ไมโครซอฟท์ชี้ ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องออกกฎหมายเพื่อกำกับดูแลเทคโนโลยีจดจำใบหน้า ที่เห็นได้ชัดว่าเริ่มจะถูกนำไปใช้ในทางที่แย่ลงโดยเฉพาะการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ไมโครซอฟท์ชี้ว่าตอนนี้เทคโนโลยีกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น และรัฐควรเริ่มมีกฎควบคุมภายในปี 2019 เพราะหากปล่อยให้มีการใช้ในทางไม่ดีไปอีกหลังจากนี้การกลับมากำกับดูแลก็จะยากแล้ว โดยข้อเสนอการกำกับดูแล ไมโครซอฟท์ระบุให้ทุกบริษัทมีความรับผิดชอบพื้นฐานร่วมกัน จะได้ไม่ต้องแข่งขันตามความต้องการตลาดไปเสียทุกอย่างเพื่อความอยู่รอดและมี 3 ประเด็นที่รัฐควรตระหนักและจัดการคือ
- การเลือกปฎิบัติ: ระบบจดจำใบหน้าที่แม่นยำเฉพาะกับคนบางกลุ่มสร้างความไม่เท่าเทียมในการใช้บริการต่างๆ ไมโครซอฟท์เสนอให้มีการควบคุมให้ผู้พัฒนาต้องเปิดเผยข้อจำกัดของเทคโนโลยีของตัวเอง และข้อจำกัดนั้นต้องตรวจสอบจากภายนอกได้ด้วย
- ความเป็นส่วนตัว: การใช้งานเทคโนโลยีจดจำใบหน้าอย่างหนักจะนำไปสู่การละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชนได้ ไมโครซอฟท์เสนอให้บังคับให้ผู้ที่นำเทคโนโลยีไปใช้ต้องแจ้งว่านำข้อมูลใบหน้าไปใช้อะไรบ้าง และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ไม่ยินยอมต่อการใช้งาน
- การละเมิดสิทธิมนุษยชน: การใช้เทคโนโลยีโดยรัฐทำให้สามารถติดตามบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง และไมโครซอฟท์ระบุว่ารัฐควรจำกัดการใช้งานของตัวเอง โดยหากต้องการติดตามใครด้วยเทคโนโลยีจดจำใบหน้า จำเป็นต้องมีหมายศาลหรือใช้เฉพาะกรณีฉุกเฉินร้ายแรง
แม้จะแสดงความกังวลหลายอย่าง แต่ไมโครซอฟท์ก็ยกตัวอย่างโอกาสที่มาพร้อมเทคโนโลยีว่า ตำรวจอินเดียสามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวระบุตัวเด็กหายได้ 3,000 คนได้ใน 4 วัน, ใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในการระบุตัวคนผ่านรูปถ่ายในสงคราม ช่วยให้รู้ว่าทหารแต่ละคนเป็นใคร เป็นต้น
ไมโครซอฟท์กำหนดหลักการ 6 ข้อเพื่อจัดการกับปัญหาการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในทางที่ผิด และจะนำไปปรับใช้ในองค์กรให้เกิดผลภายในสิ้นสุดปี 2019
- Fairness พัฒนาเทคโนโลยีจดจำใบหน้าและปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเป็นธรรม
- Transparency จัดทำเอกสาร บอกความสามารถและข้อจำกัดของเทคโนโลยีจดจำใบหน้าเพื่อความโปร่งใส
- Accountability ให้ลูกค้าของไมโครซอฟท์ นำเทคโนโลยีไปใช้อย่างมีความรับผิดชอบ ป้องกันไม่ให้กระทบต่อคน และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
- Nondiscrimination ห้ามให้ใครนำเทคโนโลยีไมโครซอฟท์ไปใช้ในเรื่องผิดกฎหมาย
- Notice and consent ไมโครซอฟท์จะส่งเสริมให้ลูกค้าที่นำเทคโนโลยีไปใช้ต้องให้คำแนะนำแก่คนทั่วไป และได้รับการยินยอมหากต้องใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า
- Lawful surveillance ไมโครซอฟท์สนับสนุนการคุ้มครองเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย และจะไม่ใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าไปในทางที่ทำให้เสรีภาพเหล่านี้ตกอยู่ในความเสี่ยง
ที่มา - Microsoft
Comments
เพื่อความอยู่รอด โดย ความเสี่ยง ?
ข้อจขำกัด ?
เทคโนโนโลยี ?
ติตาม ?
ข้อความสามารถ ?
ลูกค้าต้องให้คำแนะนำ ?
ผมว่ามันก็เหมือน user, password ทำไมถึงต้องมาแข่งขันกัน เพราะมันก็คือใช้ในการยืนยันตัวตน เช่น รหัสคนทั่วไปทำไมถึงต้องโดนแฮกง่ายกว่ารหัสของคนรวยที่จ่ายเงินมากกว่า ไรแบบนี้มั่งถ้าตีความ
ถ้าเอาไปใช้ที่เกาหลีใต้จะแยกออกไม่เนีย หน้าเหมือนกันทั้งประเทศ 555
คอมเมนท์ไม่น่ารักเลยนะครับ
จริง คห ไม่น่ารัก
ไม่น่ารักยังไงครับ ผมก็เห็นด้วยนะ ว่าเกาหลีหน้าเหมือนกันจริงๆ
เป็นความเห็นที่มีความเหยียดอยู่มั้งครับ
อะไรที่่เหมารวมชาติพันธุ์ มันก็มองเป็นการเหยียดได้หมด
คือผมอ่านแล้ว ไม่ได้มีความรู้สึกว่าเจ้าของความเห็น "เหยียด" เลยครับ
ลองยื่นไปให้แฟนอ่าน แฟนก็ไม่ได้รู้สึกไปในทางลบ
ผมเลยสงสัยว่า ความเห็นของเจ้าของความเห็นนี้ มันไม่น่ารักยังไง
มันเหยียดเพราะคุณเหมารวมว่าประเทศเขาต้องศัลยกรรรมหมดไงครับ เหมือนที่คนไทยบางคนคิดว่า ผญ ญี่ปุ่นต้องเล่นเอวี แล้วก็ชอบเอาศัพท์ในหนังเอวีไปใช้หยอกล้อกับผู้หญิงญี่ปุ่นนั่นแหละ พฤติกรรมความคิดเหมารวมแบบนี้สำหรับผมเรียกไม่น่ารักและไม่ควรพิมพ์ครับ
แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าบ้านเรามันเคยชินกับการ bully เป็นเรื่องปกติ บางคนก็เลยมองว่าความเห็นแบบนี้ไม่เป็นอะไร
ที่คิดว่าเหยียดมีนคือ "ใจ" ของคุณหรือเปล่า ?
ไม่มีใครชินกับการ bully หรอก อีกแหละ "ใจ" ของคุณหรือเปล่า ที่ชิน ?
เพราะจากตัวหนังสือของเจ้าของความเห็น ผมไม่เห็นว่ามันสื่อไปในทางลบ แต่คุณเห็นว่าสื่อไปในทางลบ มันเพราะ "ใจ" คุณหรือเปล่า ? มันไม่ใช่ fact นะ
ถ้าไทยโดนเหมารวมว่าผู้หญิงทุกคนเป็นโสเภณีคุณก็อย่าไปโกรธเค้าแล้วกันครับ เพราะเค้าก็ใช้ตรรกะเหมารวมเหมือนกัน
... เป็นไงครับ รดชาดของการโดนเหมารวมว่า 'คนไทยเป็นพวกชินกับการ bully เป็นเรื่องปกติ' เข้า
ครัฟ สรุปนั่นแหละประเด็นทั้งหมด ที่ว่าเป็นคำกล่าวไม่น่ารัก ไม่รู้เป็นฝ่ายโดนบ้างจะทำให้เข้าใจบ้างไหม
ยิ่งเมื่อพูดถึง stereotype ดังๆว่าคนเกาหลีใต้ทำศักยกรรมจนหน้าตาเหมือนกันหมด มันก็ออกจะไปทางไม่ดีมากกว่า
ไม่รู้สึกอะไรเลยครับ เพราะมันเป็น opinion ไม่ใช่ fact (เหมือนที่บอกหน้าเหมือนกัน มันก็ opinion แต่มองได้ทั้งบวกและลบ แต่คนแถวนี้สงสัยคิดลบกันจนชิน)
ผมละขำบางความเห็น ขอพอละละกันนะครับ อยากคิดอะไร ก็ตามลำบากท่านเลย
ถ้าคิดลบ มันก็มองอะไรเป็นลบหมดแหละครับ
ว้า นึกว่าจะช่วยให้เข้าใจ
ขึ้นมาบ้าง ผมคิดไปเองว่าคุณอยากจะเข้าใจ opinion อีกมุม กลับโดยขำใส่ซะละ
¯\_(ツ)_/¯
เอ.. เวลาคุณพูดว่า “...บ้านเรามันเคยชินกับการ bully เป็นเรื่องปกติ…” แบบนี้มันก็คือเหมารวมหรือเปล่าครับ?
เป็นความเห็นเหยียดเชื่อชาติครับ เพราะไปพูดเหมารวมว่าคนเกาหลีเป็นชาติแห่งศัลยกรรมโดยเฉพาะใบหน้า
ซึ่งเรื่องล้อเลียนเกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาด้านพันธุกรรม, เชื้อชาติ และเค้าโครงใบหน้าจากบรรพบุรุษของคนเกาหลีทำให้หน้าตาดูไม่ดีหรือไม่สวยในสายตาพวกเขาจึงต้องไปทำศัลยกรรมให้ดูดีและสวย
แต่อย่าลืมว่าไม่ใช่ทุกคนที่ทำศัลยกรรม ไม่ใช่ทุกคนที่มีหน้าตาไม่ดีตั้งแต่เกิด และไม่ใช่ทุกคนที่ทำศัลยกรรมหน้าเหมือนกันนะครับ เป็นสิทธิส่วนบุคคลของเขา ไม่ควรเอามาล้อเลียนและเหมารวมครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
มันเป็นเรื่องการจำแนกใบหน้าด้วยครับ คนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันจะจำแนกหน้าตาคนกลุ่มเดียวกันได้ดีกว่าคนที่อยู่นอกกลุ่ม ยกตัวอย่างก็เช่น คนทางตะวันตกก็เห็นว่าคนเอเชียหน้าเหมือนๆกัน ในอีกมุมนึงคนเอเชียก็แยกหน้าตาคนตะวันตกยากเหมือนกัน อย่างเกาหลีนี่ผมดูผ่านๆก็รู้สึกว่าหน้าคล้ายๆกันเหมือนกันเพราะไม่ได้พบเจอบ่อย แต่อย่างบางคนในไทยที่ดูซีรีย์เกาหลีหรือไปเที่ยวเกาหลีบ่อยๆก็อาจจะแยกหน้าตาคนเกาหลีได้ดีกว่า
https://www.sciencedaily.com/releases/2010/01/100126111953.htm
https://www.washingtonpost.com/news/wonk/wp/2016/10/21/the-awkward-thing-that-happened-when-scientists-asked-a-computer-to-tell-asian-faces-apart/?noredirect=on&utm_term=.ded51684b95c
คนไทยบางคน และส่วนมากด้วย ชอบเหยียดเพื่อให้ตัวเองดูดี ดูสูงส่ง และเพื่อกลบจุดบกพร่องของตัวเอง
อันนี้ ผมมีคำถามนึงครับ ถ้าจะกล่าวถึงเรื่องนี้โดยไม่เป็นการเหยียด หากปลี่ยนคำพูดเป็น "ถ้าเอาไปใช้กับคนเกาหลีใต้ที่ผ่านการศัลย์กรรมใบหน้ารูปแบบเทรนด์นิยม จะแยกออกหรือไม่ เพราะทำออกมาใบหน้าจะคล้ายกันอยู่หลายส่วน" ถ้าพูดแบบนี้จะถือว่าโอเคมั้ยครับ ?
โอเคกว่าพูดเหยียดแบบเหมารวมครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ก็โอเคนะครับ เพราะคำพูดมีบริบทชัดเจน ขอบเขตหมายความระดับใด
ท้ายสุดแล้วเรื่องการพูดอะไรละเอียดอ่อนแบบนี้ ทั้งหมดทั้งมวลขึ้นอยู่ที่ context นั่นแหละครับ
ตอบผิดที่