ศาลสูงสุดของสหรัฐตัดสินให้แอปเปิลแพ้คดีผูกขาด App Store จนส่งผลกระทบต่อราคาแอพที่ผู้ใช้ต้องจ่ายออกไป
คดีนี้มีชื่อเรียกว่า Apple Inc. v. Pepper เป็นคดีที่ลากยาวมาตั้งแต่ปี 2011 โดยผู้ใช้ iPhone รายย่อย 4 รายรวมกันฟ้องแบบกลุ่มต่อแอปเปิลว่าผูกขาด App Store และทำให้ราคาแอพแพงขึ้น เพราะนักพัฒนาส่งต่อต้นทุนที่แอปเปิลเก็บส่วนแบ่ง 30% ด้วยการขึ้นราคากับผู้ใช้อีกต่อหนึ่ง
แอปเปิลต่อสู้คดีนี้ด้วยหลักการว่า ผู้ใช้ไม่มีสิทธิฟ้องแอปเปิลในประเด็นนี้ เพราะนักพัฒนาคือลูกค้าโดยตรงของแอปเปิลที่ต้องจ่ายส่วนแบ่งให้ App Store
ศาลชั้นต้นตัดสินให้แอปเปิลชนะ แต่ศาลอุทธรณ์กลับคำตัดสินให้แอปเปิลแพ้ ทำให้แอปเปิลยื่นฎีกาต่อศาลสูงสุดในปี 2017 และศาลตัดสินด้วยคะแนน 5:4 ยืนตามศาลอุทธรณ์
ประเด็นสำคัญของคดีนี้คือมุมมองที่ว่า ผู้ใช้ iPhone ซื้อแอพจากแอปเปิลโดยตรง หรือซื้อแอพจากนักพัฒนาที่ขายผ่านช่องทางของแอปเปิลกันแน่ (แอปเปิลพยายามชี้ว่าเป็นอย่างหลัง) แต่มุมมองของศาลอุทธรณ์และศาลสูงสุดก็ระบุชัดว่าผู้ใช้ซื้อแอพจากแอปเปิลโดยตรง
ศาลยังไม่ตัดสินตัวเลขความเสียหายของคดีนี้ แต่คำตัดสินนี้จะเป็นบรรทัดฐานให้แอปเปิลสามารถโดนผู้ใช้ฟ้องในคดีอื่นๆ ได้อีกมาก
ที่มา - Supreme Court, CNBC, รายละเอียดของคดีบน Wikipedia
Comments
แอปเปิ้ลโดน กูเกิ้ลก็อาจโดนด้วยรึเปล่า?
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
แอนดรอยมันลง store อื่นได้ไม่น่าจะโดนแถมลงแอปภายนอกได้อีก
Apple ก็ลงแอพนอกสโตร์ได้นะ เมื่อก่อนใช้มือถือค่ายนึงอารมณ์เหมือน
Nu mobile อ่ะ เพิ่งเปิดตัวเหมือนทำแอพไม่ทันอ่ะ โหลดตรงจากหน้าเว็บเลย
iPhone ก็จะมีการแจ้งเตือนว่าไม่ปลอดภัย ไม่รู้สมัยนี้ยังทำได้รึเปล่า
ไม่ใช่แอดบุ๊คมาร์คหน้าเว็บเข้าจอหลักนะ ดักไว้ก่อน
ตอนนี้ก็ยังทำได้อยู่ครับ แบบ Enterprise กับแบบ VPP
ทำได้แต่ยุ่งยากครับ user ทั่วไปเค้าทำกันไม่ได้หรอก
แต่ลง app Android ไม่จำเป็นต้องเข้า play store อย่างเดียว โหลด apk เอาก็ได้ .... ไม่แน่ใจว่าข่ายนี้น่าจะรอดหรือเปล่าครับ
รอผู้รู้อีกทีละกัน ^^"
คือแอพของแอนดรอย มันมีหลายสโตร์ครับ หลายเจ้า ทั้งกูเกิ้ล อเมซอน แล้วก็อื่น ๆ อีกเป็นร้อยเลย ยังไงก็ไม่เข้าข่ายผูกขาด
แต่ของแอปเปิ้ลนี่ ห้ามลงแอพนอกสโตร์ ห้ามนั่น ห้ามนี่ ต้องอยู่ใน Eco ของแอปเปิ้ลอย่างเดียว แบบนี้ก็รอดยากครับ ผูกขาดแน่ ๆ งานนี้เละ
ขอบคุณข้อมูลมากครับ :)
ผมมองว่าตัวเครื่องมันมีวิธีลงแอพแบบอื่นได้ แต่แอปเปิลปิดไม่ให้คนทั่วไปใช้งานบังคับให้ต้องใช้ผ่านแอพสโตร์อย่างเดียวเลยมองเป็นผูกขาด
เอาง่ายๆคือ ให้มองมุมมองห้างครับ คิดว่ามุมมองผู้ตัดสินคือ มองแอพสโตร์เป็นห้าง แยกจากตัว ios ที่เสมือนเป็นพื้นที่ขายนั้นสามารถมีห้างได้มากกว่า1เจ้า แต่ถูกกีดกันไม่ให้สามารถทำได้ เลยตัดสินว่าผูกขาด
ส่วนการต่อสู้ของแอปเปิลคือให้ศาลมอง ios และ แอพสโตร์รวมกันเป็นตลาด คนขายแอพคือแม่ค้า แม่ค้าย่อมต้องจ่ายค่าเช่าตลาดเพื่อทำการค้าเป็นปกติ
คิดว่าศาลคงไม่มองว่าแค่เก็บต๋งคือผูกขาดหรอกครับ ไม่งั้นทั้งคอนโซลทุกยี่ห้อหรือแม้แต่ in-app purchase ก็ต้องโดนผูกขาดด้วยสิ กรณีนี้น่าจะไม่ได้เพราะคอนโซลมันปิดการเข้าถึงแอพทางเดียวตั้งแต่แรกละว่าไม่ใช้ ฟิสิกส์ก๊อปปี้ก็ต้องสโตร์ของเครื่องเท่านั้น
ยุให้มีคนไปฟ้องให้ศาลตัดสิน iOS ลงแอพนอกสโตร์ได้ด้วย ใครรับความเสี่ยงได้ก็จัดไป จบๆ
ตัวเลขความเสียหายน่าจะหนักมาก งานนี้
น่าจะตามมาอีกหลายงาน รอดูว่าจะยอมเปิดระบบมั้ย หรือลดค่าต๋งแทน
จัดหนักๆซักดอก ยอดขายก็ล่วงเยอะ
ดูสิ กระแสเงินสด จะกระเทือนบ้างมั้ย
อ่าว.... แล้วแบบนี้ Apple ต้องทำไง
คงต้องยอมลดส่วนแบ่งลง และปรับราคาแอพลงด้วย
ก็ให้ผู้พัฒนาได้เงินมากขึ้น ผู้ใช้เสียเงินน้อยลง และแอปเปิลรายได้ลดลงแทน
หรืออาจจะยอมให้จ่ายเงินให้แอพผ่านช่องทางอื่นเหมือนสมัยก่อน
ต้องปรับลงแค่ไหนถึงเรียกได้ว่าไม่แพงครับ ผมว่าต่อให้เก็บแค่ 0.01 ถ้าคนมันจะฟ้องก็ฟ้องได้ เพราะประเด็นมันคือการผูกขาด แล้วพอผูกขาดแล้วเก็บค่าต๋งคนก็มองว่าแอปเปิ้ลทำเพื่อผลประโยชน์ตัวเองที่ทำการผูกขาด
วิธีแก้ก็ต้องยอมให้มี Store อื่นนอกจาก Platform ตัวเอง ซึ่งผมมองว่าน่าจะยาก หรือไม่ก็เปิด Store ฟรี แต่เก็บค่า SDK แทน แต่เดี๋ยวโดนหาว่าผูกขาดอีกถ้าใช้อย่างอื่นนอกจาก Xcode ไม่ได้
ต้องรอดูว่าสแอปเปิ้ลจะแก้เกมยังไง อู่ข้าวอู่น้ำเลยนะนั่น
ผมกลับคิดว่า Apple ไม่จำเป็นต้องทำอะไรนอกจากเลิกกีดกัน app store อื่นก็น่าจะเพียงพอ จะแข่งด้วยวิธีอื่น มี support service ลดราคา หรืออะไรก็ตามแต่ แต่ต้องไม่กีดกัน ซึ่งผมว่าศาลสูงก็เห็นตามนั้นครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
น่าต้องเปิดให้ลง app จากที่อื่นได้ (แบบง่าย)
ซึ่งมันเรื่องใหญ่กว่าการลดส่วนแบ่งอีกมั้งเนี่ย
ไม่จำเป็นต้องง่ายแค่ไม่กีดกันก็จบ
ถ้าเรื่อง antitrust แก้หลังบ้านเปิดให้เอา Promo Codes มาขายเองได้ก็จบแล้วครับ
พวกเกม Console จะโดนตามมาเป็นโดมิโน่ด้วยไหมเนี่ย
น่าจะรอดเพราะมีขายเป็น Physical หรือขายเป็น Code ผ่านร้านอื่นครับ แต่ Apple นี่แทบไม่มี Code ให้ใช้ (มีแค่เจนมานิดหน่อยให้ Dev ใช้)
Physical , code , download
มันก็ตั้งราคาจากค่าต๋งขั้นต่ำเหมือนๆกัน
ไหนจะเกม exclusive อีก
ประเด็นมันไม่ได้มีแค่เก็บค่านายหน้า มันรวมการผูกขาดตลาดขายได้เพียงร้านเดียวด้วย เกมมันไม่ได้ขายแค่เจ้าเดียวหรือร้านเดียวครับ ถ้าจะฟ้องนี่ฟ้องใครดีครับ คนสร้างเกม? Publisher? Dealers ? ร้านค้าย่อย?
The Dream hacker..
สไปเดอร์แมน เซลด้า อันชาร์ท บลัดบอร์น ก็อดออฟวอร์
ก็ขายอยู่เจ้าเดียว ในราคาที่ทางค่ายตั้งไว้เจ้าเดียวแล้ว
ส่วนตัวยังรู้สึกคดีค่อนข้างย้อนแย้งในการตีความ
อย่างเกม inappp purchase , Gacha ,เหรียญ line นี้ก็จ่ายช่องทางอื่นที่ไม่ใช่แอปสโตร์อยู่แล้ว
สไปเดอร์แมน เซลด้า อันชาร์ท บลัดบอร์น ก็อดออฟวอร์
คุณน่าจะหมายถึงการขายผ่านออนไลน์ ซึ่งเกมพวกนี้มันมีการขายแผ่นด้วยครับ เพราะฉะนั้น Online store เลยไม่ถือว่าเป็นการผูกขาดไงครับ และที่คุณยกตัวอย่างเกม Exclusive มันไม่เกี่ยวอะไรกับการผูกขาดเลยครับ เจ้าของเกมมีสิทธิ์ขายเกมเค้าที่ไหนก็ได้ครับแค่เค้าเลือกที่จะขายที่เดียว แต่จริง ๆ เกมที่คุณว่าเค้าขายแผ่นด้วยซื้อร้านไหนก็ได้ ราคาก็แตกต่างกันไปในแต่ละร้าน และเราสามารถซื้อเกมพวกนี้ผ่าน Store online อื่น ๆ ได้ด้วยซึ่งจะได้มาเป็น Code มารีดีมใช้งานได้
แต่ Apple Appstore มันไม่มีช่องทางขายแอพบน iOS ทางอื่นเลย นอกจาก Appstore เค้ามองจุดนี้ว่าเป็นการผูกขาดครับเพราะในเมื่อมันหาโหลดจากที่อื่นไม่ได้แอปเปิ้ลจะตั้งราคาค่าต๋งเท่าไรก็ได้ จะตั้ง 99% เลยก็ยังได้ (แต่ในความเป็นจริงคงไม่มีใครบ้าทำ) เค้าเลยมองว่า การที่แอปเปิ้ลผูกขาดการโหลดแอพใน iOS ทำให้นักพัฒนาต้องยอมจ่ายค่าคอมให้แอปเปิ้ลตามที่แอปเปิ้ลร้องขอ ซึ่งเค้ามองว่า 30% ก็ถือว่าเป็นต้นทุนนึงที่นักพัฒนาก็ต้องรวมไปในราคาแอพด้วย แต่ถ้ามันมี Store อื่นที่ไม่ได้เก็บค่าคอมเยอะ นักพัฒนาก็อาจจะลดราคาแอพลงได้เพื่อเป็นผลประโยชน์ให้ผู้บริโภค
ตรงค่าต๋ง 30% นี่แหละที่ทำให้สงสัยไปมองว่าผูกขาดได้ไง ? ในเมื่อเก็บเท่าเจ้าอื่นๆ แล้วจะอ้างแพงก็ไม่ใช่ล่ะ
ก็มันมีสโตร์เดียวไงครับ ไม่มีเจ้าอื่น
ผู้ขาดเพราะมีแค่เจ้าเดียวของตัวเองครับ ไม่ใช่เพราะเก็บเยอะ ผูกขาดคือคนอื่นเข้ามาแข่งขันให้เกิดตัวเลือกไม่ได้
ผมว่าเรื่องราคาว่าจะเก็บส่วนแบ่งเท่าไร ศาลไม่มีสิทธิ์ไปกำหนดนะ มันคือเรื่องของผลประโยชน์ทางธุรกิจ จะแบ่ง 30:70 50:50 70:30 มันก็เป็นเรื่องของ 2 ฝ่ายตกลงกัน
ประเด็นน่าจะอยู่ที่ว่าบน iOS มันมีได้แค่ store เดียว ทำให้ผู้พัฒนาไม่สามารถตั้งราคาอื่นที่ถูกกว่าได้
That is the way things are.
คำฟ้องต้นเรื่อง (แม้แต่คำอธิบายของผู้พิพากษาแควานาร์เอง) ก็ระบุชัดครับว่าเป็นเรื่อง antitrust ซึ่งมันก็กระทบกับเรื่องค่าต๋งนั่นแหละ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ดูแล้วทางออกเดียวคือต้องยอมให้มี store อื่นบน iphone
นึกภาพไม่ออกเลยแฮะ
นึกถึง Steam ครับ
แค่เพิ่มช่อง Redeem Code แล้วก็เอาแอปส่วนนึงไปลง Humble Bundle แค่นั้นเอง
ไม่ค่อยเข้าใจมุมมองนี้เท่าไหร่ เราทำของขึ้นมา แต่ห้ามทำช่องทางให้คนมาขายภายใต้ช่องทางของเราแบบนี้หรอ
ของก็มีตั้งหลายเจ้า
อันนี้ศาลลงความเห็นว่า Apple จำกัดช่องทางให้โหลดแอพ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้เฉพาะผ่าน Apple App store แล้วใช้อำนาจตัวเองที่ถือร้านฯ ขึ้นค่าต๋งเกินควร มันเลยเข้าข่ายผูกขาดน่ะครับ
คือขายร้านตัวเองน่ะมันขายได้ แต่มันต้องไม่กีดกันคนอื่นที่อยากเปิดร้านฯ ขายแอพฯ ด้วยน่ะครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
แต่ตัวเครื่องและ OS ก็พัฒนาขึ้นเอง นอกจากกำไรแล้วคุมให้ผ่าน store ที่ตัวเองดูแลมันก็ลดต้นทุนในการ support ด้วยนะครับ คนซื้อเครื่องมาก็รู้เงื่อนไขอยู่แล้วไม่ได้ไปหลอกขาย ถ้าไม่อยากใช้ก็มีเครื่องยี่ห้ออื่นให้เลือกตั้งเยอะในตลาดหรือถ้าจะอยากได้เครื่องกันจริงๆแต่ไม่อยากอยู่ใน platrform ก็แกะทำ OS กันเอง
ก็เลยไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมทำของขึ้นมาแล้วต้องไปเสียเวลาและต้นทุนเปิดช่องทางให้คนอื่น
คืองั้นก็ไม่ต้องให้คนอื่นทำแอพขายในสโตร์ตัวเองดิครับ ถ้าคิดแบบนั้น ก็ทำเองข่ายเอง แค่ตัวแอปเปิ้ลเอง เหมือนโนเกียก็แค่นั้น ไม่มีใครว่าเหมือนกันครับ
ถ้าเป็นยุคช่วง Nokie เฟื่องฟู นักพัฒนาภายนอกทำขายผ่าน Nokie Store เหมือนกันนิครับ
ถ้าจำไม่ผิด โนเกียไม่ได้ปิดไม่ให้คนอื่นใช้ Symbian และไม่ได้บังคับให้ขายแต่บน Nokia Store ครับ
แค่ไม่มีคนอื่นทำมาแข่งเอง
คือเค้าทำมาตั้งใจขายแบบนี้ ดูแลตรวจ app ลง store ตามมาตรฐานของเค้า ต้นทุนค่า support จาก app มีปัญหาหรือลงแล้วเครื่องมีปัญหาก็ลดไปด้วย ซึ่งจุดขายเค้าส่วนนึงก็เรื่องนี้ แต่กลายเป็นว่าต้องเสี่ยงเปลืองต้นทุนนอกแนวทางที่โฆษณามาแต่ต้น คนซื้อก็รู้อยู่แล้วว่าซื้อเครื่องมาจะเจอแบบไหนไม่ถูกใจในตลาดค่ายมือถืออื่นก็เยอะแยะ OS เจ้าอื่นก็มี
เค้าก็ไม่ได้บังคับว่าต้องทำมาขายในตลาดเค้านี่ นักพัฒนาก็อยากทำแอพมาขายในตลาดเค้ามันก็ต้องยอมรับเงื่อนไขตลาดเค้ารึเปล่า รับไม่ได้ก็ไปเปิดตลาดแอพสโตร์ของตัวเองบน Android ซึ่ง Google ไม่ได้ห้าม
นักพัฒนา A ผลิตแอพ X
ก. เอาไปขายใน AppStore 100 นึง หักรายได้ 40 เหลือ 60 จะดีลไม่ดีลเรื่องของยู
ข. เอาไปขายใน PlayStore 100 นึง หักรายได้ 40 เหลือ 60 อยากได้กำไรมากกว่านี้เลยไม่ขายผ่าน PlayStore เปิดร้านค้าเอง Xstore ขายแอพ X ไม่โดนหัก % ได้เน้นๆ ตามสบาย
มันก้เป็นตัวเลือกอ่ะ แต่งงตรงไปฟ้องทำไม รับเงื่อนไขไม่ได้ก็ไม่ต้องขาย งงเหมือนเจ้าของเม้นท์เลยฮะ
ประเด็นคือมันขาย อย่างถูกกฎหมาย ใน Store อื่นบนเครื่องที่ใช้ iOS ไม่ได้น่ะสิครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
คนฟ้องคือ "ผู้ใช้" iOS ครับ ไม่ใช่นักพัฒนา ซึ่งมันก็ถูกแล้วที่เค้าจะฟ้องเค้ามีสิทธิ์ครับ และชนะด้วย ประเด็นคือจุดนี้ คนที่เค้ายอมรับได้ก็ไม่ทำอะไร ส่วนคนที่เค้ารับไม่ได้เค้าก็ฟ้อง จะถูกหรือผิดให้ศาลตัดสินครับ
อ๋อ ถ้างั้นโอเคเก็ทล่ะ อ่านตกประเด็นเอง
ต่อไปคงโดน netflix ฟ้อง
งง ใน งง กับการที่มีคนออกมา ปกป้อง AppStore ตามนั้นนะ ไม่ต้องมา มาม่า
ไม่ได้ปกป้อง appstore นะครับ ไม่เข้าใจจริงๆ เรื่องแนวนี้ของบริษัทอื่นๆในอดีตด้วย เวลาจะทำ product อะไรผมก็คิดแค่ว่าผมอยากขายแบบไหน คนซื้อเป็นแบบไหน ก็งงว่าแบบนี้ก็ต้องมาคิดเผื่อไว้ด้วยว่าทำแล้วต้องเปิดช่องให้คนอื่นมาขายของใน platform เราได้ด้วยสิไม่งั้นอาจโดนฟ้อง
พฤติกรรมนี่ไม่สงสัยทำไมถึงโดน สงสัยแต่ส่วนแบ่งการตลาด iOS นี่ล่ะ เยอะพอให้โดนด้วยเหรอ
ส่วนแบ่งการตลาด iOS "ในสหรัฐ" "ตั้งแต่ปี 2011" น่าจะโดนใด้ครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo