Yann LeCun หัวหน้าฝ่ายวิจัย AI ของ Facebook เผยว่าจะเปิดแล็บวิจัย AI เพิ่มอีกสองแห่งที่ ซีแอตเติลและพิตส์เบิร์ก โดยจ้างผู้เชี่ยวชาญ AI สามคนจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันและ Carnegie Mellon มาร่วมงานด้วยแบบพาร์ทไทม์
The New York Times รายงานว่า การสร้างแล็บวิจัยใหม่นี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกดดันที่บริษัทเทคโนโลยีมีต่อสถาบันการศึกษาที่กำลังต่อสู้กับการรักษาครูบาอาจารย์ให้ทำงานสอนต่อ เพราะในปี 2015 Uber จ้างนักวิจัยและวิศวกรด้านเทคนิค 40 คนจากห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์ของมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon เพื่อไปดูงานด้านรถไร้คนขับ และในสัปดาห์ที่ผ่านมา JPMorgan Chase ก็จ้าง Manuela Veloso หัวหน้าฝ่าย Machine Learning ของมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ไปอีก
ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีสายนี้เป็นที่รู้กันว่าหาตัวจับยาก ค่าจ้างแพง และแต่ละบริษัทต่างก็พยายามเฟ้นหาบุคคลที่ดีที่สุด Dan Weld ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยวอชิงตันบอกว่า ปรากฏการณ์นี้เป็นเรื่องน่ากังวล เพราะถ้าเราสูญเสียอาจารย์ทั้งหมด มันจะส่งผลกระทบต่อการสอนนักศึกษาและนักวิจัยในรุ่นต่อๆ ไป
ด้าน Yann LeCun บอกว่า นักวิจัยมาทำงานในลักษณะพาร์ทไทม์ แบ่งเวลาเป็น 80/20, 50/50 หรือ 20/80 แต่ละคนก็ยังคงทำงานวิจัย และสอน ให้คำแนะนำแก่นักศึกษาปริญญาเอกไปด้วย นอกจากนี้ นักวิจัยที่ทำงานเต็มเวลาในโครงการ FAIR (Facebook AI Research) ก็ยังทำงานให้คำแนะนำนักศึกษาควบคู่กันไปด้วย เขายังยกตัวอย่างอีกว่าแล็บที่ปารีสเป็นเจ้าภาพให้กับนักศึกษาปริญญาเอกมาขอคำแนะนำได้ แสดงให้เห็นว่า Facebook เองก็เป็นแหล่งให้ความรู้แก่นักวิจัยและวิศวกรรุ่นใหม่ไปด้วย
ภาพจาก Shutterstock โดย SeventyFour
ที่มา - The New York Times, Yann LeCun
Comments
เทคดนโลยี => เทคโนโลยี
เปน => เป็น
ถึงfb จะให้คำปรึกษากับ นศ.ภายนอก แต่มันก็ไม่เหมือนกับการสอนอย่างเป็นระบบนะผมว่า
มีตัวอย่างจริงให้เทสต์ มีคุณค่ากว่าสอนในระบบเยอะเลยครับ 55
my blog
ถ้าเป็นแบบนั้นมันก็ดีครับ ถ้าเามองกันที่ระดับ post degree อ่ะนะ เพราะเราค้นคว้าด้วยตัวเองซะเกือบหมด แต่ไปถามเฉพาะสิ่วที่เราสงสัย แต่ผมว่ามันก็ยังสร้างปัญหาให้กับระบบการศึกษาอยูดีนะ อาจารย์ไม่อยู่ ไม่สอน ไปอยู่ออฟฟิต ไปประชุมกับอธิการ ไปประชุมวิชาการ ไปประชุมโครงการโน่นนี่นั่น แถมไปทำงานนอกส่วนตัวมากกว่าสอนซะอีก บางวิชาเจอหน้ากันแค่ 3 ครั้งมันใช่ไหม..
ปล. แต่ผมเห็นด้วยว่าอาจารย์ต้องทำงานในสาขาของตัวเองควบคู่ปด้วยไม่อย่างงั้นก็จะย่ำอยู่กับที่ ยิ่งบางสาขาเนื้อหาที่เรียนกันมันยังอิงพื้นฐานจากยุค 1970,1980 ซะมากยิ่งจะไปกันใหญ่ เพียงแต่แบ่งสัดส่วนเวลาให้เหมาะสมก็แล้วกัน
พวกบริษัทชั้นนำน่าจะเปิดมหาลัยซะเอง
ข่าวนี้คือประมาณว่านักข่าวไม่มีอะไรจะเขียน แต่อยากเกาะกระแส AI
'We can't compete': why universities are losing their best AI scientists
The Guardian 1 Nov 2017
Universities’ AI Talent Poached by Tech Giants
Wall Street Journal Nov. 24, 2016
คล้ายคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ผมเคยเรียนเลย
ยกกำลังจะเข้าสู่ 3G
อาจารย์ ไม่อยู่คณะ คาบสอน ก็ยกคลาส
แต่ไปทำงาน เป็น Director ให้ Mobile operator
แต่ไม่ได้ลาออก