อมูลได้จะมาเล่าให้ฟังครับ
ผมไม่เห็นด้วยในประโยคแรก คือ Chrome ไม่ใช่ Killer Application
ใครชนะไม่จำเป็นต้องครองโลก เช่น Netscape, Opera หรือจะนับ Microsoft ด้วยก็ได้
แต่ Google มี on-line application ที่มีคุณภาพออนไลน์อยู่แล้ว
สำหรับ Google Chrome เป็นการสร้างสะพานเป็นของตัวเอง ไม่ต้องไปพึ่งพาสะพานของใคร
ผมคิดว่าสูตรคือ Chrome + Gear + Web Application == Amphibian Application คือ
แอพฯในฝันที่ที่ทำงานได้ทั้ง Off-line, On-line และบวกการโฆษณาแฝงเข้าไป นั่นคือช่องทางหาเงินหลักของ Google
ผมว่าในนาทีนี้ นี่ไม่ใช่การยึด Command Center แต่เป็นการ secure สะพานเส้นทางขนแร่ของตัวเอง มากกว่าครับ (ทำไมมา StarCraft/RA ได้ละเนี่ย)
ศึกครองโลกที่ผมหมายถึง คือ ศึกของการสร้าง Paradigm Shift ของการประมวลผลทางด้านไอทีครับ ผมเห็นด้วยที่ว่า Chrome ไม่ใช่ Killer Application และ คนชนะศึกนี้ยังไม่ครองโลกหรอกครับ
แต่ประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์นั้น มีการเกิด Paradigm Shift เนื่องจาก Disruptive Technology ตลอดเวลา ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนก็จะมีผู้ชนะที่ออกมาครองโลกเป็นครั้งคราว
เมื่อแรกเริ่มมีคอมพิวเตอร์เป็นยุคของ Mainframe บริษัท Unisys ได้สร้าง Univac ออกมาดังทั่วโลกด้วยการทายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐถูกก่อนการเลือกตั้งโดยใช้สถิติ แต่สุดท้ายจบยุคลงโดย ไอบีเอ็มครองโลก
เมื่อ Minicomputer ออกมาสู่สายตา มีคนทำแข่งกันมากมาย สุดท้าย Digital Equipment Corp. หรือ DEC ก็รบชนะในยกนั้นครับ ก็ครองโลกยุค 1970 อยู่พักหนึ่งก่อนจะพ่ายกระแสพีซีจนโดน COMPAQ ซื้อไปในที่สุด
เมื่อไมโครโปรเซสเซอร์ออกมา เกิดพีซี แอปเปิลและแมค ก็บุกเบิกโลก ด้านซอฟต์แวร์ก็บุกเบิกโดยวิสิคาลและโลตัส 123 สุดท้าย สถาปัตยกรรมตามแนวไอบีเอ็มพีซี ก็ครองโลก ด้านซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ก็ครอบครองโลก
เมื่อเกิด Paradigm Shift จะมีกระแสการเปลี่ยนแปลงใหญ่ผู้ชนะที่ครองโลกอาจกลายเป็นผู้แพ้หากไม่ปรับตัว
สัญญาณที่เห็นอย่างหนึ่ง คือ ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ยุคนั้นจะถูกท้าทายจากบริษัทเล็กๆ ที่ขยายเร็วมากเนื่องจากเกาะมากับกระแสความเปลี่ยนแปลงครับ
ตอนนี้เกิด Paradigm Shift อีกหนสู่ยุค Mega-Infrastructure และอินเตอร์เน็ต เราคงต้องมาดูกันครับว่า จบเกมส์ใครจะครองโลก
ไม่มีใครครองโลกได้หรอกครับ
ผลประโยชน์ตกอยู่กับผู้ใช้ :D
จาำก Frontend - Backend
ผมว่า Chrome นี่แหละจะดึงทุกอย่างเข้าด้วยกัน
"GWT" === ถ้าแบบนี้จริงๆ js framework ตัวอื่นก็ตายหมดสิครับ ผมว่า GWT มันยุ่งยากกว่า prototype หรือ jQuery เยอะเลยอ่ะ ทั้งๆ ที่ผลลัพท์ก็เหมือนกัน
CMDEVHUB
เขียนเอามันส์ ลองเข้าไปดูความมันส์ได้ครับ
ผมว่าเค้าเจาะตลาดกลุ่มคนทำ Desktop App (ภาษา Java)ที่พึ่งจะหันมาทำ Web app แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงมากกว่าครับ คนที่ทำเว็บมาแต่เดิมจะรู้สึกยุ่งยากมากๆ อันนี้เห็นด้วยครับ
My Blog -> http://paiboonpa.wordpress.com
Google เองก็ชัดเจนว่าสนับสนุน web2.0 แนว js ajax ซึ่ง js ค่ายดังๆไม่น่าจะตายนะครับ แต่จะโดนเขมือบด้วย GWT wrapper ซะมากกว่า
"ทำให้ระบบลีนุกซ์หลักๆ เช่น Ubuntu, Debian, Fedora, Red Hat มี Chrome ติดตั้งมาเลยทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องติดตั้งเอง"
ไม่มี SUSE เลยแฮะ
เขียนได้สนุก ได้ความรู้ดีครับอาจารย์
ดุเดือด ๆ แต่เขาว่า Chrome มีการส่งข้อมูลส่วนตัวบางอย่างกับไปที่ Google ด้วย น่าเป็นห่วง
© NgOrXz™ ®
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เก่งที่สุดในโลก
ใช่อันเดียวกับที่ตอนติดตั้งบอกประมาณว่า ส่งข้อมูลสถิติการใช้งานกลับอัตโนมัติเพื่อช่วยในการปรับปรุง รึป่าว
ถ้าไม่ติ๊กก็ไม่ส่ง ลง Google Toolbar มันก็ถามแบบนี้เหมือนกันเป๊ะ
เอาอะไรไปจากเราก็ได้ ขอเพียงไม่ทำให้เราเดือดร้อน ไม่งั้น.... โครม !!!
ความรู้เล็กๆ โดยเด็กผมจุก
ลองหัดทำ seo กับชาวบ้านเค้าบ้าง